Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การดิ้นของทารกในครรภ์ถือเป็นสัญญาณสำคัญที่บ่งบอกถึงพัฒนาการและสุขภาพของลูกน้อย คุณแม่จะรู้สึกถึงการเตะเบา ๆ เหมือนปลาตอดภายในท้อง พอครบ 4–5 เดือน (ประมาณ 18–20 สัปดาห์) กระดูกและกล้ามเนื้อทารกเริ่มแข็งแรงขึ้นและเริ่มยืดแขนขา เคลื่อนไหวชนผนังมดลูกบ่อยครั้ง ทำให้คุณแม่เริ่มรู้สึกว่า “ลูกดิ้น” ได้ชัดเจนขึ้น
ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณแม่ไปหาคำตอบเกี่ยวกับลูกดิ้นที่หลายคนสงสัย เช่น ลูกดิ้นบริเวณหัวหน่าว ท้อง 6 เดือนลูกดิ้นต่ำ ลูกดิ้นต่ำ ว่าแบบไหนเป็นเรื่องปกติ แบบไหนต้องระวังมากเป็นพิเศษ มาอ่านกันเลยค่ะ
โดยปกติแล้วการที่ลูกดิ้นบริเวณหัวหน่าว/ กระดูกเชิงกรานบริเวณท้องน้อย หรือในความรู้สึกคุณแม่คือลูกดิ้นตรงจิมิ มักเกิดจาก 2 ปัจจัยหลักคือ ตำแหน่งของมดลูกหรือท่าทารกและอายุครรภ์ ดังนี้
การตั้งครรภ์ในช่วงนี้ มดลูกจะอยู่ต่ำใกล้ระดับสะดือของคุณแม่ ทำให้เมื่อทารกดิ้นคุณแม่จะรับรู้การกระแทกหรือจังหวะดิ้นส่วนใหญ่ที่บริเวณท้องน้อย (เหนือหัวหน่าว) เป็นหลัก
บางครั้งการดิ้นบริเวณหัวหน่าวอาจเกิดจากลูกอยู่ในท่าต่างไปจากปกติ เช่น ท่าก้นลง (Breech) ซึ่งหมายถึงก้นหรือเท้าของทารกอยู่ด้านล่าง ส่วนศีรษะหันขึ้นด้านบน (ก้นชี้ลง) ในท่านี้ ทารกจะงอขาลงมาชิดผนังมดลูกด้านล่างมากกว่าปกติ จึงมักรู้สึกว่าลูกดิ้นแรง ๆ ที่ช่องเชิงกรานและหัวหน่าว
หากตรวจด้วยอัลตราซาวนด์พบว่าทารกอยู่ท่า Breech ก็นับว่าปกติในอายุครรภ์ช่วงต้น–กลาง แต่ถ้าเป็นช่วงปลายหรือใกล้คลอดแล้ว ทารกยังไม่กลับหัวลง คุณหมออาจแนะนำวิธีช่วยกลับท่าหรือวางแผนคลอดผ่าตัดต่อไป
“ลูกดิ้นต่ำ” คือ การอธิบายความรู้สึกถึงการดิ้นของลูกน้อย โดยรู้สึกถึงการดิ้นในท้องน้อยหรือหัวหน่าวมากเป็นพิเศษ ซึ่งคำนี้เป็นภาษาพูดโดยทั่วไป ไม่ได้มีความหมายทางการแพทย์ ทั้งนี้ การดิ้นต่ำไม่ใช่อาการผิดปกติ แต่เป็นเรื่องปกติของการตั้งครรภ์
ตัวอย่างเช่น ในช่วงตั้งครรภ์ 6 เดือน (ประมาณ 24 สัปดาห์) คุณแม่หลายท่านอาจรู้สึกว่าลูกดิ้นต่ำบ่อยครั้ง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะถึงเวลานี้มดลูกยังไม่สูงมากและทารกยังเล็กพอที่จะดิ้นใต้อวัยวะเพศได้ เพราะทารกที่กำลังพัฒนากล้ามเนื้อและระบบประสาทจะขยับแขน ขา และตัวไปมา คล้ายกับเด็กแรกเกิดที่ขยับร่างกายเล่น ดังนั้น ลูกดิ้นต่ำจึงเป็นเพียงการรู้สึกถึงตำแหน่งการดิ้นของลูก ไม่ใช่การบ่งชี้อาการผิดปกติใด ๆ
เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 8 (ประมาณ 32 สัปดาห์) คุณแม่อาจกังวลว่าหากยังรู้สึกลูกดิ้นต่ำอยู่ นั่นเป็นเรื่องผิดปกติไหม โดยทั่วไปไม่ต้องตกใจค่ะ เพราะทารกยังไม่ได้กลับเป็นท่าหัวลงอย่างสมบูรณ์ในช่วงนี้ หมายความว่ายังมีเวลาให้ทารกค่อย ๆ พลิกตัวได้อยู่
ทั้งนี้ คุณแม่ก็ยังคงต้องไปพบแพทย์ตามนัดและติดตามดูตำแหน่งทารกอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากถึงเวลาใกล้คลอดหรืออายุครรภ์ประมาณ 37 สัปดาห์ขึ้นไป หากทารกยังอยู่ท่าก้นลง อาจต้องวางแผนการคลอดเป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงต่อการคลอดเองทางช่องคลอด
โดยทั่วไป คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นต่ำได้ตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าเป็นครรภ์แรก นอกจากนี้อาจรู้สึกถึงการที่ลูกดิ้นใต้สะดือ โดยจะรู้สึกเหมือนจิ้ม ๆ หรือเตะเล็ก ๆ ลึก ๆ ที่ท้องน้อย รวมถึงลูกดิ้นโดนกระเพาะปัสสาวะทำให้รู้สึกเหมือนอยากปัสสาวะบ่อย หรือมีแรงดันจี้ ๆ ลงต่ำ อาจปวดหน่วงหรือจั๊กจี้ภายในร่วมด้วย
ทั้งนี้ ตำแหน่งการดิ้นเหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปตามท่าทางของทารก และไม่ได้เป็นสัญญาณอันตราย เว้นแต่มีอาการเจ็บรุนแรงหรือมีเลือดออกค่ะ
ลูกดิ้นแล้วปวดจิมิเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนท้อง โดยอาการปวดจี๊ดที่ช่องคลอดหรือเรียกว่า Lightning Crotch มักเกิดขึ้นเมื่อทารกกดทับปากมดลูกหรือเส้นประสาทในเชิงกราน ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างฉับพลันขึ้นมา ซึ่งอาการนี้ถือเป็นเรื่องปกติของการตั้งครรภ์ที่ไม่อันตรายและจะดีขึ้นหลังคลอด
ทั้งนี้ เพื่อให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวมากขึ้น อาจใช้วิธีเหล่านี้เพื่อช่วยให้ผ่อนคลายลงได้
การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลามหัศจรรย์ของชีวิตคุณแม่ นอกจากสัญญาณการมีชีวิตของทารกในครรภ์แล้ว สุขภาพที่ดีและการเจริญเติบโตอย่างมีพัฒนาการสมวัยยังเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรรักษาสุขภาพให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้รับโภชนาการครบถ้วน เพื่อส่งต่อสารอาหารที่ดีสู่ลูกน้อย
นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม
ลูกดิ้นต่ำช่วงตั้งครรภ์ 5 เดือนยังถือว่าปกติ เพราะมดลูกยังอยู่ต่ำในอุ้งเชิงกราน
ยังถือว่าปกติ ลูกอาจยังเปลี่ยนท่าทางบ่อย ตำแหน่งของลูกดิ้นจึงยังต่ำได้ในช่วงนี้
อาจยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ถ้าลูกดิ้นเฉพาะตำแหน่งเดิมนานเกินไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจการเจริญเติบโตและน้ำคร่ำ
เริ่มควรระวัง หากลูกดิ้นต่ำตลอดเวลา อาจเกิดจากลูกอยู่ในท่าก้นหรือมีปัญหาเรื่องน้ำคร่ำ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม
อาจบ่งบอกว่าลูกลงสู่เชิงกรานเพื่อเตรียมคลอด ซึ่งถือว่าปกติหากยังดิ้นสม่ำเสมอ แต่หากลูกดิ้นน้อยลง ควรรีบพบแพทย์ทันที
Enfa สรุปให้ ลูกดิ้นบริเวณหัวหน่าว เกิดจากการขยับตัวของทารกในครรภ์ โดยปกติแล้วตำแหน่งการดิ้นของท...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ กลืนน้ำตาลคนท้อง คือการกลืนน้ำตาลกลูโคส หนึ่งในขั้นตอนสำคัญเพื่อตรวจคัดกรองความเสี่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกหลุด หรือการแท้งลูกในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกพบได้ค่อนข้างบ่อย ราว 10%-20% ของการตั้...
อ่านต่อ