ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
social-emotional-development-activities

ฝึกลูก EQ ดีกับกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ

Enfa สรุปให้

  • พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการสำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมดี มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม เรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่น และใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้!
  • พัฒนาการด้านการมณ์และจิตใจของเด็กนั้น จะเปลี่ยนไปตามวัย ในเด็กเล็กจะไม่มีความซับซ้อนทางอารมณ์ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กจะแสดงออกทางอารมณ์ที่หลากหลายและซับซ้อนขึ้น
  • เด็กวัย 3-5 ปี เป็นช่วงวัยสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะรู้เท่าทันอารมณ์ของเด็ก เพราะถ้าหากปล่อยผ่านไป เด็กอาจจะซึมซับและเติบโตไปพร้อมกับพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจคืออะไร
     • เสริมสร้างพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจอย่างไร
     • แนะนำกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
     • ไขข้อข้องใจเรื่องกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจกับ Enfa Smart Club

เด็กไม่ควรจะเติบโตมาเพื่อเป็นเด็กที่เก่งเพียงอย่างเดียว สำคัญไปกว่านั้นคือเด็กควรจะต้องเติบโตมาอย่างมีความสุข มีความรักในตนเอง นับถือตนเอง รู้จักปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กสามารถอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีความสุข

บทความนี้จาก Enfa จะชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจถึงความสำคัญของกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ของลูกน้อยกันค่ะ

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจคืออะไรและสำคัญสำหรับลูกน้อยอย่างไร


การปลูกฝังสิ่งต่าง ๆ ให้เด็กตั้งแต่ยังเล็ก มีแนวโน้มที่เด็กจะซึมซับและเป็นไปตามแนวทางที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมา ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเน้นไปในด้านของพัฒนาการด้านสติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพราะมองว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดที่จะทำให้ลูกประสบความสำเร็จ และเติบโตได้อย่างมั่นคง

ทว่า...ทุกวันนี้การเป็นคนเก่งเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่พอค่ะ เพราะในโลกที่มีความหลากหลายใบนี้ สิ่งต่าง ๆ ล้วนยากที่จะควบคุมให้เป็นไปได้ดังใจ ดังนั้น การปลูกฝังให้ลูกเข้าใจถึงความเป็นไปอย่างแท้จริงของการใช้ชีวิต จะเป็นแรงผลักดันทำให้เด็กทั้งเก่ง และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

เด็กหลายคนเป็นคนที่เก่งมาก ๆ แต่กลับไม่มีความมั่นใจในตนเอง เด็กบางคนเป็นคนเก่ง แต่กลับไม่มีเพื่อน เด็กบางคนเป็นคนเก่ง แต่กลับไม่สามารถที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ตามวัยของตนเองได้

นั่นเป็นเพราะเด็กอาจจะขาดการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ ไม่สามารถรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีเท่าที่ควร หรืออาจเข้าสังคมได้ไม่ดี

การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์จะช่วยให้เด็กทำความเข้าใจและรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้จักการเข้าสังคม เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสังคมและสถานการณ์ต่าง ๆ เรียนรู้ที่จะรู้จักผิดหวัง รู้จักที่จะแสดงความยินดีต่อตนเองและผู้อื่น

หรือถ้าหากพูดกันให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เด็กที่ได้รับการส่งเสริมด้านอารมณ์และจิตใจ มีแนวโน้มที่จะเติบโตมาเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมดี อารมณ์ดี และมีความสุขได้ง่าย ๆ จากสิ่งรอบตัว

เนื่องจากได้รับการปลูกฝังให้เข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น รู้จักที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา เรียนรู้ที่จะปกป้องความรู้สึกตนเองและผู้อื่น รวมถึงเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งต่าง ๆ ด้วยความเข้าใจอย่างมีเหตุและผล

เสริมสร้างพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจของลูกน้อยได้อย่างไร


กิจกรรมพัฒนาการด้านสังคม ปฐมวัย หรือวัยเด็กเล็กนั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ง่าย โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ด้วยซ้ำค่ะ เพราะการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจของลูกนั้น ไม่ได้อาศัยแค่กิจกรรมเพียงอย่างเดียว

แต่ต้องเริ่มตั้งแต่สภาพแวดล้อม อาหารการกิน การอบรมเลี้ยงดู ความพร้อมในการเข้าถึงทรัพยากร รวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจในความแตกต่างทางอารมณ์ของเด็ก และพร้อมที่จะรับมือและปลูกฝังด้านอารมณ์และจิตใจของเด็กได้อย่างเหมาะสม

ตัวอย่างเช่น การหมั่นพูดคุยกับลูก แลกเปลี่ยนเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ถามลูกว่ารู้สึกอย่างไร ถ้าเป็นเหตุการณ์แบบนี้ลูกจะแก้ไขอย่างไร คอยแนะนำความเห็นของคุณพ่อคุณแม่ด้วยเหตุและผล เพื่อให้เด็กเรียนรู้ที่จะรับฟังความเห็นต่าง และพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผล

หรือการร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับลูก การพาลูกไปเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับเด็กคนอื่น ๆ นอกจากจะเป็นการใช้เวลาร่วมกันแล้ว เด็กยังจะได้เรียนรู้ที่จะเข้าสังคมกับผู้อื่น รู้จักที่จะมีเพื่อน ตลอดจนได้เรียนรู้ถึงพฤติกรรม อารมณ์ และความรู้สึกที่หลากหลายจากการได้พบปะกับเด็กคนอื่น ๆ ด้วย

หรือแม้แต่ของเล่น หรือเกม ก็มีส่วนช่วยพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเด็กได้เหมือนกัน การเล่นเกมที่มีกติกา มีความซับซ้อน เด็กจะได้เรียนรู้ที่จะวางเป้าหมาย รู้จักวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา และเรียนรู้ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมาย

กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจของลูกน้อย


สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมองหากิจกรรมเพื่อใช้ในการสร้างเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจของลูกน้อย อาจสามารถนำกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ มาปรับใช้กับลูกได้ค่ะ

1. เกมทายอารมณ์

กิจกรรมนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถเข้าถึงและรู้จักที่จะแยกแยะ และรู้ทันอารมณ์ต่าง ๆ ได้ วิธีการก็คือ คุณพ่อคุณแม่อาจจะมีบัตรภาพที่รวบรวมอารมณ์ต่าง ๆ แล้วสลับกันทายกับลูกว่า ภาพนี้คืออารมณ์อะไร โกรธ ดีใจ โมโห หรือสงสัย

โดยสามารถผลัดกันแสดงบทบาททางอารมณ์เพื่อให้อีกฝ่ายเดาว่าลักษณะท่าทางเช่นนี้คืออารมณ์ใด หรือจะผลัดกันตั้งโจทย์อารมณ์ แล้วผลัดกันหาภาพที่ตรงกับอารมณ์ดังกล่าวจากภาพในหนังสือ หรือนิตยสารก็ได้เช่นกัน

2. เกม Uno

เป็นอีกเกมหนึ่งที่ง่าย สนุก ทั้งยังเป็นการสอดแทรกพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมได้ดีทีเดียว คุณพ่อคุณแม่ลองหาซื้อไพ่อูโน่สักหนึ่งสำรับติดไว้ เพราะเกมนี้จะช่วยปลูกฝังให้เด็กรู้จักการเคารพกติกา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักวางแผนที่จะแก้ไขปัญหาหรือพลิกสถานการณ์

มากไปกว่านั้น ยังได้ฝึกฝนการเข้าสังคมกับผู้อื่นไปในตัว เพราะเกมนี้เล่นคนเดียวอย่างไรก็ไม่สนุก จำเป็นจะต้องเล่นร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้ได้ความสุนทรีย์มากขึ้น

3. กิจกรรมเชฟน้อย

ลองหาเมนูง่าย ๆ ที่เด็ก ๆ สามารถร่วมทำได้โดยไม่มีอันตราย หรือเป็นอันตรายน้อยที่สุด อย่างเช่น การทำขนมบัวลอย เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้ใช้เวลาร่วมกับผู้อื่น อาจจะเป็นคนในครอบครัว หรือเพื่อน ๆ ที่รู้จักกัน โดยเด็ก ๆ จะได้ร่วมทำตั้งแต่การผสมแป้ง การปั้นแป้งบัวลอยเป็นรูปต่าง ๆ ตามจินตนาการ

มากไปกว่านั้น กิจกรรมนี้ยังจะเป็นการสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะคิดและลงมือทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เรียนรู้ที่จะระมัดระวังอันตรายจากความร้อนและของมีคมต่าง ๆ และเมื่อบัวลอยเสร็จแล้ว เด็ก ๆ ยังจะได้สัมผัสกับความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองอีกด้วยค่ะ

4. กิจกรรมวาดภาพ ระบายสี

ศิลปะ ถือเป็นเครื่องกล่อมเกลาอารมณ์และจิตใจได้ดีมากทีเดียวค่ะ กระดาษสักแผ่น ดินสอ หรือสีแท่งหลาย ๆ สี แล้วปล่อยให้ลูกได้แต่งแต้มจินตนาการของตนเองลงบนแผ่นกระดาษได้โดยไม่มีขีดจำกัด

โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะทางอารมณ์ที่ไม่นิ่ง การวาดภาพระบายสี สามารถช่วยให้เด็กผ่อนคลายและสงบนิ่งได้มากขึ้น และจะยิ่งดีมากขึ้นหากคุณพ่อคุณแม่ร่วมวาดภาพและระบายสีกับเด็ก ๆ ด้วย จะช่วยให้สัมพันธภาพในครอบครัวดีขึ้น

5. ดนตรีสื่ออารมณ์

นอกจากศิลปะแล้ว ดนตรีก็เป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่มีส่วนช่วยเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กได้ดี คุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มจากการร้องเพลงร่วมกัน หรือลองหาเครื่องเล่นดนตรีสำหรับเด็กมาเล่นกับลูกก่อน

แล้วดูว่าลูกมีความสนใจด้านดนตรีหรือไม่ หรือลูกผ่อนคลายกับเครื่องดนตรีใดเป็นพิเศษ การเสริมให้ลูกเข้าสู่โลกดนตรี ก็จะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและเข้าถึงห้วงเวลาแห่งความสุขได้เช่นกัน

6. การอ่านหนังสือ

วิธีนี้สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้อง การอ่านหนังสือมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็ยังช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ถึงอารมณ์และความรู้สึกของตัวละครจากหนังสือนิทานด้วย

ทำให้เด็กเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางอารมณ์ และรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวละคร เป็นการปลูกฝังให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจอารมณ์ของตนเองได้

7. กิจกรรมออนทัวร์นอกรั้วบ้าน

เพราะโลกนี้ไม่ได้กว้างใหญ่แค่ภายในรั้วบ้านเท่านั้น การพาลูกออกไปเจอสังคมใหม่ ๆ นอกบ้านบ้างจะช่วยให้เด็ก ๆ ได้เห็นโลกกว้างมากขึ้น อาจจะเป็นสวนสาธารณะ สวนสนุก หรืองานกิจกรรมสำหรับเด็กที่มักจะมีการหมุนเวียนกิจกรรมตามพื้นที่ต่าง ๆ

วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งโอกาสที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ที่จะแสดงออกทางอารมณ์ที่แท้จริงของตัวเองออกมา และเด็กจะได้เห็นอารมณ์ของคนอื่น ๆ รอบข้างมากขึ้นด้วย

ทั้งยังเป็นข้อดีที่จะช่วยลดความขี้อายของเด็กลง และช่วยเสริมให้เด็กมีความกล้าแสดงออก กล้าที่จะเข้าสังคมกับคนอื่น ๆ ได้ดีขึ้น

8. เกม Simon Says

บางครั้งเด็กก็สามารถที่จะแสดงอารมณ์ของตนเองออกมาได้ดีขึ้น เมื่อตนเองได้รับบทที่จะเป็นผู้นำบ้าง เกมนี้นอกจากเด็กจะได้เรียนรู้ที่จะทำตามคำสั่งแล้ว ก็ยังได้ลองสลับบทบาทมาเป็นผู้ออกคำสั่งด้วย

ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้อารมณ์ 2 รูปแบบ คือ ความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา และความรู้สึกของผู้บังคับบัญชา

9. กิจกรรมบทบาทสมมุติ

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ง่าย อาจจะใช้อุปกรณ์หรือไม่ใช้ก็ได้ เช่น เล่นบทบาทสมมุติเป็นพ่อค้ากับลูกค้า เล่นพ่อแม่ลูก หรือเล่นเป็นสัตว์ หรือซูเปอร์ฮีโร่ต่าง ๆ กิจกรรมนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้เห็นอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ ที่หลากหลาย และยังได้มีการตอบโต้อารมณ์กับบทบาทสมุติอื่น ๆ อีกด้วย

10. ดูหนัง ดูการ์ตูน

เลือกสื่อที่เหมาะสมกับวัยของลูก แล้วนั่งดูพร้อมกันทั้งครอบครัว กิจกรรมนี้นอกจากจะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันแล้ว ในแต่ละซีนที่ผ่านตาไปเรื่อย ๆ เด็ก ๆ ก็จะได้เห็นอารมณ์และความรู้สึกของตัวละครต่าง ๆ มากมาย และได้พบเห็นการตอบโต้ทางอารมณ์ไปมาด้วย

จุดนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถแลกเปลี่ยนกับลูกได้ค่ะว่าลูกรู้สึกอย่างไรกับตัวละครตัวนี้ ที่ตัวละครนั้นทำแบบนี้ลูกว่าถูกไหม เป็นลูกจะทำอย่างไร และควรทำอย่างไร ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ถึงความซับซ้อนและความหลากหลายทางอารมณ์มากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม พื้นฐานสำคัญที่จะส่งเสริมให้พัฒนาการด้านอื่น ๆ ของลูกน้อยมีการเติบโตอย่างสมวัยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจกับเรื่องของโภชนาการ การได้รับสารอาหารที่สมบูรณ์และเพียงพอ จะช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง พร้อมสำหรับการเรียนรู้และทำกิจกรรมต่าง ๆ โดนไม่มีสะดุด

ซึ่งเรื่องของโภชนาการนี้ ควรเริ่มตั้งต้นมาตั้งแต่ตั้งครรภ์ แม่ท้องควรกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงลูกน้อยในครรภ์ เมื่อคลอดแล้วเด็กควรจะได้กินนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนแรกของชีวิต

เพราะในนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญคือ MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ประกอบด้วยไขมันและโปรตีนกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์ มีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ระบบขับถ่าย รวมถึงมีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน โดยเฉพาะพัฒนาการสมอง ก้าวล้ำทั้ง IQ และ EQ

มากไปกว่านั้น MFGM ยังเป็นกลุ่มสารอาหารสำคัญสำหรับเด็กวัยเข้าเรียนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบปีหรือวัยเข้าเรียน ถือว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นช่วงที่สมองของเด็ก ๆ เติบโตสูงสุด ดังนั้น การดูแลให้เด็กได้รับโภชนาการที่ครบถ้วนจึงถือเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามค่ะ

MFGM เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก

ไขข้อข้องใจเรื่องกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจกับ Enfa Smart Club


พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจมีอะไรบ้าง?

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ มีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ ได้แก่

          • เด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็ก เด็กวัยนี้จะยังไม่มีภาวะทางอารมณ์ที่ซับซ้อน การโกรธ การร้องไห้ การหัวเราะ จึงเป็นไปตามเหตุผล เช่น ร้องไห้เพราะหิว ร้องไห้เพราะร้อน หัวเพราะเพราะรู้สึกจักจี้ หัวเราะเพราะชอบเสียงเพลง โกรธที่ถูกขัดใจ

          • เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี เป็นช่วงวัยที่เด็กเริ่มเข้าถึงความผูกพัน เริ่มมีการวางใจกับคนรอบข้างที่ใกล้ชิด มีการหวาดกลัวคนแปลกหน้าที่ไม่คุ้นเคย

          • เด็กอายุ 1-3 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอารมณ์ของลูกให้ดี เพราะถ้าลูกมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่รุนแรง ไม่มีเหตุและผล หากคุณพ่อคุณแม่ไม่เข้ามาปรับพฤติกรรมดังกล่าว นี่จะเป็นการกรุยทางให้เด็กติดนิสัยและพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อไปในอนาคต

เพราะเด็กวัยนี้จะเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นวัยที่เสี่ยงจะได้รับรู้สิ่งผิด ๆ แต่ไร้ความเข้าใจ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่คอยสังเกตพฤติกรรมของลูก อาจจะเป็นการปล่อยให้ลูกได้ซึมซับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมไปโดยปริยาย

          • เด็กวัยอนุบาล แน่นอนว่าเด็กวัยนี้เริ่มมีสังคมที่กว้างขวางมากขึ้น เริ่มที่จะมีเพื่อน ๆ และมีกลุ่มเพื่อนของตัวเอง เด็กจึงค่อย ๆ มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่ซับซ้อนมากขึ้น เพราะได้พบเห็นอารมณ์ของผู้อื่นรอบตัว ทั้งยังอาจจะมีพฤติกรรมเลียนแบบมาจากผู้อื่นด้วย

          • เด็กวัยประถม เด็กจะเริ่มเข้าใจอารมณ์มากขึ้น เรียนรู้ว่าผู้อื่นกำลังอยู่ในอารมณ์ใด และตนเองรู้สึกอย่างไรกับอารมณ์และสถานการณ์ของผู้อื่น เรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

สอนเด็กให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ได้อย่างไร?

การสอนให้เด็กเข้าใจอารมณ์นั้นทำได้หลายวิธีค่ะ เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นเกม การฟังเพลง การเล่นดนตรี การเล่นบทบาทสมมุติต่าง ๆ 

แต่สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ควรจะมีการรีแคปหรือสรุปเสริมด้วยว่าลูกรู้สึกอย่างไร ทำไมลูกจึงรู้สึกเช่นนั้น ผู้อื่นรู้สึกอย่างไร แล้วลูกจะรู้สึกเช่นไรหากอยู่ในสถานการณ์แบบคนอื่น ๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงความหลากหลายทางอารมณ์อย่างมีเหตุผลควบคู่กันไปด้วย

การสอนให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์นั้นเป็นเรื่องที่ดีค่ะ แต่การคอยสังเกตและแนะนำให้ลูกรู้ทันอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นด้วย จะช่วยให้เด็ก ๆ มีทักษะการเห็นอกเห็นใจ การรู้จักเข้าสังคม การอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ที่มีความหลากหลาย รวมถึงไม่เป็นการปล่อยให้เด็กแสดงอารมณ์ใด ๆ ออกมาโดยไร้เหตุผลอีกด้วย



บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

บทความที่แนะนำ

ทักษะ EF ทักษะสมองที่ต้องฝึกฝน
พ่อแม่สงสัย? จะค้นหาและส่งเสริมศักยภาพลูกน้อยยังไงดีนะ
Resilience Skill สอนลูกให้รู้จักยืดหยุ่น ล้มเป็น ลุกไว
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

  • Register bar

Leaving page banner

 

Leaving page banner