การชอบกัดคนอื่น เป็นพฤติกรรมที่พบได้ในเด็กช่วงวัย 1-3 ปี เพราะเด็กในวัยนี้ จะเริ่มมีพัฒนาการมากขึ้น หยิบจับสิ่งของได้เอง มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เริ่มรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำมีผลต่อคนรอบข้างอย่างไร เวลาที่เล่นกับคนอื่นแล้วมีอารมณ์ตื่นเต้นมากๆ สนุกมากๆ อาจจะเริ่มมีการใช้ปากกัดเพราะรู้สึกมันเขี้ยว กัดแล้วรู้สึกดีมีความสุข แต่เด็กๆ บางคนอาจเริ่มมาจากอารมณ์โกรธ หงุดหงิด ไม่ได้ดั่งใจ จึงกัดเพื่อเป็นการระบายอารมณ์
ถ้าคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยเป็นเด็กชอบกัด ก็ไม่ควรดุหรือต่อว่าลูกด้วยการใช้คำพูดที่รุนแรงหรือเสียงดังใส่ลูก แต่ควรจะจับตัวเขาไว้ กอดเขาไว้ไม่ให้กัด บอกเขาว่า “กัดไม่ได้” ทำอย่างนี้ทุกๆ ครั้งเมื่อลูกจะกัดคนอื่น แล้วค่อยๆ คุย และค่อยๆ ถามว่าทำไมลูกถึงไปกัดคนอื่น ให้เขาพูดความรู้สึกออกมา บอกเขาว่าเราไม่กัดคนอื่นเวลาโกรธ แต่เราจะบอกว่าเรารู้สึกอย่างไร และสอนให้ลูกเป็นฝ่ายขอโทษ วิธีนี้จะทำให้ลูกค่อยๆ สงบ และเกิดการเรียนรู้ว่าถ้าครั้งต่อไปรู้สึกโมโหอีกก็จะรู้จักระงับอารมณ์โกรธของตัวเองได้ค่ะ
ที่สำคัญ อย่าพูดว่าลูกเป็นเด็กจอมกัด เพราะมีผู้ใหญ่บางคนที่ชอบพูดล้อเลียน หรือเวลาเจอลูกก็พูดกระแนะกระแหนว่า "นี่ไงเจ้าเด็กชอบกัด" หรือพอเจอก็พูดว่า "ระวังๆ เดี๋ยวจะโดนเด็กคนนี้กัดอีกนะ" การพูดเช่นนี้จะเป็นการไปคอยตอกย้ำว่าลูกเป็นเด็กชอบกัด ไม่มีใครรัก ไม่มีใครอยากยุ่งด้วย ซึ่งจะทำให้เขายิ่งรู้สึกโกรธ และอาจใช้วิธีกัดคุณพ่อคุณแม่ กัดเพื่อน กัดคนรอบข้าง เพื่อเป็นการระบายอารมณ์ของเขา และอาจกลายเป็นพฤติกรรมต่อเนื่อง
พฤติกรรมการกัดจะลดลงเมื่อลูกอายุได้ 3 ขวบขึ้นไป เพราะมีกิจกรรมอื่นที่ทำให้ลูกสนใจมากขึ้น แต่ถ้าพฤติกรรมการกัดนี้ยังไม่หายไป คุณแม่ควรพาไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจมาจากสาเหตุอื่น เช่น พูดช้า สื่อสารไม่ได้ หรืออาจมีปัญหาเรื่องอารมณ์และพฤติกรรมค่ะ
คุณแม่ทุกคนต่างอยากให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี พูดคุยรู้เรื่อง มีเหตุผล ฯลฯ นั่นคือภาพสวยๆ ในความคิดคุ...
อ่านต่อคุณแม่หลายคนคิดว่าการเลี้ยงลูกให้พูดได้สองภาษา ต้องส่งลูกไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์หรือไปเรียนเมืองน...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ พฤติกรรมเลียนแบบ เป็นหนึ่งในการเรียนรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งอาจเกิดจากการพบเห็น...
อ่านต่อ