Enfa สรุปให้:
คุณแม่มือใหม่คงเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่าควรให้ลูกได้รับดีเอชเอมากๆ เพราะเป็นอาหารบำรุงสมอง ทำให้เกิดความสงสัยว่าบำรุงสมองอย่างไร และดีเอชเอมีอยู่ที่ไหนบ้าง เรามีรายละเอียดมาฝากกันค่ะ
ดีเอชเอ (DHA) คือกรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมองและจอประสาทตา ในสมองและเซลล์ประสาทตาของคนเราประกอบด้วยกรดไขมันหลายชนิด แต่ชนิดที่มีมากที่สุดคือ ดีเอชเอ โดยพบในสมอง 40% และพบในจอประสาทตา 60% เท่ากับเป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์สมอง ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาท ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน จึงได้ชื่อว่าเป็นสารอาหารบำรุงสมองที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสมองของเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 3 ขวบปีแรกที่สมองพัฒนาสูงสุดถึง 85% ทีเดียว
DHA มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างเซลล์สมอง การให้ลูกได้รับดีเอชเอตั้งแต่ลูกยังอยู่ในครรภ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแม่ตั้งครรภ์ ช่วงอยู่ในครรภ์ ลูกจะได้รับ DHA ผ่านทางสายรกโดยตรง เพราะทารกยังมีเอนไซม์ไม่เพียงพอในการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของดีเอชเอ จึงยังไม่สามารถเปลี่ยนสารตั้งต้นนี้ให้เป็นดีเอชเอได้ และทารกในครรภ์จะสะสมดีเอชเอไว้ในสมองมากเป็นพิเศษในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด เนื่องจากในช่วงนี้อัตราการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนหลังคลอดลูกจะได้รับดีเอชเอจากการกินนมแม่นั่นเอง
ร่างกายไม่สามารถสร้างดีเอชเอขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ซึ่งแหล่งอาหารของดีเอชเอคือ นมแม่ ปลาทะเลน้ำลึก ปลาน้ำจืด เช่น ปลาสวาย ปลาช่อน และสาหร่ายทะเลบางชนิด
เด็กทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน อาหารหลักคือ “นมแม่” จึงได้รับดีเอชเอจากนมแม่นั่นเอง การที่เด็กได้กินนมแม่เท่ากับช่วยให้เซลล์สมองและระบบประสาทของเขาได้พัฒนา
ทารกในครรภ์มีเอ็นไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมก้า 3 ให้เป็น DHA ไม่เพียงพอ นั่นจึงทำให้ทารกในครรภ์ได้รับ DHA ผ่านทางสายสะดือโดยตรง และทารกจะสะสม DHA ไว้ในสมองมากเป็นพิเศษในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด เนื่องจากในช่วงนี้อัตราการเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมองจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว จากนั้นทารกจะได้รับ DHA จากการกินนมแม่ช่วงหลังคลอด
จะเห็นว่าเด็กได้รับ DHA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จากอาหารที่แม่ทานเข้าไป ต่อเนื่องจนถึงหลังคลอดที่สารอาหารถูกส่งผ่านจากน้ำนมแม่ องค์กรนานาชาติ FAO/WHO แนะนำให้แม่ตั้งครรภ์ และแม่ให้นมบุตรรับประทาน DHA ในปริมาณ 200 มก./วัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของสมองลูก
อย่างที่กล่าวว่าแหล่งที่ดีของดีเอชเอสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กคือ “นมแม่” ซึ่งปริมาณดีเอชเอที่มีในนมแม่นั้น ธรรมชาติจะมีการปรับปริมาณให้เหมาะสมตามวันเวลาเพื่อเข้าไปปรับสมดุลในร่างกายของเด็ก ช่วยให้เซลล์สมองและสายตาของเด็กพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ ร่างกายเด็กจะนำดีเอชเอในน้ำนมแม่ไปใช้ได้เต็มที่ โดยเฉพาะในระยะ 6 เดือนแรกที่ทารกยังสร้างน้ำย่อยไขมันได้ไม่ดี เพราะในน้ำนมแม่จะมีน้ำย่อยไขมันด้วย
DHA ในนมแม่ได้มาจากอาหารที่แม่รับประทาน ดังนั้นถ้าแม่ทานอาหารที่มี DHA สูง เช่น ปลาที่มี DHA สูง หรือนมสำหรับคุณแม่ให้นมบุตรที่มี DHA สูง ปริมาณ DHA ในน้ำนมแม่ก็จะสูงด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างเซลล์สมองนับแสนล้านเซลล์ของลูกน้อยที่กินนมแม่
ดีเอชเอทำหน้าที่ส่งเสริมการสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) ในสมอง ซึ่งเป็นฉนวนให้กระแสไฟฟ้าวิ่งได้อย่างรวดเร็ว ช่วยเพิ่มความเร็วในการรับและส่งสัญญาณกระแสประสาท (Nerve Impulse) ระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้การสื่อสารรับส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มการเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ยิ่งเซลล์สมองมีการเชื่อมต่อมากขึ้น เด็กก็ยิ่งเรียนรู้เร็วขึ้น
การที่มีกรดไขมันอย่างดีเอชเอในสมองจำนวนมาก ก็จะทำให้เซลล์สมองมีการขยายขนาด พื้นผิวมีรอยหยักซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ขณะที่จำนวนของเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อก็เพิ่มจำนวนขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้สติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ เมื่อดีเอชเอผ่านเข้าไปในสมองจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายแขนงประสาทที่เรียกว่า เดนไดรต์ (Dendrite) ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทด้วยกัน ทำให้เด็กเกิดความจำและการเรียนรู้
ดีเอชเอสำหรับเด็กที่ดีที่สุดคือ ดีเอชเอในนมแม่ แต่หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่กับลูกได้ ควรเลือกนมผงเด็กสูตรที่ผสมดีเอชเอ แม้ดีเอชเอจะช่วยพัฒนาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก แต่ดีเอชเอก็มีคุณภาพแตกต่างกันและให้ผลที่แตกต่างกัน ดีเอชเอคุณภาพดีกว่าจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของสมองเด็กมากกว่า คุณแม่จึงต้องให้ความสำคัญกับการเลือกสรรดีเอชเอคุณภาพดีที่สุดให้ลูกน้อย
จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว*
อีกทั้งร่างกายเด็กจะดูดซึมดีเอชเอได้ดียิ่งขึ้นเมื่อมี พีดีเอ็กซ์ (PDX) ซึ่งคืออาหารของจุลินทรีย์สุขภาพที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ มีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลระบบนิเวศในลำไส้ ช่วยให้เด็กมีระบบขับถ่ายที่ดีเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง คุณแม่จะเห็นได้ว่าดีเอชเอนั้นมีคุณค่าสมกับที่ได้เชื่อว่าอาหารบำรุงสมองจริงๆ จึงควรให้ลูกได้รับดีเอชเออย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะจากนมแม่หรือนมผงเด็ก (กรณีไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้) ค่ะ
ในน้ำนมแม่ นอกจากจะมี DHA กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อยแล้ว ยังมีสารอาหารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “MFGM” หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม (Milk Fat Globule Membrane) ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟไลปิด แกงกลิโอไซต์ เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้าง IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ของลูกน้อยให้เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
Enfa สรุปให้ Latch Score คือระบบการประเมินการให้นมแม่ที่เพื่อช่วยวัดและติดตามประ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการคัดเต้าเป็นก้อน ปั๊มไม่ออก มักเกิดจากการปล่อยน้ำนมค้างเต้าเป็นเวลานาน ลูกดูดไม...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ท้อง 8 เดือนเต้าไม่คัด หรือหลังคลอดเต้าไม่คัด ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ พ...
อ่านต่อ