Enfa สรุปให้:

  • ทักษะ EF หรือ Executive Function คือ ทักษะสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำ ซึ่งจะส่งผลต่อวางแผน การจัดระเบียบ การริเริ่ม การควบคุม ไปจนถึงการประเมินความคิด อารมณ์ และการกระทำของตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้

  • ทักษะ EF จะพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 3-5 ปีแรกของชีวิต คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องเริ่มปลูกฝังทักษะ EF ควบคู่ไปกับทักษะทางสติปัญญาและวิชาการต่าง ๆ

  • ทักษะ EF สามารถเริ่มปูพื้นฐานได้ตั้งแต่แรกเกิดด้วยการให้เด็กได้รับโภชนาการที่เหมาะสม นั่นคือนมแม่ซึ่งมีสาร MFGM ที่ได้รับการวิจัยออกมาแล้วว่า เด็กที่กินนมแม่และได้รับ MFGM อย่างเพียงพอ พบว่ามีแนวโน้มคะแนนระดับสติปัญญาในระดับที่สูง

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • EF สำคัญอย่างไร
     • EF คืออะไร
     • รู้จัก Executive Function ให้ลึกกว่าเดิม
     • ลูกน้อยเริ่มพัฒนา EF ช่วงไหน
     • เช็กลิสต์ EF แต่ละช่วงวัย
     • รู้จักแบบประเมิน EF และการวัด EF
     • กิจกรรมส่งเสริม EF แต่ละช่วงวัย
     • เสริมทักษะ EF ด้วย MFGM ในนมแม่
     • ไขข้อข้องใจเรื่อง EF กับ Enfa Smart Club

หากคุณพ่อคุณแม่เสิร์ชหาวิธีเลือกโรงเรียนที่เหมาะสมกับลูก เชื่อว่าจะต้องพบคำแนะนำข้อหนึ่งที่ว่า ควรเลือกโรงเรียนที่มีการบูรณาการทั้งวิชาการและกิจกรรม ทำไมสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ?

นั่นเป็นเพราะว่าในแง่ของการใช้ชีวิต คนเราจะเก่งแค่วิชาการไม่ได้ แต่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ที่จะมีการควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก รู้จักการใข้เหตุและผล เพื่อที่เด็กจะได้เติบโตมาเป็นคนที่มีคุณภาพ มีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิต

ซึ่งหนึ่งในทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของลูกน้อยนั่นก็คือ ทักษะสมอง EF อันเป็นหนึ่งในทักษะจำเป็นที่จะต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก ๆ แต่ทักษะ EF คืออะไร และจำเป็นต่อการใช้ชีวตอย่างไร บทความนี้จาก Enfa มีคำตอบรออยู่แล้วค่ะ

EF สำคัญอย่างไร ทำไมเด็กจึงควรมีทักษะที่เหนือกว่า IQ และ EQ


หากพูดถึงความฉลาด ส่วนมากเราก็จะมุ่งไปที่ความแตกฉานทางวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่ง แต่ในเรื่องของความฉลาดนั้นสามารถที่จะแยกย่อยออกไปได้มากกว่าความฉลาดทางสติปัญญา ไม่ว่าจะเป็น

     • Intelligence Quotient หรือ IQ คือ ความฉลาดทางสติปัญญา การไตร่ตรอง การคิด ความมีเหตุมีผล

     • Emotional Quotient หรือ EQ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกทั้งของตนเองและของผู้อื่น

     • Social Quotient หรือ SQ คือ ความฉลาดทางสังคม การเอาใจใส่ การเห็นอกเห้นใจผู้อื่น ทักษะในการโต้ตอบสื่อสารกับผู้อื่น การสร้างมิตรภาพ และการรักษามิตรภาพระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน

     • Adversity Quotient หรือ AQ คือ ความแลาดในการแก้ปัญหา การรู้จักรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้า สามารถพิจารณาหาทางอกต่อปัญหาที่ก่อให้เกิดความท้าทายได้

ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนจำเป็นจะต้องมีทั้ง IQ EQ SQ และ AQ ควบคู่กันไป เพื่อให้เราสามารถที่จะตัดสินใจต่อสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉลาดอย่างเดียว หรือมารยาทดีเพียงอย่างเดียว อาจทำให้จุดสำคัญของภาพรวมตรงหน้าขาดหายไป และนำไปสู่การตัดสินใจผิดพลาดได้ง่าย

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเด็กทุกคนจึงควรได้รับการปลูกฝังให้มีทักษะ EF ตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะทักษะสมองส่วนหน้านี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมอารมณ์ รู้จักยับยั้งพฤติกรรมและแรงกระตุ้น สามารถวางแผน แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ซึ่งแน่นอนว่าทักษะการพัฒนาด้านสมองนั้นสามารถที่จะฝึกฝนผ่านการทำกิจกรรมตามวัยต่าง ๆ ตั้งแต่การเล่น การอ่านนิทาน การพูดคุย การสื่อสาร และการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในแต่ละวัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยหล่อหลอมให้เด็กมีทักษะการคิด การจดจำ การรับรู้ การสังเกต และเรียนรู้ถึงความเป็นไปรอบตัว

โดยหนึ่งในพื้นฐานสำคัญคือการเริ่มต้นจากโภชนาการที่สำคัญ เด็กที่ได้กินนมแม่ที่มีสาร MFGM อย่างน้อย 6 เดือน หรือต่อเนื่อง 1 - 2 ปี เด็กจะได้รับส่วนประกอบของไขมันเชิงซ้อนที่อยู่ใน MFGM อย่างสฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างปลอกหุ้มเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณของประสาท และช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง สมองก็จะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาทางสมองและสติปัญญา

EF คืออะไร? รู้จัก Executive Function ทักษะสมองที่สำคัญของลูกน้อย


Executive Function หรือ EF คือ ทักษะสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำ ซึ่งจะส่งผลต่อวางแผน การจัดระเบียบ การริเริ่ม การควบคุม ไปจนถึงการประเมินความคิด อารมณ์ และการกระทำของตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้

หรืออาจจะกล่าวง่าย ๆ ก็คือ  EF เท่ากับทักษะสมองที่ช่วยให้ชีวิตประสบความสำเร็จ เพราะคนเราจะทำอะไรก็จะต้องผ่านกระบวนการคิด การตัดสินใจ การวางแผน การควบคุมอารมณ์ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

ดังนั้น หากเด็กได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นการใช้งานสมองส่วนหน้า ก็จะช่วยปูพื้นฐานให้เด็กโตมาเป็นเด็กที่มีความคิดและการใช้ชีวิตที่เป็นระบบมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ Harvard Center on the Developing Child ที่พบว่าความสามารถของสมองส่วนหน้านี้จะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น

แต่หนึ่งในช่วงที่สำคัญที่สุดคือช่วง 2 - 3 ปีแรกของชีวิต ซึ่งจะเป็นก้าวแรกของการพัฒนาสมองลูกน้อยให้พร้อมต่อกระบวนการคิด การลงมือทำ และการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ก้าวแรกที่สำคัญในการปูพื้นฐานให้ลูกมีทักษะด้านสมองที่สมวัยนั้น ต้องเริ่มจากการเอาใจใส่กับโภชนาการและอาหารการกินของเด็กเสียก่อน โดยหนึ่งในสารอาหารสำคัญต่อสมองของลูกน้อยก็คือ Milk Fat Globule Membrane (MFGM) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมที่สามารถพบในน้ำนมแม่

MFGM อุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนหลายชนิด เช่น แลคโตเฟอริน แกงกลิโอไซด์ และฟอสโฟลิปิด เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมพัฒนาการรับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านสติปัญญาและความจำ

จากงานวิจัยทางคลินิก พบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับ DHA ทั้งจากนมแม่และนมสูตรที่มี MFGM พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับ DHA เพียงอย่างเดียว

นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหารใน MFGM ทำงานร่วมกับ DHA ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ DHA เพียงอย่างเดียว เมื่อเซลล์สมองมีการเชื่อมต่อมาก ก็จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็ก

MFGM เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก

รู้จัก Executive Function ให้ลึกกว่าเดิม


EF หรือทักษะ EF ที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ่อย ๆ นั้น จริง ๆ แล้วย่อมาจาก Executive Function แต่ Executive Function คืออะไรกันแน่? ทักษะ ef คืออะไรกันนะ? 

ก่อนอื่นต้องเล่ากันก่อนว่าสมองคนเรานั้นมีอยู่ด้วยกันหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็น

     • สมองส่วนหน้า (Frontal Lope) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การวางแผน ตัดสินใจ การมีเหตุมีผล รวมถึงทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวด้วย

     • สมองพาไรเอทัล (Parietal Lope) ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทสัมผัส การรับความรู้สึก การสัมผัส การรับรู้ตำแหน่งของร่างกายส่วนต่าง ๆ

     • สมองส่วนหลัง (Occipital Lope) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การรับส่งภาพมาทางสายตา ซึ่งหากสมองส่วนนี้เสียหาย จะทำให้สูญเสียการมองเห็น

     • สมองส่วนขมับ (Temporal Lope) ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การรับรู้เสียง  การรับรู้วัตถุ รวมไปถึงการแปลภาษาจากเสียงที่ได้ยินด้วย

ซึ่ง EF หรือ executive function จะหมายถึงทักษะและพัฒนาการของสมองส่วนหน้า หรือก็คือการพูดถึงทักษะในการคิด การวางแผน การตัดใจ การควบคุมอารมณ์และความรู้สึก ไปจนถึงการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีแบบแผนนั่นเองค่ะ

ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่เริ่มพัฒนา EF ตั้งแต่เมื่อไหร่


ทักษะ EF นั้น เริ่มเข้าสู่กระบวนการพัฒนาหลังจากที่ทารกคลอดออกมาได้ไม่นานค่ะ ซึ่งช่วง 3 - 5 ปีแรกของชีวิตนี้ ถือว่าเป็นช่วงนาทีทองที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด เพราะเป็นห้วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถส่งเสริม กระตุ้น ช่วยเหลือ และชี้แนะให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางสมองได้มากขึ้น

ซึ่งการปูพื้นฐานตั้งแต่เยาว์วัยนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะทักษะทางสมองของเด็กจะพัฒนาต่อเนื่องไปยังช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ดังนั้น หากเริ่มสร้างพื้นฐานที่ดี เด็กก็จะเติบโตมาพร้อมกับทักษะทางสมองที่สมวัย

แต่เด็กจะเติบโตมาพร้อมทักษะสมองที่ดีได้ ต้องไม่ลืมที่จะเลือกโภชนาการที่เหมาะสมตั้งแต่ 1,000 วันแรกด้วยนมแม่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอาวุธลับสำหรับบำรุงสมอง เพราะมีสาร MFGM ที่มีประโยชน์ต่อการสร้างเซลล์สมองให้สมบูรณ์ พร้อมสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาในอนาคต

เช็กลิสต์ Executive Function ของลูกน้อยแต่ละช่วงวัย มารู้จักองค์ประกอบของ EF กันเถอะ


ทักษะ EF นั้นจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 9 ด้าน ซึ่งแต่ละด้านล้วนแล้วแต่เป็นทักษะสำคัญที่จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทักษะสมองทั้ง 9 ด้านนั้น จะถูกนำมาจำแนกออกเป็นกลุ่ม ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

ทักษะ EF ประกอบด้วย 3 กลุ่ม 

ทักษะ EF นั้น จะประกอบไปด้วยกลุ่มทักษะพื้นฐาน 3 กลุ่ม คือ

     • กลุ่มทักษะพื้นฐาน
     • กลุ่มทักษะด้านการควบคุมตนเอง
     • กลุ่มทักษะด้านการลงมือปฏิบัติ

ทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน มีอะไรบ้าง

ซึ่งทักษะ EF ทั้ง 3 กลุ่มนั้น จะจำแนกออกเป็นทักษะ EF 9 ด้าน สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

ทักษะ EF กลุ่มพื้นฐาน

     • Working Memory ทักษะการจดจำและนำไปใช้ คือการรับรู้ การเก็บข้อมูลจากสิ่งต่าง ๆ ที่พบในสภาพแวดล้อมของตนเองและผู้อื่น และนำข้อมูลที่ได้นั้นมาประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ทักษะนี้จะไม่ปรากฎเด่นชัดนักในเด็กเล็ก เพราะเด็กเกินกว่าที่จะจดจำเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงที่เรายังเล็กมาก ๆ ได้นั่นเอง

     • Impulse Control หรือ Inhibitory Control ทักษะในการควบคุมตนเอง การยับยั้งชั่งใจ การรู้จักไตร่ตรอง รู้จักที่จะควบคุมพฤติกรรมของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำร้ายตนเองและผู้อื่น

     • Flexibility ทักษะในการปรับตัว การรู้จักหยืดหยุ่น ซึ่งทุกช่วงวัยนั้นจะต้องพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะนี้จะยังไม่พบในเด็กทารก เนื่องจากในวัยทารก การปรับตัวจะค่อนข้างจำกัด เพราะเด็กสามารถสื่อสารได้แค่เพียงการร้องไห้ การยิ้ม การหัวเราะเท่านั้น

ทักษะ EF กลุ่มควบคุมตนเอง

     • Attentional Control ทักษะในด้านการจดจ่อ ความสนใจ คือการเรียนรู้ที่จะพุ่งความสนใจไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง และทำสิ่งนั้นจนกว่าจะสำเร็จโดยไม่วอกแวกไปทางใดทางหนึ่งโดยง่าย

     • Emotional Control ทักษะในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก สิ่งนี้ไม่ใช่แค่การควบคุมอารมณ์โกรธหรือโมโห แต่ยังรวมถึงการรู้ว่าอารมณ์ขณะนั้นเกิดขึ้นจากอะไร เกิดขึ้นเพราะอะไร และจะจัดการได้อย่างไร

     • Self-Monitoring ทักษะในการประเมินตนเอง คือการรู้จักสังเกตตนเอง การรับรู้ขอบเขตความสามารถตนเองว่าทำสิ่งใดได้และสิ่งใดที่เกินกำลัง รู้ว่าจะสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างไร เรียนรู้ที่จะปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น

ทักษะ EF กลุ่มลงมือปฏิบัติ

     • Planning ทักษะด้านการวางแผน มีความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย และวางแผนเพื่อดำเนินการให้เสร็จสิ้น  สามารถวิเคราะห์ขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงก่อนเวลาได้

     • Task Initiation ทักษะในการริเริ่มลงมือทำ การรู้จักริเริ่ม การระดมความคิดอย่างเสรี กล้าที่จะคิด กล้าที่จะลงมือทำและลงมือปฏิบัติทันที

     • Organization ทักษะด้านการบริหารจัดการ การรู้จักลำดับความสำคัญของสิ่งที่ได้รับมอบหมาย การวางแผน การลงมือดำเนินการจนสำเร็จ และประเมินผลลัพธ์

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

รู้จักแบบประเมิน EF การวัด EF ในปัจจุบันมีวิธีอย่างไร


ทักษะ EF สามารถวัดผลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรม โดยจะมีการอ้างอิงจากตัวอย่างพฤติกรรม และผู้ทำแบบทดสอบจะเป็นฝ่ายให้คะแนนตนเองว่าเคยทำพฤติกรรมดังกล่าวบ่อยแค่ไหน หรือไม่เคยทำเลย ซึ่งจะต้องตอบให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อจะได้สามารถนำไปรวมคะแนน และทราบผลว่าเด็กควรจะต้องปรับปรุงพฤติกรรมและทักษะกลุ่มใดเป็นพิเศษ หรือทักษะกลุ่มใดที่ทำได้ดีอยู่แล้ว

โดยในแบบประเมินนั้น จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 9 กลุ่ม ตามทักษะ EF ทั้ง 9 ด้าน ดังนี้

     1. ทักษะการจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)
     2. ทักษะการยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control)
     3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility)
     4. ทักษะการจดจ่อใส่ใจ (Focus/Attention)
     5. ทักษะการควบคุมอารมณ์(Emotional Control)
     6. ทักษะการติดตาม ประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
     7. ทักษะการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
     8. ทักษะการวางแผน จัดระบบดำเนินการ (Planning/Organizing)
     9. ทักษะการมุ่งเป้าหมาย(Goal-Directed Persistence)

ตัวอย่างแบบประเมิน

พฤติกรรม

ไม่เคย

บางครั้ง

บ่อยครั้ง

ไม่เคยเลย

คิดก่อนพูด คิดก่อนทำ

0

1

2

3

ยับยั้งอารมณ์ของตนเองได้ แม้จะรู้สึกโกรธมาก

0

2

2

3

 

กิจกรรมส่งเสริมทักษะสมอง EF ให้ลูกน้อยแต่ละช่วงวัย


ทักษะสมอง EF เป็นเรื่องที่สามารถฝึกฝนกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 - 5 ปีแรก คุณพ่อคุณแม่ควรจะพาลูกทำกิจกรรมเสริมทักษะสมอง เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานการพัฒนาของสมอง กระตุ้นการใช้ความจำ ฝึกการควบคุมตนเอง การวางแผน การแก้ไขปัญหา ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ตามช่วงวัย ดังนี้

กิจกรรมเสริมทักษะสมอง EF สำหรับเด็กอายุ 6 - 18 เดือน

กิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กในวัยนี้ สามารถทำได้ผ่านกิจกรรมง่าย ๆ ที่แทบไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มลูกนั่งตัก แล้วพากันร้องเพลง พากันพูดคุยเรื่องต่าง ๆ การเล่นจ๊ะเอ๋ การเล่นซ่อนแอบ การฝึกนับนิ้วด้วยกัน หรือการเลียนแบบท่าทางต่าง ๆ เช่น ร้องไห้ หัวเราะ เสียใจ การเลียนแบบเสียงสัตว์ต่าง ๆ

กิจกรรมเหล่านี้จะเน้นช่วยกระตุ้นให้ทารกฝึกสมาธิ มีการจดจ่อ การใช้ความจำ และฝึกทักษะการควบคุมตนเองขั้นพื้นฐาน ทั้งยังช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์และความใกล้ชิดให้เพิ่มขึ้นด้วย

กิจกรรมเสริมทักษะสมอง EF สำหรับเด็กอายุ 18 - 36 เดือน

ในช่วงพัฒนาการเด็กวัย 18 - 36 เดือนนี้ ถือเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการทักษะทางภาษาอย่างรวดเร็ว ซึ่งภาษาและการสื่อสารนั้นจะช่วยให้เด็กเข้าใจภาษาและมีส่วนร่วมในบทสนทนาและการเล่าเรื่องได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมทักษะผ่านกิจกรรมง่าย ๆ เช่น การวาดรูป การเขียน หรือการอ่านนิทานร่วมกัน จะช่วยให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น จดจ่อมากขึ้น และเสริมทักษะความจำด้วย

มากไปกว่านั้น เด็กในช่วงวัยเตาะแตะนี้ ยังเหมาะสำหรับกิจกรรมจำพวกการใช้แรงกาย ที่แฝงความท้าทายเอาไว้ด้วย เช่น การขว้างปาและจับลูกบอล การเดินบนคานทรงตัว เกมเลียนแบบ เกมเพลง เกมเต้นแบบมีสัญญาณให้เริ่มและหยุด เกมเหล่านี้จะกระตุ้นความสนใจของเด็ก เสริมความจำ และการควบคุมการยับยั้งชั่งใจ ไม่ให้เล่นนอกกติกา

กิจกรรมเสริมทักษะสมอง EF สำหรับเด็กอายุ 3 - 5 ปี

เด็กเล็กในวัยนี้ เหมาะอย่างยิง่ที่จะเสริมทักษะด้านการควบคุมตนเอง เนื่องจากเด็กเริ่มโตขึ้น เริ่มมีสังคมเพื่อร่วมชั้นอนุบาล การฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ ๆ และเสริมสร้างจินตนาการตั้งแต่วัยเยาว์ จึงถือเป็นเรื่องที่จำเป็นผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เกมที่ต้องเล่นเป็นกลุ่มหรือเป็นคู่ กิจกรรมที่ต้องให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ อย่างเช่น การทำอุปกรณ์ประกอบฉาก การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุง่าย ๆ เป็นต้น

กิจกรรมเสริมทักษะสมอง EF สำหรับเด็กอายุ 5 - 7 ปี

เด็กอายุ 5 ถึง 7 ปี เป็นช่วงวัยที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมทักษะด้านความจำ ความยืดหยุ่นทางความคิด การปรับตัว การยับยั้งชั่งใจ และเสริมสมาธิ ผ่านเกมต่าง ๆ เช่น เกมไพ่ เกมกระดาน หรือกิจกรรมที่ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย เกมไขปริศนาต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม เด็กในวัยนี้แม้จะเข้าใจความซับซ้อนของเกมได้ แต่เกมนั้นก็ไม่ควรจะยากเกินไปจนทำให้เด็กเล่นเกมไม่สนุกเพราะไม่เข้าใจกติกาที่ยุ่งยากก

กิจกรรมเสริมทักษะสมอง EF สำหรับเด็กอายุ 7 - 12 ปี

เด็กวัย 7-12 ปี ถือว่าเป็นช่วงวัยที่สามารถเข้าใจความซับซ้อนต่าง ๆ ของกิจกรรมได้เป็นอย่างดี และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเสริมทักษะสมอง EF เช่น เกมปริศนาอักษรไขว้ เกมซูโดกุ รูบิก เกมคอมพิวเตอร์

มากไปกว่านั้น เด็กในวัยนี้ยังเป็นวัยที่เริ่มมีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ตามความต้องการและทักษะของตนเอง เช่น เด็กบางคนอยากเรียนว่ายน้ำ เด็กบางคนสนใจเรียนดนตรี ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะมีส่วนช่วยเสริมทั้งทักษะความสามารถ และการใช้งานสมองได้เป็นอย่างดี

หรือถ้าหากเด็กยังไม่มีท่าทีว่าจะสนใจสิ่งใดเป็นพิเศษ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตและให้คำแนะนำ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ลูกได้แสดงความสามารถออกมาได้อย่างเหมาะสมม

คุณแม่ช่วยเสริมสร้างทักษะ EF ให้ลูกน้อยได้ด้วย MFGM ที่พบในน้ำนมแม่


เด็กจะมีพัฒนาการทักษะทางสมองที่สมบูรณ์และสมวัยได้ จำเป็นจะต้องเริ่มจากการสร้างพื้นฐานสมองให้พร้อมเสียกก่อน ดังนั้น โภชนาการที่สำคัญหลังคลอดจึงถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยเตรียมพร้อมให้ลูกมีพัฒนาการทางสมองที่มีประสิทธิภาพ

ใช่ค่ะ เรากำลังพูดถึงการให้เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน หรือต่อเนื่องได้ 1 - 2 ปี เพราะนมแม่เป็นสารแหล่งของสารอาหารสำคัญที่เหมาะสำหรับทารกวัย 6 เดือนแรก และเป็นอาหารเพียงอย่างเดียวที่เด็กควรได้รับ

ซึ่งนอกจากสารอาหารและสารภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างแข็งแรงแล้ว ในนมแม่ยังมี MFGM ที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสมองทั้ง IQ และ EF ที่ก้าวล้ำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ก้าวแรกของทักษะสมอง จึงอยู่ที่การเลือกโภชนาการที่มี MFGM ให้ลูกน้อยเพื่อความได้เปรียบในอนาคต

ไขข้อข้องใจเรื่อง EF กับ Enfa Smart Club


 เด็กที่ IQ สูงจะมี EF สูงด้วยหรือเปล่า?

เด็กที่ไอคิวสูง ตามความเข้าใจพื้นฐานก็คือเด็กที่เก่ง ฉลาด รอบรู้ แต่... การเป็นคนเก่ง ไม่ได้หมายความว่าจะมาพร้อมกับการรู้จักควบคุมตนเอง รู้จักการวางแผนและจัดการกับชีวิตได้ดี ไอคิวก็ส่วนไอคิว ทักษะในการบริหารจัดการชีวิตก็เป็นอีกทักษะหนึ่งที่จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝน ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพราะเกิดมามีไอคิวสูง

ดังนั้น เด็กที่ไอคิวสูงจึงไม่ได้หมายความว่าจะมีทักษะ EF สูงตามไปด้วย หากไม่ได้รับการฝึกฝนและส่งเสริมทักษะทั้งสองด้านไปพร้อม ๆ กัน

 เมื่อเด็กอายุมากขึ้น ทักษะ EF จะพัฒนายิ่งขึ้นด้วยหรือเปล่า?

เด็กอายุที่มากขึ้น ทักษะ EF ก็จะพัฒนาได้มากขึ้นไปตามความซับซ้อนของกิจกรรม การเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ตราบเท่าที่การพัฒนานั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เด็กก็มีแนวโน้มที่จะมีทักษะ EF ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุมากขึ้น หรือเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทักษะ EF มีแนวโน้มที่จะลดลงไปตามปัจจัยด้านสภาพร่างกายและสภาพแวดล้อม เช่น มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับสมอง ก็อาจจะส่งผลต่อทักษะความจำที่ลดลง หรือมีผลต่อคว่ามสามารถในการตัดสินใจได้

 สมองส่วนใดที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทักษะ Executive Functions มากที่สุด?

สมองส่วนหน้า เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การวางแผน ตัดสินใจ การมีเหตุมีผล รวมถึงทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งสอดคล้องกับ Executive Function หรือ EF ที่พูดถึงทักษะด้านการบริหารจัดการชีวิต หรือก็คือทักษะที่ว่าด้วยความสามารถของสมองส่วนหน้านี่เองค่ะ

 ทักษะ EF ของลูกจะพัฒนาเต็มที่เมื่อไหร่?

ทักษะ EF ของเด็กจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 3 - 5 ปี ส่วนจะพัฒนาเต็มที่ในช่วงอายุเท่าไหร่นั้น เป็นเรื่องที่เจาะจงได้ยากค่ะ อย่าลืมว่าเด็กแต่ละคนได้รับการปูพื้นทักษะไม่เหมือนกัน ความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรในการใช้ชีวิตก็ต่างกัน ดังนั้น ทักษะ EF ของเด็กแต่ละคนจึงมีจุดสูงสุดของพัฒนาการที่แตกต่างกันค่ะ

 EF เป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ผ่านการสอนจากพ่อแม่ได้หรือไม่?

ทักษะ EF เป็นทักษะที่สามารถส่งทอดผ่านพันธุกรรมได้จริง แต่...จำเป็นจะต้องได้รับการส่งเสริม การกระตุ้น การเรียนรู้ ผ่านกิจกรรม ประสบการณ์ ระยะเวลา และสภาพแวดล้อมร่วมด้วย ปัจจัยด้านพันธุกรรมอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะหล่อหลอมหรือส่งเสริมให้เด็กมีทักษะ EF ที่มีประสิทธิภาพได้เสมอไปค่ะ

 ผู้ใหญ่ยังสามารถพัฒนาทักษะ EF ได้อยู่ไหม?

แม้วัยผู้ใหญ่อาจจะมีปัญหาเรื่องของสุขภาพที่อาจส่งผลต่อทักษะ EF ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทักษะ EF จะหยุดนิ่งไปเมื่อเราโตขึ้นนะคะ ทักษะ EF สามารถพัฒนาได้ตลอดและต่อเนื่อง ยิ่งฝึกฝนและเสริมทักษะอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้ทักษะสมอง EF พัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าอายุจะมากขึ้นแล้วก็ตาม

 แบบไหนที่เรียกว่า EF ต่ำ?

ทักษะสมอง EF เป็นทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการฝึกฝน หรือไม่ได้รับการส่งเสริมที่เพียงพอ อาจมีผลทำให้กลายเป็นคนมีทักษะ EF ต่ำได้ ซึ่งอาการแบบนี้จะแสดงออกผ่านพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันในแง่ของการบริหารจัดการชีวิต เช่น

      มีอาการวอกแวก ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน ๆ

      มีอาการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป

      หลุดสมาธิเมื่อยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องจดจ่อและใช้สมาธิ เช่น เสียสมาธิในระหว่างการประชุมหรือสัมนา หรือเสียสมาธิในขณะเรียน

      ปัญหาในการวางแผนหรือดำเนินงาน เพราะไม่สามารถมองเห็นเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของการทำงานนั้นได้

      มีอาการอิดออด เอื่อยเฉื่อย ผัดวันประกันพรุ่ง ใชะเวลานานกว่าจะตัดสินใจลงมือทำงานที่ไ้ดรับมอบหมายให้ลุล่วง

      มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เช่น ลืมว่าวางหน้ากากอนามัยไว้ตรงไหน ทั้ง ๆ ที่ถืออยู่ในมือ หรือลืมกุญแจบ้านไว้ในตู้เย็น เป็นต้น

      ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตนเองได้

      พูดโดยไม่คิดก่อน โดยไม่สนใจว่าคำพูดนั้นจะทำให้อีกฝ่ายสะเทือนใจหรือไม่

      มีปัญหาในการสื่อสาร คือตนเองเข้าใจในเรื่องที่จะพูด แต่เมื่อพูดแล้วผู้ฟังไม่สามารถเข้าใจได้ เนื่องจากขาดทักษะในการอธิบาย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นคนพูดไม่รู้เรื่อง ใช้คำแบบผิด ๆ หรือพูดผิดความหมาย

 หากลูกมี EF ต่ำ พ่อแม่สามารถช่วยลูกให้พัฒนาทักษะ EF ให้ดีขึ้นได้หรือไม่?

ทักษะ EF ที่มีประสิทธิภาพนั้น เป็นทักษะที่จำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาและฝึกฝนอย่างต่อเนื่องค่ะ ดังน้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมช่วงที่ลูกยังเล็กคุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และพัฒนาการที่สมวัย

ทั้งการกิน การนอน การเล่น การอ่าน การวาดภาพ และอีกมากมาย ยิ่งเด็กได้ทำกิจกรรมเสริมมากเท่าไหร่ ก็จะช่วยเสริมสร้างทักษะ EF ให้เด็ก ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น

MFGM เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก



บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย