เมื่อลูกเข้าสู่วัยเตาะแตะ การกินของลูกก็เปลี่ยนไปคล้ายผู้ใหญ่ จากที่เคยกินแต่นมและอาหารบดหรือสับ ก็เริ่มกัดและเคี้ยวอาหารได้แล้ว แต่คุณแม่ก็อาจจะยังสงสัยว่าอาหารเด็ก 1 ขวบนั้น เขากินอะไรได้บ้าง ทำไมบางทีลูกก็ดูไม่ค่อยอยากกินอาหารเอาเสียเลย เรามาดูรายละเอียดกันนะคะ
เด็กวัยเตาะแตะเป็นวัยแห่งการเลียนแบบ เด็กเห็นผู้ใหญ่กินอะไรก็อยากจะกินบ้าง แต่บางครั้งเวลาที่ให้กินข้าวกลับไม่ยอมกินซะดื้อๆ เพราะห่วงเล่นจนคุณแม่กังวลว่าลูกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ กลัวลูกไม่โต พฤติกรรมนี้เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยของเด็กในวัยนี้
เมื่ออายุย่างเข้า 1 ขวบ เด็กจะเริ่มใช้มือหยิบจับหรือคว้าของ เพื่อสำรวจและเรียนรู้สิ่งรอบตัว อีกทั้งเวลาคุณแม่ป้อนข้าวหรือป้อนอาหารเด็ก 1 ขวบ ลูกก็จะแย่งช้อนจากมือของคุณแม่เพื่อตักอาหารเอง คุณแม่จึงควรใช้โอกาสนี้เริ่มฝึกให้ลูกกินอาหารจากถ้วย และให้ใช้มือจับช้อนกินเองบ้าง สลับกับคุณแม่ป้อนบ้าง ลูกอาจตักข้าวหกเกลื่อนกลาดหรือกินไม่เรียบร้อย ก็ควรทำใจ ปล่อยให้ลูกกินเอง และอดทนจนกว่าลูกจะทำได้ ถ้าลูกกินช้า ก็ไม่ควรดุลูกหรือรีบป้อนลูกเอง เพราะเท่ากับคุณแม่ขัดขวางการเรียนรู้ของลูกในเรื่องการแก้ปัญหา การทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองของลูก
เมื่อลูกอายุครบ 1 ปี คุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารหลักครบทั้ง 3 มื้อ กินนมเป็นอาหารเสริม โดยควรเลือกนมที่เหมาะกับวัยของลูกที่มีสารอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย เช่น มีสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง MFGM, ดีเอชเอ ฯลฯ และให้ลูกดื่มวันละ 2-3 แก้ว เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเขาให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ รอบตัว
ห่วงเล่นมากกว่ากินเป็นปัญหาที่คุณแม่ที่มีลูกวัยเตาะแตะมักเจอ ซึ่งแนวทางแก้ไขสามารถทำได้ โดย :
สำหรับวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งคุณแม่มีเวลาว่างและไม่เหนื่อยจากการทำงาน การหากิจกรรมในระหว่างมื้ออาหารเป็นการกระตุ้นให้ลูกอยากกินได้ทางหนึ่ง เช่น เล่นเกมทายปัญหาเกี่ยวกับอาหารที่กิน เล่นเกมเก้าอี้ดนตรีก่อนกิน พยายามทำให้การกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาเป็นเรื่องสนุกสนาน เป็นต้น
อาหารเช้าประมาณ 20-30 นาที อาหารเย็นประมาณ 30-40 นาที หากลูกเล่นอาหาร ขว้างปาช้อนหรือถ้วย อมข้าว หรือกินช้าจนเลยเวลาที่กำหนด ให้เก็บอาหาร ซึ่งคุณแม่ต้องใจแข็ง และไม่ควรให้อาหารอื่นกับลูกเลยระหว่างมื้อ เมื่อถึงเวลาอาหารมื้อต่อไป ลูกจะกินอาหารได้มากขึ้น
ตั้งชื่อให้น่าสนใจ เช่น ข้าวผัดสายรุ้ง ข้าวผัดพระอาทิตย์ และปริมาณที่ตักในครั้งหนึ่งๆ ให้เริ่มจากน้อยก่อน ลูกจะได้ไม่รู้สึกว่ามากจนไม่อยากกิน แต่หากตักน้อยแล้วเขาอยากกินอีกก็จะมาขอเพิ่มเอง
ในระยะแรกที่ลูกหัดกินเอง ควรใช้ภาชนะที่มีขอบสูง เวลาลูกใช้ช้อนตัก จะได้ไม่หกง่าย และไม่แตกง่าย ช้อนต้องมีด้ามยาวพอให้เด็กถือได้
หรือบังคับให้กินให้หมดจานทั้งๆ ที่ลูกอิ่มแล้ว เพราะจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีต่อการกิน
พูดคุยกันถึงเรื่องดีๆ สบายใจ ไม่ควรดุ เตือน หรือตั้งใจสอน เอาผิด คาดโทษ หรือวิพากษ์วิจารณ์ลูกในขณะนั้น
พราะจะทำให้ได้รับสารอาหารบางอย่างไม่ครบและเพียงพอต่อความต้องการ
เนื้อปลาอินทรี / ไข่ไก่ตีพอเข้ากัน 1 ฟอง/ เกล็ดขนมปัง 1 ถ้วย / มันฝรั่ง / แป้งสาลี 3 ช้อนโต๊ะ / เกลือป่น / พริกไทยป่น / น้ำมันพืช/ ซอสมะเขือเทศ / พิมพ์กดรูปปลา
ล้างเนื้อปลาให้สะอาด เสร็จแล้วซับน้ำใช้แม่พิมพ์กดให้เป็นรูปปลา
นำเนื้อปลาคลุกกับเกลือ และพริกไทยให้ทั่ว
นำเนื้อปลาไปคลุกกับแป้งสาลี แล้วนำมาชุบไข่ และนำไปชุบเกล็ดขนมปัง
นำทอดในน้ำมันที่ร้อนพอให้เหลืองกรอบ
ตักใส่จาน จากนั้นทอดมันฝรั่งให้เหลืองกรอบ เพื่อนำมากินด้วยกันพร้อมซอสมะเขือเทศ
เมนูนี้อาจถูกใจเด็กที่กำลังเบื่ออาหาร เพราะเด็กๆ รูปปลาน่ารักๆ และความกรอบของปลากับมันฝรั่ง ดึงดูดความสนใจของเขาได้ไม่น้อยเลยค่ะ
สปาเก็ตตี้ / ผักสด เช่น แครอท ผักกาดขาว บร็อกโคลี่ / เนื้อปลาต้มสุก / น้ำมันมะกอก
ลวกเส้นสปาเก็ตตี้ให้สุก ใช้น้ำมันมะกอกคลุกเคล้า เพื่อไม่ให้เส้นสปาเก็ตตี้ติดกัน
ต้มน้ำซุป พร้อมใส่ผักลงไปต้มให้นิ่มพอควร
นำเส้นสปาเก็ตตี้ใส่ถ้วย ตักน้ำซุปและผักลงไปรวมกัน คนเล็กน้อย ชิมพอให้มีรส
สุดท้าย โรยเนื้อปลาสุกลงไป
เด็กวัยนี้สามารถกินอาหารแบบผู้ใหญ่ได้แล้ว แต่รสชาติยังอ่อนแบบเด็กอยู่ เมนูนี้นอกจากจะฝึกการกินอาหารแบบผู้ใหญ่แล้ว ยังมีได้รับดีเอชเอพัฒนาสมองจากเนื้อปลาด้วย
แม้ลูกวัยนี้จะกินอาหารหลัก 3 มื้อแล้ว แต่นมซึ่งเป็นอาหารเสริมก็ยังสำคัญ คุณแม่ควรเลือกนมที่มีการเสริมสารอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของลูก เด็กวัย 1 ขวบขึ้นไป เริ่มเรียนรู้โลกรอบตัวมากขึ้น เพราะเขาเดินได้แล้ว จึงควรเสริมสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างสมองอย่าง MFGM ซึ่งประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ส่งผลดีต่อร่างกายและสมองเด็ก, ดีเอชเอ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาว ที่พบมากในสมองและจอประสาทตา
ที่สำคัญ จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว*
เมื่อได้รู้แล้วว่าอาหารเด็ก 1 ขวบเป็นอย่างไร ลูกกินอะไรได้บ้าง คุณแม่ก็สามารถจัดหาให้ลูกได้ โดยเฉพาะตัวอย่างเมนูอาหารที่นำมาแนะนำค่ะ
ตามหลักแล้ว การฝึกลูกกินผักผลไม้นั้น คุณแม่ส่วนใหญ่ควรทำตั้งแต่ลูกอายุครบ 6 เดือน ซึ่งลูกกินอาหาร...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ