Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เมื่อลูกไม่สบาย มีไข้ขึ้น คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องหมั่นเช็ดตัวบ่อย ๆ เพื่อให้ไข้ลด และคอยดูแลให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อพักฟื้นร่างกายให้เป็นปกติ แต่...เวลาที่ลูกนอนพักนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดแอร์ให้ลูกไหม? ถ้าเปิดแอร์ จะทำให้ลูกมีไข้สูงขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่านะ? บทความนี้จาก Enfa มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับการดูแลลูกน้อยเมื่อไข้ขึ้นสูง พร้อมไขข้อข้องใจ ถ้าลูกเป็นไข้ เปิดแอร์ได้ไหม? แล้วถ้าจะเปิดแอร์ ควรเปิดแอร์กี่องศาดีนะ?
เป็นไข้ควรเปิดแอร์ไหม? เป็นคำถามคาใจคุณพ่อคุณแม่หลายคนค่ะ เพราะอดเป็นกังวลไม่ได้ กลัวว่าถ้าเปิดแอร์แล้วจะทำให้อากาศเย็นขึ้น และจะทำให้ไข้ของลูกไม่ลดลง หรือมีไข้ขึ้นสูงยิ่งกว่าเดิม
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้ลูกเป็นไข้ ก็ยังสามารถเปิดแอร์ได้ตามปกติค่ะ เพียงแต่จะต้องจำกัดอุณหภูมิเอาไว้ไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส เพราะถ้าเปิดแอร์ที่อุณหภูมิน้อยกว่านั้น เพราะจะไปกระตุ้นเรื่องของการไอ หรือทำให้หายใจไม่สะดวกได้
มากไปกว่านั้น จะต้องดูทิศทางของลมไม่ให้โดนตัวลูกโดยตรง ควรปรับให้ลมหันตกลงพื้น หรือหันขึ้นด้านบน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายของลูกถูกลมกระทบโดยตรง
ลูกไม่สบาย เปิดแอร์ได้ไหม? โดยทั่วไปแล้วสามารถเปิดแอร์ได้ตามปกติค่ะ การเปิดแอร์ไม่ได้ทำให้ลูกไข้ขึ้นสูงอย่างมีนัยสำคัญค่ะ
เพียงแต่เวลาเปิดแอร์ให้ลูกนั้น ต้องระมัดระวังไม่ให้อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และปรับทิศทางของลมไม่ให้โดนลูกโดยตรง ก็จะช่วยให้ลูกนอนหลับสบายมากขึ้น นอนเต็มอิ่มขึ้น เป็นการช่วยให้ร่างกายของลูกฟื้นตัวได้เร็วขึ้นอีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม สำหรับการเปิดแอร์ตอนลูกไม่สบาย หรือมีไข้นั้น อาจสามารถแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
การเปิดแอร์ตอนลูกไม่สบายนั้นสามารถทำได้ค่ะ หากอยู่ในความดูแลที่เหมาะสม การที่ลูกนอนหลับพักผ่อนในสภาวะที่อากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไปถือว่าดีต่อการนอนหลับพักผ่อน และทำให้ลูกน้อยมีอาการดีขึ้นด้วย
หากลูกเป็นหวัด การนอนในห้องแอร์นั้นสามารถทำได้ตามปกติค่ะ เครื่องปรับอากาศไม่ได้มีผลโดยตรงทำให้อาการเป็นหวัดของลูกแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญจนถึงขนาดกับจะต้องหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด
สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่เพียงแค่ดูแลปรับอุณหภูมิแอร์ไม่ให้น้อยกว่า 25 องศาเซลเซียส และปรับทิศทางของลมจากเครื่องปรับอากาศไม่ให้พัดลงโดนตัวของลูกโดยตรง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการไอ หรือทำให้ลูกคัดจมูกมากกว่าเดิม
หากลูกมีไข้ อาจจะมีอาการหวัดร่วมด้วย หรือไม่มีก็ได้ การนอนในห้องแอร์ หรือใช้ชีวิตอยู่ในห้องแอร์สามารถทำได้ตามปกติ แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องปรับอุณหภูมิแอร์ให้อยู่ระหว่าง 25-27 องศาเซลเซียส แต่อย่าให้น้อยกว่า 25 องศาเซลเซียส
มากไปกว่านั้น ควรปรับทิศทางของลมแอร์ให้พัดไปทางอื่น ไม่ให้โดนตัวหรือศีรษะของลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายของลูกเย็นจนเกินไป อาจเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดอาการไอ หรือทำให้หายใจไม่สะดวก มีอาการคัดจมูกได้ค่ะ
แม้ว่าการเปิดแอร์ จะเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ลูกมีอาการไอได้ แต่ลูกน้อยที่ไม่สบาย เป็นหวัด และมีอาการไอร่วมด้วย ก็ยังสามารถนอนในห้องแอร์ได้ค่ะ
แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องปรับอุณหภูมิของแอร์ให้เหมาะสม คือต้องไม่น้อยกว่า 25 องศาเซลเซียส และปรับหันทิศทางลมให้พัดขึ้นเพดาน หรือพัดลงพื้น อย่าให้ลมพัดโดนลูกโดยตรง ก็จะลดความเสี่ยงที่จะไปกระตุ้นให้มีอาการไอได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม การเปิดแอร์เป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะทำให้ความชื้นภายในห้องลดลง จนสามารถกระตุ้นให้ลูกไอถี่ขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดเครื่องเพิ่มความชื้น เพื่อช่วยรักษาระดับความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้อง ทำให้ลูกหายใจสะดวกขึ้น และไม่ทำให้ลูกไอหนักกว่าเดิม
ลูกเป็นไข้ สามารถเปิดพัดลมแทนแอร์ได้เช่นกันค่ะ แต่ควรจะเปิดพัดลมแบบส่าย และตั้งให้ห่างจากตัวลูกอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ลมจ่อที่ใบหน้าหรือศีรษะลูกนาน ๆ และเพื่อเป็นการกระจายความเย็นทั่วทั้งห้อง ทำให้ลูกนอนหลับสบายมากขึ้น และไม่กระตุ้นให้เกิดอาการไอ หรือหายใจไม่สะดวก
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากการดูแลเรื่องการเปิดแอร์ เปิดพัดลม และการควบคุมทิศทางของลมอย่างเหมาะสมแล้ว สิ่งสำคัญคือการดูแลให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ กินยาในปริมาณที่แพทย์และเภสัชกรแนะนำ และหมั่นเช็ดตัวบ่อย ๆ เพื่อช่วยลดไข้ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของลูกฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ พร้อมกลับมาสดชื่นและกระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง
มากไปกว่านั้น นอกจากจะคอยดูอุณภูมิห้องให้เหมาะสมแล้ว จำเป็นจะต้องสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิดด้วยว่าลูกมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ด้วยหรือเปล่า
หากพบว่าลูกมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย
การดูแลสุขภาพของลูกน้อยให้แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย จะทำให้ลูกสามารถเรียน เล่น และทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด มีพัฒนาการที่สมวัย เก่งทั้งความรู้ ความคิด และมีทักษะ EF ที่ดีเยี่ยม
ดังนั้น การเลือกโภชนาการที่ดี ใส่ใจกับอาหารการกินของลูกน้อย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะละเลยไม่ได้ เพราะสารอาหารที่ดีจากอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยบำรุงร่างกายของลูกให้แข็งแรง และกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมองให้มีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทารกทุกคนควรจะต้องได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับ MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
Enfa สรุปให้ ลูกกินยายากมักเกิดจากรสชาติยาไม่ถูกปาก ความกลัว หรือประสบการณ์ไม่ดี เช่น เคยสำลักยา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกมีก้อนที่ข้างคอ มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่บริเวณลำคอ รวมถึงภาวะต่อมน้ำเหลือง...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ตากุ้งยิงในเด็ก มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่ดวงตา ทำให้เกิดอาการบวมแดง อักเสบ และ...
อ่านต่อ