ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
diaper-rash

ผื่นผ้าอ้อมลูกน้อย ปัญหาผิวหนังที่พ่อแม่ต้องคอยใส่ใจ

 

Enfa สรุปให้

  • ผิวหนังของทารกนั้นมีความบอบบางเป็นอย่างมาก จึงสามารถเกิดการระคายเคือง การอักเสบ หรืออาการแพ้ได้ง่าย
  • โดยเฉพาะบริเวณที่มีการสวมใส่ผ้าอ้อม มักจะมีการอักเสบและระคายเคืองจนเกิดเป็นผื่นแดงเล็ก ๆ ขึ้นมาตามก้น ง่ามขา หรืออวัยวะเพศ หรือที่เรียกว่า ผื่นแพ้ผ้าอ้อม
  • ซึ่งผื่นเหล่านี้เป็นแล้วอาจเป็นอีกได้ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่รักษาความสะอาดบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อมให้ลูก หรือปล่อยให้บริเวณนั้นเกิดการหมักหมมเป็นเวลานาน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ผื่นผ้าอ้อม คืออะไร
ทำไมลูกถึงเป็นผื่นผ้าอ้อม
ผื่นผ้าอ้อมมีลักษณะอย่างไร
วิธีรักษาผื่นผ้าอ้อม
วิธีป้องกันผื่นผ้าอ้อม
ไขข้องใจเรื่องผื่นผ้าอ้อมกับ Enfa Smart Club

ผิวของทารกบอบบาง ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดการระคายเคือง การแพ้ จนเกิดเป็นรอยแดง หรือผดผื่นขึ้นมาได้ พวกรอยแดงหรือผื่นต่าง ๆ ในทารก จึงเกิดขึ้นง่ายและลุกลามรุนแรงจนน่าตกใจ โดยเฉพาะผื่นผ้าอ้อม ซึ่งเป็นผื่นที่คุณพ่อคุณแม่มักจะพบได้บ่อยในเด็กทารก ดูแลอย่างไรก็ไม่หายสักที เป็นปัญหาที่สร้างความไม่สบายใจเป็นอย่างมาก

ผื่นผ้าอ้อม คืออะไร


ผื่นแพ้ผ้าอ้อม หรือบางทีคุณพ่อคุณแม่อาจจะเรียกกันว่า ผื่นแพ้แพมเพิส เป็นผื่นผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการระคายเคือง การอักเสบ ที่บริเวณก้น ง่ามขา และกลายเป็นผื่นขึ้นมาเป็นบริเวณที่ใช้แพมเพิสหรือสวมผ้าอ้อม ให้กับลูกน้อยทุกวัน

ผื่นผ้าอ้อมเกิดจากอะไร


ผื่นผ้าอ้อมทารก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ไม่ว่าจะเป็น: 

  • คุณพ่อคุณแม่ ผ้าอ้อมไว้นานเกินไป ทำให้เกิดการอับชื้นจากปัสสาวะ อุจจาระ เหงื่อ ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนังของลูกน้อย 
  • การเสียดสีกับผ้าอ้อม บางทีคุณพ่อคุณแม่อาจซื้อผ้าอ้อมมาผิดไซซ์ หรือสวมผ้าอ้อมให้ลูกคับเกินไป เวลาที่ลูกเคลื่อนไหว นั่ง คลาน จึงอาจเกิดการเสียดสีของผ้าอ้อมกับผิวหนังได้ 
  • แพ้สารเคมีต่าง ๆ พวกครีมทาผิว ออยล์ โลชั่น ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ส่วนผสมบางอย่างที่เป็นสารเคมีที่อยู่ในแพมเพิส และอาจไม่เหมาะกับผิวของเด็ก ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวของลูกได้ค่ะ 
  • ติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ในร่างกายลูกน้อย บริเวณที่สวมผ้าอ้อมเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เพราะเป็นจุดที่มีการหมักหมมทั้งอุจจาระและปัสสาวะ เป็นจุดที่มีความชื้นสะสมจนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราได้ง่าย 
  • อาการแพ้ เนื่องจากว่าผิวของทารกบอบบางมาก ระคายเคืองง่าย ในทารกบางรายอาจแพ้ผ้าอ้อมบางชนิด ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวของลูก หรือเวลาที่อาบน้ำ สบู่ หรือแชมพูบางชนิด อาจมีสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อลูกน้อยได้เช่นกันค่ะ 

ลักษณะผื่นผ้าอ้อม เป็นอย่างไร


หากทารกเป็นผื่นผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จาก: 

  • มีอาการผิวหนังอักเสบ เป็นรอยแดง เป็นผดผื่นที่บริเวณก้น ต้นขา ง่ามขา อวัยวะเพศ 
  • มีอาการคันบริเวณที่สวมผ้าอ้อม 
  • เป็นแผลพุพองตรงบริเวณที่สวมผ้าอ้อม 
  • ทารกร้องไห้งอแงบ่อย โดยเฉพาะเวลาที่สวมผ้าอ้อม หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม 

ลูกเป็นผื่นแดงที่ขาหนีบ อาการแบบนี้ใช่ผื่นผ้าอ้อม หรือเปล่า  

หากลูกมีอาการระคายเคือง มีผื่นแดง หรือแผลที่บริเวณก้น ขา หรือขาหนีบ อาจเป็นไปได้ค่ะว่าเจ้าตัวเล็กกำลังเป็นผื่นผ้าอ้อม

อย่างไรก็ตาม ผื่นในบริเวณดังกล่าวก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรักษาค่ะ

ผื่นผ้าอ้อมกี่วันหาย 

หากมีการดูแลรักษาอย่างดี เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ  ไม่บ่อยให้มีการหมักหมมอุจจาระ ปัสสาวะรักษาความสะอาดเป็นประจำ ใช้ครีมทาหรือโลชั่นสำหรับเด็กตามที่แพทย์แนะนำ อาการผื่นผ้าอ้อมจะดีขึ้นและหายได้ภายใน 2-3 วัน 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้เด็ก

วิธีรักษาผื่นผ้าอ้อม


วิธีรักษาผื่นผ้าอ้อมที่ดีที่สุดคือ ดูแลให้ผิวหนังของลูกแห้ง ไม่อับชื้น โดยการเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ หลังลูกอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ปล่อยให้ลูกสวมผ้าอ้อมตัวเดิมนาน ๆ 

แต่ถ้าพยายามรักษาความสะอาดแล้ว ลูกยังมีผื่นผ้าอ้อมอยู่หรือเป็นผื่นมากขึ้น แนะนำคุณพ่อคุณแม่พาไปพบแพทย์ และใช้ครีมทาตามที่แพทย์แนะนำได้ เช่น 

  • ยาทาในกลุ่มไฮโดรคอร์ติโซน ซึ่งมีสเตียรอยด์อ่อน ๆ ใช้สำหรับรักษาอาการแพ้หรือระคายเคืองผิวหนังของเด็กได้ 
  • ยาทาต้านเชื้อรา กรณี แพทย์ตรวจพบว่าลูกติดเชื้อราร่วมด้วย
  • ยาปฏิชีวนะ กรณีที่ผื่นผ้าอ้อมเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย 

อย่างไรก็ตาม อาการผื่นผ้าอ้อมของลูกนั้นจะไม่หายขาด หากคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลรักษาความสะอาด เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งหลังอุจจาระ ปัสสาวะ ไม่ให้เกิดการหมักหมม เจ้าตัวเล็กก็อาจจะกลับมาเป็นผื่นผ้าอ้อมซ้ำอีกได้ค่ะ 

คุณพ่อคุณแม่ป้องกันการเกิดผื่นผ้าอ้อมแบบนี้ หมดปัญหาผื่นกวนใจลูกน้อยแน่นอน


สิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันทารกจากผื่นผ้าอ้อมได้ หลักสำคัญคือผิวของลูกต้อง แห้ง และ สะอาด 

ดังนั้น วิธีที่จะช่วยคุณพ่อคุณแม่ป้องกัน การเกิดผื่นผ้าอ้อมได้คือ  

  • หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ ไม่ปล่อยให้ลูกสวมผ้าอ้อมตัวเดิมและหมักหมมไว้เป็นเวลานาน ๆ ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุก ๆ 2 ชั่วโมง หรือทุกครั้งที่ลูกอุจจาระ 
  • เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่สวมผ้าอ้อมด้วยน้ำสะอาด หรือสบู่สำหรับเด็กอยู่เสมอ 
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีที่เป็นอันตราย หรืออาจระคายเคืองต่อผิวของเด็ก ใช้ผลิตภัณฑ์ตามที่แพทย์แนะนำ 
  • คอยดูแลอย่าให้ผิวบริเวณที่สวมผ้าอ้อมมีการอับชื้น ควรเช็ดหรือซับผิวให้แห้งทุกครั้งทั้งก่อนและหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม 
  • ไม่สวมผ้าอ้อมแน่นจนเกินไป จะทำให้เกิดการเสียดสีกับผิวหนังของลูก ทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้ 
  • ไม่ควรทาแป้งบริเวณขาหนีบหรือร่องก้น เพราะแป้งจะอับกับเหงื่อกลายเป็นคราบหรือก้อนแป้ง ทำให้ผิวชื้นแฉะตลอดเวลา
  • หลังทำความสะอาดผิวหนัง บริเวณผ้าอ้อมทุกครั้งให้ทาผิวบริเวณผ้าอ้อมด้วยครีม หรือขี้ผึ้ง เช่น ขี้ผิ้ง Petrolatum jelly หรือครีม เพื่อเคลือบผิวลดการระคายเคือง

ไขข้องใจเรื่องผื่นผ้าอ้อมกับ Enfa Smart Club


ลูกเป็นผื่นแดงที่อวัยวะเพศ ใช่ผื่นผ้าอ้อมหรือเปล่า? 

หากลูกมีผื่นแดงเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ มีแนวโน้มสูงที่ลูกอาจจะเป็นผื่นผ้าอ้อม 

แต่เพื่อความแน่ใจ ให้ลองเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยขึ้น รักษาความสะอาดอยู่เสมอ เช็ดบริเวณอวัยวะเพศและบริเวณที่สวมผ้าอ้อมให้แห้งอยู่เสมอ แล้วดูว่าผื่นแดงบริเวณนั้นดีขึ้นหรือไม่  

หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ค่ะ 

ผื่นผ้าอ้อม ผู้ใหญ่เป็นได้ไหม? 

ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุที่สวมผ้าอ้อม หากไม่เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ หรือไม่รักษาความสะอาดให้ดี ก็มีโอกาสที่จะเกิดผื่นผ้าอ้อมได้เช่นกันค่ะ 

ผื่นผ้าอ้อมมีเชื้อราเป็นสาเหตุจริงหรือ? 

เชื้อราก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมค่ะ เพราะบริเวณที่สวมผ้าอ้อมนั้นมักจะมีการหมักหมมทั้งอุจจาระและปัสสาวะ เป็นจุดที่มีความชื้นสะสมเพียงพอที่จะติดเชื้อราได้ง่าย ทำให้เกิดการติดเชื้อราและเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ 

อาการขาหนีบแดง ลอก ในทารก เกิดจากผื่นผ้าอ้อมใช่หรือเปล่า? 

หากลูกมีอาการขาหนีบแดง ลอก ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าว่าลูกเป็นผื่นผ้าอ้อม 

แต่เพื่อความแน่ใจ ให้ลองเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ รักษาความสะอาดอยู่เสมอ เช็ดบริเวณที่อวัยวะเพศและบริเวณที่สวมผ้าอ้อมให้แห้งอยู่เสมอ แล้วดูว่าผื่นแดงบริเวณนั้นดีขึ้นหรือไม่  

หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ค่ะ


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

baby-heat-rash
baby-face-rash
food-allergy-rash
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner