Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ถือเป็นหนึ่งในภาวะความผิดปกติของการตั้งครรภ์ที่สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น หากคุณแม่กำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ หรือรู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการคัดกรองตรวจเบาหวาน หรือที่อาจได้ยินคำเรียกติดปากว่า กลืนน้ำตาลคนท้อง นั่นเอง แต่การกลืนน้ำตาลคนท้อง เกี่ยวข้องกับการตรวจเบาหวานคนท้องได้อย่างไรนั้น บทความนี้จาก Enfa มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจเบาหวานในคนท้องมาฝากค่ะ
คนท้องกลืนน้ำตาล หรือ กลืนน้ำตาลคนท้อง เป็นคำเรียกขั้นตอนในการตรวจคัดกรองเบาหวาน โดยจะให้คุณแม่กลืนน้ำตาลกลูโคสปริมาณ 50-100 กรัม หลังจากนั้นจะต้องทำการเจาะเลือด เพื่อนำไปตรวจหาความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อดูว่ามีค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากน้อยเพียงใด เสี่ยงต่อเบาหวานมากน้อยแค่ไหน
เมื่อทำการเจาะเลือดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการอ่านค่าระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อดูว่าคุณแม่มีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่
สำหรับการตรวจคัดกรองเบาหวานด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม (Glucose Challenge Test)
วิธีนี้จะตรวจในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์ และไม่จำเป็นต้องอดอาหาร หากตรวจพบว่าคุณแม่มีระดับ Plasma glucose เท่ากับ 140 mg/dL หรือเกินกว่านั้น จะถือว่าผิดปกติ และจะต้องเข้ารับตรวจวินิจฉัยต่อไป โดยการกลืนน้ำตาลกลูโคสขนาด 100 กรัม
สำหรับการตรวจคัดกรองเบาหวานด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม (Oral Glucose Tolerance Test หรือ OGTT)
วิธีนี้จะต้องงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมง และจะมีการเจาะเลือดตรวจตั้งแต่ก่อนกลืนน้ำตาล จากนั้นให้คุณแม่กลืนน้ำตาลกลูโคสขนาด 100 กรัม และจะทำการเจาะเลือดอีกครั้งหลังจากผ่านไป 1, 2 และ 3 ชั่วโมงตามลำดับ ซึ่งผลการวินิจฉัยจะแบ่งออกเป็น ดังนี้
* ระดับน้ำตาลในเลือดที่ผิดปกติ คือ มีระดับที่สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2 ค่า ของ 100 กรัมขึ้นไป จะถือว่าคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
กินน้ำตาล ตรวจเบาหวานคนท้อง ต้องทำทุกคนไหม? หากเป็นไปได้คุณแม่ทุกคนควรไปเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ค่ะ เพราะโรคเบาหวานนั้นจะไม่มีลักษณะของอาการที่แสดงออกให้เห็นได้อย่างชัดเจน และยังมีปัจจัยที่ทำให้เกิดเบาหวานนั้นก็แตกต่างกัน คุณแม่บางคนเป็นเบาหวานจากพฤติกรรมการกิน บางคนเป็นเบาหวานเพราะความเครียด และบางคนเป็นเบาหวานจากพันธุกรรม
ดังนั้น การไปตรวจคัดกรองเบาหวานจึงถือว่ามีความจำเป็นสำหรับคุณแม่ทุกคน เพราะจะช่วยให้คุณแม่ทราบความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และถ้าหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานจริง ก็จะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเอง ตลอดจนรับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์
คนท้องตรวจเบาหวานตอนกี่เดือน? สำหรับการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้น จะทำในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์ หรือราว ๆ อายุครรภ์ 6-7 เดือน
หากตรวจแล้วพบความเสี่ยงของโรคเบาหวาน แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพื่อให้การตั้งครรภ์ปลอดภัย
สำหรับการตรวจคัดกรองเบาหวานในคนท้องนั้น อาจแบ่งเป็นกรณีต่าง ๆ ได้ ดังนี้
ตรวจคัดกรองเบาหวานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงหรือความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ก่อนที่จะวางแผนตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้ทราบความเสี่ยงของโรคเบาหวาน หรือความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดฝนขณะตั้งครรภ์
จึงอาจเป็นไปได้ว่า คุณแม่อาจได้ตรวจคัดกรองเบาหวานแค่เพียงครั้งเดียว หรืออาจต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวาน 2 ครั้ง คือ ตรวจตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และตรวจในระหว่างตั้งครรภ์อีกครั้งนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับดุลพินิจการวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญค่ะ เพราะในบางกรณีที่คุณแม่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง แพทย์อาจจะนัดให้เข้ามาทำการตรวจเช็กอีกหลายครั้ง จนกว่าจะแน่ใจกว่าระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติแล้วจริง ๆ
ตรวจน้ำตาลตั้งครรภ์ มีขั้นตอนเหมือนกันคือ การกลืนน้ำตาล และการเจาะเลือด อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้
ตรวจคัดกรองเบาหวานแบบไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ทำได้โดยยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม และจะเจาะเลือดหลังกลืนน้ำตาลไปแล้ว 1 ชั่วโมง แค่เพียงครั้งเดียว
ตรวจคัดกรองเบาหวานแบบต้องงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมง และต้องเจาะเลือดก่อนกลืนน้ำตาล ทำได้ 2 แบบคือ
วิธีกลืนน้ำตาลคนท้อง แพทย์จะให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส ตามปริมาณที่กำหนด อาจจะเป็น 50 กรัม หรือ 100 กรัมก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์จะใช้วิธีการตรวจแบบไหน โดยปกตินั้นก็จะมีการผสมมะนาวลงไปด้วย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน และหลังจากกลืนน้ำตาลกลูโคสผ่านไป 1-3 ชั่วโมง ก็จะต้องเข้ารับการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจหาค่าความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดค่ะ
การเจาะน้ำตาลคนท้อง หรือก็คือการเจาะเลือดมาตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือดนั้น จะทำกันอยู่ 2 แบบ คือ คุณแม่จะต้องแบบที่ต้องงดน้ำงดอาหาร และแบบที่ไม่ต้องอดน้ำและไม่ต้องอดอาหาร 8 ชั่วโมง ก่อนจะกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม หรือกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม
หากตรวจด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม จะเจาะเลือดหลังกลืนเท่านั้น แต่ถ้าตรวจด้วยการกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม จะต้องเจาะเลือดทั้งก่อนกลืนและหลังกลืน เพื่อนำไปตรวจดูว่าคุณแม่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ระดับใด อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือเสี่ยงต่อเบาหวาน หรือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะคนท้อง ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าคุณแม่มีภาวะเบาหวาน แม้ว่าผลการตรวจปัสสาวะจะพบว่ามีค่าน้ำตาลขึ้น แต่ก็เป็นเพียงค่าน้ำตาลในระดับต่ำเท่านั้น ยังไม่ได้หมายความว่าคุณแม่เป็นเบาหวานแต่อย่างใดค่ะ
เนื่องจากค่าน้ำตาลที่ขึ้นมานั้นอาจเป็นเพียงผลพวงจากการทำงานของฮอร์โมน Anti-Insuline หรือคุณแม่กินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมากก่อนปัสสาวะ ดังนั้น ค่าน้ำตาลขึ้นจากการตรวจปัสสาวะ จึงยังไม่สามารถการันตีได้ว่าคุณแม่เสี่ยงเป็นเบาหวาน
อย่างไรก็ตาม หากตรวจปัสสาวะแล้วพบว่ามีค่าน้ำตาลขึ้น คุณแม่ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานโดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อให้ได้รับผลการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น พร้อมเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างเหมาะสมทันที ในกรณีที่พบว่าเป็นเบาหวานจริง ๆ
การกลืนน้ำตาลเพื่อตรวจคัดกรองเบาหวาน หากเป็นการกลืนน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม คุณแม่ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร แต่ถ้าหากแพทย์จะทำการตรวจด้วยวิธีกลืนน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม คุณแม่จะต้องงดน้ำและอาหารก่อน 8 ชั่วโมงค่ะ
สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังกังวลกับภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรจะต้องรู้เกี่ยวกับการกลืนน้ำตาล เพื่อตรวจตรวจคัดกรองเบาหวาน ดังนี้
แม่ตั้งครรภ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจกับโภชนาการขณะตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรง ลดความเสี่ยงของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ รวมถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพอื่น ๆ ด้วย
มากไปกว่านั้น การกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ สิ่งนี้นอกจากจะดีต่อสุขภาพคุณแม่แล้ว ยังช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการที่สมวัยตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ และลดความเสี่ยงต่อภาวะทุพพลภาพต่าง ๆ
นอกจากการกินอาหารแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ยังสามารถเสริมสร้างโภชนาการเพิ่มเติมจากการดื่มนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรเพื่อให้ได้รับโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ทั้งสิ้น
Enfa สรุปให้ ลูกดิ้นบริเวณหัวหน่าว เกิดจากการขยับตัวของทารกในครรภ์ โดยปกติแล้วตำแหน่งการดิ้นของท...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ กลืนน้ำตาลคนท้อง คือการกลืนน้ำตาลกลูโคส หนึ่งในขั้นตอนสำคัญเพื่อตรวจคัดกรองความเสี่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกหลุด หรือการแท้งลูกในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกพบได้ค่อนข้างบ่อย ราว 10%-20% ของการตั้...
อ่านต่อ