Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
อาการลูกแพ้อาหารที่แม่กินในเด็กเล็กอาจไม่ใช่เรื่องที่คุณแม่คิดว่าเกิดขึ้นได้จากการให้นมแม่ แต่จริงๆ แล้ว ทารกแพ้นมแม่หรือลูกแพ้นมแม่จากอาหารที่แม่กินเข้าไป สามารถเกิดขึ้นได้ โดยลูกน้อยอาจมีอาการแพ้ เช่น มีผื่นขึ้น ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นต้น
แพ้นมแม่ เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเกิดจากการที่ลูกน้อยแพ้อาหารผ่านน้ำนมแม่ จากอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะสารอาหารอย่างนมวัว รวมไปถึงอาหารประเภทอื่น ๆ ซึ่งลูกน้อยอาจมีอาการผื่นแพ้ที่ผิวหนัง ท้องเสียเมื่อได้รับสิ่งสารกระตุ้นภูมิแพ้จากอาหารผ่านทางน้ำนมแม่
อาการลูกแพ้อาหารในเด็กที่เกิดจากอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป โดยแสดงออกผ่านทางน้ำนมแม่ อาจแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ ซึ่งแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน อาจสังเกตเห็นอาการต่างๆ ได้ เช่น
1. ร้องงอแงผิดปกติหลังกินนม หงุดหงิดเมื่อถึงเวลาให้นม
2. แหวะนมหรืออาเจียน
3. มีผื่นแดง
4. ถ่ายมีมูกเลือด
5. ผิวแห้งและอาจเป็นขุย
6. คันบริเวณผิวหนัง
7. บวมริมฝีปาก ใบหน้า หรือรอบดวงตา
8. เรอบ่อยกว่าปกติ
9. ท้องเสีย
10. ท้องผูก
11. ปวดท้อง ไม่สบายท้อง
12. คัดจมูก หายใจมีเสียงวี้ด
13. บางรายน้ำหนักตัวไม่ปกติ
14. ความอยากอาหารลดลง
อาการแพ้นมแม่มักเกิดขึ้นภายใน 2-72 ชั่วโมง หลังจากคุณแม่กินอาหารที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ โดยผื่นแพ้มักเป็นอาการแรกที่พบได้เร็วที่สุดค่ะ
การหาสาเหตุของอาการแพ้ที่เกิดขึ้นในลูกน้อยอาจต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่วิธีสังเกตที่ง่ายที่สุด คือ การจดบันทึกอาหารที่คุณแม่กิน และอาการของลูกในแต่ละวันค่ะ แล้วสังเกตอาการที่เกิดขึ้นหลังจากให้นม
อาหารที่พบว่าเป็นสาเหตุของการแพ้บ่อยที่สุด 8 อันดับ ได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง ปลา อาหารทะเล ถั่วเหลือง และข้าวสาลี คุณแม่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อทานอาหารเหล่านี้นะคะ
คุณแม่ไม่ต้องตกใจ หากลูกน้อยมีอาการแพ้นมแม่ อาการเด็กแพ้นมแม่สามารถจัดการได้ โดยมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้
แม้ว่าลูกจะมีอาการแพ้บางอย่างจากอาหารที่แม่กินเข้าไป แต่การให้นมแม่ยังคงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตและสุขภาพของลูกน้อย สำหรับคุณแม่ที่มีเด็กแพ้นมแม่ สามารถรับมือได้ ดังนี้
สำหรับคุณแม่ที่พบว่าแพ้อาหารชนิดใดแล้วนั้น เมื่องดอาหารที่เป็นสาเหตุ อาการของลูกน้อยจะค่อยๆ ดีขึ้น ซึ่งระยะเวาอาจขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน ความอดทนและการสังเกตอย่างต่อเนื่องจึงเป็นกุญแจสำคัญมากค่ะ
แม้ว่าลูกจะมีอาการแพ้นมแม่ แต่คุณแม่ก็ไม่ควรหยุดให้นมแม่ค่ะ และควรให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากนมแม่ยังมีสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาการที่ดีให้กับลูกน้อย
นอกจากนี้ คุณแม่ยังควรงดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการลูกแพ้อาหารที่แม่กินได้ ไม่ว่าจะเป็นนมวัว อาหารที่ผลิตจากนมวัวหรืออาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อื่นๆ
ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้นั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อย ซึ่งแพทย์มักแนะนำ* โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (eHP) ซึ่งมีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และโพรไบโอติกส์ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส (LGG) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง รวมถึงลดโอกาสในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต
*แนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีนมวัวหรือส่วนประกอบของนมวัวเป็นส่วนผสม เช่น
กลุ่มอาหารที่อาจมีการปนเปื้อนของนมวัวในกระบวนการผลิต เช่น
ผลิตภัณฑ์นมมีโปรตีน และแคลเซียมสูง หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยแพ้อาหารที่แม่กิน เช่น
นมวัว หรืออาหารที่ผลิตจากนมวัว คุณแม่สามารถรับประทานอาหารอื่น เพื่อทดแทนการดื่มนม เพื่อเสริมสร้างโปรตีน และแคลเซียมสูง ได้ ดังนี้
อาหารที่มีโปรตีน เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ เป็นต้น
อาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณสูง เช่น ปลาตัวเล็ก เต้าหู้ก้อน บรอกโคลี ผักกวางตุ้ง เป็นต้น
เกิดขึ้นได้จริงค่ะ ลูกน้อยสามารถแพ้โปรตีนนมวัวผ่านผ่านน้ำนมแม่ได้ ในกรณีที่ที่คุณแม่กินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว*
*แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
ในกรณีที่ลูกแพ้นมวัว คุณแม่อาจจำเป็นต้องงดผลิตภัณฑ์จากนมวัวชั่วคราว และค่อยๆ ทดลองรับประทานใหม่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ในกรณีที่คุณแม่ต้องงดนมวัว ควรเสริมแคลเซียมจากแหล่งอื่น เช่น ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ ผักใบเขียว เต้าหู้ เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอสำหรับการผลิตน้ำนม
Enfa สรุปให้ ลูก 1 ขวบ ท้องเสีย ไม่มีไข้ อาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารหรือเปลี่ยนนม อาการแพ้อาหารบาง...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ Hypoallergenic คือคำอธิบายคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อลดโอกาสในการกระตุ้นอากา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ผื่นแพ้อากาศ หรือผื่นภูมิแพ้อากาศ เป็นผื่นที่เกิดจากการตอบสนองของผิวหนังต่อสิ่งกระต...
อ่านต่อ