นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกปวดหูทําไงดี? รับมืออย่างไรเมื่อลูกปวดหูตอนกลางคืน?

Enfa สรุปให้

  • ลูกปวดหูทําไงดี? หากลูกปวดหูสามารถทำการประคบอุ่นหรือประคบเย็น และให้ลูกกินยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • ลูกปวดหูกลางคืน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อหู น้ำเข้าหู แมลงเข้าหู หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อภายในหู เป็นต้น
  • ลูกเป็นหวัดแล้วปวดหู สามารถดูแลด้วยการเช็ดตัว กินยาลดไข้ กินยาบรรเทาอาการปวด ประคบอุ่น ประคบเย็น แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-3 วัน ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

เลือกอ่านตามหัวข้อ

อาการปวดหู เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของเด็กที่สามารถพบได้ทั่วไป แต่บางครั้ง...อาการปวดหูของลูกอาจจะไม่ได้มีแค่การปวดหูเพียงอย่างเดียว แต่อาจพ่วงมาด้วยการมีไข้สูง เป็นหวัด หรือมีการติดเชื้อร่วมด้วย บทความนี้จาก Enfa จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีรับมือเมื่อลูกปวดหู รวมถึงตอบคำถามว่า หากลูกปวดหูทําไงดี? และ อาการปวดหูส่งผลอันตรายต่อเด็กมากแค่ไหน? เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที 

ลูกปวดหูกลางคืน เกิดจากอะไร


อาการปวดหูทั้งในตอนกลางวันและปวดหูตอนกลางคืนนั้น เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 

  • มีการติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลาง 
  • หูชั้นกลางอักเสบ 
  • ขี้หูอุดตัน 
  • แมลงเข้าหู หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู 
  • น้ำเข้าหู 
  • การบาดเจ็บที่ช่องหู เช่น แคะหูแรงเกินไป เล็บขีดข่วนหู 
  • ภาวะแทรกซ้อนจากปัญหาสุขภาพ เช่น ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อในคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคอ 

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการปวดหูรุนแรงจนกระทบกับการนอนหลับพักผ่อน ทำให้ลูกนอนไม่พอ จะส่งผลให้ลูกขาดสมาธิในการเรียนและการทำกิจกรรม ควรหยุดเรียนและพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการปวดหู และรับการรักษาที่ตรงจุด 

ลูกปวดหูข้างเดียว อันตรายไหม


ความอันตรายจากอาการปวดหูในเด็กนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ลูกปวดหู หรือมีอาการปวดหูข้างเดียว หากเกิดจากอุบัติเหตุโดยทั่วไป เช่น การขีดข่วน การแคะหู กรณีแบบนี้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ค่ะ 

แต่ถ้ามีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในหู อาจจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะทางจากแพทย์ หรืออาจต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาการติดเชื้อ ดังนั้น หากลูกมีอาการปวดหูควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และรับการรักษาที่ตรงจุด 

ลูกเป็นหวัดแล้วปวดหู ดูแลอย่างไร


หากลูกเป็นหวัดและมีอาการปวดหูร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้ ดังนี้ 

รับมือกับไข้หวัด 

  • หากลูกมีไข้ ควรเช็ดตัวบ่อย ๆ เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย 
  • กินยาลดไข้ 
  • ดูแลให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำและลดอุณหภูมิในร่างกาย 
  • ดูแลให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ 
  • หากมีน้ำมูก หรือเจ็บคอ ดูแลให้ดื่มน้ำอุ่น หรือดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะ 

รับมือกับอาการปวดหู 

  • ทำการประคบอุ่นหรือประคบเย็นบริเวณหู เพื่อบรรเทาอาการปวด 
  • กินยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้ เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน 
  • ดูแลให้ลูกนอนหงาย หรือนอนตะแคงข้างที่ไม่มีอาหารปวดหู 

ซึ่งอาการเป็นหวัดและปวดหูของลูกน้อยนั้น จะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-3 วัน แต่ถ้าหากอาการของลูกไม่ดีขึ้น ไข้พุ่งสูง หรือมีอาการปวดหูรุนแรงขึ้น พร้อมกับมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที 

  • มีไข้สูงนานเกิน 1 วัน 
  • มีสัญญาณของภาวะขาดน้ำ 
  • ลูกหมดสติ 
  • ลูกมีอาการชัก 
  • มีอาการปวดหูติดต่อกันตั้งแต่ 1-3 วันขึ้นไป 
  • หูของลูกมีอาการบวมขึ้นเรื่อย ๆ 
  • มีของเหลวไหลออกจากรูหู 
  • ลูกมีอาการปวดหูทั้ง 2 ข้าง 
  • ลูกเริ่มสูญเสียการได้ยิน 

ลูกปวดหูทําไงดี


หากลูกมีอาการปวดหู คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือเพื่อบรรเทาอาการปวดหูของลูกได้ ดังนี้ 

ลูกปวดหู ไม่มีไข้ 

หากลูกปวดหูและมีไข้ คุณพ่อคุณแม่จะต้องเช็ดตัวให้ลูกบ่อย ๆ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย และดูแลให้ลูกกินยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน 

มากไปกว่านั้น ดูแลให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกาย และป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำอีกด้วย พร้อมทั้งดูแลให้ลูกนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ ลดการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงจนกว่าไข้จะลดลง 

ลูกปวดหู มีไข้ 

หากลูกมีแค่อาการปวดหูเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีไข้ร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือได้ ดังนี้ 

  • บรรเทาอาการปวดหูของลูกด้วยกันประคบอุ่นหรือประคบเย็นบริเวณหู 
  • กินยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน ในปริมาณยาตามคำแนะนำของแพทย์ 
  • จัดท่านอนให้เหมาะสม โดยให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคงข้างที่ไม่มีอาการปวดหู เพื่อช่วยลดความไม่สบายตัว 

หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลช่วยบรรเทาอไข้และอาการปวดหูแล้ว แต่อาการของลูกมีแต่แย่ลง หรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-3 วัน ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ 

เด็กหูอักเสบ สังเกตอาการอย่างไร


อาการหูอักเสบในทารก มีอาการที่พบได้โดยทั่วไป ดังนี้ 

  • อาการเริ่มต้นของหูอักเสบนั้นจะเริ่มต้นจากมีไข้สูง 
  • ลูกมีอาการปวดหู สำหรับทารกที่ยังพูดไม่ได้ จะพบว่าลูกน้อยร้องไห้งอแงบ่อย ร้องไห้ไม่หยุด มีการทุบหู จับหูบ่อย ๆ 
  • สำหรับเด็กที่พูดได้แล้ว อาจสามารถบอกได้ว่ามีอาการหูอื้อ 
  • มีของเหลวไหลออกมาจากรูหูของลูก 
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน 

ซึ่งหากลูกมีอาการปวดหู คุณพ่อคุณแม่ควรเร่งรับมือด้วยการบรรเทาหูเบื้องต้นทันที หรือพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพราะถ้าหากปล่อยเอาไว้และรักษาไม่ทัน อาจทำให้แก้วหูทะลุ เสี่ยงที่ลูกจะสูญเสียการได้ยินแบบถาวร 

นมแม่ที่มี MFGM เพื่อ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่า 


เด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง อาจเจ็บป่วยได้ง่าย และเวลาที่ไม่สบายก็เสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้อีกด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นจะต้องใส่ใจดูแลให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง เพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างสมวัย มีพัฒนาการที่รอบด้าน 

โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ควรดูแลให้ลูกได้กินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อได้รับโภชนาการและสารอาหารที่หลากหลาย เหมาะสำหรับการเจริญเติบโต และดูแลให้ลูกมีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง 

มากไปกว่านั้น สำหรับทารกน้อยในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ควรจะต้องได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับ MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น 

*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama