Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เมื่อลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่เกิดมาในยุคที่เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยอาจตั้งคำถามว่า ทารกดูทีวีได้ไหม เพราะบางครั้งเปิดทีวีไว้เป็นเพื่อนในบ้านก็พบว่าทารกมักมองตามเสียงหรือมองจอ การให้เด็กเล็กสัมผัสกับหน้าจอทีวีอาจดูเหมือนไม่มีอันตราย แต่ในความเป็นจริง ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กเตือนว่า การสัมผัสหน้าจอก่อนวัยอันควร อาจส่งผลกระทบต่อสมอง การเรียนรู้ และพฤติกรรมในระยะยาว ดังนั้นเราควรเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า วัยไหนเหมาะกับการดูทีวีอย่างไร
เด็กทารกดูทีวีได้ไหม คำตอบคือ ไม่ควรให้ทารกดูทีวีหรือสื่อหน้าจอทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นทีวี โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต เพราะสมองของทารกกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และต้องการการกระตุ้นจากโลกจริงมากกว่าภาพจำลองจากหน้าจอ เหตุผลที่ทารกไม่ควรดูทีวีเนื่องจาก
เด็กดูทีวีได้ตอนกี่ขวบ ตามคำแนะนำจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย มีคำแนะนำสำหรับการใช้สื่อหน้าจอสำหรับแต่ละช่วงวัย ดังนี้
ทั้งนี้ ควรเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น
เด็ก 3 เดือนยังไม่ควรดูทีวี เพราะยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เห็นหรือได้ยิน แต่หากเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมลูก 3 เดือนชอบมองทีวีกันล่ะ เหตุผลก็คือ เด็กวัยนี้เริ่มมีความสนใจแสง สี และการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเคลื่อนไหวและเสียงจากทีวีช่วยดึงดูดสายตาเด็กได้ง่าย โดยระบบสายตาของเด็กเริ่มพัฒนาจนสามารถเพ่งมองวัตถุได้ระยะหนึ่งได้แล้ว ทำให้เด็กเริ่มมองทีวี
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าลูก 3 เดือนจะชอบมองทีวี มีลักษณะจ้องหน้าจอโดยไม่กระพริบตา หันหน้าไปตามเสียงจากทีวี สนใจสีสันและความเคลื่อนไหวมากกว่ารายละเอียดของภาพ หรือดูเหมือนลูกตั้งใจมองก็ตาม แต่การดูหน้าจอในวัยนี้ไม่มีประโยชน์ทางพัฒนาการ และอาจรบกวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติ จึงไม่ควรให้เด็ก 3 เดือนดูทีวี
แม้ว่าเด็ก 4 เดือนจะมองเห็นภาพได้ชัดขึ้น แต่เด็กวัย 4 เดือนก็ยังไม่ควรดูทีวี เพราะการเรียนรู้ยังต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์จริง เช่น การสบตา การยิ้มตอบ อีกทั้งสมองต้องการพัฒนาจากประสบการณ์ที่จับต้องได้ ไม่ใช่จากภาพจำลอง
การเลี้ยงดูเด็ก 4 เดือนไม่ควรให้ดูทีวี แต่สามารถเลือกใช้กิจกรรมที่เหมาะสมได้ เช่น เล่นของเล่นที่มีสีสันสดใส ฟังเพลงเบา ๆ หรือเสียงธรรมชาติ หรืออ่านนิทานภาพพร้อมเล่าเรื่องสั้น ๆ เป็นต้น
เด็ก 5 เดือนก็ยังไม่ควรดูทีวี ถึงแม้จะเริ่มตอบสนองต่อเสียงและภาพ เช่น ยิ้ม หัวเราะ เวลามีเพลงหรือภาพที่ชอบ แต่พัฒนาการด้านภาษาและการเคลื่อนไหวยังคงต้องอาศัยโลกแห่งความจริง ควรส่งเสริมพฤติกรรมอื่นแทนการดูทีวี เช่น ฝึกพลิกตัวและคลานไปหาของเล่น ชวนลูกเล่นจ๊ะเอ๋เพื่อฝึกการคาดการณ์ ฝึกฟังเสียงแม่พูดหรือร้องเพลงสั้น ๆ ด้วยกัน เป็นต้น
แม้เด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการด้านการสื่อสารมากขึ้น เช่น พูดพยางค์เดียว หรือแสดงความสนใจต่อการสื่อสารมากขึ้น แต่เด็ก 10 เดือนก็ยังไม่ควรดูทีวี เนื่องจากเด็กยังต้องพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว เช่น คลาน เดิน กำวัตถุ การเล่นกับคนจริง ๆ จะมีผลต่อพัฒนาการสมองมากกว่าการดูหน้าจอ จึงควรเสริมด้วยกิจกรรมอื่นแทน เช่น เล่นบล็อกไม้เสริมมือและสายตา ชี้รูปในหนังสือภาพแล้วเรียกชื่อ ทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เดินเล่นในสวน
เด็กดูทีวีกับพัฒนาการทางสมองอาจไม่ใช่สิ่งที่ส่งเสริมกันเท่าไรนัก การดูทีวีในช่วงวัยทารกและวัยเตาะแตะไม่ได้ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองเท่าการเล่นและการสื่อสารแบบตัวต่อตัว โดยผลกระทบจากการที่เด็กดูโทรทัศน์มีดังนี้
การดูทีวีในเด็กเล็กก่อให้เกิดผลเสียหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม คือ ทำให้สมาธิสั้น มีความเสี่ยงพฤติกรรมไฮเปอร์แอคทีฟ มีพัฒนาการการพูดล่าช้า มีพฤติกรรมนอนหลับไม่สนิทหรือหลับยาก มีแนวโน้มอ้วนจากการเคลื่อนไหวน้อย และติดสื่อจนไม่สนใจการเล่นจริง
ลูกติดทีวี คุณพ่อคุณแม่เริ่มแก้นิสัยยังไงดีนะ ไม่ยากค่ะ หากเด็กทารกดูทีวีจนติดทีวีแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมไปพร้อมกับลูกได้ดังนี้
ทั้งนี้ การเลี้ยงลูกในยุคดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การเข้าใจถึงพัฒนาการตามวัยจะช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม การชะลอการให้เด็กดูทีวีจนกว่าจะโตพอคือการลงทุนที่คุ้มค่าในอนาคต เพราะการเรียนรู้จากโลกจริงและการปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่คือรากฐานที่สำคัญที่สุดของสมองที่แข็งแรงค่ะ
นอกจากการดูแลสุขอนามัย สุขภาพโดยรวม และเฝ้าสังเกตพัฒนาการของของลูกน้อยว่าเหมาะสมตามวัยแล้วหรือไม่แล้ว การดูแลด้านโภชนาการตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตนั้น ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญให้กับชีวิตของลูก จะช่วยให้ลูกพร้อมเติบโตมาเป็นเด็กที่ทั้งฉลาดทางความคิดและฉลาดทางอารมณ์
โดยโภชนาการที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือนมแม่ เพราะในนมแม่ที่มี MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
จริง เพราะการดูทีวีมากเกินไปในวัยทารกและเด็กเล็กทำให้พัฒนาการทางภาษาล่าช้า เพราะขาดการโต้ตอบกับคนจริง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ภาษา
จริง เพราะการดูทีวีที่มีภาพเคลื่อนไหวเร็วหรือดูนานเกินไป เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีสมาธิสั้น และทำให้เด็กติดพฤติกรรมเปลี่ยนความสนใจไปมาอย่างรวดเร็ว
Enfa สรุปให้ ไม่ควรให้ทารกดูทีวีหรือสื่อหน้าจอทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นทีวี โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต เพร...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกติ พบได้บ่อยในเด็ก เพราะเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมื่อทารกคัดจมูก คุณแม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูกสูตรสำหรับทารกโ...
อ่านต่อ