นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ตุ่มขาวในปากทารกคืออะไร ลูกมีตุ่มขึ้นที่เหงือกทำอย่างไรดี

Enfa สรุปให้

  • ตุ่มขาวในปากทารก คือ ตุ่มหรือจุดสีขาวเล็ก ๆ ที่มักพบได้ในช่องปากของทารก โดยเฉพาะบริเวณเหงือก เพดานปาก กระพุ้งแก้ม หรือริมฝีปากด้านใน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาวะปกติในช่วงวัยทารก และมักหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา 
  • เหงือกทารกมีจุดสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้นจากกระบวนการพัฒนาของเซลล์ในช่องปากและเหงือก ซึ่งในช่วงก่อนคลอดร่างกายทารกมีการสร้างเซลล์ผิวจำนวนมาก หากมีเซลล์เคราตินสะสมอยู่โดยไม่หลุดลอกตามปกติ ก็จะกลายเป็นตุ่มเล็ก ๆ
  • ลูกมีตุ่มขึ้นที่เหงือกอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เศษเคราตินสะสม ต่อมเมือกที่เหลือจากระยะสร้างอวัยวะในครรภ์ ถุงเหงือกที่มักพบช่วงฟันกำลังจะเริ่มพัฒนา ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่โรค ไม่ต้องเจาะออก และมักหายไปได้เอง

เลือกอ่านตามหัวข้อ


ช่วงวัยทารกโดยเฉพาะตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน ร่างกายของลูกน้อยยังอยู่ในระยะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบย่อยอาหาร การมองเห็น หรือแม้แต่ภายในช่องปาก พ่อแม่หลายคนอาจตกใจเมื่อสังเกตพบตุ่มขาวในปากทารก เหงือกมีจุดสีขาวเล็ก ๆ หรือลูกมีตุ่มขึ้นที่เหงือก ซึ่งดูคล้ายตุ่มหนองหรือแผลเล็ก ๆ บางรายอาจมีหลายตุ่ม บางรายมีเพียงจุดเดียวจนอดคิดไม่ได้ว่า ลูกไม่สบายหรือเปล่า?

ในบทความนี้ Enfa จะพาไปหาคำตอบอย่างละเอียด พร้อมคำแนะนำการดูแลที่เหมาะสม เพื่อให้พ่อแม่เบาใจและดูแลลูกได้อย่างถูกวิธีกันค่ะ 

 

ตุ่มขาวในปากทารก คืออะไร


ตุ่มขาวในปากทารก คือ ตุ่มหรือจุดสีขาวเล็ก ๆ ที่มักพบได้ในช่องปากของทารก โดยเฉพาะบริเวณเหงือก เพดานปาก กระพุ้งแก้ม หรือริมฝีปากด้านใน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาวะปกติในช่วงวัยทารก และมักหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา ตุ่มขาวเหล่านี้มีสาเหตุที่แตกต่างกันไป เช่น

 

ตุ่มไข่มุกเอปสไตน์ (Epstein's pearls)

ลักษณะเป็นถุงซีสต์เล็ก ๆ ที่เกิดจากเศษเซลล์เยื่อบุช่องปากระหว่างพัฒนาการในครรภ์ พบได้บ่อยที่เพดานปากช่วงใกล้เหงือก มักหายไปเองในไม่กี่สัปดาห์

 

ตุ่มไข่มุกในเหงือก (Gingival cysts of the newborn)

ลักษณะคล้าย Epstein’s pearls แต่ขึ้นที่เหงือก เกิดจากเซลล์เยื่อบุเหงือกที่สะสมตัวเป็นถุงน้ำขนาดเล็ก

 

ภาวะติดเชื้อราในปาก (Oral thrush)

โดยหากตุ่มหรือคราบขาวกระจายกว้าง มีลักษณะเหมือนคราบนมข้นที่เช็ดไม่ออก และทารกมีอาการเจ็บหรือไม่สบายเวลาให้นม อาจเป็นการติดเชื้อราแคนดิดา (Candida albicans) ซึ่งต้องได้รับการรักษา

 

ฟันขึ้นใหม่ (Eruption cyst หรือ Eruption hematoma)

มักเป็นตุ่มนูนใสหรือสีม่วงเล็กน้อย บริเวณเหงือก ที่เกิดจากฟันกำลังจะโผล่ขึ้นมา

 

ตุ่มสีขาวที่เหงือกทารก เกิดจากอะไร


ตุ่มสีขาวที่เหลือทารก หรือเหงือกมีจุดสีขาวเล็กๆ ทารก เกิดขึ้นจากกระบวนการพัฒนาของเซลล์ในช่องปากและเหงือก ซึ่งในช่วงก่อนคลอดร่างกายทารกมีการสร้างเซลล์ผิวจำนวนมาก หากมีเซลล์เคราตินสะสมอยู่โดยไม่หลุดลอกตามปกติ ก็จะกลายเป็นตุ่มเล็ก ๆ โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 สาเหตุหลัก คือ

  • เศษเคราตินสะสม (Epstein Pearls)
  • ต่อมเมือกที่เหลือจากระยะสร้างอวัยวะในครรภ์ (Bohn’s Nodules)
  • ถุงเหงือก (Dental Lamina Cysts) ที่มักพบช่วงฟันกำลังจะเริ่มพัฒนา

ทั้งนี้ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่โรค ไม่ต้องเจาะออก และมักหายไปได้เองค่ะ

 

ลูกมีตุ่มขึ้นที่เหงือก อันตรายไหม


ส่วนใหญ่แล้ว ลูกมีตุ่มขึ้นที่เหงือกถือว่าไม่อันตราย เพราะตุ่มเหล่านี้ไม่มีผลต่อสุขภาพ ไม่มีอาการเจ็บปวด หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรระวังในกรณีต่อไปนี้

  • ตุ่มมีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีเลือดออก
  • ลูกไม่ดูดนมหรือร้องไห้ทุกครั้งที่ดูดนม
  • ตุ่มเปลี่ยนสีเป็นแดงหรือมีหนอง
  • มีไข้ หรือคราบขาวกระจายหลายจุด (อาจเป็นเชื้อราในปาก)

หากพบอาการเหล่านี้ ควรพาไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดค่ะ

 

ลูกมีตุ่มขาวในปาก รักษาอย่างไร


ในกรณีทั่วไปตุ่มขาวในปากทารกไม่ต้องรักษาเพราะจะหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือนานสุดไม่เกิน 2 เดือน พ่อแม่ควรดูแลช่องปากของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ โดยทำตามวิธีต่อไปนี้

  1. ใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกอุ่นๆ เช็ดเหงือกวันละ 1-2 ครั้ง

  2. หลีกเลี่ยงการให้ลูกอมของเล่นหรือขวดนมที่ไม่สะอาด

  3. ไม่ควรใช้ยาหรือสมุนไพรใด ๆ ทาในช่องปากลูก หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

แต่หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น เชื้อราในปาก (oral thrush) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นคราบหนาขาวลอกยาก แพทย์อาจจ่ายยาฆ่าเชื้อรา เช่น Nystatin ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง

 

ตุ่มขาวในปากทารก กับการดูแลที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้


สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับตุ่มขาวในปากทารก คือ ไม่ควรตื่นตระหนกเกินไปเมื่อลูกมีตุ่มขาวในปาก เพราะภาวะนี้ไม่ใช่อาการป่วย แต่ควรใช้โอกาสนี้ในการเรียนรู้การดูแลช่องปากลูกอย่างเหมาะสม คือ

  • หมั่นตรวจช่องปากลูก โดยเฉพาะหลังอาบน้ำหรือก่อนนอน
  • สร้างสุขนิสัยในการดูแลช่องปากตั้งแต่ยังไม่มีฟัน ด้วยการเช็ดเหงือกอย่างเบามือ
  • ระวังไม่ใช้ยาสมุนไพรหรือสารใดที่ไม่ปลอดภัย
  • หากไม่แน่ใจว่าคือตุ่มปกติหรือไม่ ให้ถ่ายรูปและปรึกษาแพทย์ ไม่ควรพยายามแคะ แกะ หรือบีบตุ่ม
  • เสริมภูมิคุ้มกันลูกด้วยการให้นมแม่ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของเชื้อราในช่องปากและการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ดี

ทั้งนี้ ตุ่มขาวในปากทารก การที่เหงือกทารกมีจุดสีขาวเล็ก ๆ เป็นอาการที่พบได้บ่อยและไม่ควรตกใจ เพราะส่วนใหญ่แล้วไม่อันตรายและไม่ต้องรักษา ตราบใดที่ไม่มีอาการเจ็บปวดหรือภาวะแทรกซ้อน การดูแลความสะอาดภายในช่องปาก และการสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิดคือสิ่งสำคัญที่สุด หากไม่แน่ใจว่าตุ่มนั้นเป็นชนิดใด ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อความอุ่นใจและปลอดภัยของลูกน้อยในทุกระยะของการเติบโต

 

เลือกโภชนาการที่มี MFGM ช่วยให้ลูกน้อยมี IQ/EQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก


น้ำนมแม่เป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญที่ลูกน้อยจะได้รับ โดยควรให้น้ำนมแม่ตั้งแต่ลูกตลอดไปจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารอาหารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “MFGM” หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม (Milk Fat Globule Membrane) ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสปิงโกไมอิลีน ฟอสโฟไลปิด แกงกลิโอไซต์ เป็นต้น 

สารอาหารในนมแม่เหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ MFGM ในนมแม่ ยังมีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก

*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561

 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Cart TH Join Enfamama