เมื่อสังเกตว่าลูกน้อยตาแฉะ น้ำตาไหล พร้อมการสะสมของขี้ตาจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการร้องไห้ คงจะสร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ได้ไม่น้อย วันนี้ทาง เอนฟา จึงขอนำความรู้เล็กน้อยถึงสาเหตุเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดอาการ ตาแฉะ และวิธีดูแลดวงตาลูกรักมาฝากทุกครอบครัวกันค่ะ
โดยปกติน้ำตาคนเรามักถูกสร้างขึ้นจากต่อมน้ำตา และจะถูกการระบายออกผ่านทางบริเวณหัวตา โพรงจมูก จนลงสู่ลำคอในที่สุด ซึ่งกับทารกนี้ก็อยู่ในกระบวนการเดียวกัน แต่หากเมื่อใดกรณีท่อน้ำตาที่เชื่อมต่อระหว่างตากับโพรงจมูกของทารกอุดตันขึ้น จากการขัดขวางด้วยพังผืดบาง ๆ ปิดกั้นบริเวณรูทางออกท่อน้ำตาเอาไว้ ก็อาจสามารถส่งผลให้น้ำตานี้ไหลย้อนกลับมาจนเอ่อล้นออกทางหัวตามากกว่าเดิม และเกิดอาการตาแฉะขึ้นได้
ซึ่งนอกจากสาเหตุหลักในข้างต้นแล้ว หากลูกรักคุณมีการติดเชื้อของแบคทีเรียเพิ่มเติม ก็อาจสามารถเป็นไปได้ว่าจะทำให้ดวงตาของทารกนั้นเกิดการอักเสบ พร้อมมีหนองบริเวณหัวตาร่วม ซึ่งส่วนใหญ่ภาวะดังกล่าวอาจพบบ่อยในทารกช่วงอายุ 2-3 เดือนแรกหลังคลอด และมักเกิดขึ้นกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว
คุณแม่อาจสามารถสังเกตสัญญาณเตือนบางอย่างถึงอาการตาแฉะ หรือภาวะท่อน้ำตาอุดตันที่ผิดปกติของลูกน้อย ได้ดังต่อไปนี้
● ขี้ตาของทารกมีสีเหลือง และสีเขียว
● มีน้ำตาคลอเบ้าตลอดเวลา
● ลูกน้อยมีการสะสมของขี้ตาจำนวนมาก
● ตาของทารกแฉะมากกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด โดยไม่มีการร้องไห้มาก่อน
● มีสิ่งแปลมปลอมภายในดวงตา อย่างไรก็ตามหากคุณแม่พบว่า ลูกน้อยมีอาการข้างต้น
ปกติขึ้น ควรพาเข้าพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการรักษาในทันที ก่อนเกิดอันตรายแทรกซ้อนรุนแรงแก่ลูกรักของคุณได้ในอนาคตค่ะ
ในช่วง 2-3 ปีแรก เป็นช่วงเวลาสำคัญของพัฒนาการของเด็ก และการให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการให้เด็กกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน (ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและองค์การอนามัยโลก) น้ำนมแม่มีคุณประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็กทุกด้าน MFGM เป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีคุณค่าที่พบในน้ำนมแม่ ซึ่งช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะพัฒนาการ 3 ด้านที่สำคัญ คือ สมอง ภูมิคุ้มกัน และระบบขับถ่าย MFGM ช่วยพัฒนา IQ และ EQ ของเด็ก รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดโอกาสที่จะติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนในเด็ก และยังให้ประโยชน์กับเด็กเช่นเดียวกับนมแม่ | ![]() |
คุณแม่สามารถรักษาอาการทารกตาแฉะ ของลูกน้อยได้โดยการใช้สำลี หรือผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดคราบขี้ตารอบ ๆ และอาจใช้วิธีการนวดตาให้แก่ทารกอย่างเบามือเข้ามาร่วม เพื่อบรรเทาอาการตาแฉะเบื้องต้น ซึ่งปฏิบัติตามขั้นตอนได้ ดังต่อไปนี้
● นำนิ้วชี้มาวางแนบระหว่างหัวตากับสันจมูกด้วยแรงเบาจนสัมผัสถึงเส้นเอ็นแข็ง ๆ
● ใช้นิ้ววนลงมาเป็นวงกลมลากลงไปตามสันข้างจมูก
● นวดวนไปเรื่อย ๆ วันละ 4 รอบ หรือช่วงเวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน เพื่อให้เกิดแรงดันไปเปิดปาก ทางท่อน้ำตา
● กว่า 90 % เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี การนวดตามขั้นตอนข้างต้นอาจส่งผลให้เกิดแรงดันทำให้เนื้อเยื่อมีการทะลุเปิดออกได้ดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่หากการนวดไม่ได้ผล หรือลูกน้อยมีอาการไม่ดีขึ้น โปรดเข้าขอรับการปรึกษาจากแพทย์ได้ในเบื้องต้น เพื่อให้แพทย์วิเคราะห์หาเทคนิคการรักษาเหมาะสม ซึ่งอาจเป็นการใช้การผ่าตัดใส่ท่อระบาย ท่อน้ำตา ทดแทน
หากคุณแม่ท่านใดต้องการคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับลูกน้อยเพิ่มเติม สามารถมาร่วมพูดคุยกับเราใน Enfa Smart Club ได้เลยค่ะ
Enfa สรุปให้ ลูกกินยายากมักเกิดจากรสชาติยาไม่ถูกปาก ความกลัว หรือประสบการณ์ไม่ดี เช่น เคยสำลักยา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกมีก้อนที่ข้างคอ มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่บริเวณลำคอ รวมถึงภาวะต่อมน้ำเหลือง...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ตากุ้งยิงในเด็ก มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่ดวงตา ทำให้เกิดอาการบวมแดง อักเสบ และ...
อ่านต่อ