ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ผ่าคลอดกี่สัปดาห์

ผ่าคลอดกี่สัปดาห์ถึงจะปลอดภัย ท้องกี่เดือนถึงผ่าคลอดได้

Enfa สรุปให้

  • โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะไม่แนะนำให้ผ่าคลอด เพราะการคลอดธรรมชาตินั้นแม่สามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า ทารกที่คลอดธรรมชาติก็มีแนวโน้มที่จะแข็งแรงกว่าเด็กที่ผ่าคลอด
  • การผ่าคลอดจะทำให้กรณีที่แม่ไม่สามารถจะคลอดเองได้ เช่น แม่ประสบอุบัติเหตุรุนแรง ทารกในครรภ์มีขนาดใหญ่เกินไป หรือแม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในขณะตั้งครรภ์
  • ไม่ว่าจะผ่าคลอดหหรือคลอดธรรมชาติ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำคลอดคือระหว่างสัปดาห์ที่ 37-40 เพราะทารกในครรภ์จะอยู่ในระยะที่เจริญเติบโตสมบูรณ์

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ผ่าคลอดกี่สัปดาห์ ถึงจะผ่าได้
     • ผ่าคลอดได้ตั้งแต่กี่สัปดาห์
     • ผ่าคลอดอายุครรภ์ไหนถึงจะดี
     • ผ่าคลอดตามฤกษ์หรือตามแพทย์แนะนำดี
     • เตรียมตัวก่อนผ่าคลอด
     • ไขข้อข้องใจเรื่องผ่าคลอดกี่สัปดาห์กับ Enfa Smart Club

คุณแม่หลายคนมีแพลนที่อยากจะผ่าคลอด เพราะกลัวเบ่งคลอดไม่ไหว หรืออาจจะมีฤกษ์คลอดในใจ และอยากที่จะผ่าคลอด แต่การผ่าคลอดนั้นสามารถกำหนดได้ไหม อายุครรภ์เท่าไหร่ที่เหมาะสำหรับการผ่าคลอด แล้วคุณแม่ควรคลอดโดยการผ่าคลอดหรือเปล่านะ

ผ่าคลอดกี่สัปดาห์ อายุครรภ์กี่สัปดาห์เหมาะกับการผ่าคลอด


อายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการคลอดลูกคืออายุครรภ์ระหว่าง 37-40 สัปดาห์ ส่วนจะเป็นการคลอดธรรมชาติหรือการผ่าคลอดนั้น จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากแพทย์

ถ้าหากคุณแม่ร่างกายแข็งแรงดี และทารกในครรภ์ไม่ได้มีขนาดใหญ่เกินไป แพทย์จะแนะนำให้คลอดธรรมชาติ เพราะเป็นผลดีต่อการฟื้นตัวหลังคลอด และทารกจะได้รับสารภูมิคุ้มกันธรรมชาติจากช่องคลอด

ส่วนการผ่าคลอดนั้นจะไม่มีกำหนดอายุครรภ์ที่ตายตัวค่ะ เนื่องจากการผ่าคลอดนั้นจะทำก็ต่อเมื่อคุณแม่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ เช่น คุณแม่ประสบอุบัติเหตุรุนแรง ทารกมีขนาดตัวใหญ่เกินไป หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่จำเป็นจะต้องได้รับการผ่าคลอดทันทีเพื่อรักษาชีวิตของแม่และเด็ก

อย่างไรก็ตาม การคลอดที่ดีที่สุดคือการคลอดในระหว่างอายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ เพราะทารกได้อยู่ในครรภ์จนครบกำหนด ส่วนจะเป็นการคลอดธรรมชาติหรือต้องผ่าคลอดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยในขณะนั้น ๆ ว่าคุณแม่เหมาะที่จะคลอดด้วยวิธีใด

เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3

คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome​

คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต​

อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่

ผ่าคลอดได้ตั้งแต่กี่สัปดาห์


หากเป็นไปได้ แพทย์จะพยายามยื้อให้ทารกอยู่ในครรภ์ของแม่ให้ได้นานที่สุด เพื่อให้ระบบร่างกายของทารกได้พัฒนาอย่างสมบูรณ์ให้ได้มากที่สุด และรอจนกำหนดคลอดที่เหมาะสมคือระหว่างอายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์

แต่บางครั้งอาจเกิดเหตุที่นอกเหนือการควบคุม และจำเป็นจะต้องมีการผ่าคลอดก่อนกำหนดคลอดที่วางไว้ ก็สามารถทำได้เช่นกันหากมีเหตุปัจจัยที่พึงต้องทำ เช่น คุณแม่ประสบอุบัติเหตุรุนแรงจนไม่สามารถคลอดลูกเองได้ คุณแม่มีภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง ทารกมีขนาดใหญ่เกิดไป กรณีแบบนี้แพทย์จะวินิจฉัยให้ผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกในครรภ์

ผ่าคลอดกี่สัปดาห์ดีที่สุด


การคลอดที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดก็ตาม ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการคลอดคือระหว่างอายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ เพราะทารกได้อยู่ในครรภ์จนครบกำหนดการตั้งครรภ์ มีระบบอวัยวะและพัฒนาการที่สมวัย

ผ่าคลอดตามฤกษ์ หรือตามแพทย์แนะนำดี


ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันการผ่าคลอดแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติ และเป็นทางเลือกโดยทั่วไปสำหรับการคลอดลูกเสียแล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น การคลอดที่ดีที่สุดคือการคลอดธรรมชาติ

ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวหลังคลอดที่เร็วขึ้น แต่ทารกยังจะได้รับสารภูมิคุ้มกันธรรมชาติจากช่องคลอดของแม่อีกด้วย ส่วนการผ่าคลอดจะสงวนเอาไว้ในกรณีฉุกเฉินที่คุณแม่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้

แต่ยุคสมัยนี้ คุณแม่หลายคนกลับมีความต้องการที่จะผ่าคลอดเพิ่มมากขึ้น ด้วยมีความเชื่อในเรื่องของฤกษ์ยามที่เหมาะสม จึงกังวลว่าถ้าเบ่งคลอดไม่ทันฤกษ์คลอดที่ได้มา อาจจะทำให้ลูกสูญเสียสิริมงคลแก่ชีวิตไป

นอกจากนี้ เด็กที่ผ่าคลอดอาจจะมีแนวโน้มที่จะเป็นภูมิแพ้สูงกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ เนื่องจากไม่ได้รับจุลินทรีย์และสารภูมิคุ้มกันธรรมชาติจากช่องคลอดของแม่ อีกทั้งการฟื้นตัวหลังผ่าคลอดก็ช้ากว่าการคลอดธรรมชาติด้วย

ท้ายที่สุดแล้วการเกิดในฤกษ์ที่มงคล อาจไม่ได้สำคัญไปกว่าการที่เด็กคลอดออกมาอย่างแข็งแรง ไร้ความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งสุขภาพที่ดีของคุณแม่อีกด้วย

พื้นฐานสุขภาพที่แข็งแรงนี่ต่างหาก ที่จะเป็นการปูทางให้เด็กสามารถเติบโตได้อย่างสมวัยและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ แบบไม่สะดุด เพื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ สิ่งนี้อาจจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของเด็กที่แท้จริงค่ะ เพราะการไม่มีโรค ถือเป็นลาภอันประเสิรฐ

ก่อนผ่าคลอดต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง


หากแพทย์วินิจฉัยว่าคุณแม่จะต้องทำการผ่าคลอด เพราะมีความปลอดภัยต่อแม่และทารกมากกว่าที่จะฝืนคลอดธรรมชาติ คุณแม่ควรเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าคลอด ดังต่อไปนี้

          • งดหรือลดอาหารแข็งก่อนเข้ารับการผ่าคลอดเป็นเวลา 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการอาเจียนหรือภาวะแทรกซ้อนในปอดขณะที่ทำการผ่าตัดคลอด

          • อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเพื่อชำระล้างแบคทีเรียและสิ่งสกปรก เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในขณะผ่าตัดคลอด

          • ในปัจจุบัน อาจจะไม่มีความจำเป็นที่ต้องโกนขนบริเวณหัวหน่าวก่อนการผ่าคลอด เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดบาดแผลและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

          • ควรปรึกษากับแพทย์ว่าจะดำเนินการอย่างไร มีวิธีบรรเทาอาการเจ็บปวดอย่างไร และควรจะดูแลตนเองหลังผ่าตัดคลอดอย่างไร เพื่อให้มีข้อมูลประกอบไว้ จะได้มีตื่นตระหนก

ไขข้อข้องใจเรื่องผ่าคลอดกี่สัปดาห์กับ Enfa Smart Club


ผ่าคลอด 37 สัปดาห์ได้ไหม?

หากถึงกำหนดคลอดในสัปดาห์ที่ 37 แต่คุณแม่ไม่สามารถที่จะคลอดธรรมชาติได้ แพทย์สามารถวินิจฉัยให้ทำการผ่าคลอดได้ค่ะ

ผ่าคลอดตอน 38 สัปดาห์ ได้ไหม?

หากถึงกำหนดคลอดในสัปดาห์ที่ 38 แต่คุณแม่ไม่สามารถที่จะคลอดธรรมชาติได้ แพทย์สามารถวินิจฉัยให้ทำการผ่าคลอดได้ค่ะ



บทความแนะนำสำหรับเด็กผ่าคลอด

บทความที่แนะนำ

ผ่าคลอดห้ามกินอะไรบ้าง และข้อห้ามหลังผ่าคลอดที่ต้องรู้!
ผ่าคลอดเจ็บไหม มาเตรียมความพร้อมเมื่อต้องผ่าคลอดกัน!
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner