Enfa สรุปให้

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 38 และมาตรา 41 ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร สามารถเบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมได้

  • ในกรณีที่ภรรยาไม่มีสิทธิ์ประกันสังคม สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมของสามีเพื่อเบิกค่าคลอดบุตรได้

  • ประกันสังคมให้วงเงินค่าคลอดบุตรอยู่ที่ 15,000 บาท หากค่าคลอดบุตรเกินกว่านั้น ผู้ประกันตนจะต้องชำระส่วนเกินนั้นเอง

    เลือกอ่านตามหัวข้อ

         • ผ่าคลอด เบิกประกันสังคมได้ไหม
         • เบิกค่าผ่าคลอดสิทธิประกันสังคม 2567 ยังไง
         • เบิกค่าผ่าคลอดสิทธิประกันสังคมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

    คุณแม่ที่มีสิทธิ์ประกันสังคม ทำงานเสียเงินค่าประกันสังคมทุกเดือน สามารถที่จะใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าผ่าคลอดกับประกันสังคมได้ค่ะ วันนี้ Enfa ได้รวบรวมเอาข้อมูลน่ารู้สำหรับคุณแม่ที่ต้องการจะใช้สิทธิประกันสังคมในการผ่าคลอดมาฝาก เผื่อเป็นแนวทางสำหรับการผ่าคลอดที่ใกล้จะถึงนะคะ 

    ผ่าคลอด เบิกประกันสังคมได้ไหม


    หากคุณแม่เข้ารับการผ่าคลอด ประกันสังคมให้สิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรได้ค่ะ แต่...คุณแม่จะต้องสำรองจ่ายก่อน แล้วนำใบเสร็จมาทำการเบิกค่าคลอดบุตรกับประกันสังคมในภายหลัง 

    ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ 

    ประกันสังคมมีกำหนดวงเงินสำหรับค่าคลอดบุตรอยู่ที่ 15,000 บาท หากค่าผ่าคลอดมีราคาเกินกว่านั้น คุณแม่จะต้องชำระส่วนที่เกินไปจาก 15,000 บาทนั้นเอง สามารถเบิกได้แค่เพียงวงเงินที่ประกันสังคมกำหนดเอาไว้เท่านั้นค่ะ 

    เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3

    คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

    Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome​

    คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต​

    อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่ ฤกษ์ผ่าคลอด 2567

    ค่าผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม 2567 มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง


    การผ่าคลอดมีค่าใช้จ่าย ถ้าหากคุณแม่และคุณพ่อมีสิทธิประกันสังคม ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถที่จะทำการเบิกค่าคลอดบุตรได้ค่ะ หากคุณแม่ไม่มีสิทธิ์ประกันสังคม คุณพ่อสามารถจะใช้สิทธิ์ประกันสังคมของตนเองในการเบิกจ่ายค่าคลอดบุตรได้ต่อการคลอด 1 ครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการรับสิทธิค่าคลอดบุตรประกันสังคม ดังนี้ 

    • เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร 

    • เป็นผู้ประกันตนมาตรา 38 หรือมาตรา 41 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และได้รับสิทธิคุ้มครองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน 

    • ต้องดำเนินการเบิกค่าคลอดบุตรภายในเวลา 1 ปีนับจากวันที่บุตรเกิด 

    อย่างไรก็ตาม ประกันสังคมจะไม่ได้จ่ายเงินค่าคลอดบุตรให้เลยโดยตรง คุณพ่อคุณแม่จะต้องสำรองจ่าย แล้วนำหลักฐานการชำระเงินค่าผ่าคลอดมาเบิกค่าคลอดบุตรกับประกันสังคมในภายหลังค่ะ

    กรณีที่คุณแม่ต้องการผ่าคลอดโดยไม่ได้มีข้อบ่งชี้ให้ผ่าคลอด ยังสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม 

    การคลอดลูก ไม่ว่าจะคลอดธรรมชาติ ผ่าคลอด หรือผ่าคลอดฉุกเฉิน สามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตรกับประกันสังคมได้ตามปกติค่ะ

    กรณีผ่าคลอดโดยใช้สิทธิประกันสังคม คุณพ่อคุณแม่ควรสำรองเงินค่าใช้จ่ายไว้เท่าไหร่ดี

    การไปโรงพยาบาล แน่นอนว่าไม่ได้ฟรีทุกกรณี ยังไงก็จำเป็นจะต้องมีเงินสำรองพกติดเผื่อเอาไว้นะคะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าโรงพยาบาลที่ต้องไปเข้ารับการผ่าคลอดนั้นเป็นโรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน เพราะราคาจะแตกต่างกันไปตามแต่สถานพยาบาล

    หากเป็นโรงพยาบาลรัฐ ค่าใช้จ่ายในการผ่าคลอด อาจเริ่มต้นตั้งแต่ 5,000 – 10,000 หรือ 15,000 – 30,000 บาทค่ะ และหากเป็นโรงพยาบาลเอกชน ค่าผ่าคลอด อาจเริ่มต้นตั้งแต่ 30,000 – 50,000 บาทขึ้นไป 

    สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

    เบิกค่าผ่าคลอดสิทธิประกันสังคมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และต้องรอกี่วันจึงจะได้เงิน


    เอกสารที่ต้องใช้ในการเบิกค่าคลอดบุตร ดังนี้

    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 (สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของประกันสังคม)

    • สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

    • สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

    • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ประกอบด้วยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

    หากส่งเอกสารครบถ้วน และได้รับการอนุมัติ เงินจะโอนเข้าบัญชีผู้ประกันตน ภายใน 7-10 วันทำการ โดยนับตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารเสร็จสมบูรณ์

    ในกรณีที่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง โดยยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก 

    ใครสามารถผ่าคลอดโดยสิทธิประกันสังคมได้บ้าง 

    ผู้ที่สามารถผ่าคลอดด้วยสิทธิ์ประกันสังคม ได้แก่

    • ผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร

    • ผู้ประกันตนมาตรา 38 หรือมาตรา 41 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และได้รับสิทธิคุ้มครองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

    • รวมถึงภรรยาที่ไม่มีประกันสังคม แต่สามีมีสิทธิ์ประกันสังคม ก็สามารถที่จะใช้สิทธิ์ผ่าคลอดประกันสังคมได้เช่นเดียวกันค่ะ



    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด