Image 1

 

เรียนรู้อาการแพ้ชนิดต่าง ๆ และการดูแลภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมรู้จักสารอาหารในนมแม่ที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic เพื่อหยุดอาการแพ้นมวัว และป้องกันการเกิดภูมิแพ้ในอนาคต

คลิปที่น่าสนใจ

7 สัญญาณอันตรายลูกแพ้นมวัว

สัญญาณลูกแพ้นมวัว

แบบทดสอบ

ปัจจุบันอาการแพ้ต่าง ๆ รวมถึงแพ้นมวัวพบได้บ่อยขึ้นในเด็กไทย คุณแม่หลายท่านมักจะไม่ทราบว่าลูกเกิดการแพ้นมวัว และปล่อยอาการไว้ค่อนข้างนานจนกระทั่งอาการรุนแรงขึ้น จึงจะพาลูกไปพบแพทย์ ทำให้การรักษายากขึ้น ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดคือหมั่นสังเกตอาการแพ้ของลูกและหาทางป้องกันรักษาแต่เนิ่น ๆ

คุณแม่สามารถสังเกต 7 สัญญาณเตือนของอาการแพ้นมวัว ดังนี้เลย

          1. มีผื่น แดง คัน หรือริมฝีปาก ใบหน้า และรอบดวงตาบวม
          2. ร้องงอแงผิดปกติหลังกินนม หงุดหงิด เมื่อถึงเวลาให้นม และเริ่มมีน้ำหนักตัวลดลง
          3. อาเจียนหรือแหวะนม
          4. ท้องเสีย ปวดท้อง ไม่สบายท้อง หรือท้องผูก
          5. ถ่ายเป็นเลือด
          6. น้ำมูกไหลเรื้อรัง คัดจมูก
          7. หอบหืด  หายใจมีเสียงวี้ด

ยิ่งคุณพ่อคุณแม่ยพบอาการได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถพาไปพบแพทย์และทำการรักษาได้เร็วและง่ายขึ้นะคะ เนื่องจากเอาการอาจจะไม่รุนแรง ก็จะเป็นผลดีต่อลูกค่ะ

ลูกแพ้นมวัว 

"แพ้นมวัว" หนึ่งในภาวะแพ้อาหารที่พบได้บ่อยที่สุดในทารก

อาการแพ้นมวัว (Cow Milk Allergy – CMA) หรือแพ้โปรตีนนมวัว (Cow Milk Protein Allergy – CMPA) หนึ่งในรูปแบบภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยในทารก เนื่องจากระบบภูมิต้านทานและระบบทางเดินอาหารของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้ย่อยโปรตีนได้ไม่ดี โมเลกุลโปรตีนขนาดใหญ่สามารถผ่านผนังเยื่อบุลำไส้ไปกระตุ้นระบบภูมิต้านทานก่อให้เกิดการแพ้ ดังนั้นจึงแนะนำให้สังเกตอาหารแพ้ในช่วงที่ทารกจะเริ่มกินอาหารอื่น ๆ นอกเหนือจากนมแม่ เช่น ช่วงเริ่มนมผสม เริ่มกินอาหารเสริมตามวัย 

อาการแพ้นมวัวสามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 1 ขวบ และมีโอกาสที่อาการจะเกิดในเด็กทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียวด้วยเช่นกัน เนื่องจากได้รับสารอาหารผ่านนมแม่ อาการแพ้นมวัวสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีหลังกินนมวัว หรือใช้เวลานานหลายวัน โดยทั่วไปมักพบอาการแสดงภายใน 1 สัปดาห์

อาการแพ้นมวัวในเด็ก

 

ลูกแพ้นมวัว ควรดูแลยังไง

 

หากแพทย์วินิจฉัยว่าลูกน้อยแพ้นมวัว แพทย์ก็จะทำการรักษาอาการแพ้ และให้คำแนะนำในการดูแลลูกน้อย เช่น

          1. หากคุณแม่ให้ลูกน้อยกินนมแม่อยู่แล้ว ก็จะแนะนำให้กินนมแม่ต่อไป

          2. งดการกินนมวัวในเด็ก และคุณแม่ก็ต้องงดการกินนมวัวและอาหารทุกชนิดที่มีส่วนประกอบของนมวัวเช่นกัน 

          3. กรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกนมสำหรับเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวนะคะ

แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำ "โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด" ที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และเสริมด้วยโพรไบโอติกส์ อย่างเช่น แลคโตบาซิลัส รามโนซัส จีจี (LGG) ช่วยหยุดอาการแพ้นมวัว ให้ลูกกลับมารับประทานนมวัวได้เร็วขึ้น และยังป้องกันการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจจะตามมาในอนาคต

ทางเลือกสำหรับลูกแพ้นมวัว
เสริมสร้างภูมิต้านทาน
หยุดอาการแพ้

 

หากคุณแม่สงสัยลูกอาจจะแพ้นมวัว ไม่ควรรอช้านะคะ มาลองทำแบบทดสอบเพื่อเช็คความเสี่ยงกันได้ที่นี่

แบบประเมินโรคแพ้โปรตีนนมวัวในเด็ก

 

ลูกแพ้นมวัวจะหายได้หรือไม่

อาการแพ้โปรตีนนมวัวสามารถรักษาให้หายขาดได้ การให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ทารกเริ่มมีอาการ จะยิ่งช่วยทำให้หยุดอาการภูมิแพ้ได้เร็วขึ้น เพิ่มโอกาสการกลับมากินนมวัวและเจริญเติบโตได้ตามปกติ ลดโอกาสเกิดอาการภูมิแพ้ลูกโซ่ในอนาคต

ลูกแพ้นมวัว แม่ทานอะไรได้บ้าง

อาหารคุณแม่ควรงดมีเพียงกลุ่มอาหารที่ลูกแพ้ เช่น หากลูกแพ้นมวัว แม่จะต้องงดผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของนมวัว ทั้งเบเกอรี่ กาแฟหรือโกโก้แบบใส่นม ฯลฯ หรือถ้าลูกแพ้อาหารจำพวกถั่ว แม่ก็อาจจะต้องงดด้วยเช่นกัน เพราะสารบางอย่างผ่านทางน้ำนมแม่สู่ลูกได้ นอกเหนือจากนี้ คุณแม่สามารถทานอาหารได้ปกตินะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่ให้นมลูก  การทานอาหารให้หลากหลาย สารอาหารครบถ้วน มีคุณประโยชน์ก็เป็นเรื่องสำคัญ

โภชนาการอาหารสำคัญที่เหมาะกับการบำรุงร่างกายคุณแม่ และไม่มีส่วนประกอบของนมวัว ยกตัวอย่างเช่น

          • การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

          • รับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น  เนื้อไก่ เนื้อปลา ฯลฯ เพราะโปรตีนเป็นองค์ประกอบสำคัญของในน้ำนม ที่ส่งเสริมการเจริญทางร่างกายรวมถึงภูมิต้านทานของลูก

          • ทานปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลากะพง หรืออื่นๆ เพราะเป็นแหล่งสารอาหารอย่าง โอเมก้า 3 และดีเอชเอ จำเป็นต่อการพัฒนาระบบประสาทและสมอง

          • รับประทานผักและผลไม้สม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด

          • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ

          • อาหารกลุ่มข้าว - แป้งที่ขัดสีน้อยหรือไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง

          • แหล่งอาหารเสริมธาตุเหล็ก อย่าง ตับ ไข่แดง เลือด ผักใบเขียว เช่น คะน้า กวางตุ้ง

          • แหล่งอาหารเสริมแคลเซียม เช่น ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย

ความเชื่อ vs ความจริง

แพ้นมวัวกินนมแพะได้ไหม?

เป็นหนึ่งในความเชื่อผิด ๆ ที่พบบ่อย ความจริง คือ “นมแพะมีส่วนประกอบโปรตีนที่เป็นสาเหตุสำคัญของการแพ้” เช่นเดียวกับที่พบในอาการเด็กแพ้นมวัว เช่น เบต้า-แลคโตโกลบูลิน (Beta-Lactoglobulin) เด็กจึงมีโอกาสแพ้นมแพะได้เช่นเดียวกับแพ้โปรตีนนมวัว ดังนั้นเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้นมแพะเช่นกัน

แพ้นมวัวกินนมถั่วเหลือแทนได้ไหม?

“1 ใน 3 ของเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวจะแพ้นมถั่วเหลืองด้วย”

ส่วนนมถั่วเหลือง ก็อาจไม่ใช่ทางเลือกของเด็กแพ้โปรตีนนมวัว เนื่องจากโปรตีนถั่วเหลืองมีขนาดโมเลกุลใหญ่ ดังนั้นจึงมักพบว่าเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวประมาณ 1 ใน 3 จะแพ้นมถั่วเหลืองด้วย และหากเด็กแพ้นมถั่วเหลืองร่วมด้วย จะทำให้โอกาสการเลิกแพ้ยากขึ้นเป็นสองเท่าเมื่ออายุ 1 ปี และอาจส่งผลให้เกิดการแพ้อาหารอื่น ๆ อีกตามมาเพิ่มอีก

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกแพ้โปรตีนนมวัวแล้วจะเปลี่ยนให้ลูกมากินนมถั่วเหลืองนั้นควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้นมถั่วเหลืองในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนหรือมีอาการแพ้รุนแรง แนวทางการรักษาเด็กแพ้โปรตีนนมวัวที่ถูกต้อง ได้แก่

          1. ให้ดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน โดยที่แม่ต้องงดทานนมวัว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิด เพราะโปรตีนเหล่านี้อาจผ่านนมแม่ไปสู่ลูกได้

          2. หากไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจแนะนำโปรตีนผ่านการย่อยอย่างละเอียด* มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ พร้อมเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลของระบบภูมิต้านทาน ทำให้หายจากอาการแพ้โปรตีนนมวัว ลูกกลับมาทานนมวัวได้เร็วขึ้น และลดการเกิดภูมิแพ้ที่จะตามมาในอนาคต

*อ้างอิงจากแนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย หน้า 33

พ่อแม่ไม่เป็นภูมิแพ้ ลูกคงไม่แพ้โปรตีนนมวัว?

เป็นความเชื่อที่ผิด จากรายงานพบว่า ร้อยละ 10 - 15% ของเด็กแพ้โปรตีนนมวัว จะไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว หรือในบางรายพ่อแม่มีประวัติภูมิแพ้ แต่ไม่เคยทราบว่าพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรละเลยในการสังเกตอาการลูกว่ามีอาการใดที่บ่งบอกว่าลูกแพ้โปรตีนนมวัวหรือไม่

หากพบว่าลูกมีภาวะแพ้โปรตีนนมวัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้อาการหายโดยเร็ว ทำให้เด็กเจริญเติบโตได้เป็นปกติ ที่สำคัญกว่านั้น คือเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กไปแพ้อย่างอื่นอีก เช่น แพ้ไข่ แป้งสาลี ถั่วเหลือง อาหารทะเล แพ้อากาศ ผื่นแพ้ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการดูแลที่ตามมาในอนาคต

ลูกแพ้นมวัวผ่านนมแม่ได้จริงหรือไม่?

เป็นความจริงค่ะ หากแม่ดื่มนมวัวหรือกินผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว เมื่อลูกได้รับนมแม่ สารอาหารและโปรตีนในนมวัวจะถูกส่งผ่านไปยังลูกผ่านทางน้ำนม ซึ่งเด็กบางคนร่างกายจะไวต่อโปรตีนเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการแพ้ขณะกินนมแม่

ภูมิแพ้ในเด็ก

อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของลูกน้อยที่คุณแม่และครอบครัวไม่ควรมองข้าม ปัจจุบันเด็กไทยมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ที่สูงมากถึง 40% อาการที่พบบ่อยได้แก่ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล นอนกรน หรือผื่นขึ้นตามตัว ขยี้ตาบ่อย ๆ ชอบเอามือขยี้จมูก ลูกมักจะมีอาการเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ คุณพ่อคุณแม่อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะอาการเหล่านี้มักเป็นอาการของภูมิแพ้ ที่ลูก ๆ ควรจะได้รับการดูแลรักษา

แล้วคุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกเป็นภูมิแพ้หรือไม่ ไปทำความรู้จักกับโรคภูมิแพ้กัน

ภูมิแพ้คืออะไร

ภูมิแพ้เกิดจากปฏิกิริยาของภูมิต้านทานในร่างกายมีการตอบสนองที่มากและไวเกินปกติ (Hypersensitivity) ต่อสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายสัมผัส เช่น  อาหาร อากาศ ยา ไรฝุ่น ละอองเกสร เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆเช่น ผิวหนัง เยื่อบุจมูก เยื่อบุตา เยื่อบุทางเดินหายใจ หรือเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น

รูปแบบอาการภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย

อาการภูมิแพ้ที่พบบ่อย

แบบทดสอบ 

ลูกน้อยจะมีอาการแสดงทางร่างกายในรูปแบบต่างๆ เฉพาะบุคคล ซึ่งมักพบอาการทาง 3 ระบบ ดังนี้

          1. อาการทางผิวหนัง: ผื่นผิวผนังอักเสบ (Eczema) หรือผื่นลมพิษ (Urticaria) โดยจะมีผื่นแดงขึ้นที่บริเวณใบหน้า หน้าผาก หรือศีรษะ และค่อย ๆ ลามไปยังแขน และลำตัว เด็กบางคนจะมีอาการคันตามใบหน้า ดวงตา หรือริมฝีปาก ปากบวม มีผื่นแดง ผิวแห้ง

          2. อาการในระบบทางเดินหายใจ: หายใจลำบาก หอบหืด จาม ไอ น้ำมูกไหล คันในคอหรือจมูก

          3. อาการในระบบทางเดินอาหาร: อาเจียน แหวะนม ท้องเสีย ปวดท้อง ท้องไส้ปั่นป่วน รวมถึงถ่ายเป็นมูกเลือด สำหรับอาการแพ้อาหาร (Food allergy) แพ้นมวัว (Cow Milk allergy) หรือไข้ละอองฟาง (Hay fever) ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการภูมิแพ้ และอาจพบอาการที่แสดงในหลายระบบดังกล่าวได้เช่นกัน

สาเหตุของโรคภูมิแพ้

สาเหตุของโรคภูมิแพ้ในลูกน้อยสามารถถูกกระตุ้นได้จากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งสภาพแวดล้อม อาหาร หรือยา ที่รับประทานเข้าไป โดยสามารถได้ดังนี้

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้
 

1. กรรมพันธุ์
หากพบว่าญาติสายตรงในครอบครัว ได้แก่คุณพ่อ คุณแม่ หรือพี่น้องของลูกน้อย มีประวัติเป็นภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสที่จะสืบทอดโรคภูมิแพ้ผ่านคนในครอบครัวได้สูงถึง 70% - 80% แม้แต่เด็กที่เกิดในครอบครัวที่ไม่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ ก็มีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ได้ถึง 15% ซึ่งนั่นแปลว่า เด็กทุกคนมีความเสี่ยงภูมิแพ้ และมีโอกาสพัฒนาไปสู่อาการภูมิแพ้อื่น ๆ ได้เมื่อโตขึ้น

2. อาหาร
เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ ลูกสามารถแพ้อาหารได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น นม ถั่ว แป้ง ธัญพืชต่าง ๆ ฯลฯ คุณแม่อาจจะพบอาการแพ้อาหารของลูกน้อย ในช่วงที่เริ่มให้รับประทานอาหารเสริมตามวัย หรือสำหรับคุณแม่ที่มีความจำเป็นต้องให้นมผงทดแทนนมแม่แก่ลูก ก็อาจจะพบอาการแพ้นมวัวหลังจากกินนมผงได้ โดยสามารถพบอาการแสดงได้ ภายในไม่กี่นาที หรือชั่วโมง

3. ยา สารเคมี
ยาที่มักพบรายงานการแพ้บ่อย เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม เพนิซิลลิน ซัลฟา เป็นต้น และยังรวมไปถึงสารเคมีในผลิตภัณฑ์ที่ลูกน้อยใช้เป็นประจำ เช่น ยาสระผม สบู่ โลชั่นทาผิวที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือสารสกัดจากอาหารที่เสี่ยงแพ้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน เป็นต้น การสัมผัสสารเคมีในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก่อให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนังได้

4. ความเครียด
เมื่อร่างกายเกิดภาวะเครียด เช่น เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อคุณแม่ไม่อยู่ใกล้ ๆตัว หรือสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการนอนหลับ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน และสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงสารฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในร่างกายชนิดหนึ่งที่กระตุ้นอาการแพ้

5. มลภาวะ สิ่งแวดล้อมรอบตัว
มลภาวะเป็นพิษ สามารถกระตุ้นให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้ ผ่านทางสภาพแวดล้อมที่อาศัย อาหาร และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในบางรายอาจพบว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น สัตว์เลี้ยงในบ้าน ละอองเกสรดอกไม้ เชื้อรา แมลงสาบ ควันบุหรี่ ก็เป็นสาเหตุของภูมิแพ้ได้ด้วย

6. สาเหตุอื่น ๆ
เช่น ภาวะโรคที่ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น

พันธุกรรมกับโรคภูมิแพ้

รู้หรือไม่ว่า จากสถิติพบว่าปัจจุบันเด็กไทยมีความเสี่ยงภูมิแพ้สูงขึ้นถึง 40% และพันธุกรรมในครอบครัวเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งต่อความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้ให้กับลูกน้อยได้ถึง 70% - 80% และแม้ว่าคนในครอบครัวจะไม่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ เด็ก ๆ ก็อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ได้ถึง 15% นั่นหมายความว่าเด็กทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ เพียงแต่จะปรากฎในรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

ความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้จากพันธุกรรม
 

โดยผลการศึกษาพบว่า หากคุณพ่อ หรือคุณแม่ คนใดคนหนึ่งมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ ความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ในลูกน้อยจะสูงถึง 20 – 40% หากทั้งคุณพ่อและคุณแม่มีประวัติเป็นภูมิแพ้ทั้งคู่ โอกาสเสี่ยงภูมิแพ้ของลูกน้อยจะสูงถึง 50 – 80% นอกจากนี้ หากพี่น้องของลูกน้อยมีประวิติการเป็นภูมิแพ้ หรือมีอาการแพ้ต่าง ๆ ก็สามารถส่งต่อความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ได้เช่นกัน

แผนผังความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้ในครอบครัว
 

4 ข้อเท็จจริงของโรคภูมิแพ้ในเด็ก

อีกหนึ่งความเข้าใจผิดคือ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจคิดว่าเพราะโรคภูมิแพ้ในเด็กเป็นเรื่องเล็ก เมื่อโตขึ้นไปอาการของโรคอาจจะหายไปเอง ซึ่งไม่ถูกต้องเสมอไป คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่จึงควรใส่ใจและทำความเข้าใจถึง 4 ข้อเท็จจริงของโรคภูมิแพ้ในเด็ก และหาป้องกันและดูแลลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้ได้ค่ะ

1. โรคภูมิแพ้ตัวการขัดขวางพัฒนาการลูกน้อย

โรคภูมิแพ้บางชนิด อาจจะดูไม่รุนแรง และสามารถรับมือได้ง่าย แต่หากไม่ได้รับการรักษาให้ดีขึ้น ก็อาจทำให้ลูกน้อยที่ปกติร่าเริงแจ่มใส กลายเป็นเด็กขี้หงุดหงิด งอแงง่าย อาการแพ้ทำให้เด็กได้รับการพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ จำเป็นต้องพบแพทย์บ่อย จนบางครั้งถึงขั้นต้องขาดเรียน เสียโอกาสพัฒนาการการเรียนรู้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การเข้าสังคมกับผู้อื่น อีกทั้งยังส่งผลต่อคุณพ่อคุณแม่ที่อาจจะเกิดความกังวลต่อสุขภาพกายและใจของเด็ก ต้องหยุดงาน และเสียค่าใช้จ่ายตามมามากขึ้น

2. ภูมิแพ้ในเด็กปล่อยไว้อันตรายถึงชีวิต

อาจจะจะฟังดูน่ากลัว แต่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรู้ว่า ปฏิกิริยาของอาการของโรคภูมิแพ้ในเด็กมีหลายระดับ ตั้งแต่ความรุนแรงเพียงเล็กน้อย เช่น ผื่นคัน จาม ไอ แค่เพียงให้รู้สึกรำคาญ ไปจนถึงอาการแพ้ขั้นรุนแรง ที่เรียกว่า “แอนาฟิแล็กซิส” (Anaphylaxis) การแพ้แบบรุนแรงนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ถ้าหากมีอาการจะมีผลต่อระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย มักเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่วินาที หรือไม่กี่นาทีหลังจากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งการเกิดแอนาฟิแล็กซิสอาจทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการที่พบเมื่อเกิดการแพ้แบบรุนแรง ได้แก่

          • อาการบวมที่ช่องคอและปาก หายใจลำบาก จากอาการหลอดลมตีบ
          • เกิดลมพิษ ผิวหนังมีผื่นแดง
          • ปวดเกร็งที่ท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน
          • รู้สึกอ่อนแรงลงทันที หมดสติ

3. ยาช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ แต่ไม่ช่วยให้หายขาดจากภูมิแพ้

ในปัจจุบันโรคภูมิแพ้ในเด็กหรือในผู้ใหญ่ยังไม่มียาที่รักษาให้อาการของโรคภูมิแพ้หายขาดได้ แต่ยาอาจช่วยควบคุมอาการโรคภูมิแพ้ได้ดีในระดับหนึ่ง เมื่อหยุดยาและได้รับปัจจัยกระตุ้นอาการแพ้ก็อาจจะกลับมาอีก

4. หากลูกมีอาการแพ้ชนิดนึงในวัยเด็ก จะส่งผลให้เด็กเป็นภูมิแพ้ชนิดอื่นตามมาเมื่อโตขึ้น

หากลูกน้อยมีอาการแพ้ตั้งแต่เล็ก ๆ และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องให้หาย จะทำให้ลูกน้อยมีโอกาสเกิดอาการแพ้ชนิดอื่นๆได้ในอนาคต ซึ่งอาการนี้เรียกว่า “ลูกโซ่ภูมิแพ้ หรือ Allergic March” อาการลูกโซ่ภูมิแพ้ เป็นลำดับการเกิดภูมิแพ้ หรือ “เรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าเป็น คำทำนายอาการล่วงหน้าของเด็กว่าจะเกิดภูมิแพ้ในแต่ละช่วงอายุแบบใดบ้าง”

ลูกโซ่ภูมิแพ้

จากงานวิจัยพบว่า รูปแบบของอาการแพ้จะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยมักจะเริ่มจากอาการแพ้ผื่นผิวหนังและแพ้อาหารในวัยทารกและจะพบอาการภูมิแพ้ทางระบบทางเดินหายใจเมื่อโตขึ้น

ลำดับการแพ้จากลูกโซ่ภูมิแพ้

ลำดับขั้น

ขั้นที่ 1

ขั้นที่ 2

ขั้นที่ 3

ขั้นที่ 4

ช่วงอายุ

แรกเกิด – 1 ปี

1 -3 ปี

4 - 6 ปี

5 – 7 ปี
 หรือมากกว่า

แนวโน้มอาการแพ้

ภูมิแพ้ผิวหนัง เช่น ลมพิษ ผื่นผิวหนังอักเสบ และแพ้นมวัว

ภูมิแพ้อาหาร เช่น แพ้นมวัว ถั่วต่างๆ ไข่ ปลา อาหารทะเล รวมถึงอาการผื่นแพ้ผิวหนัง

ภูมิแพ้อากาศ เช่น แพ้สารในสิ่งแวดล้อม ภูมิแพ้จมูกอักเสบ

ภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด โรคเรื้อรังเกี่ยวกับปอด

อ้างอิง: Allergic march: Ann Allergy Asthma Immunol 127 (2021) 293−300 

ลูกโซ่ภูมิแพ้

รู้ก่อนแพ้ แม่ป้องกันได้

เริ่มทำแบบทดสอบความเสี่ยงภูมิแพ้ลูกน้อง ได้ที่นี่

แบบทดสอบความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้

ดูแลลูกเป็นภูมิแพ้

การป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

หากเจ้าตัวเล็กมีอาการของภูมิแพ้อย่างแน่ชัดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้อาหาร แพ้อากาศ หรือแพ้ฝุ่นละอองต่าง ๆ คุณแม่สามารถดูแลอาการภูมิแพ้ของลูกได้ ดังนี้

          1. หลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้ หากรู้แล้วว่าสิ่งใดเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภูมิแพ้ ยิ่งง่ายต่อการป้องกัน โดยเฉพาะถ้าเป็นในพื้นที่บริเวณบ้าน คุณแม่สามารถที่จะระมัดระวังสารก่อภูมิแพ้ได้ง่ายกว่าสถานที่อื่นข้างนอก

          2. พกยาที่จำเป็นไว้เสมอ แม้ว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ใกล้ตัวแล้ว แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันที่นอกเหนือการควบคุม การพกยาบรรเทาอาการภูมิแพ้ไว้เสมอ ก็จะช่วยให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ทันท่วงที

          3. หากลูกมีอายุน้อยกว่า 6 เดือน การกินนมแม่ดีที่สุดสำหรับลูก เพราะสารอาหารในนมแม่มีบทบาทช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง เสริมการเจริญเติบโตของลูกน้อย หากลูกได้กินนมแม่อย่างเพียงพอ ก็จะช่วยให้ระบบภูมิต้านทานแข็งแรง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภูมิแพ้

          4. สำหรับคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์อาจแนะนำโปรตีนย่อยอย่างละเอียด (Extensive Hydrolysated Protein) ดูดซึมได้ดี มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และจุลินทรีย์สุขภาพ LGG (แลคโตบาซิลัส รามโนซัส จีจี) เสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง ช่วยหยุดอาการแพ้นมวัว ลูกกลับมาทานนมวัวได้เร็วขึ้น และลดการเกิดภูมิแพ้ในอนาคต

ภูมิแพ้ป้องกันได้เพื่ออนาคตที่ไม่แพ้

เมื่อลูกน้อยอายุมากกว่า 6 เดือน หากคุณแม่สามารถให้นมแม่ต่อตามเดิมร่วมกับการเสริมอาหารตามวัย แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ลูกน้อยแพ้ ถ้าหากพบว่ามีอาการผิดปกติหลังการกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ควรหยุดกินอาหารประเภทนั้น และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดทันที

แนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันภูมิแพ้ในเด็กกลุ่มเสี่ยง

          1. ลดการสัมผัสกับไรฝุ่น โดยการจัดบ้านให้เป็นระเบียบ โดยเฉพาะในห้องนอน ไม่ควรปูพรม และควรทำความสะอาดด้วยการเช็ดถูทุกวัน ใช้เครื่องนอนแบบทอแน่นป้องกันไรฝุ่น ทำความสะอาดเครื่องนอนทุกสัปดาห์ด้วยการซักด้วยน้ำร้อนหรือใช้เครื่องอบผ้าหลังการซักด้วยอุณหภูมิ 55 - 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 30 นาที

          2. ลดการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง โดยไม่นำมาไว้ในห้องนอน อาบน้ำให้สัตว์เลี้ยวอย่างน้อยทุกสัปดาห์ จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี หรือใช้เครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA ในห้องที่ปิดประตูหน้าต่าง

          3. ลดการสัมผัสกับซากแมลงสาบ โดยกำจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแมลงสาบ 

อ้างอิง: แนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้ของประเทศไทย พ.ศ. 2563

เมื่อไหร่ควรพาลูกน้อยไปตรวจอาการภูมิแพ้

หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการที่คล้ายกับภูมิแพ้ดังที่กล่าวไปข้างต้น และสงสัยว่าเจ้าตัวเล็กน่าจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นภูมิแพ้ หรือมีอาการเรื้อรังไม่หาย ควรหาโอกาสพาลูกไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำ นอกจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว แพทย์อาจจะทำการทดสอบภูมิแพ้เพื่อให้ทราบด้วยว่าผู้ป่วยแพ้สารชนิดใดร่วมด้วย ซึ่งการวินิจฉัยที่ได้รับความนิยมได้แก่

          1. การตรวจภูมิแพ้โดยการทดสอบทางผิวหนัง โดยแพทย์จะหยดน้ำยาลงบนแขนหรือหลังของเจ้าตัวเล็ก แล้วใช้เข็มสะกิดเบา ๆ เพื่อทดสอบดูว่าเด็กแพ้สารอะไรบ้าง วิธีนี้มักใช้กับเด็กที่โต เพราะจะให้ความร่วมมือในการทดสอบภูมิแพ้มากกว่าเด็กเล็กที่อาจจะร้องได้เพราะกลัว และกระบวนการทดสอบมีระยะเวลาที่นาน

          2. การตรวจภูมิแพ้โดยการเจาะเลือด โดยแพทย์จะทำการเจาะเลือดแล้วนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบว่าเด็กแพ้สารอะไรบ้าง ซึ่งวิธีนี้มักนิยมใช้ในเด็กเล็ก ๆ เพราะลดความกลัวของเด็กได้ง่ายกว่า เนื่องจากใช้เวลาในการเจาะเลือดไม่นาน

สารอาหารในนมแม่ที่มีบทบาทลดอาการแพ้

ในปัจจุบันจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ หรือที่เรียกกันว่า โพรไบโอติกส์ กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีงานวิจัยรองรับคุณประโยชน์ทางด้านสุขภาพมากมาย  จุลินทรีย์ที่พบได้ในลำไส้ของเด็กที่ได้รับนมแม่ อย่างเช่น LGG ทำหน้าที่สร้างสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ให้ประโยชน์ช่วยลดอาการลูกแพ้นมวัว ลดอาการผื่น และป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้อื่นๆที่อาจตามมาในอนาคต

breast milk help allergy

อาหารที่ควรกินหรือหลีกเลี่ยงหากลูกแพ้

อาหารสำหรับคุณแม่ของเด็กกลุ่มเสี่ยงภูมิแพ้สูงในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

แนะนำให้คุณแม่กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยไม่มีความจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงจะก่อให้เกิดการแพ้ เช่น นมวัว ถั่ว อาหารทะเล ไข่ เป็นต้น เนื่องจากการงดอาหารมีความเสี่ยงทำให้แม่และทารกขาดสารอาหารได้ อย่างไรก็ดี คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงควันบุหรี่และสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น แมลงสาบ ร่วมด้วย

การเริ่มอาหารตามวัยในเด็กกลุ่มเสี่ยงภูมิแพ้สูง

          • แนะนำให้กินนมแม่อย่างน้อย 4 เดือน

          • ในช่วงอายุ 4 - 6 เดือน ควรเริ่มอาหารเสริมตามวัยทีละชนิดทุก 3 - 5 วัน ทีละน้อย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณ โดยอาจเริ่มด้วยข้าว ผักใบเขียว หมู ไก่ ปลาน้ำจืด ผักส้มแดง ไข่แดงที่ปรุงสุกสมบูรณ์

          • หากลูกสามารถกินอาหารดังกล่าวได้โดยไม่พบความผิดปกติ สามารถเริ่มอาหารที่มีโอกาสทำให้เกิดการแพ้ได้สูง เช่น นมวัว ไข่ทั้งฟอง ถั่วเหลือง แป้งสาลี ในช่วงอายุหลัง 6 เดือน และติดตามอาการแพ้อย่างใกล้ชิด

          • อาหารทะเลทุกชนิด ควรเริ่มหลังอายุ 1 ปี โดยเริ่มจากปลา

          • หากนมแม่ไม่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกนมสูตรที่เหมาะสมกับลูกน้อย

อ้างอิง: แนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้ของประเทศไทย พ.ศ. 2563

นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Short chain fatty acid (SCFA) เช่น บิวไทเรท (Butyrate) ซึ่งอยู่ในอาหารบางชนิด เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช รวมถึงสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ซึ่งมีข้อมูลการศึกษาพบว่า SCFA มีบทบาทช่วยป้องกันภูมิแพ้ และลดการอักเสบของร่างกาย

Reference: High levels of butyrate and propionate in early life are associated with protection against atopy. Allergy. 2019;74:799–809. DOI: 10.1111/all.13660

โพรไบโอติกส์ แลคโตบาซิลัส รามโนซัส จีจี (LGG) จุลินทรีย์ชนิดดีที่พบได้ในนมแม่ สามารถสังเคราะห์ SCFA ในลำไส้ ซึ่งเป็นอีกกลไกที่ส่งผลให้เกิดความสมดุลผนังลำไส ลดอาการอักเสบ เสริมระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง จึงช่วยลดโอกาสการเกิดภูมิแพ้ในเด็กได้

คำถามที่พบบ่อย

Line