นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

กลืนน้ำตาล คนท้องคืออะไร ใช้ตรวจเบาหวานได้จริงหรือ

Enfa สรุปให้

  • กลืนน้ำตาลคนท้อง คือการกลืนน้ำตาลกลูโคส หนึ่งในขั้นตอนสำคัญเพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรคเบาหวาน มี 2 แบบคือ กลืนน้ำตาลกลูโคสแบบต้องดน้ำกับอาหาร และแบบที่ไม่ต้องงดน้ำกับอาหาร
  • น้ำตาลคนท้องห้ามเกินเท่าไหร่? หากตรวจด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม ค่าน้ำตาลไม่ควรเกิน 140 mg/dL หากกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม ค่าน้ำตาลไม่ควรสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2 ค่า ของน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม
  • ตรวจน้ำตาลคนท้อง แบบกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม จะเจาะเลือดหลังตรวจครั้งเดียว แบบกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม จะต้องเจาะเลือดตรวจทั้งก่อนและหลังกลืนน้ำตาลกลูโคส

เลือกอ่านตามหัวข้อ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ถือเป็นหนึ่งในภาวะความผิดปกติของการตั้งครรภ์ที่สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น หากคุณแม่กำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ หรือรู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการคัดกรองตรวจเบาหวาน หรือที่อาจได้ยินคำเรียกติดปากว่า กลืนน้ำตาลคนท้อง นั่นเอง แต่การกลืนน้ำตาลคนท้อง เกี่ยวข้องกับการตรวจเบาหวานคนท้องได้อย่างไรนั้น บทความนี้จาก Enfa มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจเบาหวานในคนท้องมาฝากค่ะ

กลืนน้ำตาลคนท้อง คืออะไร


คนท้องกลืนน้ำตาล หรือ กลืนน้ำตาลคนท้อง เป็นคำเรียกขั้นตอนในการตรวจคัดกรองเบาหวาน โดยจะให้คุณแม่กลืนน้ำตาลกลูโคสปริมาณ 50-100 กรัม หลังจากนั้นจะต้องทำการเจาะเลือด เพื่อนำไปตรวจหาความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อดูว่ามีค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากน้อยเพียงใด เสี่ยงต่อเบาหวานมากน้อยแค่ไหน

น้ำตาลคนท้องห้ามเกินเท่าไหร่


เมื่อทำการเจาะเลือดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการอ่านค่าระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อดูว่าคุณแม่มีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่

สำหรับการตรวจคัดกรองเบาหวานด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม (Glucose Challenge Test) 

วิธีนี้จะตรวจในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์ และไม่จำเป็นต้องอดอาหาร หากตรวจพบว่าคุณแม่มีระดับ  Plasma glucose เท่ากับ 140 mg/dL หรือเกินกว่านั้น จะถือว่าผิดปกติ และจะต้องเข้ารับตรวจวินิจฉัยต่อไป โดยการกลืนน้ำตาลกลูโคสขนาด 100 กรัม 

สำหรับการตรวจคัดกรองเบาหวานด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม (Oral Glucose Tolerance Test หรือ OGTT) 

วิธีนี้จะต้องงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมง และจะมีการเจาะเลือดตรวจตั้งแต่ก่อนกลืนน้ำตาล จากนั้นให้คุณแม่กลืนน้ำตาลกลูโคสขนาด 100 กรัม และจะทำการเจาะเลือดอีกครั้งหลังจากผ่านไป 1, 2 และ 3 ชั่วโมงตามลำดับ ซึ่งผลการวินิจฉัยจะแบ่งออกเป็น ดังนี้ 

  • ก่อนกลืนน้ำตาล 100 กรัม ระดับน้ำตาลในเลือดเกณฑ์ปกติ ควรจะต้องน้อยกว่า 95 mg/dL 
  • หลังกลืนน้ำตาล 100 กรัม ผ่านไป 1 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดเกณฑ์ปกติ ควรจะต้องน้อยกว่า 180 mg/dL 
  • หลังกลืนน้ำตาล 100 กรัม ผ่านไป 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดเกณฑ์ปกติ ควรจะต้องน้อยกว่า 155 mg/dL 
  • หลังกลืนน้ำตาล 100 กรัม ผ่านไป 3 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดเกณฑ์ปกติ ควรจะต้องน้อยกว่า 140 mg/dL 

* ระดับน้ำตาลในเลือดที่ผิดปกติ คือ มีระดับที่สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2 ค่า ของ 100 กรัมขึ้นไป จะถือว่าคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 

คนท้องต้องตรวจเบาหวานทุกคนไหม


กินน้ำตาล ตรวจเบาหวานคนท้อง ต้องทำทุกคนไหม? หากเป็นไปได้คุณแม่ทุกคนควรไปเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ค่ะ เพราะโรคเบาหวานนั้นจะไม่มีลักษณะของอาการที่แสดงออกให้เห็นได้อย่างชัดเจน และยังมีปัจจัยที่ทำให้เกิดเบาหวานนั้นก็แตกต่างกัน คุณแม่บางคนเป็นเบาหวานจากพฤติกรรมการกิน บางคนเป็นเบาหวานเพราะความเครียด และบางคนเป็นเบาหวานจากพันธุกรรม

ดังนั้น การไปตรวจคัดกรองเบาหวานจึงถือว่ามีความจำเป็นสำหรับคุณแม่ทุกคน เพราะจะช่วยให้คุณแม่ทราบความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และถ้าหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานจริง ก็จะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเอง ตลอดจนรับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์

ตรวจเบาหวานคนท้องกี่เดือน


คนท้องตรวจเบาหวานตอนกี่เดือน? สำหรับการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้น จะทำในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์ หรือราว ๆ อายุครรภ์ 6-7 เดือน

หากตรวจแล้วพบความเสี่ยงของโรคเบาหวาน แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพื่อให้การตั้งครรภ์ปลอดภัย

คนท้องตรวจเบาหวานกี่ครั้ง


สำหรับการตรวจคัดกรองเบาหวานในคนท้องนั้น อาจแบ่งเป็นกรณีต่าง ๆ ได้ ดังนี้

  • ตรวจคัดกรองเบาหวานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงหรือความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ก่อนที่จะวางแผนตั้งครรภ์

  • ตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้ทราบความเสี่ยงของโรคเบาหวาน หรือความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดฝนขณะตั้งครรภ์

จึงอาจเป็นไปได้ว่า คุณแม่อาจได้ตรวจคัดกรองเบาหวานแค่เพียงครั้งเดียว หรืออาจต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวาน 2 ครั้ง คือ ตรวจตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และตรวจในระหว่างตั้งครรภ์อีกครั้งนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับดุลพินิจการวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญค่ะ เพราะในบางกรณีที่คุณแม่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง แพทย์อาจจะนัดให้เข้ามาทำการตรวจเช็กอีกหลายครั้ง จนกว่าจะแน่ใจกว่าระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติแล้วจริง ๆ

ตรวจน้ำตาลคนท้อง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง


ตรวจน้ำตาลตั้งครรภ์ มีขั้นตอนเหมือนกันคือ การกลืนน้ำตาล และการเจาะเลือด อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

ตรวจคัดกรองเบาหวานแบบไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ทำได้โดยยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม และจะเจาะเลือดหลังกลืนน้ำตาลไปแล้ว 1 ชั่วโมง แค่เพียงครั้งเดียว

ตรวจคัดกรองเบาหวานแบบต้องงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมง และต้องเจาะเลือดก่อนกลืนน้ำตาล ทำได้ 2 แบบคือ

  • การกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม และเจาะเลือดอีกครั้งหลังกลืนน้ำตาลไปแล้ว 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง และ 3 ชั่วโมงตามลำดับ
  • การกลืนน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม และเจาะเลือดอีกครั้งหลังกลืนน้ำตาลไปแล้ว 1 ชั่วโมง และ 2 ชั่วโมงตามลำดับ

วิธีกลืนน้ำตาลคนท้อง

วิธีกลืนน้ำตาลคนท้อง แพทย์จะให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส ตามปริมาณที่กำหนด อาจจะเป็น 50 กรัม หรือ 100 กรัมก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์จะใช้วิธีการตรวจแบบไหน โดยปกตินั้นก็จะมีการผสมมะนาวลงไปด้วย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน และหลังจากกลืนน้ำตาลกลูโคสผ่านไป 1-3 ชั่วโมง ก็จะต้องเข้ารับการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจหาค่าความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดค่ะ

ตรวจน้ำตาลในเลือดคนท้อง

การเจาะน้ำตาลคนท้อง หรือก็คือการเจาะเลือดมาตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือดนั้น จะทำกันอยู่ 2 แบบ คือ คุณแม่จะต้องแบบที่ต้องงดน้ำงดอาหาร และแบบที่ไม่ต้องอดน้ำและไม่ต้องอดอาหาร 8 ชั่วโมง ก่อนจะกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม หรือกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม

หากตรวจด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม จะเจาะเลือดหลังกลืนเท่านั้น แต่ถ้าตรวจด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม จะต้องเจาะเลือดทั้งก่อนกลืนและหลังกลืน เพื่อนำไปตรวจดูว่าคุณแม่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ระดับใด อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือเสี่ยงต่อเบาหวาน หรือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ตรวจน้ำตาลในปัสสาวะคนท้อง

การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะคนท้อง ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าคุณแม่มีภาวะเบาหวาน แม้ว่าผลการตรวจปัสสาวะจะพบว่ามีค่าน้ำตาลขึ้น แต่ก็เป็นเพียงค่าน้ำตาลในระดับต่ำเท่านั้น ยังไม่ได้หมายความว่าคุณแม่เป็นเบาหวานแต่อย่างใดค่ะ

เนื่องจากค่าน้ำตาลที่ขึ้นมานั้นอาจเป็นเพียงผลพวงจากการทำงานของฮอร์โมน Anti-Insuline หรือคุณแม่กินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมากก่อนปัสสาวะ ดังนั้น ค่าน้ำตาลขึ้นจากการตรวจปัสสาวะ จึงยังไม่สามารถการันตีได้ว่าคุณแม่เสี่ยงเป็นเบาหวาน

อย่างไรก็ตาม หากตรวจปัสสาวะแล้วพบว่ามีค่าน้ำตาลขึ้น คุณแม่ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานโดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อให้ได้รับผลการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น พร้อมเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างเหมาะสมทันที ในกรณีที่พบว่าเป็นเบาหวานจริง ๆ

กลืนน้ำตาล คนท้องต้องงดอาหารไหม


การกลืนน้ำตาลเพื่อตรวจคัดกรองเบาหวาน หากเป็นการกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม คุณแม่ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร แต่ถ้าหากแพทย์จะทำการตรวจด้วยวิธีกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม คุณแม่จะต้องงดน้ำและอาหารก่อน 8 ชั่วโมงค่ะ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการกลืนน้ำตาลสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่


สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังกังวลกับภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรจะต้องรู้เกี่ยวกับการกลืนน้ำตาล เพื่อตรวจตรวจคัดกรองเบาหวาน ดังนี้

  • คุณแม่อาจต้องทำการเจาะเลือดหลายครั้ง จึงอาจเสี่ยงที่จะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ และอาเจียนได้
  • หากตรวจด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร
  • หากตรวจด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม ต้องงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมง
  • หากพบความผิดปกติตั้งแต่ 2 ค่า ขึ้นไป ในการตรวจแบบกลืนน้ำตาลขนาด 100 กรัม คุณแม่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • หากผลการตรวจเลือดหลังจากกลืนน้ำตาลออกมาว่าคุณแม่เสี่ยงต่อเบาหวาน หรือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับวิธีลดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดลงมาอยู่ในค่าเกณฑ์ปกติ

อนาคตที่ดีที่สุดของลูก เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่


แม่ตั้งครรภ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจกับโภชนาการขณะตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรง ลดความเสี่ยงของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ รวมถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพอื่น ๆ ด้วย

มากไปกว่านั้น การกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ สิ่งนี้นอกจากจะดีต่อสุขภาพคุณแม่แล้ว ยังช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการที่สมวัยตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ และลดความเสี่ยงต่อภาวะทุพพลภาพต่าง ๆ

นอกจากการกินอาหารแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ยังสามารถเสริมสร้างโภชนาการเพิ่มเติมจากการดื่มนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรเพื่อให้ได้รับโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ทั้งสิ้น

  • Medline Plus. Glucose screening tests during pregnancy. [Online] Accessed https://medlineplus.gov/ency/article/007562.htm. [10 May 2025]   
  • โรงพยาบาลพญาไท. การตรวจคัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/th/article/4049. [10 พฤษภาคม 2025]   
  • โรงพยาบาลพญาไท. การตรวจคัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://phyathai3hospital.com/th/diabetes-and-pregnancy/. [10 พฤษภาคม 2025]   
  • Bangkok Hospital. เบาหวานกับการตั้งครรภ์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/th/bangkok/content/diabetes-and-pregnancy. [10 พฤษภาคม 2025]   
  • Intouch Medicare. คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝากครรภ์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.intouchmedicare.com/. [10 พฤษภาคม 2025]   
  • โรงพยาบาลนนทเวช. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.nonthavej.co.th/Gestational-Diabetes-1.php. [10 พฤษภาคม 2025]   
  • โรงพยาบาลนวเวช. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายที่คุณแม่ต้องรู้. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.navavej.com/articles/1381. [10 พฤษภาคม 2025]   
  • OBG Social หมอสูติคู่มือถือคุณ. ตรวจฉี่แล้วพบว่า...“น้ำตาลขึ้น” กังวลว่าเป็นเบาหวานตอนท้องหรือเปล่า ?. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://web.facebook.com/OBGSOCIAL/photos/. [10 พฤษภาคม 2025]
* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Cart TH Join Enfamama