นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ทารกปากแห้ง เรื่องเล็กที่ไม่ควรมองข้าม พร้อมวิธีดูแล

Enfa สรุปให้

  • ปกติแล้วอาการทารกปากแห้งหรือทารกปากลอกไม่ถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรง แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจสะท้อนปัญหาสุขภาพพื้นฐาน หรือเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาอื่นตามมาได้ เช่น การติดเชื้อที่ริมฝีปาก
  • เด็กปากแห้งอาจสัมพันธ์กับการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพผิวและเยื่อบุ เช่น วิตามิน B2 (ไรโบฟลาวิน) วิตามิน B3 (ไนอะซิน) วิตามิน A ทั้งนี้ ควรปรึกษากุมารแพทย์ก่อนให้เสริมอาหารหรือวิตามินเสริม
  • ทารกปากแห้งใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับทารก เช่น ลาโนลิน (Lanolin) สำหรับทารก บาล์มสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เจลว่านหางจระเข้ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (Virgin Coconut Oil) เป็นต้น

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ช่วงวัยแรกเกิดถึง 1 ปี ร่างกายของลูกน้อยยังมีพัฒนาการไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะระบบผิวหนังซึ่งบางและไวต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่จึงมักพบปัญหา “ทารกปากแห้ง” ได้บ่อย ซึ่งอาจเกิดจากทั้งสภาพอากาศ ความชื้นในห้อง การเลียปาก การดูดนม หรือแม้แต่สาเหตุจากภายใน เช่น ขาดวิตามิน ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่หากปล่อยไว้อาจทำให้ลูกไม่สบายตัว ไม่อยากกินนมหรือร้องไห้ง่าย ดังนั้นการรู้เท่าทันปัญหานี้และดูแลอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ค่ะ

 

ทารกปากแห้ง อันตรายไหม


ทารกปากแห้ง อันตรายไหม อาจต้องดูจากสาเหตุและความเสี่ยง โดยปกติแล้วอาการทารกปากแห้งหรือทารกปากลอกนั้นไม่ถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรง แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจสะท้อนปัญหาสุขภาพพื้นฐาน หรือเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาอื่นตามมาได้ เช่น การติดเชื้อที่ริมฝีปาก 

ความเสี่ยงจากอาการทารกปากแห้งหรือทารกปากลอก มีดังนี้

  • ริมฝีปากแตกหรือมีแผลซึ่งเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย
  • ความเจ็บหรือระคายเคือง ทำให้ลูกดูดนมได้น้อยลง
  • การขาดสารอาหารหรือน้ำ เพราะไม่ยอมดูดนมจากอาการเจ็บ
  • เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำหากเกิดในช่วงอากาศร้อนหรือแห้งมาก

ทั้งนี้ หากอาการทารกปากแห้งไม่รุนแรง และลูกยังดูดนมได้ดี กินนอนได้ปกติ ถือว่าไม่น่ากังวล แต่หากมีแผล เลือดซึม ริมฝีปากบวมแดง หรือมีไข้ร่วม ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

 

ทารกปากลอกเป็นคราบขาว เกิดจากอะไร


เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นทารกปากลอกเป็นคราบขาว หรือริมฝีปากทารกเป็นสีขาว ควรแยกสาเหตุให้ดี เพราะบางอย่างดูเหมือนไม่อันตราย แต่บางอย่างต้องรีบรักษาค่ะ โดยสาเหตุของทารกปากลอกเป็นคราบขาวที่พบบ่อย คือ

  • เชื้อราในช่องปาก (Oral Thrush) โดยพบคราบขาวที่ลิ้น ริมฝีปากด้านใน เหงือก มักติดจากการดูดนมหรือการใช้จุกนมไม่สะอาด
  • คราบน้ำนมสะสม ซึ่งเกิดจากน้ำนมตกค้างไม่เช็ด ทำให้จับตัวหนาบริเวณปาก
  • ผิวแห้ง ลอกตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในฤดูหนาว หรือเมื่อตากแอร์นาน ๆ

ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้คือ หากเกิดจากเชื้อรา คราบมักล้างไม่ออก มีอาการเจ็บเวลากินนม หากเป็นคราบน้ำนมจะสามารถเช็ดออกได้ด้วยผ้านุ่มชุบน้ำอุ่น ส่วนสาเหตุจากผิวแห้งมักไม่มีอาการเจ็บและกินนมได้ตามปกติ 

 

เด็กปากแห้งขาดวิตามินอะไร


เด็กปากแห้งขาดวิตามินอะไรเป็นคำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย เนื่องจากภาวะปากแห้งในทารกอาจสัมพันธ์กับการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพผิวและเยื่อบุ อาการทารกปากแห้งแตกมักมีวิตามินที่เกี่ยวข้อง คือ 

  • วิตามิน B2 (ไรโบฟลาวิน) ช่วยป้องกันปากแตก ริมฝีปากเป็นรอยแดง มุมปากอักเสบ การขาดวิตามินนี้อาจทำให้ปากแห้งหรือมีรอยแตก
  • วิตามิน B3 (ไนอะซิน) เกี่ยวข้องกับสุขภาพผิว หากขาดวิตามินนี้อาจทำให้ผิวแห้งและอักเสบ
  • วิตามิน A จำเป็นต่อการคงความชุ่มชื้นของเยื่อเมือกและผิวหนัง หากขาดวิตามินเออาจทำให้ปากแห้งหรือลอก

ทั้งนี้ หากสงสัยว่าลูกขาดวิตามิน ควรปรึกษากุมารแพทย์ก่อนให้เสริมอาหารหรือวิตามินเสริมค่ะ

 

เด็กทารกปากแห้ง ดูแลอย่างไร


เด็กทารกปากแห้ง ทารกปากแห้ง ควรดูแลด้วยความอ่อนโยนและใส่ใจ เพราะริมฝีปากของทารกบอบบางมากกว่าส่วนอื่น หากทารกปากแห้งแนะนำให้คุณแม่ดูแล ดังนี้ 

  • ให้ลูกดื่มนมหรือรับน้ำจากนมแม่เพียงพอในแต่ละวัน
  • หมั่นเช็ดปากหลังลูกดูดนมด้วยผ้านุ่มหรือสำลีชุบน้ำอุ่น
  • เลี่ยงการใช้กระดาษทิชชูที่อาจบาดผิวริมฝีปาก
  • ดูแลความชื้นในห้อง โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว หรือห้องเปิดแอร์ตลอดเวลา
  • หมั่นทาครีมหรือบาล์มที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น 

 

ทารกปากแห้งใช้อะไรทา


ทารกปากแห้งใช้อะไรทาเป็นคำถามที่ดีมาก เนื่องจากการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับทารกควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะสิ่งที่อาจสัมผัสกับปากและอาจถูกกลืนเข้าไป หากทารกริมฝีปากแห้งสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับทาปากทารกได้ เช่น 

  • ลาโนลิน (Lanolin) สำหรับทารก สกัดจากขนแกะ ใช้ทาริมฝีปากได้โดยไม่ต้องเช็ดออกเมื่อลูกดูดนม
  • บาล์มสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ไม่มีน้ำหอม สี หรือสารกันเสีย
  • เจลว่านหางจระเข้ หากเลือกสูตรออร์แกนิกและปลอดสารเคมี
  • น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (Virgin Coconut Oil) ใช้ทาบาง ๆ เพิ่มความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ

 

ทารกปากแห้งทาวาสลีนได้ไหม


ทารกปากแห้งทาวาสลีนได้ไหมเป็นคำถามที่หลายคนอาจสงสัย เพราะหลายบ้านมีวาสลีนติดบ้านอยู่แล้ว ตอบคือสามารถใช้ได้ แต่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยมีแนวทางการใช้วาสลีนกับทารก ดังนี้ 

  • ควรเลือกวาสลีนบริสุทธิ์ 100% เท่านั้น
  • ทาบาง ๆ บริเวณริมฝีปากที่แห้ง ไม่ทาบริเวณปากด้านใน
  • หลีกเลี่ยงการทาก่อนลูกดูดนม เพื่อป้องกันการกลืน
  • ไม่ใช้หากริมฝีปากมีแผลเปิดหรือมีการอักเสบ

ทั้งนี้ แม้ว่าสามารถใช้วาสลีนกับทารกได้ แต่หากมีทางเลือกอื่น เช่น เลือกใช้ผลิตภันฑ์สำหรับทารกโดยเฉพาะ อาจเหมาะสมและปลอดภัยกว่าในระยะยาว 

 

คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่เมื่อทารกแรกเกิดปากแห้ง ม


การดูแลทารกควรอาศัยความสม่ำเสมอและใส่ใจสัญญาณเล็ก ๆ จากร่างกายลูก โดยเฉพาะเรื่องผิวพรรณและริมฝีปาก โดยมีคำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่เมื่อทารกแรกเกิดปากแห้ง หรือเมื่อพบเด็กทารกปากลอก ดังนี้

  • หมั่นสังเกตริมฝีปากลูกทุกวัน โดยเฉพาะหลังให้นม
  • ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำอุ่นเช็ดปากทุกครั้งหลังดูดนม
  • ใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชื้นที่ปลอดภัยสำหรับทารก หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ผู้ใหญ่กับผิวเด็ก
  • อย่าปล่อยให้ห้องแห้งเกินไป โดยเฉพาะในห้องแอร์
  • อย่ารอให้ริมฝีปากแตกหรือมีเลือดซึมก่อนเริ่มดูแล
  • หากพบคราบขาวผิดปกติ หรือริมฝีปากบวมแดง ควรพาไปพบแพทย์
  • อย่าใช้ยาหรือครีมที่ไม่ได้ผ่านการรับรองสำหรับทารก

แม้ว่าอาการทารกปากแห้งไม่ใช่ภาวะรุนแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพอื่น และทำให้ลูกไม่สบายตัวได้ง่าย จึงควรดูแลอย่างใกล้ชิด

 

เลือกโภชนาการที่มี MFGM เพื่อ IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก


น้ำนมแม่เป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญที่ลูกน้อยจะได้รับ โดยควรให้น้ำนมแม่ตั้งแต่ลูกตลอดไปจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารอาหารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “MFGM” หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม (Milk Fat Globule Membrane) ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสปิงโกไมอิลีน ฟอสโฟไลปิด แกงกลิโอไซต์ เป็นต้น 

สารอาหารในนมแม่เหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ MFGM ในนมแม่ ยังมีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก

*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561

 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Cart TH Join Enfamama