แทบไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ซน และความซนก็มักจะนำแผลเล็กแผลน้อยมาฝากลูกด้วย จึงไม่แปลกที่เด็กส่วนใหญ่จะมีรอยแผลเป็นมากบ้างน้อยบ้าง ขี้นอยู่กับระดับความซนว่ามีมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นรอยแผลเป็นจากการหกล้ม (จนเลือดออก ผิวถลอก) จากการกระแทกหรือชน (จนหัวแตก ปากแตก) จากการโดนความร้อน เช่น น้ำร้อนลวก เตารีดร้อนๆ หรือจากการโดนของมีคมบาด
แม้รอยแผลเป็นบนผิวลูกจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด แต่คุณแม่ก็มักกังวลกันว่าจะทำให้ผิวลูกดูไม่สวย เป็นรอยแผลติดตัวไปจนโต ยิ่งคุณแม่ที่มีลูกสาวยิ่งกังวลเป็นทวีคูณ ซึ่งเรามีวิธีดูแลรอยแผลเป็นของลูกมาฝาก โดยต้องดูแลตั้งแต่เริ่มเป็นแผลกันเลย
เมื่อลูกมีรอยแผลจากการบาดเจ็บ เช่น แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก ให้หมั่นทำความสะอาดและใส่ยาสมานแผลสด ต้องระมัดระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ เพราะอาจทำให้แผลเปื่อยหรือติดเชื้อลุกลาม
เมื่อแผลเริ่มแห้งให้ทาครีมหรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสมานผิว และให้ความชุ่มชื่น เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากว่านหางจระเข้ น้ำมันจากพืชธรรมชาติ หรือสารสกัดที่ป้องกันการอักเสบ บวมแดง และทาครีมอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะไม่มีรอยแผลสดแล้ว เพราะครีมจะช่วยให้รอยแผลเป็นไม่แห้งด้าน ดูเรียบ รอยแผลเป็นจางลง สีมกลมกลืนกับสีผิวปกติ
สอนให้ลูกเข้าใจว่าไม่ควรแกะเการอยแผล ในช่วงที่รอยแผลกำลังสมานและแห้ง ผิวบริเวณแผลจะแห้งตึงจนเกิดอาการคัน ลูกอาจเผลอเกาจนสะเก็ดหลุดให้เห็นแผลสด เลือดออก หรือเปิดบาดแผลขึ้นมาอีก คุณแม่ต้องคอยสังเกตให้ดี ถ้าลูกเริ่มบอกว่าคันหรือทำท่าจะเกาแผลให้ทาครีมรักษารอยแผลเป็นที่ให้ความชุ่มชื่นก็จะช่วยลดอาการคันได้มาก
ให้ลูกกินอาหารสำหรับเด็กที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำ และหมั่นออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยเสริมให้ร่างกายลูกสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาซ่อมแซมได้อย่างรวดเร็ว เพราะร่างกายเด็กยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ หากเสริมสิ่งเหล่านี้เข้าไปก็จะยิ่งเพิ่มความสามารถในการซ่อมแซมร่างกายได้ดีมากขึ้นค่ะ
Enfa สรุปให้ ไม่ควรให้ทารกดูทีวีหรือสื่อหน้าจอทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นทีวี โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต เพร...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกติ พบได้บ่อยในเด็ก เพราะเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมื่อทารกคัดจมูก คุณแม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูกสูตรสำหรับทารกโ...
อ่านต่อ