Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ที่สวนก้นเด็ก ที่พ่อแม่หลายๆ คนใช้กันในเวลาที่ลูกท้องผูก อึกไม่ออก จนลูกรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว พ่อแม่อาจจะสงสัยว่าสามารถนำมาใช้กับลูกได้หรือไม่ บทความนี้จะชวนมาหาคำตอบค่ะ
ที่สวนก้นเด็ก ยาสวนทวารเด็ก หรือ ยาสวนอุจจาระเด็ก เป็นคำที่คุ้นหูคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน
โดยเฉพาะเมื่อลูกน้อยมีอาการท้องผูก ถ่ายยาก หรืออุจจาระแข็ง
การสวนก้นเด็กเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้บรรเทาอาการท้องผูกในเด็ก ที่สวนอุจจาระทารกมักใช้ของเหลวหรือยาสวนทวารเด็ก
เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวและขับอุจจาระออกมา วิธีนี้มักใช้ในกรณีที่เด็กท้องผูกเรื้อรังและวิธีการอื่นๆ
ไม่ได้ผล ทั้งนี้การใช้ที่สวนก้นเด็กควรทำด้วยความระมัดระวัง และตามคำแนะนำของแพทย์เสมอ
แม้การสวนก้นจะเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ในระยะสั้น แต่คุณหมอมักไม่แนะนำให้ใช้ยาสวนอุจจาระทารกแรกเกิด
หรือทารกที่ท้องผูกเป็นประจำ เนื่องจากการใช้ยาสวนอุจจาระทารกแรกเกิดจะส่งผลเสียต่อเด็กได้หลายอย่าง
เช่น
ทำให้ลำไส้ขี้เกียจ: การพึ่งพายาสวนบ่อยๆ
จะทำให้ลำไส้ของเด็กขี้เกียจทำงานเอง ส่งผลให้ปัญหาท้องผูกเรื้อรังมากขึ้น
และอาจต้องพึ่งยาสวนอุจจาระไปตลอดชีวิต
เสียสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้: ยาสวนอาจทำลายสมดุลของแบคทีเรียดีในลำไส้
ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหารและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ระคายเคืองผิวหนังรอบทวารหนัก: การใช้ยาสวนบ่อยครั้งอาจทำให้ผิวหนังรอบทวารหนักของเด็กระคายเคือง
อักเสบ
หรือติดเชื้อได้
กลัวการขับถ่าย: เด็กอาจรู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัวขณะสวน
ทำให้กลัวการขับถ่ายในอนาคต
การใช้ยาสวนอุจจาระควรทำตามคำแนะนำของแพทย์และไม่ควรใช้บ่อยเกินไป
หากจำเป็นต้องใช้ยาสวนอุจจาระเด็ก วิธีใช้และข้อควรระวัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง หรือใช้ตามคำแนะนำในฉลากของผลิตภัณฑ์ และใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสม วิธีสวนอุจจาระเด็ก มีดังนี้
วิธีสวนอุจจาระทารกมีข้อควรระวัง คือ
ยาสวนก้นเด็ก มีข้อห้ามในการสวนอุจจาระ และข้อควรระวังที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนจะใช้ยาสวนอุจจาระเด็ก
คือ
เด็กที่มีอาการอักเสบของลำไส้: เช่น โรคโครห์น
โรคลำไส้อักเสบ
เด็กที่มีอาการท้องเสีย: การสวนอุจจาระในเด็กที่ท้องเสียอาจทำให้ภาวะท้องเสียรุนแรงขึ้น
เด็กที่มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง: อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ
ที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย
ห้ามใช้ยาสวนอุจจาระในกรณีที่มีบาดแผลหรือการอักเสบ: การสวนอุจจาระในกรณีนี้อาจทำให้การอักเสบหรือบาดแผลแย่ลง
ห้ามใช้บ่อยเกินไป: การใช้ยาสวนอุจจาระบ่อยเกินไปอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทวารหนัก
การสวนก้นเด็กเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ใช่การแก้ไขสาเหตุของปัญหาท้องผูก การแก้ไขปัญหาท้องผูกในระยะยาว ควรให้เด็กกินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เพราะนมแม่ย่อยได้ง่าย และมีสารอาหารสำคัญหลายชนิด และสำหรับเด็กที่กินเริ่มกินอาหารตามวัย นอกเหนือจากนมแม่ ควรให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วน เน้นโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยในมื้ออาหารควรมีข้าว เนื้อสัตว์ และผัก ผลไม้ เพื่อเพิ่มเส้นใยอาหารก็จะทำให้เด็กขับถ่ายง่ายขึ้น และส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้
สำหรับเด็กทารกวัย 0-6 เดือน ไม่ควรให้เด็กกินอย่างอื่นนอกจากนมแม่ เด็กทารกวัยหลัง 6 เดือนไปแล้ว
ให้เด็กกินอาหารเสริมได้ ควรเน้นผักผลไม้ที่มีกากใยเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย รวมถึงให้กินน้ำร่วมด้วย
ช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น
เพื่อการเรียนรู้แบบไม่สะดุด นมแม่ถือเป็นอาหารล้ำค่า
ที่ไม่เพียงจะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด แต่ยังดีต่อระบบการย่อยอาหารของลูกน้อยที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่
แต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมต่อระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของลูกน้อย โดยโภชนาการที่เหมาะสมอาจมีคุณสมบัติ
เป็นโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน
มีโมเลกุลขนาดเล็ก ย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มคงตัว ไม่แข็ง
ขับถ่ายได้ง่าย
นอกจากนี้ยังควรเลือกโภชนาการที่มีใยอาหาร อย่าง โพลีเด็กซ์โตรส (PDX)
และกาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (GOS) ซึ่งช่วยในการทำงานของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้และปรับลักษณะอุจจาระให้นิ่มขึ้น
ไม่แนะนำอย่างยิ่งค่ะ เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของทารกยังไม่สมบูรณ์ การใช้ที่สวนอุจจาระทารกแรกเกิดอาจไปรบกวนสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ และอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังบริเวณทวารหนักของทารก
สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ร้านขายยาในห้างสรรพสินค้า หรือซื้อที่สวนอุจจาระทารกในเซเว่น แต่ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามเภสัชกร เพื่อขอคำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกน้อย
ไม่แนะนำค่ะ เพราะสบู่มีสารเคมีที่ระคายเคืองต่อผิวบอบบางของทารก และอาจทำให้เกิดการอักเสบในบริเวณทวารหนักได้ การใช้สบู่สวนอาจทำให้ปัญหาท้องผูกของลูกน้อยแย่ลง
การสวนทวารเด็กเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก และไม่ควรทำบ่อยหรือทำเองโดยปราศจากคำแนะนำจากแพทย์ค่ะ หากใช้ยาสวนทวารเด็กไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอันตราย เช่น การบาดเจ็บที่ทวารหนัก หรือการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากเกินไป
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย
Enfa สรุปให้ ที่สวนก้นเด็กมักใช้ของเหลวหรือยาสวนทวารเด็ก เพื่อกร...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ