
ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
แม้ว่าคนเป็นแม่ทุกคนต้องการจะอยู่บ้านเลี้ยงลูกเอง แต่ด้วยความจำเป็นคุณแม่ต้องกลับไปทำงานและไม่มีญาติมาเลี้ยงลูกให้ขณะตนเองไปทำงาน พี่เลี้ยงเด็กจึงเป็นผู้ช่วยที่ดีของคุณแม่ แน่นอนว่าการหาพี่เลี้ยงเด็กเป็นเรื่องใหญ่ คุณแม่จึงต้องเตรียมหาพี่เลี้ยงตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะกลับไปทำงาน เพื่อให้ลูกได้คุ้นเคยกับพี่เลี้ยงสักพักก่อน เป็นการป้องกันปัญหาลูกงอแงเมื่อต้องอยู่กับคนที่ไม่ใช่คุณแม่ นอกจากคุณสมบัติทั่วไปแล้ว หากพี่เลี้ยงเด็กมีความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ จะเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับคุณแม่และลูกน้อยค่ะ
ช่วงที่หาพี่เลี้ยงเด็ก คุณแม่ควรสัมภาษณ์อย่างละเอียดถึงประวัติและสังเกตบุคลิกลักษณะ หรือหากมีโอกาสได้พูดคุยกับนายจ้างเก่า ก็สามารถช่วยให้หาพี่เลี้ยงเด็กที่ดีได้ส่วนหนึ่งค่ะ
เหตุผลของการที่พี่เลี้ยงเด็กมีความรู้และสามารถส่งเสริมพัฒนาการลูกได้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า สมองเด็กมีการเจริญเติบโตสูงสุดถึง 85% ในช่วงตั้งครรภ์ ถึง 3 ปีแรก ดังนั้นการกระตุ้นสมองเด็กด้วยวิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่เล็กๆ จึงสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้สมองของเด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
เด็กๆ นั้นรู้จักการเล่นตั้งแต่เล็ก และพัฒนาการเล่นมากขึ้นตั้งแต่ตื่นจนหลับ การเล่นจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสอย่างต่อเนื่อง ทำให้เซลล์สมองเชื่อมประสานกันมากขึ้น เยื่อหุ้มใยประสาทหนามากขึ้น เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการด้านต่างๆ เด็กๆ ควรได้ทำกิจกรรมที่เหมาะกับวัยเพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ และช่วยพัฒนาสมองของเขา
เพื่อประโยชน์ที่ลูกจะได้รับ คุณแม่จึงควรพูดคุยกับพี่เลี้ยงเด็กถึงกิจกรรมที่สามารถนำไปส่งเสริมพัฒนาการของลูกในแต่ละวัน
กิจกรรม |
รายละเอียดกิจกรรม |
พัฒนาการที่ได้รับการส่งเสริม |
เล่นนอนหงายกันดีกว่า |
จับเด็กนอนหงาย ผู้ใหญ่ยิ้ม พูดคุย ร้องเพลงกับเขา โดยห่างจากใบหน้าเด็กประมาณ 20 ซม. จากนั้นผู้ใหญ่ค่อยๆ เลื่อนใบหน้าของตัวเองช้าๆ ไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น จากจมูกของเด็ก เอียงไปหูซ้าย จากจมูกเอียงไปทางหูขวา จากจมูกไปทางคาง จากจมูกไปทางหน้าผาก |
การเล่นนี้ช่วยกระตุ้นการมองเห็นของเด็ก เด็กวัยตั้งแต่ 1-2 เดือนขึ้นไปสามารถยิ้มตอบ นำมือทั้งสองข้างเข้าหากัน จ้องมองและกลอกตาตามใบหน้าของคนที่อยู่ตรงหน้าได้ |
กระตุ้นการเอื้อมคว้า |
จับเด็กนอนหงาย... |
เด็กสามารถ… |
นุ่มบ้าง แข็งบ้าง หยาบบ้าง |
ใช้มือเด็กจับกระดาษทราย กระดาษแก้ว กระดาษลูกฟูก สำลี ผ้าแบบต่างๆ ลูกบอล บล็อกไม้ ฯลฯ และสิ่งของที่มีผิวสัมผัสต่างๆ กันให้เขาได้สัมผัส โดยอาจเอาไปสัมผัสที่ผิวลูก ที่แก้ม ที่ฝ่าเท้า |
กิจกรรมการเล่นนี้ จะช่วยให้เด็กรู้จักสิ่งของที่มีพื้นผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญา |
นอนคว่ำกัน |
จับเด็กนอนคว่ำ ผู้ใหญ่พูดคุย ร้องเพลงกับลูก หรือถือของเล่นสีสดใส มีเสียง เช่น ลูกบอลสีสด กรุ๋งกริ๋ง เป็ดเหลืองบีบโบกไปมาช้าๆ |
การเล่นนี้ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย โดยเด็กสามารถ… |
คืบๆ คลานๆ |
หาของเล่นที่เขย่าแล้วเกิดเสียง จากนั้นค่อยๆ ขยับของเล่นให้เด็กคืบคลานตาม |
กิจกรรมนี้ช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของเด็กที่เริ่มคืบได้ หากพบสิ่งที่น่าเล่น น่าค้นคว้า น่าเรียนรู้ เขาก็จะคืบไปหา เพื่อสำรวจ หยิบ จับ หรือคว้าเข้าปากเล่น พัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญา สังคม และอารมณ์ก็ดีมากขึ้นด้วย |
เล่นเรียกชื่อ |
จับเด็กนั่งตัก จากนั้นจับส่วนต่างๆ บนหน้าของเขาพร้อมทั้งเรียกชื่อไปด้วย |
เด็กจะเริ่มรู้จักชื่อตัวเอง มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของลูก |
อ่านหนังสือให้ฟัง |
อ่านหนังสือนิทานหรือหนังสือที่มีคำคล้องจองให้เด็กฟังในเวลาที่เด็กดูผ่อนคลาย สบายๆ หรือตอนอาบน้ำ (หนังสือลอยน้ำ) หรือก่อนนอน |
กิจกรรมนี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา สังคมและอารมณ์ ความคิดและสติปัญญาให้เด็ก แม้เด็กจะยังเล็กก็สามารถอ่านหนังสือให้เขาฟังได้ และควรอ่านทุกวัน เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับการอ่าน |
อย่างไรก็ตาม แม้พี่เลี้ยงเด็กจะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเลี้ยงดูลูกมากขึ้น แต่ลูกก็ยังต้องการความรักและความใกล้ชิดจากคุณพ่อคุณแม่มากกว่าใคร ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาอยู่และเล่นกับลูกให้มากที่สุดนะคะ
อาหารเป็นพิษในเด็กเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้วัยนี้ค่ะ บางครั้งแม้ว่าเด็กจะกินอาหารเหมือนที่ผู้ใหญ่ก...
อ่านต่อเด็กกับการเล่นเป็นของคู่กัน คุณแม่คงได้เห็นภาพลูกยกบล็อกไม้ขึ้นมาพูดเหมือนพูดโทรศัพท์ หรือทำท่าป้...
อ่านต่อสุขภาพลูกน้อย วัย 4 ปี 11 เดือนและวิธีรับมืออาการลูกตาแดง เมื่อลูก 4 ขวบเป็นตาแดง นอก...
อ่านต่อ