Enfa สรุปให้

  • อาการแพ้ถั่ว เป็นอาการแพ้อาหารที่พบได้ตั้งแต่ในเด็ก และเด็กที่มีอาการแพ้ถั่วชนิดใดชนิดหนึ่ง มีแนวโน้มที่จะแพ้ถั่วชนิดอื่น ๆ ด้วย

  • อาการแพ้ถั่วในเด็กแต่ละคนจะมีความรุนแรงที่มากหรือน้อยแตกต่างกัน บางคนมีอาการแพ้ไม่มาก แต่บางคนอาจมีอาการแพ้รุนแรง

  • คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาหารการกินของลูกให้ดี เพราะถ้าหากลูกแพ้ถั่วรุนแรง อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

    เลือกอ่านตามหัวข้อ

         • อาการแพ้ถั่ว เป็นอย่างไร
         • เด็กแพ้ถั่ว ควรกินอะไรดี
         • แนะนำเมนูสำหรับเด็กแพ้ถั่ว
         • ป้องกันอาการแพ้อาหารในเด็กได้อย่างไร

    อาการแพ้ถั่ว เป็นหนึ่งในอาการแพ้อาหารชนิดหนึ่งที่เริ่มพบได้ตั้งแต่ในเด็ก โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มให้ลูกกินอาหารตามวัย (Solid Foods) คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูทุกครั้งด้วยว่า ในวันที่ให้ลูกกินถั่ว หรือมีถั่วเป็นส่วนผสมในเมนูอาหาร ลูกมีอาการแพ้ตามมาหรือไม่ หากลูกแพ้ถั่ว ครั้งต่อ ๆ ไป คุณพ่อคุณแม่ควรจะเปลี่ยนมาทำเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับเด็กแพ้ถั่วจะปลอดภัยกว่า 

    รู้จักกับอาการแพ้ถั่ว อาการเป็นแบบไหน เกิดจากอะไร


    อาการแพ้ถั่ว (Nut Allergy) คือ กลุ่มอาการแพ้อาหารที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ และต่อต้านกับกลุ่มโปรตีนในถั่ว ทำให้เมื่อลูกกินถั่วต่าง ๆ เข้าไป จึงมีอาการแพ้ตามมา ได้แก่ 

    • มีผื่นลมพิษขึ้นตามร่างกาย 

    • ริมฝีปากบวม 

    • มีผื่นแดงที่ผิวหนัง 

    • คัดจมูก 

    • น้ำมูกไหล 

    • ปวดท้อง  

    • คลื่นไส้ หรืออาเจียน 

    • หายใจไม่ออก หายใจไม่สะดวก 

    สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

    เด็กแพ้ถั่ว ควรได้รับโภชนาการอย่างไร มีอาหารประเภทไหนกินไม่ได้บ้าง


    แพ้ถั่ว อาการในเด็กแต่ละคนจะมีความรุนแรงที่มากหรือน้อยแตกต่างกันค่ะ เด็กบางคนอาจมีอาการแพ้ไม่มาก แต่เด็กบางคนอาจจะมีอาการแพ้รุนแรง ซึ่งในกรณีนี้อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ค่ะ 

    ดังนั้น หากเริ่มสังเกตว่าลูกมีอาการแพ้ถั่ว คุณพ่อคุณแม่ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารตระกูลถั่วและอาหารอื่น ๆ ที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเพื่อป้องกันอาการแพ้ เช่น 

    ถั่วต่าง ๆ  

    • อัลมอนด์ 

    • ถั่วบราซิล 

    • เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 

    • เกาลัด 

    • เฮเซลนัท 

    • ถั่วมะคาเดเมีย 

    • พีแคน 

    • พิซตาชิโอ 

    • วอลนัท 

    นอกจากนี้ ยังควรระวังอาหารที่มีส่วนผสมของถั่ว และวัตถุดิบที่ทำมาจากถั่ว ไม่ว่าจะเป็นขนมและของหวานต่าง ๆ เช่น คุกกี้ ลูกอม ขนมอบ พาย เค้ก ไอศกรีม ซีเรียล กราโนล่า ขนมปังธัญพืช ฯลฯ เนื่องจากแป้งที่ใช้ทำส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของถั่วค่ะ 

    ซึ่งถั่วอุดมไปด้วยสารอาหารจำพวกวิตามิน เกลือแร่ และโปรตีนสูง ดังนั้น หากลูกไม่สามารถกินถั่วได้อีกต่อไป คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเสริมแร่ธาตุเหล่านั้นด้วยอาหารอื่นๆ  ได้แก่ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ก็จะช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เหมาะสมกับการเจริญเติบโต และปลอดภัยจากอาการแพ้ด้วยค่ะ 

    ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้เด็ก

    10 เมนูแนะนำสำหรับเด็กแพ้ถั่ว


    สำหรับเด็กที่มีอาการแพ้ถั่ว คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารทุกอย่างที่มีถั่วหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นส่วนผสม เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอาการแพ้ และสามารถปรุงเมนูแสนอร่อย มีประโยชน์ แบบไม่ต้องใช้ถั่วได้ง่าย ๆ ดังนี้

    1. กล้วยบดแอปเปิ้ล 

    วัตถุดิบ: 

    • แอปเปิ้ล 

    • กล้วยสุกกำลังดี 

    • น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

    วิธีทำ: หั่นกล้วยกับแอปเปิ้ลเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำลงไปเคี่ยวด้วยน้ำสะอาดหรือนมแม่เพื่อให้เนื้อสัมผัสนิ่ม เมื่อเริ่มนิ่มให้ยกขึ้นแล้วบดให้ละเอียดหรือบดเอาพอหยาบ เมื่อบดจนเนื้อเนียนเข้ากันดีแล้ว ตักเสิร์ฟได้เลย 

     

    2. บรอกโคลีบดมันเทศ 

    วัตถุดิบ: 

    • บรอกโคลี 

    • มันเทศ 

    • น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

    วิธีทำ: หั่นมันเทศกับบรอกโคลีเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำลงไปเคี่ยวด้วยน้ำสะอาดหรือนมแม่เพื่อให้เนื้อสัมผัสนิ่ม เมื่อเริ่มนิ่มให้ยกขึ้นแล้วบดให้ละเอียดหรือบดเอาพอหยาบ เมื่อบดจนเนื้อเนียนเข้ากันดีแล้ว ตักเสิร์ฟได้เลย 

     

    3. อะโวคาโดมินต์ 

    วัตถุดิบ: 

    • อะโวคาโด 

    • ใบมินต์หรือใบสะระแหน่ 

    วิธีทำ: คว้านเนื้ออะโวคาโดออกมาแล้วบดให้ละเอียดหรือพอหยาบ จากนั้นซอยใบมินต์แล้วผสมลงไปบดเข้าด้วยกัน พอเนื้อเนียนเข้ากันดีก็ตั้งเสิร์ฟได้เลยค่ะ 

     

    4. เพียวเร่ผลไม้รวม 

    วัตถุดิบ: 

    • แอปเปิ้ล 

    • เชอร์รี 

    • พีช 

    • น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

    วิธีทำ: หั่นแอปเปิ้ลเป็นชิ้นพอดีคำแล้วนำไปเคี่ยวในกระทะ จากนั้นสับเชอร์รีกับพีชเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นใส่ลงไปเคี่ยวกับแอปเปิ้ล เมื่อทุกอย่างนิ่มลงแล้ว ให้นำมาบดให้เข้ากัน จากนั้นตักเสิร์ฟ 

     

    5. ลูกแพร์บด 

    วัตถุดิบ: 

    • ลูกแพร์ 

    • ข้าวหอมมะลิ หรือข้าวไรซ์เบอร์รี 

    • น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

    วิธีทำ: คว้านลูกแพร์ออกเป็นชิ้น ๆ สับเล็กน้อย แล้วนำไปเคี่ยวประมาณ 5 นาที จากนั้นบดข้าวลงไปผสมให้เข้ากัน แล้วตักเสิร์ฟได้เลย 

      

    6. ข้าวโพดบด 

    วัตถุดิบ: 

    • ข้าวโพดหวาน 

    • นมแม่ 

    วิธีทำ: ต้มข้าวโพดให้สุก จากนั้นนำมาบดกับนมแม่ให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วตักเสิร์ฟได้เลยค่ะ 

      

    7. มะม่วงบดแอปเปิ้ล 

    วัตถุดิบ: 

    • มะม่วงสุก 

    • แอปเปิ้ล 

    • น้ำสะอาดหรือนมแม่ 

    วิธีทำ: หั่นแอปเปิ้ลเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปเคี่ยวในกระทะให้นิ่ม หั่นมะม่วงสุกเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นนำมาบดเข้าด้วยกัน แล้วตักเสิร์ฟ 

     

    8. บีตรูตบด 

    วัตถุดิบ: 

    • บีตรูต 

    • มันฝรั่ง 

    • น้ำสะอาด 

    • นมแม่ 

    วิธีทำ: หั่นมันฝรั่งกับบีตรูตเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มให้สุก เมื่อสุกและนิ่มได้ที่แล้วนำมาบดเข้าด้วยกัน เติมนมแม่เล็กน้อย พอเนื้อเนียนเข้ากันดีแล้วให้ตักเสิร์ฟ 

     

    9. ฟักทองบด 

    วัตถุดิบ: 

    • ฟักทอง 

    • น้ำมันมะกอก 

    • นมแม่ 

    วิธีทำ: เปิดเตาอบไว้ที่อุณหภูมิ 180 องศา หั่นฟักทองครึ่งหนึ่งแล้ววางใส่ถาด ราดด้วยน้ำมันมะกอก จากนั้นนำไปอบ 45-50 นาที พักให้เย็นแล้วเริ่มบดผสมกับนมแม่ เมื่อเป็นเนื้อเดียวกันตักเสิร์ฟได้ 

     

    10. ผักบดรวมมิตร 

    วัตถุดิบ: 

    • มันฝรั่ง 

    • มันเทศ 

    • แคร์รอต 

    • ข้าวโพด 

    • นมแม่ 

    วิธีทำ: หั่นผักเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มหรือนึ่งให้สุก เมื่อทุกอย่างสุกแล้วนำมาบดเข้าด้วยกัน เติมนมแม่เรื่อย ๆ ไม่ให้เนื้อแห้งเกินไป เมื่อเนื้อเนียนสวยเข้ากันดีแล้ว ตักเสิร์ฟค่ะ 

    ป้องกันอาการแพ้อาหารในเด็กได้อย่างไร


    อาการแพ้อาหารในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจตั้งแต่ลูกยังเล็ก เพราะถ้าหากรู้ตัวได้เร็ว ก็สามารถรับมือได้เร็ว และมีโอกาสจะรักษาให้หายขาดได้ตั้งแต่อายุุยังน้อยด้วย 

    โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันอาการแพ้อาหารในเด็กได้ ดังนี้ 

    • ในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ควรให้ทารกได้กินนมแม่ต่อเนื่องอย่างเต็มที่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารภูมิคุ้มกันที่มีส่วนช่วยลดโอกาสเกิดภูมิแพ้ในเด็กได้ 

    • ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่พอหรือไม่สามารถให้นมแม่ไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ “โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด* (EHP)” โปรตีนนมขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และอาจมีโพรไบโอติกส์ เช่น LGG ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อหยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาสเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ในอนาคต 

    • เมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป และเริ่มกินอาหารตามวัย (Splid Foods) คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยจับตาสังเกตดูว่า หลังจากลูกกินอาหารไปแล้ว มีอาการผิดปกติไหม ผื่นขึ้นไหม ไอ จาม น้ำมูกไหลหรือเปล่า 

    • เวลาให้อาหาร พยายามให้อาหารมื้อละอย่าง เพื่อจะได้สังเกตูง่ายขึ้นว่าลูกแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ หรือเปล่า เพราะถ้าให้อาหารหลายชนิดเกินไป เราอาจไม่ทราบว่าลูกแพ้อาหารชนิดไหนกันแน่ 

    • เมื่อรู้ว่าลูกกินอาหารชนิดไหนแล้วแพ้ หลังจากนั้นให้หลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นโดยเด็ดขาด ซึ่งไม่ใช่เลี่ยงแค่เฉพาะเด็กนะคะ แต่คุณแม่ก็ต้องเลี่ยงอาหารชนิดนั้นด้วย เพราะทารกยังสามารถจะได้รับอาหารนั้นผ่านทางนมแม่ มีโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ได้ 

    • พาลูกไปเข้ารับการตรวจหาสารภูมิแพ้กับแพทย์เพื่อความแม่นยำมากขึ้น เพราะลูกอาจแพ้อาหารหลายชนิด คุณพ่อคุณแม่จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ขึ้นกับลูกได้อีก และแพทย์ 



    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย