ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
egg-allergy-diet

ลูกแพ้ไข่ขาว ลูกแพ้ไข่แดง ควรทำเมนูเด็กแพ้ไข่ยังไงดีนะ

Enfa สรุปให้

  • เมื่อเริ่มกินอาหารตามวัย คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูอาการของลูกหลังกินอาหารว่ามีอาการแพ้ใด ๆ ปรากฎหรือเปล่า เพราะเด็กหลายคนมีอาการแพ้อาหารตั้งแต่ยังเล็ก
  • อาการแพ้ไข่ มีทั้งแพ้ไข่แดง แพ้ไข่ขาว ซึ่งเป็นกลุ่มอาการแพ้อาหารที่พบได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก
  • หากลูกมีอาการแพ้ไข่ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำมาจากไข่ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไข่

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • อาการแพ้ไข่ เป็นอย่างไร
     • เด็กแพ้ไข่ ควรกินอะไรดี
     • แนะนำเมนูสำหรับเด็กแพ้ไข่
     • ป้องกันอาการแพ้อาหารในเด็กได้อย่างไร

ไข่ เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ให้คุณค่าทางสารอาหารและพลังงานที่มีประโยชน์ต่อเด็กที่เริ่มกินอาหารตามวัย แต่...ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะกินไข่ได้ค่ะ เพราะมีเด็กหลายคนที่กินไข่แล้วพบว่ามีอาการแพ้ไข่ โดยอาจจะพบว่าลูกแพ้ไข่ขาว หรือลูกแพ้ไข่แดงก็ได้เช่นกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการของลูกหลังกินอาหารตามวัยในแต่ละวันให้ดีว่าลูกแพ้ไข่หรือเปล่า เพื่อจะได้เตรียมป้องกัน และทำเมนูที่เหมาะสำหรับเด็กแพ้ไข่ 

รู้จักกับอาการแพ้ไข่ อาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้กับลูกน้อย


อาการแพ้อาหารนั้นเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ยังเด็ก เด็กทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นภูมิแพ้เหมือนกัน แต่จะมากหรือน้อยก็ตามแต่ปัจจัยทางสุขภาพ ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงวัยที่ลูกจะต้องกินอาหารตามวัย (Solid Foods) คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยหมั่นสังเกตอยู่เสมอว่าอาหารที่ให้ลูกกินในแต่ละวัน หลังจากกินแล้ว ลูกมีอาการผิดปกติอะไรเกิดขึ้นบ้างไหม เพราะเด็กอาจจะแพ้อาหารบางชนิดได้ค่ะ 

อย่างเมนูไข่ ถือว่าเป็นหนึ่งในเมนูเด็กที่ยอดฮิตมากในระยะแรกเริ่มของอาหารตามวัยทารก เพราะมีเนื้อสัมผัสที่นิ่ม ลูกน้อยสามารถกลืนได้ง่าย ปลอดภัย และยังไม้คุณค่าทางสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย 

แต่...เด็กหลาย ๆ คนก็มีอาการแพ้ไข่ค่ะ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านโปรตีนที่อยู่ในไข่ จนเกิดเป็นอาการแพ้ตามมา ได้แก่ 

  • ลูกหายใจไม่ออก หายใจลำบาก 
  • มีอาการไอ 
  • ปวดท้อง 
  • อาเจียน 
  • ท้องเสีย 
  • ผื่นลมพิษ 
  • มีจุดสีแดงขึ้นตามร่างกาย 
  • มีอาการบวม 
  • วิงเวียนศีรษะหรือหมดสติ 

เด็กแพ้ไข่ ควรได้รับโภชนาการอย่างไร หากกินไข่ไม่ได้


ไข่นั้นโดดเด่นในเรื่องของโปรตีน หากเด็กมีอาการแพ้ไข่ คุณพ่อคุณแม่จะต้องหาอาหารชนิดอื่นที่ให้โปรตีนสูงเหมือนกัน แต่เมื่อนำมาปรุงอาหารแล้วจะต้องมีเนื้อสัมผัสที่นิ่มมากกว่าหรือเท่ากับไข่ เพื่อให้ลูกกินได้ง่าย เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อแกะ เนื้อวัว เป็นต้น นำมาต้มและบดให้ละเอียด เพื่อให้ลูกน้อยสามารถกลืนได้ง่าย ไม่ติดคอ และยังได้รับโปรตีนสูงเช่นเดียวกันกับไข่ด้วย 

แต่...แม้ว่าจะให้ลูกกินอาหารอื่น ๆ ทดแทนไข่ ก็ยังจำเป็นจะต้องคอยระวังและสังเกตให้ดี เพราะเด็กอาจจมีอาการแพ้อาหารทดแทนชนิดอื่น ๆ ได้เหมือนกันค่ะ 

แนะนำเมนูสำหรับเด็กแพ้ไข่


หากลูกมีอาการแพ้ไข่ แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่จะต้องตัดวงจรเมนูไข่ทั้งหมดออกไปทันทีค่ะ ซึ่งหมายรวมถึงวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ทำมาจากไข่ด้วยนะคะ อย่างเช่น เมนูบะหมี่หรือพาสต้าบางสูตรก็มีส่วนผสมของไข่ ขนมปัง แพนเค้ก วาฟเฟิล โดนัท ฯลฯ หลายสูตร หลายร้าน ก็ใช้ผลิตภัณฑ์จากไข่ด้วยเหมือนกัน ควรระวังให้ดีค่ะ 

เมนูสำหรับลูกแพ้ไข่ขาว

หากลูกน้อยกินไข่ขาวแล้วมีอาการแพ้ คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงเมนูอาหารที่มีส่วนผสมของไข่ขาว แต่ถ้าหากลูกแพ้แต่ไข่ขาว ไม่แพ้ไข่แดง ก็สามารถใส่ไข่แดงลงในอาหารได้ค่ะ

1. ข้าวต้มไข่แดง (สำหรับเด็กที่แพ้ไข่ขาว แต่ไม่แพ้ไข่แดง) 

วัตถุดิบ: 

  • ข้าวต้ม 
  • ไข่แดงต้มสุก 
  • แครอทสับละเอียด 
  • ใบตำลึงสับละเอียด 
  • น้ำซุปกระดูกหมูหรือโครงไก่ 

วิธีทำ: นำข้าวต้มมาผสมกับน้ำซุป เคี่ยวด้วยไฟอ่อน พอเริ่มได้ที่ให้ใส่ไข่แดงลงไป คนเบา ๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นให้ใส่แคร์รอตกกับใบตำลึงที่สับละเอียดแล้วลงไป เคี่ยวไปเรื่อย ๆ จนผักเริ่มเปื่อย เมื่อทุกอย่างสุกเข้ากันดี ยกลง ตักเสิร์ฟ 

 

2. ไข่แดงบดโยเกิร์ต (สำหรับเด็กที่แพ้ไข่ขาว แต่ไม่แพ้ไข่แดง) 

วัตถุดิบ: 

  • ไข่แดงต้มสุก 
  • โยเกิร์ต 
  • แอปเปิ้ล หรือผลไม้อื่น ๆ 

วิธีทำ: นำไข่แดงมาบด หรือจะหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก็ได้ จากนั้นผสมโยเกิร์ตลงไปให้เข้ากัน สามารถนำแอปเปิ้ลหรือผลไม้ที่บดละเอียด บดพอหยาบ หรือจะหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมลงไปคนให้เข้ากัน พร้อมเสิร์ฟ 

 

3. ข้าวตุ๋นแคร์รอตฟักทองใส่ไข่แดง (สำหรับเด็กที่แพ้ไข่ขาว แต่ไม่แพ้ไข่แดง) 

วัตถุดิบ: 

  • แคร์รอต 
  • ฟักทอง 
  • ข้าว 
  • ไข่แดง 

วิธีทำ: นำข้าวกับผักต่าง ๆ ลงไปต้มพร้อมกัน ต้มประมาณ 25 - 30 นาที ต้มเสร็จแล้วให้นำไปบดให้ละเอียด จากนั้นนำไข่แดงมาบดละเอียดแล้วนำมาผสมให้เข้ากัน พร้อมเสิร์ฟ 

 

4. อะโวคาโดเพียวเร่ไข่แดง (สำหรับเด็กที่แพ้ไข่ขาว แต่ไม่แพ้ไข่แดง) 

วัตถุดิบ: 

  • ไข่แดง 
  • อะโวคาโด 
  • น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

วิธีทำ: บดไข่แดงและอะโวคาโดสุกเข้าด้วยกัน ขณะบดเติมน้ำเปล่าหรือจะใส่นมแม่ก็ได้นม ผสม่ไปเรื่อย ๆ ไม่ให้เนื้อเพียวเร่แห้งจนเกินไป คนให้เข้ากันจนได้เนื้อเพียวเร่เข้มข้นตามที่ต้องการ ตักเสิร์ฟ 

 

5. แคร์รอตคัสตาร์ดไข่แดง (สำหรับเด็กที่แพ้ไข่ขาว แต่ไม่แพ้ไข่แดง) 

วัตถุดิบ: 

  • ไข่แดง 
  • แคร์รอต 
  • นมแม่ 

วิธีทำ: นำแคร์รอตที่ต้มสุกแล้วมาปั่นหรือบดให้ละเอียด จากนั้นใส่ไข่แดงกับนมแม่ลงไป บดให้เข้ากัน เสร็จแล้วนำไปเคี่ยวในกระทะด้วยไฟอ่อน ๆ จนเนื้อเข้มข้มตามที่ต้องการ ยกลง และตักเสิร์ฟได้เลย 

  

6. ไก่บด 

วัตถุดิบ: 

  • ไก่ 
  • น้ำซุปจากการต้มไก่ หรือใช้นมแม่ก็ได้ 

วิธีทำ: นำไก่ไปต้มให้สุก จากนั้นนำมาบดหรือจะใส่เครื่องปั่นก็ได้ ปั่นและบดให้ละเอียด เติมน้ำซุปจากการต้มไก่ หรือจะใช้นมแม่แทนก็ได้ เพื่อไม่ให้เนื้อไก่แห้งจนเกินไป บดให้เข้ากันและตักเสิร์ฟได้เลย 

  

7. ปลาบด 

วัตถุดิบ: 

  • ใช้ปลาอะไรก็ได้ที่ก้างน้อย 
  • น้ำเปล่า หรือนมแม่ 

วิธีทำ: นำปลาไปต้มจนสุก แยกเอาแต่เนื้อปลาออกมาบดละเอียด เติมน้ำเปล่าหรือนมแม่เรื่อย ๆ ไม่ให้เนื้อปลาแห้งจนเกินไป พอเข้ากันดี ก็ตักเสิร์ฟได้เลย 

 

8. เนื้อวัวบด 

วัตถุดิบ: 

  • เนื้อวัว 
  • น้ำเปล่า หรือนมแม่ 

วิธีทำ: ต้มเนื้อวัวให้สุกและเปื่อยกำลังดี จากนั้นนำมาบดหรือจะปั่นก็ได้ค่ะ ปั่นและบดให้ละเอียด เติมน้ำสะอาดหรือนมแม่เรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้เนื้อวัวแห้งจนเกินไป เมื่อละเอียดเข้ากันดีแล้ว ก็ตักเสิร์ฟได้เลย 

 

9. ไก่บดแอปเปิ้ล 

วัตถุดิบ: 

  • เนื้อไก่ 
  • แอปเปิ้ล 
  • น้ำเปล่า หรือนมแม่ 

วิธีทำ: ต้มเนื้อไก่ให้สุก หั่นแอปเปปิ้ลเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นนำไปปั่นหรือบดเข้าด้วยกันให้ละเอียด เติมน้ำสะอาดหรือนมแม่เรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้เนื้อแห้งจนเกินไป เมื่อละเอียดเข้ากันดีแล้ว ก็ตักเสิร์ฟได้เลย 

 

10. ไข่แดงบด (สำหรับเด็กที่แพ้ไข่ขาว แต่ไม่แพ้ไข่แดง) 

วัตถุดิบ: 

  • ไข่แดง 
  • น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

วิธีทำ: นำไข่แดงต้มสุก ใช้หลายฟองหน่อยนะคะเพื่อให้ได้ปริมาณที่พอสำหรับลูกกินในหนึ่งมื้อ นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำเปล่าหรือนมแม่เล็กน้อย เพื่อไม่ให้เนื้อแห้งเกินไป เมื่อเนื้อเนียนเข้ากันดีแล้ว ตักเสิร์ฟได้เลย 

เมนูสำหรับลูกแพ้ไข่แดง

หากลูกน้อยกินไข่แดงแล้วมีอาการแพ้ คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงเมนูอาหารที่มีส่วนผสมของไข่แดง แต่ควรสังเกตดูด้วยค่ะว่า ลูกแพ้ไข่ทั้งฟอง หรือแพ้เฉพาะไข่แดง ถ้าหากลูกแพ้แต่ไข่แดง ไม่แพ้ไข่ขาว ก็อาจสามารถกินไข่ขาวได้ตามปกติ

1. สตูว์หมูใส่แอปเปิ้ล 

วัตถุดิบ: 

  • หมูสับไม่ติดมัน 
  • น้ำมันรำข้าวเล็กน้อย 
  • แอปเปิ้ลหั่นเต๋า 
  • น้ำสะอาดหรือนมแม่ 
  • น้ำแอปเปิ้ลคั้นสด ไม่ใส่น้ำตาล 
  • บวบสับละเอียด 
  • มันเทศสับละเอียด 

วิธีทำ: นำเนื้อหมูลงไปผัดด้วยไฟอ่อน ๆ จากนั้นใส่ส่วนผสมที่เหลือลงไปผัดตามด้วย ผัดจนสุกทั่วกัน จากนั้นนำส่วนผสมไปบดเข้าด้วยกันให้ละเอียด เติมน้ำสะอาดหรือนมแม่เล็กน้อย และน้ำแอปเปิ้ลลงไป กะเอาพอเนื้อไม่แห้ง คนให้เข้ากัน ตักเสิร์ฟ 

 

2. หมูบดใส่ถั่วเขียว

วัตถุดิบ: 

  • เนื้อหมูไม่ติดมัน 
  • แคร์รอต 
  • ถั่วเขียว 
  • มันฝรั่ง 
  • น้ำสะอาดหรือนมแม่ 

วิธีทำ: ต้มเนื้อหมู แคร์รอต ถั่วเขียว และมันฝรั่งให้สุก เมื่อทุกอย่างสุกดีแล้ว นำมาบดหรือปั่นเข้าด้วยกัน เอาพอหยาบ หรือจะเอาให้ละเอียดก็ได้ ผสมน้ำสะอาดหรือนมแม่เพื่อไม่ให้เนื้อสัมผัสแห้งเกินไป เมื่อเข้ากันดีแล้ว ตักเสิร์ฟได้เลย 

 

3. ข้าวตุ๋นปลาโอ

วัตถุดิบ: 

  • ข้าวต้ม 
  • ปลาโอหั่นเต๋า 
  • ขึ้นฉ่ายซอย 
  • ฟักทองหั่นเต๋า 
  • น้ำสะอาด 

วิธีทำ: ต้มข้าวกับฟักทองให้เดือด คนเรื่อย ๆ  จนฟักทองสุก ใส่เนื้อปลาและส่วนผสมอื่น ๆ ตามลงไป คนจนกระทั่งเนื้อปลาสุก ตักเสิร์ฟ 

 

4. ข้าวผัดปลาอินทรี (เหมาะสำหรับเด็กอายุ 10-12 เดือนขึ้นไป) 

วัตถุดิบ: 

  • ปลาอินทรีหั่นเต๋า 
  • แคร์รอตหั่นเต๋า 
  • หอมใหญ่สับ 
  • ข้าวสวย 
  • น้ำมันถั่วเหลือง 

วิธีทำ: นำหอมใหญ่กับแคร์รอตไปผัดในน้ำมันให้เข้ากัน จากนั้นใส่เนื้อปลาลงไปผัด  แล้วตามด้วยข้าวสวยปิดท้าย ผัดจนทุกอย่างสุกเข้ากันดี ตักเสิร์ฟได้เลย (เนื่องจากเป็นข้าวผัดสำหรับเด็กจึงไม่ต้องปรุงรสค่ะ)  

 

5. ไก่บดแคร์รอต 

วัตถุดิบ: 

  • เนื้อไก่ 
  • แคร์รอต 
  • น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

วิธีทำ: ต้มไก่กับแคร์รอตให้สุก จากนั้นนำมาบดหรือปั่นให้ละเอียด เติมน้ำสะอาดหรือนมแม่ เพื่อให้เนื้อสัมผัสไม่แห้งเกินไป ตักเสิร์ฟได้เลย 

  

6. ซุปไก่บด 

วัตถุดิบ: 

  • เนื้ออกไก่ 
  • แคร์รอต 
  • ต้นหอมญี่ปุ่น 
  • บรอกโคลี 
  • มันเทศ 
  • ผักชี 
  • น้ำซุปต้มไก่ (ใช้น้ำที่ต้มไก่ก็ได้) 

วิธีทำ: หั่นผักทุกอย่างเป็นเต๋าชิ้นเล็ก ๆ น้ำลงไปผัดด้วยน้ำมันมะกอกเล็กน้อย จากนั้นนำไปต้มกับไก่ในน้ำซุป คนให้เข้ากัน ดูว่าสุกถึงกันดี จากนั้นนำมาปั่นให้เนียนละเอียด หรือถ้ามีเครื่องปั่นแบบมือถือก็ปั่นได้เหมือนกันค่ะ พอเป็นเนื้อเข้ากันดีแล้ว ตักเสิร์ฟ 

  

7. ไก่บดมันฝรั่ง 

วัตถุดิบ: 

  • มันฝรั่ง 
  • เนื้อไก่ 
  • น้ำสะอาดหรือนมแม่ 

วิธีทำ: หั่นเนื้อไก่และมันฝรั่งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปนึ่งจนสุก เมื่อสุกแล้วนำมาปั่นให้ละเอียด เติมน้ำสะอาดหรือนมแม่ลงไปเพื่อไม่ให้เนื้องแห้งมากนัก เมื่อเนียนละเอียดดีแล้ว ตักเสิร์ฟได้เลย 

 

8. ไก่งวงบด 

วัตถุดิบ: 

  • เนื้อไก่งวง 
  • น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

วิธีทำ: ต้มไก่งวงให้สุก นำกระดูกออกให้หมด จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด เต้มน้ำสะอาดหรือนมแม่ เพื่อไม่ให้เนื้อไก่งวงแห้งจนเกินไป เสร็จแล้วตักเสิร์ฟได้เลย 

 

9. ข้าวตุ๋นปลาช่อน

วัตถุดิบ: 

  • เนื้อปลาช่อน 
  • ข้าวสวย 
  • น้ำสะอาด 
  • มันเทศหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 
  • อะโวคาโดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 
  • ต้นหอมซอยละเอียด 

วิธีทำ: ต้มข้าวสวยกับมันเทศประมาณ 30 นาที จากนั้นแกะเนื้อปลาช่อนและใส่ต้นหอมซอยลงไปต้มประมาณ 10 นาที แล้วขูดเนื้ออะโวคาโดลงไป คนให้เข้ากันจนทุกอย่างสุกเข้ากันดี ตักเสิร์ฟ 

 

10. ไก่บดบัตเตอร์นัท สควอช 

วัตถุดิบ: 

  • เนื้ออกไก่ 
  • บัตเตอร์นัท สควอช 
  • หัวหอมใหญ่สับละเอียด 
  • น้ำสะอาดหรือนมแม่ 
  • น้ำมันมะกอก 

วิธีทำ: ผัดหอมใหญ่ด้วยน้ำมันมะกอกให้หอม จากนั้นใส่เนื้อไก่ลงไปผัดจนสุก เติมบัตเตอร์นัท สควอชลงไป ใส่น้ำสะอาดหรือนมแม่ตามลงไป เคี่ยวต่อประมาณ 15 นาที แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาปั่นให้ละเอียด ตักเสิร์ฟ 

ป้องกันอาการแพ้อาหารในเด็กได้อย่างไร


อาการแพ้อาหารในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจตั้งแต่ลูกยังเล็ก เพราะถ้าหากรู้ตัวได้เร็ว ก็สามารถรับมือได้เร็ว และมีโอกาสจะรักษาให้หายขาดได้ตั้งแต่อายุุยังน้อยด้วย 

โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันอาการแพ้อาหารในเด็กได้ ดังนี้ 

  • ในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ควรให้ทารกได้กินนมแม่ต่อเนื่องอย่างเต็มที่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารภูมิคุ้มกันที่มีส่วนช่วยลดโอกาสเกิดภูมิแพ้ในเด็กได้ 
  • ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่พอหรือไม่สามารถให้นมแม่ไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ “โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด* (EHP)” โปรตีนนมขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และอาจมีโพรไบโอติกส์ เช่น LGG ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อหยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาสเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ในอนาคต 
  • เมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป และเริ่มกินอาหารตามวัย (Splid Foods) คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยจับตาสังเกตดูว่า หลังจากลูกกินอาหารไปแล้ว มีอาการผิดปกติไหม ผื่นขึ้นไหม ไอ จาม น้ำมูกไหลหรือเปล่า 
  • เวลาให้อาหาร พยายามให้อาหารมื้อละอย่าง เพื่อจะได้สังเกตูง่ายขึ้นว่าลูกแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ หรือเปล่า เพราะถ้าให้อาหารหลายชนิดเกินไป เราอาจไม่ทราบว่าลูกแพ้อาหารชนิดไหนกันแน่ 
  • เมื่อรู้ว่าลูกกินอาหารชนิดไหนแล้วแพ้ หลังจากนั้นให้หลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นโดยเด็ดขาด ซึ่งไม่ใช่เลี่ยงแค่เฉพาะเด็กนะคะ แต่คุณแม่ก็ต้องเลี่ยงอาหารชนิดนั้นด้วย เพราะทารกยังสามารถจะได้รับอาหารนั้นผ่านทางนมแม่ มีโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ได้ 
  • พาลูกไปเข้ารับการตรวจหาสารภูมิแพ้กับแพทย์เพื่อความแม่นยำมากขึ้น เพราะลูกอาจแพ้อาหารหลายชนิด คุณพ่อคุณแม่จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ขึ้นกับลูกได้อีก และแพทย์ 


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ดูแลลูกน้อย

บทความที่แนะนำ

เมนูอาหารเด็ก-11-เดือน
อาหารเด็ก 1 ขวบ สูตรไม่ลับ ทำแล้วอร่อย ลูกน้อยชอบแน่
อาหารเด็ก 10 เดือน กินอะไรได้บ้าง มาทำอาหารให้ลูกกัน!
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner