เชื่อว่าตอนนี้ทุกคนต่างมีข้อมูลความรู้มากมายเกี่ยวกับเชื้อโคโรนาไวรัส และบางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะว่าเรื่องไหนจริง เรื่องไหนไม่จริง ซึ่งอาจจะเกิดความเข้าใจผิดได้ การได้ข้อมูลที่ถูกต้องจะทำให้เราตั้งรับกับสถานการณ์ได้และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลงได้

สำหรับคนที่เป็นคุณแม่นั้น มีข้อมูลบางเรื่องที่มีการนำเสนอบนสื่อต่างๆ และสังคมออนไลน์ ที่อาจสร้างความสับสนและสงสัยมากว่าเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน

เราขอนำความจริงเหล่านั้นมาบอกกล่าวกันเพื่อให้คุณแม่นำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันตัวเองและลูกน้อยจากเชื้อไวรัสนี้ได้อย่างถูกต้อง

ความเข้าใจผิด 1 : เด็กไม่ติดเชื้อโควิด-19

เพราะเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา มีผลการศึกษาในจีน1, 2 บอกว่า พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงอายุ 0-19 ปี เพียง 2 เปอร์เซ็นต์ และมีอาการน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มคนป่วยที่สูงวัยกว่า มีรายงานจากจีนเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 0-19 ปี เสียชีวิตเพียงคนเดียว

อีกทั้งการศึกษาขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์3 ก็ชี้ว่า เชื้อนี้ มักจะไม่ค่อยเกิดในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 19 ปี พบได้เพียง 2.4 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อทั่วโลกเท่านั้น

ด้วยข้อมูลเหล่านี้ทำให้สื่อมากมายตีความผิด4 ว่าเด็กจะไม่ติดเชื้อนี้ ซึ่งขอเน้นย้ำ “เป็นความเชื่อที่ผิด” และจะส่งผลให้เด็กและคนอื่นๆ เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น

พบทุกความจริงเกียวกับโควิด-19 ในเด็กที่คุณแม่ควรรู้

ความจริง : เด็กสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้ แม้ว่าจำนวนที่ติดและอาการจะน้อย ไม่กี่วันก็มีข่าวเด็กอายุ 6 เดือนในสหรัฐอเมริกา เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งนับว่าเป็นเด็กอายุน้อยที่สุดที่เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ ล่าสุดในเมืองไทยเองก็พบเด็กอายุ 1 เดือน ติดเชื้อนี้พร้อมคุณแม่ แม้จะมีอัตราการติดเชื้อน้อยแต่ไม่มีข้อยกเว้นว่าเด็กจะไม่ติดเชื้อนี้ และเมื่อติดเขาก็สามารถแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังและป้องกันตัวเองตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้ออยู่เสมอ

ความเข้าใจผิด 2 : ทารกในครรภ์สามารถติดเชื้อได้ และเชื้อผ่านน้ำนมแม่ได้

พบทุกความจริงเกียวกับโควิด-19 ในเด็กที่คุณแม่ควรรู้

มีการพูดกันในสื่อโซเชียลว่าหากแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 ลูกในท้องจะติดเชื้อไปด้วย และหากให้นมแม่อยู่ ลูกก็จะติดเชื้อไปด้วย

ที่มาของความเชื่อนี้เกิดจากการนำเอาไปเปรียบเทียบกับการติดเชื้อเอชไอวี ที่เชื้อไวรัสจะแพร่จากแม่ไปสู่ทารกในท้องและผ่านน้ำนมแม่ได้

อย่างไรก็ตาม มีหลายการศึกษาเบื้องต้นยืนยันว่า เด็กที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะปลอดจากเชื้อนี้5 เพราะพบว่าเชื้อนี้ไม่ผ่านเข้าไปในน้ำคร่ำหรือผ่านน้ำนมแม่6 แม้ว่าเรายังมีความรู้เรื่องเชื้อโควิด-19 น้อยอยู่ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าเชื้อนี้ติดต่อผ่านการตั้งครรภ์หรือการให้นมแม่

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ความจริง : เชื้อโควิด-19 ไม่แพร่เชื้อสู่เด็กในครรภ์และน้ำนมแม่

หากคุณแม่โชคร้ายติดเชื้อโควิด-19 คุณแม่ควรต้องปรึกษาคุณหมอถึงแนวทางการรักษาและการให้นม เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อสู่ลูกน้อย แต่คุณแม่ไม่ควรหยุดการให้นมลูก เพราะนมแม่ดีที่สุดต่อลูก อย่าได้กลัวจนหยุดให้นม เพราะน้ำนมแม่ปลอดภัย7

ในกรณีที่คุณแม่ติดเชื้อโควิด-19 และจำเป็นต้องแยกจากลูก คุณแม่สามารถเลือกวิธีปั๊มนมใส่ขวด แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการแพร่กระจายของเชื้อ ด้วยการล้างมือให้สะอาดอย่างน้อย 20 วินาทีก่อนปั๊มนม ใส่หน้ากากอนามัยขณะปั๊มนมเพื่อป้องกันละอองฝอยฟุ้งกระจายปนเปื้อนในน้ำนม ทำความสะอาดเครื่องปั๊มนม ถุงเก็บนม และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ได้สัมผัสไปด้วย และให้คนอื่นป้อนนมแทนคุณแม่ ด้วยวิธีนี้นอกจากลูกจะได้กินนมแม่แล้ว ยังช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมลูกต่อไปได้เมื่อหายจากการติดเชื้อแล้ว

 

References:
1 The Novel Coronavirus Pneumonia Emergency Response Epidemiology Team. Vital Surveillances: The Epidemiological Characteristics of an Outbreak of 2019 Novel Coronavirus Diseases (COVID-19) — China, 2020. China CDC Weekly 2020; 2(8): 113-122. http://weekly.chinacdc.cn/en/article/id/e53946e2-c6c4-41e9-9a9b-fea8db1a8f51 (Accessed 18 March 2020)
2 Cai J et al. A case series of children with 2019 novel coronavirus infection: clinical and epidemiological features. Clinical Infectious Diseases 2020; ciaa198. https://doi.org/10.1093/cid/ciaa198 (Accessed 5 March 2020)
3 Word Health Organization. 16-24 February 2020. Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/who-china-joint-mission-on-covid-19-final-report.pdf (Accessed 19 March 2020).
4 Scott S. Who is vulnerable to coronavirus? So far children appear safe from COVID-19. ABC News, 2 de marzo de 2020. https://www.abc.net.au/news/2020-03-01/who-is-most-likely-to-get-coronavirus-children-appear-safe/12013842 (Accessed 5 March 2020).