Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
กระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลังของทารกนั้น จะมีช่วงเวลาปิดสนิทที่แตกต่างกัน หากกระหม่อมปิดเร็วไป หรือปิดช้าไป ก็สามารถที่จะส่งผลเสียต่อทารกได้อีกด้วย บทความนี้จาก Enfa มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับกระหม่อมศีรษะทารกมาฝากค่ะ มาดูกันว่ากระหม่อมหลังปิดกี่เดือน และกระหม่อมหน้าปิดกี่เดือน หากกระหม่อมทารกปิดเร็วหรือช้าเกินไป จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง ตามมาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ
กระหม่อมของทารกแรกเกิดนั้นจะยังปิดไม่สนิท ยังมีความนุ่มนิ่มอยู่ สามารถที่จะบุ๋มยุบตัวลงไปได้ หรืออาจจะโป่งตึงขึ้นมาก็ได้ ซึ่งกรณีของกระหม่อมยุบนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่ากระหม่อมทารกบุ๋มหรือยุบลงไปมากจนผิดปกติ ไม่เหมือนกับกระหม่อมศีรษะหลังแรกคลอดเลย อาจเป็นสัญญาณของภาวะขาดน้ำได้ กรณีแบบนี้ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และรับการดูแลรักษาที่เหมาะสม
กระหม่อมเด็กทารก (Fontanelle) คือ จุดอ่อนของศีรษะที่อยู่ตรงกลางระหว่างกระดูกในกะโหลกศีรษะ โดยจะแบ่งออกเป็นกระหม่อมหน้า (Anterior Fontanelle) และ กระหม่อมหลัง (Posterior Fontanelle)
วิธีสัมผัสหากระหม่อมหน้าของทารก ให้ใช้นิ้วแตะเบา ๆ ตรงกลางศีรษะของทารก แล้วค่อย ๆ เลื่อนนิ้วไปข้างหน้าศีรษะ จะพบแอ่งนุ่ม ๆ ที่มีรูปทรงคล้ายเพชร หรืออาจจะมองดูคล้ายกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนก็ได้ มีขนาดความกว้างประมาณ 1-3 นิ้ว
กระหม่อมหน้าของทารกจะเริ่มปิดเมื่อทารกมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปค่ะ แต่จะปิดสนิทลงเมื่อทารกมีอายุได้ประมาณ 1 ปีครึ่ง หรือประมาณอายุระหว่าง 12-18 เดือนค่ะ
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าทำไมลูกอายุ 6 เดือนแล้วกระหม่อมหน้ายังไม่ปิดสักที ไม่ต้องตกใจค่ะ เด็กแต่ละคนมีเวลาปิดของกระหม่อมที่แตกต่างกัน บางคนปิดไว บางคนปิดช้า ไม่เท่ากันค่ะ
เว้นเสียแต่ถ้าลูกอายุเกิน 18 เดือนแล้ว แต่กระหม่อมศีรษะยังปิดไม่สนิท กรณีแบบนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย
กระหม่อมหลังทารก หาได้ไม่ยากค่ะ เพียงใช้นิ้วแตะเบา ๆ ที่กลางศีรษะก่อน และค่อย ๆ ลากนิ้วลงมาข้างหลังศีรษะ จะพบกับแอ่งนิ่ม ๆ ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดกว้างน้อยกว่า 1 นิ้ว หรือแค่ประมาณไม่เกิน 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น
กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่? สำหรับกระหม่อมหลังของทารกนั้น จะเริ่มปิดลงตั้งแต่แรกเกิด หรือตั้งแต่เดือนแรกหลังคลอดเลยค่ะ แต่จะกระหม่อมหลังจะค่อย ๆ ปิดสนิทลงเมื่อทารกมีอายุได้ 6-8 เดือนขึ้นไป
ซึ่งการปิดของกระหม่อมหลังทารกนั้นจะแตกต่างกันค่ะ ทารกบางคนกระหม่อมหลังปิดตั้งแต่เดือนแรก แต่ทารกบางคนก็อาจต้องรอจนอายุ 7-8 เดือนก็มี คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจค่ะ ทารกแต่ละคนมีระยะเวลาการปิดของกระหม่อมศีรษะไม่เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม หากทารกอายุเกิน 8 เดือนขึ้นไป และพบว่ากระหม่อมหลังยังปิดไม่สนิท ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติ
ตามปกติแล้วกระหม่อมด้านหลังของทารกจะปิดตัวเร็วกว่ากระหม่อมหน้า โดยกระหม่อมหลังจะเริ่มปิดตัวลงตั้งแต่แรกคลอดเลยค่ะ และจะปิดสนิทตั้งแต่ทารกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม เวลาที่เราพูดถึงกระหม่อมทารกปิดเร็วนั้น จะหมายถึงกระหม่อมหน้าค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่พบว่ากระหม่อมหน้าของทารกปิดเร็วเกินไป คือเริ่มปิดลงตั้งแต่อายุก่อน 6 เดือน แบบนี้ถือว่ากระหม่อมทารกปิดเร็วค่ะ ซึ่งกรณีเช่นนี้ถือว่าผิดปกติ และมีความเสี่ยงหลายด้าน ได้แก่
ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่พบว่ากระหม่อมหน้าของทารกปิดตัวลงก่อนลูกมีอายุ 6 เดือน ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาความปิดปกติทันทีค่ะ
กระหม่อมศีรษะของทารกที่ยังปิดไม่สนิทนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าจะจับหรือสัมผัสไม่ได้ เพราะสามารถจับได้ ลูบคลำได้ จูบได้ตามปกติ แต่จะต้องสัมผัสด้วยความเบามือ และระมัดระวังไม่ให้มีการกระทบกระเทือนรุนแรง ป้องกันไม่ให้ศีรษะของลูกน้อยถูกแรงกระแทงอย่างรุนแรง เพราะอาจส่งผลเสียต่อสมองของทารกได้
หากกระหม่อมทารกโดนกระแทกอย่างแรง ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยดูว่าลูกน้อยเป็นอันตรายไหม เกิดความผิดปกติขึ้นหรือไม่ เพื่อจะได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
เนื่องจากกระหม่อมของทารกนั้นถือเป็นจุดหนึ่งที่มีความบอบบางสูง คุณพ่อคุณแม่จึงมีข้อควรรู้ที่ในการดูแลทารกให้ปลอดภัย ดังนี้
ทารกแรกเกิดนั้น จำเป็นจะต้องใส่ใจดูแลในเรื่องของโภชนาการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรจะต้องได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียวและอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนแรกของชีวิต
เพราะในนมแม่มี MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
กระหม่อมโป่งตึง หรือปูดขึ้นมา อาจต้องดูอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ลูกมีอาการร้องไห้ไม่หยุด มีไข้สูง หากมีอาการดังกล่าวควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ
เพราะอาจจะเป็นไปได้ว่ามีภาวะความดันในสมองสูงผิดปกติ หรือทารกอาจมีการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ไข้สมองอักเสบ ซึ่งก็จะทำให้กระหม่อมทารกโป่งตึงขึ้นมาได้
โดยทั่วไปแล้วกระหม่อมของทารกจะปิดสนิททั้งหมดเมื่ออายุประมาณ 12-18 เดือน หรือราว ๆ 1 ปี 8 เดือน แต่ถ้าลูกมีอายุ 2 ขวบแล้ว กระหม่อมยังไม่ปิด ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยดูว่าผิดปกติไหม มีสัญญาณความเสี่ยงต่อพัฒนาการของลูกน้อยหรือเปล่า
เพราะอาจเป็นไปได้ 2 กรณี คือ มีความผิดปกติจริง และมีสัญญาณความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย กับ กระหม่อมปิดช้ากว่าปกติ แต่ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติต่อสมองหรือพัฒนาการของลูก
กระหม่อมหน้า กับ กระหม่อมหลัง มีช่วงเวลาเปิดปิดแตกต่างกัน ดังนี้
Enfa สรุปให้ กระหม่อมหลังปิดกี่เดือน? กระหม่อมหลังของทารกจะเริ่มปิดตั้งแต่แรกเกิด หรืออายุตั้งแต...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกฟันขึ้นงอแงกี่วัน อาการงอแงอาจเกิดขึ้นได้ 3-5 วัน แต่บางครั้งอาจยาวนานถึง 1-2 สั...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ของเล่นเสริมพัฒนาการ 6-12 เดือน ควรเลือกของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการของแต่ละช่วงวัย เ...
อ่านต่อ