นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืน กลางวันปกติ พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี ?

Enfa สรุปให้

  • อาการไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกติ พบได้บ่อยในเด็ก เพราะเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงาน
  • ควรวัดไข้ไห้แน่ใจ ก่อนให้ยาหรือบรรเทาอาการไข้ให้ลูกเสมอ เพราะบางครั้งมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปลายมือปลายเท้าเย็น
  • หากเด็กมีอาการกระสับกระส่าย นอนหลับไม่สนิท ควรปลุกมาวัดไข้แล้วให้ยาและเช็ดตัวบรรเทาอาการ หากไม่ดีขึ้นควรพาไปพบแพทย์

เลือกอ่านตามหัวข้อ

หนึ่งในความกังวลใจของพ่อแม่คือการที่ลูกป่วยไม่สบาย แม้จะเป็นเรื่องปกติอย่างอาการไข้ที่ทุกครอบครัวต้องเคยเจอก็ตาม นอกจากนี้ เด็กมักเป็นไข้ตอนกลางคืนหรือตอนเย็น แต่กลางวันกลับดูปกติดี ยิ่งทำให้พ่อแม่กังวลใจมากขึ้นเพราะไม่แน่ใจว่าลูกป่วยมากกว่าที่เห็นหรือไม่ อย่างไรก็ดี เมื่อพบว่าลูกเป็นไข้ตอนกลางคืน กลางวันปกติดี สิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรรู้คือสาเหตุและวิธีรับมืออย่างถูกวิธี เช่น การวัดไข้ การลดไข้ ยาสามัญที่ควรมีติดบ้าน เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงจนต้องถึงมือหมอ

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืน กลางวันปกติ

อาการไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกติ พบได้บ่อยในเด็ก เพราะโดยปกติแล้วเมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคหรือมีอาการเจ็บป่วย ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต้องทำงานหนักเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้น การที่ลูกมีไข้หรือตัวร้อนตอนกลางคืนคือภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม โดยเมื่อร่างกายเข้าสู่ช่วงเวลาพักผ่อนก็ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากขึ้นนั่นเอง

โดยการจะบอกว่าลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนนั้น อาการไข้มีคำจำกัดความแบ่งตามอายุ ดังนี้

  • ไข้ในทารกวัย 4 สัปดาห์แรกหลังเกิด หมายถึง อุณหภูมิกายแกนกลางร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  • ไข้ในทารกพ้นวัย 1 เดือน  คือ อุณหภูมิเท่ากับหรือสูงกว่า 38.0 องศาเซลเซียส  

ดังนั้น การจะบอกว่าลูกเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่ต้องวัดอุณหภูมิร่างกายด้วยเทอร์โมมิเตอร์ที่มีความแม่นยำ ไม่ใช่การที่ลูกตัวร้อนหรือตัวอุ่น ๆ แล้วตีความว่าลูกเป็นไข้ ซึ่งโดยทั่วไปเด็กมักมีอาการตัวร้อน หน้าแดงตัวแดง อาจมีอาการปลายมือปลายเท้าเย็นและซีดร่วมด้วย ทำให้ดูไม่ออกว่ากำลังมีไข้สูงจึงต้องวัดอุณหภูมิร่างกาย


อาการตัวร้อนตอนกลางคืนเกิดจากอะไร

สาเหตุของอาการตัวร้อนตอนกลางคืนเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อไวรัสหรือติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักเป็นสาเหตุหลักที่พบบ่อย นอกจากนี้อาการตัวร้อนตอนกลางคืนอาจเกิดจากการเจริญเติบโตของลูกตามปกติ คือ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานเมื่อร่างกายพักผ่อน การหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ที่มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป เช่น อากาศเย็นในตอนกลางคืน ห่มผ้าหนาเกินไป อากาศในห้องนอนไม่ถ่ายเท เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลทำให้ลูกมีอาการตัวร้อนตอนกลางคืน

เป็นไข้ตอนกลางคืน กลางวันปกติ บอกอะไรบ้าง

การที่ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืน กลางวันปกติ ยังมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลอีกด้วยคือ ในเวลากลางวันเด็ก ๆ มักมีกิจกรรมมาเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการเจ็บป่วย การที่เด็กได้วิ่งเล่น ทำกิจกรรมที่ชอบ ได้อาบน้ำ นอกจากจะลดไข้ในเวลากลางวันแล้ว ยังทำให้ลูกรู้สึกสดชื่นมากขึ้นอีกด้วย

เมื่อถึงเวลากลางคืนที่ร่างกายลูกเข้าสู่การพักผ่อนก็ถึงเวลาที่ภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานอีกครั้ง ส่งผลให้ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืน หรือมีอาการตัวร้อน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายและจะดีขึ้นได้ภายใน 2-3 วัน แต่หากไข้ขึ้นนานกว่านั้น หรือมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น ซึมลง กินข้าวไม่ได้ เบื่ออาหาร อาเจียน ควรพาลูกไปพบแพทย์

ลูกมีอาการเป็นไข้ตอนเย็นทุกวัน อันตรายไหม

การที่ลูกตัวร้อนตอนเย็นหรือลูกมีอาการเป็นไข้ตอนเย็นทุกวัน ไม่เป็นอันตราย เพราะเป็นเรื่องปกติของกลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและการหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงอาจเกิดจากการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงมากซึ่งสามารถหายได้เอง หรือคุณพ่อคุณแม่อาจช่วยบรรเทาอาการไข้ด้วยการเช็ดตัว หรือให้ยาลดไข้ ยกเว้นลูกมีไข้สูงมากหรือวัดอุณหภูมิร่างกายแล้วไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส เช็ดตัวและให้ยาลดไข้แล้วไข้ลอยไม่ลดลง มีอาการหนาวสั่น อาเจียน อ่อนเพลีย หายใจลำบาก หรือมีไข้นานเกินกว่า 3-5 วัน ควรพาไปพบแพทย์

ลูกตัวร้อนตอนกลางคืน คุณพ่อคุณแม่รับมือยังไงดี

หากลูกมีไข้ตอนกลางคืนคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ ลูกตัวร้อนตอนกลางคืน คุณพ่อคุณแม่รับมือได้ง่าย ๆ โดยอันดับแรกควรดูให้แน่ใจว่าลูกเป็นไข้จริงไหม ปกติแล้วหากลูกตัวร้อนตอนกลางคืนแต่สามารถหลับได้ ไม่มีอาการกระสับกระส่ายหรือนอนหลับไม่สนิท คุณพ่อคุณแม่อาจปล่อยให้ลูกนอนต่อไปได้โดยไม่ต้องทำอะไร เพื่อให้ลูกนอนพักผ่อนเพียงพอ เพราะอาการตัวร้อนตอนกลางคืนนั้นอาจเป็นเพียงแค่กลไกการทำงานของร่างกายตามปกติเท่านั้น

หากลูกมีอาการนอนหลับไม่สนิท ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์หรือปรอทวัดไข้ วัดอุณหภูมิร่างกายลูกให้แน่ใจ เนื่องจากอาการไข้ไม่จำเป็นว่าทุกส่วนของร่างกายจะต้องร้อนเท่ากันหมด โดยหากสูงกว่า 38 องศาเซลเซียสถือว่าลูกมีไข้ หากสูงกว่า 39-40 องศาเซลเซียสถือว่ามีไข้สูง และโดยปกติหากลูกมีไข้ตอนกลางคืนแล้วปล่อยทิ้งไว้ก็จะส่งผลให้ไข้สูงขึ้นได้ และอาการไข้สูงอาจนำไปสู่อาการชักในเด็ก ดังนั้นเมื่อมั่นใจว่าลูกมีไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยบรรเทาอาการไข้ด้วยการเช็ดตัว ให้ยาลดไข้ และเฝ้าระวังต่อเนื่อง

ลูกไข้สูงตอนกลางคืน ลดไข้ยังไงให้ได้ผล

เมื่อลูกมีไข้อาจจะตั้งแต่ช่วงเย็นหรือหัวค่ำให้คุณพ่อคุณแม่เฝ้าระวังว่าลูกอาจมีไข้สูงตอนกลางคืนได้ โดยในเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปี การมีไข้สูงอาจนำไปสู่อาการชัก หากลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืน คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลดไข้ให้ลูกได้ ดังนี้

  1. ให้กินยาลดไข้ คือ ยาพาราเซตามอล ซึ่งมีฤทธิ์ข้างเคียงน้อย และไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร โดยจำนวนความถี่และปริมาณการกินยาลดไข้ขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัว ควรอ่านฉลากให้ดีหรือปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา โดยเฉพาะหากเป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  2. เช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ โดยปิดแอร์ก่อน แล้วใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดตามตัวลูกแบบย้อนรูขุมขนเพื่อช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ รักแร้
  3. ให้ลูกดื่มน้ำมากๆ เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป และเพื่อขับความร้อนออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
  4. สวมเสื้อผ้าสบายตัว ไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าหนา ๆ แขนยาวขายาว หรือห่มผ้าหนา ๆ เพราะจะยิ่งทำให้ไข้สูงขึ้นได้ และห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเทด้วย
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อเช็ดตัวลดไข้และให้ยาลดไข้แล้ว ควรให้ลูกนอนพักให้เพียงพอ ไม่ปลุกขึ้นมาวัดไข้บ่อย ๆ หรือกวนลูกขณะพักผ่อน และอาจงดการเล่นหรือใช้แรงจนกว่าจะดีขึ้น

ลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกติ แบบไหนเป็นสัญญาณอันตราย ต้องรีบไปโรงพยาบาล

การที่ลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกตินั้น อาจเป็นเรื่องปกติของร่างกายตามที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่หากลูกมีไข้นานหรือดูแลอาการไข้ไม่ถูกวิธีทำให้ลูกมีไข้นาน อาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมาได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจลักษณะอาการไข้ และวิธีการดูแลที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ทราบถึงสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพาลูกไปโรงพยาบาล

อาการไข้ มักมีสาเหตุดังนี้

  1. โรคหวัด จะมีไข้ไม่สูงหรือไม่มีไข้เลย มีไข้นาน 3-4 วัน ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น หูอักเสบ ไซนัสอักเสบ จะหายได้เอง
  2. ไข้หวัดใหญ่ จะมีไข้สูง ปวดเบ้าตา ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ราว 4-5 วัน มีภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ ปอดอักเสบ
  3. ไข้เลือดออก จะมีไข้สูงร่วมกับอาการซึม ใบหน้าแดง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง เป็นต้น หากสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกหรือมีความเสี่ยงควรรีบพบแพทย์ เนื่องจากเป็นโรคติดต่อ และเพื่อป้องกันอาการรุนแรงมากขึ้น
  4. ปอดอักเสบหรือปอดบวม มีอาการของโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน ต่อมามีไข้สูงขึ้น ไข้ลอยหรือไข้สูงต่อเนื่อง ไอมาก หายใจเร็ว หายใจหอบ เบื่ออาหาร ต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลและอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น

จากสาเหตุของอาการไข้ทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ว่า ลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกติ แบบไหน เป็นสัญญาณอันตราย ต้องรีบไปโรงพยาบาล นอกจากนี้ หากลูกมีไข้เล็กน้อยหรือไม่มีเลยแต่มีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น หายใจหอบ หายใจไม่สะดวก ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะในแต่ละคนอาจแสดงอาการของโรคต่างกัน โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือน

MFGM สารอาหารในนมแม่ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก

อาการเจ็บป่วยในเด็กนั้นไม่เพียงเกิดจากเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการที่ร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภาวะโภชนาการไม่ดีได้ด้วย การจะทำให้ลูกมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น ไม่เจ็บป่วยง่าย นอกจากอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนเสริมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่ สารอาหารสมองชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรกประกอบด้วยไขมันและโปรตีนกว่า 150 ชนิด รวมทั้งสฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์

นมแม่คืออาหารหลักของลูกน้อย ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง ส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญา การเรียนรู้ และทักษะทางสังคมของเด็ก เด็กทารกควรได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ ร่วมกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่น ๆ เช่น การเรียนรู้ การสื่อสาร ทักษะสังคม เพื่อให้ลูกน้อยพัฒนาการดีเยี่ยม โดยเฉพาะใน 5 ขวบปีแรกซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด
 


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Cart TH Join Enfamama