เด็กในวัย 1-3 ขวบ หรือวัยเตาะแตะนั้น เป็นวัยก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล พัฒนาการของเขามีมากขึ้น  โดยเฉพาะพัฒนาการทางภาษา ลูกจะพูดได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกเรียก “แม่” ได้แล้ว วินาทีที่ลูกเรียกแม่ได้นั้น เชื่อแน่ว่าคุณแม่ทุกคนต้องปลื้มปีติกับเสียงที่ลูกเปล่งออกมา คนเป็นแม่ทุกคนอยากได้ยินคำๆ นี้ใช่มั้ยคะ เมื่อลูกพูดได้ คราวนี้ก็ถึงเวลาสนุกที่เราจะสอนให้เขาได้พูด ได้รู้จักสิ่งต่างๆ รอบตัว รับรองว่าคุณแม่จะมีเพื่อนคุย เจื้อยแจ้วให้ฟังอย่างมีความสุขค่ะ
การพูดจาสื่อสาร บอกความต้องการได้ เป็นสิ่งจำเป็นที่ลูกต้องใช้เมื่อไปโรงเรียน มาสอนลูกพูด สอนลูกรู้จักคำศัพท์กันค่ะ

สมัครเป็นครอบครัวเอนฟากับชมวันนี้ ลุ้นสิทธิ์รับ Voucher 20,000.
สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

เคล็ดลับการสอนลูกวัยเตาะแตะเรียนรู้ภาษา

  • คุยกับลูกบ่อยๆ

ลูกวัยนี้มีพัฒนาการทางภาษามากขึ้น ทั้งเรียกแม่ได้ เรียกพ่อได้ ร้องเพลงที่ชอบได้ สื่อสารบอกความต้องการได้ ฯลฯ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถพัฒนาภาษาและการสื่อสารให้ลูกได้เพียงชวนเขาพูดคุย มีการศึกษาพบว่าการพูดคุยกับลูกตั้งแต่เล็กๆ จะมีโอกาสพัฒนาภาษาของลูกได้มาก จากการวิจัยพบว่าครอบครัวที่พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ ด้วยท่าทีที่ดี การพูดตอบกลับด้วยการอธิบายเพิ่มเติม จะช่วยให้ภาษาของลูกพัฒนาเร็วยิ่งขึ้น โดยเด็กจะมีโอกาสได้รับรู้จำนวนของเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ถึง 13 ล้านคำ ครอบครัวที่ไม่ค่อยได้พูดคุยกับลูก เด็กจะมีการรับรู้จำนวนของเสียงน้อยกว่ากลุ่มแรกประมาณ 8 ล้านคำ หรือน้อยกว่า 62%

คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกทุกวันเมื่ออยู่กับลูก เช่น เรียกชื่อลูกทุกครั้งที่ชวนเขาคุย ชวนลูกพูดคุยในเรื่องใกล้ตัว ตั้งคำถามง่ายๆ ให้ลูกตอบ โดยใช้เหตุการณ์ที่ได้พบเห็นกับลูก เช่น “ดอกไม้นี่สีอะไรนะ” “ที่เห็นในภาพนี้ เรียกว่าตัวอะไรจ๊ะ” หากลูกตอบไม่ได้ คุณแม่ก็บอกคำตอบให้เขาและบอกรายละเอียดสั้นๆ ง่ายๆ เพิ่มเติมของสิ่งที่เห็นในภาพ จะทำให้ลูกได้เรียนรู้และจดจำสิ่งนั้นๆ ได้มากขึ้น

สอนลูกน้อยให้พูดตั้งแต่เนิ่นๆ
 
  • มาอ่านหนังสือกันเถอะ

การอ่านหนังสือให้ลูกฟังก็เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสมอง ภาษาและการสื่อสารของลูก เด็กๆ จะสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่านของเขาในอนาคต

ดังนั้น เมื่อมีเวลาร่วมกันให้คุณแม่อุ้มลูกนั่งตักแล้วอ่านหนังสือด้วยกัน ลูกจะเห็นความแตกต่างระหว่างการพูดคุยธรรมดากับการอ่านหนังสือ ชี้ชวนให้ลูกดูรูปภาพ พร้อมตัวหนังสือที่เป็นคำบรรยาย การที่ลูกได้เห็นรูปภาพหรือตัวหนังสือต่างๆ ในหนังสือ จะช่วยให้เขาได้มองเห็นสัญลักษณ์ที่เป็นตัวหนังสือว่า มีความเชื่อมโยงกับภาษาพูดผ่านการเล่าเรื่อง ขณะอ่านหรือดูหนังสือกับลูก ควรเปิดโอกาสให้เขาหยิบจับ หรือหัดเปิดหนังสือเองบ้าง เพื่อให้เขาคุ้นเคยกับหนังสือ

หนังสือสำหรับลูกวัย 1-3 ปี
 

อายุ

 ลักษณะหนังสือ

ขวบปีแรก

เป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆ ที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้

วัย 2-3 ปี

เป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ  เรียบเรียงเป็นบทกลอนสั้นๆหรือคำคล้องจอง ใช้ภาษาง่ายๆ ไม่ซับซ้อน

การพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็ก
 

 

  • เจ้าหนูทำไม

วัยนี้คือวัยแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็นที่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว และมักจะชอบตั้งคำถามว่า “ทำไม” จนได้ฉายา “เจ้าหนูทำไม” คุณแม่อย่าหงุดหงิดรำคาญนะคะ ให้สนุกไปกับคำถามของเขา และตอบคำถามนั้นโดยใช้ภาษาที่ง่ายๆ นอกจากจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ได้คำตอบในสิ่งที่สงสัยแล้ว ยังช่วยหล่อเลี้ยงความอยากรู้อยากเห็น ความช่างสงสัยต่อสิ่งรอบตัวของลูกไว้ด้วย

สารอาหารเพื่อการเรียนรู้ภาษา พัฒนาสมองและภูมิคุ้มกันของลูก

เพื่อการเรียนรู้ภาษาและเรื่องราวรอบตัวของลูกเป็นไปด้วยดี ลูกวัยนี้จึงยังต้องการสารอาหารที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะสารอาหารพัฒนาสมอง เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา นอกจากจะลูกจะได้รับสารอาหารเหล่านี้จากอาหาร 5 หมู่แล้ว การเลือกนมที่เสริมสารอาหารดังกล่าวให้ลูกดื่ม ก็จะทำให้มั่นใจว่าลูกจะได้รับสารอาหารเหล่านี้อย่างเพียงพอ สารอาหารเพื่อพัฒนาสมอง เสริมภูมิคุ้มกัน และการเรียนรู้ภาษาที่ว่าก็ได้แก่ :

  • MFGM
    เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์และส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านต่างๆ และสมองเด็ก

    • MFGM ช่วยพัฒนาระดับสติปัญญา มีผลการวิจัยในห้องปฏิบัติการพบว่า MFGM ช่วยเสริมสร้างการเชื่อมต่อเซลล์สมองเพิ่มขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับ DHA* และงานวิจัยในเด็กพบว่า คะแนนด้านสติปัญญาของเด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM สูงกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม

    • MFGM ช่วยเสริมภูมิคุมกัน พบว่าโปรตีนบางชนิดใน MFGM มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายลูกแข็งแรงต่อสู้กับการติดเชื้อได้ เมื่อสุขภาพดี ลูกก็เรียนรู้สิ่งรอบตัวได้อย่างมีความสุข

    • MFGM ช่วยพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารที่ซับซ้อน มีงานวิจัยในเด็กพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีพัฒนาการด้านภาษาที่ดีและทักษะการสื่อสารที่ซับซ้อนกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM
  • ดีเอชเอ
    กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาว เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา

  • วิตามินบี 12
    มีส่วนในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ซึ่งสำคัญในการพัฒนาความคิด สติปัญญาของเด็ก

  • โคลีน
    มีบทบาทสำคัญในการสร้างสารสื่อสัญญาณประสาท เพื่อให้การสื่อสารระหว่างเซลล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นโครงสร้างหลักของเซลล์ต่างๆ รวมทั้งเซลล์สมอง ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และความจำ

เมื่อคุณแม่ได้มีช่วงเวลาที่ดีในการส่งเสริมภาษาลูกและการเลือกสรรสารอาหารที่เหมาะสมให้เขา ลูกก็จะไปต่อได้ในทุกการเรียนรู้ค่ะ