Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การให้เด็กกินยา โดยเฉพาะเด็กเล็ก เช่น วัยทารกหรือวัย 2-5 ปี มักเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เพราะเด็กบางคนมีพฤติกรรมต่อต้านอย่างมากเมื่อเห็นยา หรือไม่สามารถกลืนยาได้ ทำให้เกิดปัญหาลูกกินยายากหรือเด็กกินยายาก ซึ่งหากไม่ได้รับยาอย่างครบถ้วน อาจส่งผลต่อการรักษาโรคและสุขภาพของลูกได้
โดยพฤติกรรมเหล่านี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นรสชาติที่ไม่ถูกปาก กลัวจากประสบการณ์ไม่ดี หรือไม่เข้าใจว่าทำไมต้องกินยา การเข้าใจสาเหตุและเตรียมตัวอย่างเหมาะสมจะช่วยให้พ่อแม่รับมือกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น และช่วยให้ลูกได้รับการรักษาอย่างเต็มที่
ลูกกินยายากอาจมีเหตุผลที่ทำให้ไม่ยอมกินยาแตกต่างกัน เช่น
ลูกกินยายากทํายังไง หลายคนคงอยากรู้ เมื่อเจอปัญหาเด็กกินยายาก สิ่งสำคัญคือไม่ควรใช้วิธีบังคับอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้เด็กยิ่งต่อต้านและฝังใจกับประสบการณ์แย่ ๆ แต่ควรรับมืออย่างนุ่มนวล ทำให้เด็กผ่อนคลาย โดยอาจใช้ของรางวัลหรืออุปกรณ์ช่วย เช่น
วิธีป้อนยาเด็กกินยายาต้องใช้ความระมัดระวังและเลือกวิธีที่ปลอดภัย โดยอาจต้องใช้เทคนิคหรืออุปกรณ์เสริมเล็กน้อย โดยวิธีป้อนยาลูกน้อยง่าย ๆ ทำได้ดังนี้
ทั้งนี้ ไม่ควรบังคับเด็กกินยายากกินยาตอนที่ไม่พร้อม ควรเริ่มจากการสร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลาย ชวนเล่นให้เพลิดเพลินก่อนที่เริ่มป้อนยา จะช่วยให้เด็กกินยาได้ง่ายขึ้น
เด็กบางคนเมื่อกินยาแล้วเกิดการอาเจียน ทำให้ไม่ได้รับตัวยาครบถ้วนและอาจส่งผลต่อการรักษา วิธีป้อนยาเด็กไม่ให้อ้วก หลีกเลี่ยงการอาเจียน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การป้อนยาตอนหลับหรือกำลังจะหลับเป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายคนทำเพื่อเลี่ยงการต่อต้าน แต่แพทย์ส่วนใหญ่ไม่แนะนำ เนื่องจากอาจทำให้เด็กเสี่ยงต่อการสำลักเพราะเด็กที่หลับหรือกำลังง่วงมีการตอบสนองของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้กลืนยาไม่หมด ทั้งยั้งไม่สามารถควบคุมท่าทางการป้อนยาได้ทำให้ยาไหลย้อนหรือกลืนยาลำบาก นอกจากนี้ หากจำเป็นต้องให้ยาก่อนนอน ควรเลือกช่วงที่ลูกยังตื่นดี มีสติ และนั่งอยู่ในท่าที่ปลอดภัย เช่น บนตักผู้ปกครอง หรือเอนตัวพิงหมอน
เมื่อเจอปัญหาลูกกินยายากมาก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรโทษตัวเองหรือรู้สึกผิด เพราะเด็กส่วนใหญ่มีปัญหานี้อย่างน้อยหนึ่งช่วงอายุ หากคุณพ่อคุณแม่มีอาการเครียดเพราะลูกกินยายาก คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมพร้อมโดยตั้งสติและอดทน อย่าแสดงความโกรธหรือหงุดหงิด เพราะจะทำให้ลูกเครียดและต่อต้านมากขึ้น เตรียมวางแผนการให้ยาล้วงหน้า เช่น ฝึกลูกกลืนน้ำธรรมดาด้วยไซริงเพื่อให้คุ้นเคย หรือฝึกกลืนน้ำจากช้อน โดยฝึกในเวลาที่ลูกอารมณ์ดีที่สุด เช่น หลังนอนกลางวัน หลังเล่นเสร็จ พร้อมสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองของลูกอย่างสม่ำเสมอ
หากลูกกินยายากมาก ลองทุกวิถีทางแล้วยังไม่เป็นผล อาจลองพูดคุยกับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อพิจารณาวิธีรักษาอื่น เช่น เปลี่ยนตัวยา เปลี่ยนรูปแบบ หรือการฉีดยาแทนกิน
ลูก 1 ขวบ กินยายากเพราะเด็กวัยนี้ยังสื่อสารไม่ได้เต็มที่ จึงควรใช้ไซริงป้อนยา โดยหยอดยาที่กระพุ้งแก้มทีละน้อย เพื่อให้กลืนง่าย หลีกเลี่ยงการป้อนขณะที่ลูกง่วงหรือร้องไห้แรง ควรเลือกเวลาที่ลูกอารมณ์ดี หากยังยาก อาจปรึกษาแพทย์ขอเปลี่ยนยารสชาติที่เหมาะกับเด็กเล็ก
ลูก 2 ขวบ กินยายากเพราะวัยนี้มักต่อต้านเพราะเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง พ่อแม่ควรใช้วิธีชวนเล่น เช่น เล่านิทาน หรือลองให้ลูกป้อนตุ๊กตาก่อน แล้วค่อยป้อนตัวเอง ใช้ไซริงแทนช้อน และให้รางวัลเล็ก ๆ เป็นแรงจูงใจ หลีกเลี่ยงการบังคับรุนแรง เพราะจะทำให้ลูกกลัวมากขึ้น
ลูก 3 ขวบ กินยายาก สามารถแก้ไขได้โดยเด็กวัยนี้เริ่มเข้าใจคำอธิบายมากขึ้น หากลูก 3 ขวบ ไม่ยอมกินยา พ่อแม่ควรพูดให้เห็นประโยชน์ของการกินยา เช่น จะได้หายเร็ว ไปวิ่งเล่นได้ ใช้ของเล่นช่วยสาธิต ใช้ช้อนหรือหลอดสีสันสดใส และให้เลือกว่าจะกินเองหรือให้ป้อน เพื่อให้เด็กรู้สึกมีส่วนร่วม
ลูก 4 ขวบกินยายากแต่เด็กวัยนี้สามารถสื่อสารและเข้าใจเหตุผลได้ดีขึ้นแล้ว พ่อแม่ควรอธิบายด้วยภาษาที่เหมาะสม เช่น ยานี้ช่วยให้หายปวดท้อง และเปิดโอกาสให้เลือก เช่น จะกินน้ำตามกี่แก้ว เลือกไซริงสีไหน การให้คำชมและกำลังใจหลังจากกินยาได้ ช่วยสร้างแรงจูงใจได้ดี
หากลูกไม่ยอมกินยาลดไข้ อย่าบังคับ ควรใช้วิธีเล่นหรือเล่านิทานช่วยผ่อนคลายก่อนป้อนยา หรือลองเปลี่ยนรสชาติยา เช่น รสสตรอว์เบอร์รี หรือเปลี่ยนชนิดยาโดยปรึกษาแพทย์ก่อน เช่น การใช้ยาชนิดเหน็บทางทวาร ซึ่งแพทย์มักแนะนำในกรณีที่เด็กอาเจียนหรือปฏิเสธอย่างมาก
Enfa สรุปให้ ลูกกินยายากมักเกิดจากรสชาติยาไม่ถูกปาก ความกลัว หรือประสบการณ์ไม่ดี เช่น เคยสำลักยา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกมีก้อนที่ข้างคอ มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่บริเวณลำคอ รวมถึงภาวะต่อมน้ำเหลือง...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ตากุ้งยิงในเด็ก มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่ดวงตา ทำให้เกิดอาการบวมแดง อักเสบ และ...
อ่านต่อ