ความเครียดของคนเป็นแม่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา แค่ลูกกินยาก ลูกไม่ยอมไปอาบน้ำ ไม่ให้ปิดไฟเข้านอน คุณพ่อกลับมาบ้านก็มีปัญหาเรื่องงาน เรื่องค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีหลายสิ่งที่ทำให้ความเครียดปะทุระเบิดออกมา แต่ถ้ามากเกินไปจะส่งผลแย่ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่แต่รวมถึงลูกเล็กๆ ที่ได้รับผลกระทบ เขาพูดไม่ได้แต่ก็แสดงออกมาเป็นอาการป่วยเล็กๆ น้อยๆ แทน ถ้าคุณแม่ไม่อยากให้ถึงตรงนั้น สังเกตสัญญาณต่อไปนี้ว่าดูท่าจะเริ่มไม่ดีแล้วหาวิธีผ่อนให้เบาที่สุดกันเถอะ
เมื่อระดับความเครียดสูงตลอดเวลา การนอนหลับที่เป็นการพักผ่อนและความรู้สึกสบายใจอย่างแรกก็หายไป พอไม่ได้นอนก็ยิ่งทำให้กังวลและเครียดไปกันใหญ่ กุมารแพทย์ที่ the American Academy of Pediatrician ในแคลิฟอร์เนียอย่าง คุณหมอทันย่า อัลท์แมนน์ แนะนำว่าถ้าคุณและครอบครัวกำลังเจอสถานการณ์ตึงๆ ให้รีบพาลูกน้อยเข้านอนก่อนเวลาประมาณครึ่งชั่วโมงและให้ตัวคุณแม่นอนก่อนเวลาครึ่งชั่วโมงด้วย อยู่บนเตียงก็หยุดคิดเรื่องอื่นๆ ให้ร่างกายรีแลกซ์ก็จะได้ไม่นอนดึกขึ้นกว่าเดิมมาก
เหมือนว่าเวลาอยู่ในครอบครัวที่เครียด คุยอะไรกันก็เหมือนไม่ลงรอย อาจจะเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นๆ คุณสามีอาจจะมีปัญหาการเงิน คุณแม่เครียดเรื่องลูกหรืออะไรก็แล้วแต่ ให้คุณแม่ใช้หูฟัง อย่าให้อารมณ์นำพาไป สังเกตว่าเราเสียงดังดุลูกบ่อยๆ คุณหมอทันย่าบอกว่า ถ้าเริ่มจะหงุดหงิด ให้คุณแม่ชวนลูกมานั่งใกล้ๆ กอดเขาแล้วก็สูดหายใจเข้าออกลึกๆ นี่ไม่ใช่เปลี่ยนความสงบข้างในคุณแม่แต่ยังเปลี่ยนให้ลูกของคุณด้วย”
ถึงเขาจะเป็นเด็ก 2-3 ขวบก็สัมผัสได้ว่ามีรังสีเครียดๆ ออกมาจากแม่ที่อยู่ใกล้ๆ ทำให้เขาอยากเล่นคนเดียวมากกว่า แมรี่ อัลวอร์ด นักจิตวิทยาจาก the American Psychological Association บอกว่า “คุยกับลูกเยอะๆ คุยไปเรื่อยๆ ให้เขารู้สึกว่าแม่ยังอยู่ใกล้ๆ และยังเปิดใจพร้อมฟังเขา ให้ลูกเรียนรู้เห็นวิธีการรับมือเรื่องเครียดๆ ของแม่ในแบบที่ฉลาด” เพราะคุณแม่จะเป็นตัวอย่างในการแก้ไขปัญหาที่ดี หันมาสร้างนิสัยที่ดี นั่งสมาธิและออกกำลังกายเป็นประจำให้ลูกเห็นแทนดีกว่าไปลงกับการกิน หรือพูดไม่ดีถึงคนอื่น
ไม่ใช่ว่าเรื่องเครียดเป็นของพ่อแม่อย่างเดียวนะคะ เพราะความเครียดเรื้อรังสะสมออกมาเป็นอาการเจ็บป่วยไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ถ้าที่บ้านมีแต่ความเครียด พ่อแม่ทะเลาะกันตลอดเวลา ลูกก็อาจจะชอบบ่นว่าปวดท้องหรือฝันร้าย คุณแม่เองก็จะปวดตึงเครียดที่คอ บ่า หลังและมีปัญหาเรื่องการนอนไปจนถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำให้ป่วยบ่อย
บางครั้งไม่ใช่เรื่องใหญ่ๆ ในครอบครัว แต่แค่คุณแม่ต้องรีบพาลูกไปเข้าเพลย์กรุ๊ป รีบกินข้าว รีบทุกอย่างก็ทำให้เด็กๆ และตัวคุณแม่เองกังวล ส่งผลให้ปวดมวนท้อง ปวดหัวตึ๊บอย่างหนัก คุณหมอทันย่าแนะนำว่า “เมื่อไหร่ที่รู้สึกว่ากำลังวิ่งหัวหมุนอย่างบ้าคลั่ง ให้คุณแม่หยุดแล้วหายใจเข้าออกลึกๆ 10 ครั้ง ไปช้าอีก 2-3 นาทีดีกว่าลนลานจนลูกไม่มีความสุข”
Enfa สรุปให้ ของเล่นฝึกสมาธิ เป็นอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นให้เด็ก ๆ ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เกมสำหรับเด็กนอกจากสนุกสนานแล้ว ยังช่วยเสริมทักษะทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ วิตามินบำรุงสมองเด็กยี่ห้อไหนดี การเลือกซื้อวิตามินบำรุงสมองเด็กควรเลือกยี่ห้อที่ผ่...
อ่านต่อ