เสื้อที่สะดวกในการให้นม อาทิ เสื้อมีกระดุมหน้า
ชุดชั้นในสำหรับให้นม
แผ่นซับน้ำนม ต้องเตรียมไปให้พอดี
ผ้าพันคอให้นม หรือเสื้อคลุมให้นม เพื่อปิดบังสรีระให้เรียบร้อย
เครื่องปั้มนมและอุปกรณ์เสริมต่างๆ ทำความสะอาด
สำหรับเครื่องปั้มแบบอัตโนมัติ แบตเตอรี่สำรองและอุปกรณ์
ขวดนมและถุงเก็บน้ำนมแบบปลอดเชื้อ
ปากกาและแผ่นสติกเกอร์ (เพื่อแปะระบุวันที่ปั้มน้ำนม)
ถุงช่วยเก็บความเย็น (ขนาด 3 ออนซ์หรือเล็กกว่า)
เคล็ดลับ : ควรนำอุปกรณ์ปั้มนมติดตัวขึ้นเครื่องไปด้วย ป้องกันกระเป๋าเดินทางหายหรือล่าช้าเสมอ คุณแม่คงไม่อยากทำเครื่องปั้มนมหายระหว่างท่องเที่ยวแน่นอน!
ศึกษากฎหรือติดต่อสายการบิน เพื่อสอบถามถึงกฎการให้นมบนเครื่อง รวมไปถึงอุปกรณ์เสริม เช่นกำลังไฟของแบตเตอรี่สำรอง และการมีน้ำนมซึ่งเป็นของเหลวติดตัวขึ้นเครื่อง (ตามกฎกำหนดโดย องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ1 แบตเตอรี่สำรองลิเทียมนั้นไม่ได้รับอนุญาต ให้นำโหลดพร้อมกระเป๋าเดินทาง แต่สามารถนำขึ้นเครื่องได้)
ติดต่อที่พัก สอบถามถึงสถานที่ที่คุณแม่จะสามารถจัดเก็บนม และชนิดของตู้เย็นภายในห้องพัก (บางโรงแรมจะเป็นเพียงตู้เย็นที่ไม่มีช่องแช่แข็ง)
ศึกษาวิธีการปั้มนมด้วยมือ เผื่อกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถใช้งานเครื่องปั้มได้
คืนก่อนวันเดินทาง ตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องปั้มนมให้พร้อม ถุงเก็บน้ำนม อุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ ให้แน่ใจว่ามีมากพอสำหรับทั้งทริป อย่าลืมทดลองปากกาเขียนถุงนมด้วยนะ
เดินทางไปถึงสนามบิน ท่าเรือ หรือสถานีเดินทางอื่นๆ ก่อนล่วงหน้า เผื่อเวลาเพื่อให้คุณแม่ได้มีเวลาพอสำหรับการปั้มนมสำรอง
ผูกมิตรกับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พวกเขาจะได้เต็มใจช่วยเหลือคุณแน่นอน เช่น น้ำร้อนเพื่ออุ่นน้ำนม
เครื่องปั้มนมต้องมีแบตเตอรี่เต็มตลอดเวลา
แช่แข็งน้ำนมเก็บไว้ หากคุณแม่ได้ได้เดินทางเที่ยวพร้อมลูกน้อย
ระบุรายละเอียดวัน เวลา หรือแม้แต่สถานที่ บนถุงน้ำนมเสมอ
แช่แข็งถุงน้ำนมทันทีที่กลับถึงที่พัก และช่วงกลางคืนตลอดเวลาเดินทาง
ไม่ว่าจะยุ่งขนาดไหนคุณแม่ก็ควรทานอาหารให้เหมาะสมตามหลักโภชนาการพกขนมและน้ำขวดสะอาดติดตัวด้วยเสมอ เพราะการลดความหิวหรือกระหายน้ำจะส่งผลดีต่อปริมาณน้ำนมของคุณแม่ด้วย
พกเสื้อสำรองติดตัวด้วยเสมอ เผื่อกรณีน้ำนมไหลหรือหกเลอะเสื้อ
เตรียมเจลล้างมือไว้เสมอเพื่อทำความสะอาดมือ ก่อนจับเครื่องปั้มนมหรือให้นมลูก เผื่ออยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถล้างมือได้
เตรียมถุงเคลือบกันรั่วซึมสำหรับเก็บอุปกรณ์ปั้มนม ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ในทันที
หากต้องเดินทางโดยเครื่องบินพร้อมลูกน้อย คุณแม่ควรจับเวลาในการให้นมระหว่างช่วงเครื่องบินขึ้นและลงจอด ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดอาการหูอื้อและแรงดันอากาศภายในหูของลูกลงได้
หากคุณแม่เดินทางเป็นระยะเวลานาน และต้องการนำน้ำนมที่ปั้มไว้ขึ้นเครื่องบินกลับบ้านด้วย ควรเตรียม..
น้ำแข็งแห้งช่วยลดอุณหภูมิ
กล่องสะอาดสำหรับใส่ถุงน้ำนม
จัดเก็บและระบุรายละเอียดลงบนกล่อง
นำกล่องน้ำนมไปที่สามบิน และกลับจากสนามบินด้วยตนเอง
หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby
Enfa สรุปให้ Latch Score คือระบบการประเมินการให้นมแม่ที่เพื่อช่วยวัดและติดตามประ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการคัดเต้าเป็นก้อน ปั๊มไม่ออก มักเกิดจากการปล่อยน้ำนมค้างเต้าเป็นเวลานาน ลูกดูดไม...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ท้อง 8 เดือนเต้าไม่คัด หรือหลังคลอดเต้าไม่คัด ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ พ...
อ่านต่อ