Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ช่วงวัยแรกเกิดถึง 1 ปี ร่างกายของลูกน้อยยังมีพัฒนาการไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะระบบผิวหนังซึ่งบางและไวต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่จึงมักพบปัญหา “ทารกปากแห้ง” ได้บ่อย ซึ่งอาจเกิดจากทั้งสภาพอากาศ ความชื้นในห้อง การเลียปาก การดูดนม หรือแม้แต่สาเหตุจากภายใน เช่น ขาดวิตามิน ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่หากปล่อยไว้อาจทำให้ลูกไม่สบายตัว ไม่อยากกินนมหรือร้องไห้ง่าย ดังนั้นการรู้เท่าทันปัญหานี้และดูแลอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ค่ะ
ทารกปากแห้ง อันตรายไหม อาจต้องดูจากสาเหตุและความเสี่ยง โดยปกติแล้วอาการทารกปากแห้งหรือทารกปากลอกนั้นไม่ถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรง แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจสะท้อนปัญหาสุขภาพพื้นฐาน หรือเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาอื่นตามมาได้ เช่น การติดเชื้อที่ริมฝีปาก
ความเสี่ยงจากอาการทารกปากแห้งหรือทารกปากลอก มีดังนี้
ทั้งนี้ หากอาการทารกปากแห้งไม่รุนแรง และลูกยังดูดนมได้ดี กินนอนได้ปกติ ถือว่าไม่น่ากังวล แต่หากมีแผล เลือดซึม ริมฝีปากบวมแดง หรือมีไข้ร่วม ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นทารกปากลอกเป็นคราบขาว หรือริมฝีปากทารกเป็นสีขาว ควรแยกสาเหตุให้ดี เพราะบางอย่างดูเหมือนไม่อันตราย แต่บางอย่างต้องรีบรักษาค่ะ โดยสาเหตุของทารกปากลอกเป็นคราบขาวที่พบบ่อย คือ
ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้คือ หากเกิดจากเชื้อรา คราบมักล้างไม่ออก มีอาการเจ็บเวลากินนม หากเป็นคราบน้ำนมจะสามารถเช็ดออกได้ด้วยผ้านุ่มชุบน้ำอุ่น ส่วนสาเหตุจากผิวแห้งมักไม่มีอาการเจ็บและกินนมได้ตามปกติ
เด็กปากแห้งขาดวิตามินอะไรเป็นคำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย เนื่องจากภาวะปากแห้งในทารกอาจสัมพันธ์กับการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพผิวและเยื่อบุ อาการทารกปากแห้งแตกมักมีวิตามินที่เกี่ยวข้อง คือ
ทั้งนี้ หากสงสัยว่าลูกขาดวิตามิน ควรปรึกษากุมารแพทย์ก่อนให้เสริมอาหารหรือวิตามินเสริมค่ะ
เด็กทารกปากแห้ง ทารกปากแห้ง ควรดูแลด้วยความอ่อนโยนและใส่ใจ เพราะริมฝีปากของทารกบอบบางมากกว่าส่วนอื่น หากทารกปากแห้งแนะนำให้คุณแม่ดูแล ดังนี้
ทารกปากแห้งใช้อะไรทาเป็นคำถามที่ดีมาก เนื่องจากการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับทารกควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะสิ่งที่อาจสัมผัสกับปากและอาจถูกกลืนเข้าไป หากทารกริมฝีปากแห้งสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับทาปากทารกได้ เช่น
ทารกปากแห้งทาวาสลีนได้ไหมเป็นคำถามที่หลายคนอาจสงสัย เพราะหลายบ้านมีวาสลีนติดบ้านอยู่แล้ว ตอบคือสามารถใช้ได้ แต่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยมีแนวทางการใช้วาสลีนกับทารก ดังนี้
ทั้งนี้ แม้ว่าสามารถใช้วาสลีนกับทารกได้ แต่หากมีทางเลือกอื่น เช่น เลือกใช้ผลิตภันฑ์สำหรับทารกโดยเฉพาะ อาจเหมาะสมและปลอดภัยกว่าในระยะยาว
การดูแลทารกควรอาศัยความสม่ำเสมอและใส่ใจสัญญาณเล็ก ๆ จากร่างกายลูก โดยเฉพาะเรื่องผิวพรรณและริมฝีปาก โดยมีคำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่เมื่อทารกแรกเกิดปากแห้ง หรือเมื่อพบเด็กทารกปากลอก ดังนี้
แม้ว่าอาการทารกปากแห้งไม่ใช่ภาวะรุนแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพอื่น และทำให้ลูกไม่สบายตัวได้ง่าย จึงควรดูแลอย่างใกล้ชิด
น้ำนมแม่เป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญที่ลูกน้อยจะได้รับ โดยควรให้น้ำนมแม่ตั้งแต่ลูกตลอดไปจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารอาหารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “MFGM” หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม (Milk Fat Globule Membrane) ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสปิงโกไมอิลีน ฟอสโฟไลปิด แกงกลิโอไซต์ เป็นต้น
สารอาหารในนมแม่เหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ MFGM ในนมแม่ ยังมีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
Enfa สรุปให้ ปกติแล้วอาการทารกปากแห้งหรือทารกปากลอกไม่ถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรง แต่ก็เป็นสัญญาณเต...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ตุ่มขาวในปากทารก คือ ตุ่มหรือจุดสีขาวเล็ก ๆ ที่มักพบได้ในช่องปากของทารก โดยเฉพาะบริ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกไม่ฉี่หลายชั่วโมง อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยมีปัญหาสุขภาพ หากคุณแม่พบว่าลูกมีอาการไ...
อ่านต่อ