ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
หนูก็เครียดเป็นนะ!

หนูก็เครียดเป็นนะ!

เด็กวัยอนุบาลก็เครียดได้เหมือนกับผู้ใหญ่ ซึ่งความเครียดของเด็กๆ ส่วนหนึ่งมาจากผู้ใหญ่ที่สร้างความกดดันด้วยความคาดหวังในตัวเขา ที่อยากให้เด็กๆ เป็นให้ได้ดั่งใจแต่จะดีมากเลยใช่ไหมถ้าเด็กๆ สามารถเติบโตประสบความสำเร็จในชีวิตโดยที่ไม่กดดันและเครียดจนเกินไป เพราะหากปล่อยไว้ให้เด็กมีความเครียดอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกได้

Checklistแบบไหนเรียกว่า“เครียด”ในวัยอนุบาล

  • โกรธง่าย โมโหง่าย

  • ซึม ไม่ร่าเริง

  • ไม่มีสมาธิ

  • ชอบปลีกตัว

  • มีพฤติกรรมกรรมชอบใช้ความรุนแรง

  • นอนกัดฟัน

  • กัดเล็บ

  • ดูดนิ้ว

หากลูกน้อยวัยอนุบาลมีอาการมากกว่า 4-5ข้อในนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กนะคะ

เด็กๆ เครียดจากอะไรได้บ้าง

  • เครียดเพราะเพิ่งเข้าโรงเรียนครั้งแรกเด็กวัย 3 ขวบ เครียดได้จากการต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่โรงเรียน การที่ต้องปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ คุณครูและเพื่อนที่ยังไม่คุ้นเคย ตอนอยู่บ้าน คุณพ่อคุณแม่อยู่กันพร้อมหน้าและได้รับการดูแลอย่างอบอุ่น พออยู่ที่โรงเรียน ต้องมีกฎระเบียบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นกติกาทางสังคมที่ลูกต้องเรียนรู้

  • เครียดจากการเรียน หากคุณพ่อคุณแม่ส่งลูกไปโรงเรียนวัยอนุบาลที่มีการเรียนรู้แบบที่เน้นการท่องจำและอัดแน่นไปด้วยความรู้ทางวิชาการมากเกินไป ลูกอาจเรียนหนักเกินไป ทั้งวันธรรมดาและเสาร์อาทิตย์ อยากไปวิ่งเล่นกับเพื่อนบ้างๆ ก็ไม่มีเวลา จนเด็กรู้สึกกดดัน ...

    การทำสิ่งใดๆ ก็ตามหากเด็กทำด้วยความสมัครใจ เขาจะสามารถทำได้ดี สนุกกับการเรียนรู้ ถ้าลูกชอบเรียนกวดวิชา หรือทำกิจกรรมการเรียนต่างๆ คุณแม่ก็ส่งเสริมเขาได้เต็มที่ แต่ถ้าลูกไม่ชอบจะรู้สึกว่าถูกบังคับ และเครียดกับสิ่งที่ต้องทำ ดังนั้นการจะทำอะไรก็ตามต้องดูที่ตัวเด็กเป็นหลักด้วยนะคะ

  • เครียดเพราะเรียนไม่เก่ง มีการศึกษาพบว่า เด็กที่เรียนไม่เก่ง แล้วถูกพ่อแม่ดุ จะทำให้ขาดความมั่นใจ มีอาการซึมเศร้า เครียด หงุดหงิด ดังนั้นหากลูกเราเรียนไม่เก่ง ต้องค่อยๆ หาวิธีแก้ไข หาสาเหตุว่าทำไมลูกถึงสอบได้ไม่ดีเท่าเพื่อน เช่น ลูกอาจจะมีปัญหาด้านสุขภาพ กังวลกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่อย่าเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่นเพราะจะยิ่งทำให้เด็กเครียด และส่งผลด้านลบมากกว่าดี

วิธีช่วยให้ลูกผ่อนคลาย หายเครียด

  • เมื่อรู้แล้วว่าลูกเครียดจากเรื่องใด ด็ต้องแก้ไขเรื่องนั้นๆ ช่วยเหลือให้ลูกผ่อนคลายด้วยการชวนลูกไปทำกิจกรรมที่เขาชอบ เช่น ทำงานศิลปะ เล่นดนตรี ฯลฯ โดยให้ลูกเป็นคนเลือกว่าจะทำอะไร

  • การที่ลูกจะไม่ไปโรงเรียนหรือไม่เรียนหนังสือนั้นเป็นไปไม่ได้ เด็กทุกคนมีหน้าที่ไปโรงเรียน เรียนหนังสือ ถ้าลูกอยากให้พ่อแม่ช่วยเหลืออย่างไร เรามาพูดคุยและทำข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งการพูดคุยกับลูกด้วยท่าที่ที่เข้าใจ ไม่ดุหรือบังคับ

  • ความขัดแย้งของพ่อแม่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเครียด หากพ่อแม่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน บอกกับลูกว่าคนเรามีความคิดเห็นไม่ตรงกันได้ แต่ก็ต้องฟังเหตุผลของอีกฝ่าย และไม่ควรทะเลาะกันเสียงดังต่อหน้าลูกเพราะจะทำให้ลูกยิ่งเครียด

  • พาลูกไปวิ่งเล่น ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และช่วยคลายเครียดได้ด้วย

  • ให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างาย มีสารอาหารครบถ้วน เพื่อให้ลูกเติบโตอย่างมีศักยภาพ การกินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ ร่างกายไม่อ่อนล้า สมองกระฉับกระเฉง

หนูก็เครียดเป็นนะ!
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner