Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การเลี้ยงลูกนั้นนอกจากจะต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจ การอบรมสั่งสอน และการเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อฟูมฟักให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างมีความสุขแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทรัพยากรทางด้านการเงิน ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเลี้ยงดู ส่งเสริม และสนับสนุนให้ลูกเติบโตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม วันนี้ Enfa จะมาช่วยไขข้อข้องใจคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนจะมีลูกกันว่า การเลี้ยงลูก 1 คน ใช้เงินเท่าไหร่? แล้วค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูกที่จำเป็นจะต้องจ่ายนั้นมีอะไรบ้าง? เพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางการวางแผนสำหรับอนาคตสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ค่ะ
มีลูกใช้เงินเท่าไหร่? นี่ถือเป็นคำถามที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนที่กำลังวางแผนจะมีลูกต้องฉุกคิดกันอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจสร้างครอบครัวและมีลูกน้อยเป็นโซ่ทองคล้องใจ
สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกนั้น มีการคำนวณและประมาณการณ์เอาไว้ว่า ถ้าเลี้ยงลูก 1 คนใช้เงินเท่าไหร่? แล้วถ้าเลี้ยงลูกถึงอายุ 20 ปีใช้เงินเท่าไหร่? ซึ่งคำตอบที่ได้ก็จะแตกต่างกันออกไปตามสถานภาพทางเศรษฐกิจของแต่ละครอบครัว โดยจำนวนเงินสำหรับการดูแลลูก 1 คน จนถึงอายุ 20 ปี อาจต้องใช้เงินโดยประมาณ
ครอบครัวฐานะพอเพียง อาจอยู่ที่ประมาณ 1,500,000 บาท
ครอบครัวฐานะปานกลาง อาจอยู่ที่ประมาณ 8,000,000 บาท
ครอบครัวฐานะร่ำรวย อาจอยู่ที่ประมาณ 37,000,000 บาท
ซึ่งแน่นอนว่านี่อาจจะไม่ใช่ตัวเลขเป๊ะ ๆ เพราะค่าใช้จ่ายอาจจะน้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้ก็ได้ เนื่องจากขีดความสามารถในการหาเงินของแต่ละครอบครัวนั้นแตกต่างกัน รวมถึงความจำเป็นในการจับจ่ายของแต่ละครอบครัวก็แตกต่างกันไปด้วย
ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่กำลังวางแผนที่จะมีลูก ก็อาจถึงเวลาที่จะต้องเริ่มคำนวณเงินให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตั้งแต่การฝากครรภ์ การตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตร ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเลี้ยงสำหรับทารกแรกเกิด ไปจนถึงค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาที่เริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงระดับชั้นปริญญาตรี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อให้เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตของทุกคนในครอบครัว และให้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูลูก 1 คน
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังสงสัยว่าเลี้ยงลูกใช้เงินเท่าไหร่? ถ้าเลี้ยงลูก 1 คนใช้เงินเท่าไหร่ ถึงจะพอ? เราลองมาดูรายละเอียดค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงวันที่ลูกจบการศึกษา ดังนี้
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการตั้งครรภ์เบื้องต้น ได้แก่
ค่าตรวจสุขภาพและวางแผนการตั้งครรภ์ อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1,500 บาท ไปจนถึง 30,000 บาท ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลที่เลือกใช้บริการ
ค่าฝากครรภ์ สำหรับโรงพยาบาลของรัฐฯอาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ส่วนโรงพยาบาลเอกชนอาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 10,000 – 50,000 บาทขึ้นไป
ค่าตรวจอัลตราซาวนด์ อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1,000 – 2,000 บาทขึ้นไป
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการตั้งครรภ์ เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ คอร์สดูแลสุขภาพคุณแม่ คอร์สเตรียมพร้อมสำหรับพ่อแม่มือใหม่ อาจมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 2,000 – 5,000 บาทขึ้นไป
* ราคาจะแตกต่างกันไปตามสถานพยาบาลและแพ็กเกจราคาที่เลือก อาจมีราคาที่ถูกลง หรือแพงกว่านี้ก็ได้
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการคลอดบุตรเบื้องต้น ได้แก่
ค่าคลอดบุตรด้วยวิธีคลอดธรรมชาติในโรงพยาบาลของรัฐฯ อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท
ค่าคลอดบุตรด้วยวิธีผ่าคลอดในโรงพยาบาลของรัฐฯ อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 15,000 – 30,000 บาท
ค่าคลอดบุตรด้วยวิธีคลอดธรรมชาติในโรงพยาบาลเอกชน อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 30,000 – 90,000 บาท
ค่าคลอดบุตรด้วยวิธีผ่าคลอดในโรงพยาบาลเอกชน อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 60,000 – 150,000 บาท
* อาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในกรณีที่คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องได้รับการผ่าตัดหรือรับการรักษาเฉพาะทาง หรือต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลนานกว่าปกต
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดเบื้องต้น ได้แก่
ค่าอาหาร ค่านม ผ้าอ้อมสำเร็จรูป และอุปกรณ์อื่น ๆ อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่เดือนละ 3,000 – 10,000 บาทขึ้นไป
ค่าพี่เลี้ยงเด็ก อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 10,000 – 20,000 บาทขึ้นไป
* อาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ของเล่น เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด ค่ารักษาพยาบาลกรณีทารกเจ็บป่วย ค่าเดินทาง เป็นต้
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาของลูกเบื้องต้น ได้แก่
ค่าเทอมสำหรับชั้นอนุบาล โรงเรียนของรัฐอาจมีค่าเทอมเริ่มต้นตั้งแต่ 3,000 – 10,000 บาทขึ้นไป โรงเรียนเอกชนอาจมีค่าเทอมเริ่มต้นตั้งแต่ 15,000 – 30,000 บาทขึ้นไป
ค่าเทอมสำหรับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนของรัฐอาจมีค่าเทอมเริ่มต้นตั้งแต่ 3,000 – 20,000 บาทขึ้นไป โรงเรียนเอกชนอาจมีค่าเทอมเริ่มต้นตั้งแต่ 20,000 – 30,000 บาทขึ้นไป
ค่าเทอมสำหรับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนของรัฐอาจมีค่าเทอมเริ่มต้นตั้งแต่ 3,000 – 30,000 บาทขึ้นไป โรงเรียนเอกชนอาจมีค่าเทอมเริ่มต้นตั้งแต่ 20,000 – 30,000 บาทขึ้นไป
ค่าเทอมสำหรับชั้นอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐอาจมีค่าเทอมเริ่มต้นตั้งแต่ 15,000 – 25,000 บาทขึ้นไป มหาวิทยาลัยเอกชนอาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 30,000 – 50,000 บาทขึ้นไป
* ราคาจะแตกต่างกันไปตามสถานศึกษาและสาขาวิชาที่เลือกเรียน สำหรับสถานศึกษาของเอกชน เช่น โรงเรียนเอกชน โรงเรียนนานาชาติ และมหาวิทยาลัยในกำกับการดูแลของเอกชนจะมีราคาที่สูงกว่าสถานศึกษาในกำกับการดูแลของรัฐบาล
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งเสริม ดูแล สนับสนุนศักยภาพและการใช้ชีวิตของลูกเบื้องต้น ได้แก่
ค่าเรียนพิเศษ อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 3,000 – 5,000 บาทขึ้นไป
ค่าคอร์สกิจกรรมต่าง ๆ เช่น คอร์สเรียนดนตรี คอร์สเรียนศิลปะ คอร์สสอนกีฬา อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1,500 – 50,000 บาทขึ้นไป
ค่าทัศนศึกษา อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาทขึ้นไป
ค่าหนังสือและอุปกรณ์เสริมการเรียนรู้ต่าง ๆ อาจมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาทขึ้นไป
ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาล จะขึ้นอยู่กับอาการของโรค และปัญหาสุขภาพที่ลูกเป็น ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปตามอาการทางสุขภาพ โดยอาจต้องมีเงินสำรองไม่น้อยกว่า 50,000 – 100,000 บาท เพื่อให้ครอบคลุมและเพียงพอสำหรับการดูแลรักษาลูกในระดับเบื้องต้น
* ราคาดังกล่าวเป็นเพียงราคาโดยประมาณเท่านั้น ค่าใช้จ่ายจริงอาจมีราคาถูกหรือมีราคาแพงกว่า ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ลูกสนใจ สถานที่ที่เลือกใช้บริการ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การเลี้ยงลูกนั้นจะมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่น ๆ ที่ครอบคลุมอยู่ด้วยตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารักษาพยาบาล และอีกมากมาย ซึ่งบางครั้งมักเป็นค่าใช้จ่ายที่เหนือการควบคุมและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ถ้าหากเราจะกล่าวว่า การเลี้ยงลูก 1 คนนั้นต้องใช้เงินมหาศาล ก็ถือว่าไม่ใช่คำกล่าวที่เกินไปจากความเป็นจริงแต่อย่างใด
ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกต่อเดือนของแต่ละครอบครัวนั้นจะไม่เท่ากันค่ะ เพราะแต่ละครอบครัวจะมีปัจจัยในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องบริหารจัดการให้มีเงินสำรองไว้อย่างเพียงพอเสมอ เผื่อไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน หรือมีเหตุการณ์ที่นอกเหนือการควบคุม เช่น กรณีลูกเจ็บป่วย กรณีคุณพ่อคุณแม่ตกงาน หรือกรณีคุณพ่อคุณแม่ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น
การมีเงินสำรองไว้ นอกจากจะช่วยให้สามารถดูแลลูกได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังจะช่วยให้ครอบครัวสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยงในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อีกด้วย
บางครอบครัวคุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้เองเนื่องจากมีภาระหน้าที่การทำงาน ดังนั้น จึงอาจต้องให้คุณปู่คุณย่า หรือคุณตาคุณยาย หรือญาติใกล้ชิดกันช่วยเลี้ยงดูลูกให้
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องมีการส่งเงินเพื่อใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายให้กับลูก โดยจำนวนเงินนั้นจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสามารถของคุณพ่อคุณแม่ และขึ้นอยู่กับการตกลงกันของแต่ละครอบครัว โดยอาจต้องส่งเงินตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน เพื่อให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูก
นอกจากการวางแผนเรื่องการเงินให้เพียงพอสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกแล้ว การวางแผนเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมกับลูก ก็ถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยเพิ่มพัฒนาการสมองและทักษะ EF ที่สมวัยของลูกได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทารกทุกคนควรจะต้องได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับ MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
Enfa สรุปให้ เลี้ยงลูก 1 คน ใช้เงินเท่าไหร่? สำหรับการเลี้ยงลูก 1 คน อาจต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 1...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ครั้งละไม่เกิน 15,000 บ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ นั่งท่าผีเสื้อ (Butterfly Pose) เป็นท่าบริหารที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เพราะ...
อ่านต่อ