ลูกวัยเตาะแตะเริ่มเดินได้ จึงเริ่มสนุกกับประสบการณ์ใหม่นี้ เขาจึงมุ่งอยู่กับการเดินจนไม่สนใจกินอาหาร กินยาก ลูกอมข้าว ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจและกังวลใจให้คุณแม่มาก เพราะเกรงลูกจะได้รับอาหารไม่เพียงพอ แต่คุณแม่สามารถแก้ไขปัญหาลูกกินยากนี้ได้ค่ะ
เมื่อลูกกินยาก คุณแม่สามารถตั้งรับและแก้ไขปัญหานี้ได้ดังนี้
หากคุณแม่ตรวจดูกราฟน้ำหนักและส่วนสูงของลูกแล้วพบว่าน้ำหนักและส่วนสูงของลูกยังอยู่ในช่วงปกติ ให้บอกตนเองเสมอว่าอาหารที่ลูกได้อยู่นั้นอาจเพียงพอแล้ว เราอาจกังวลไปเอง แม้ว่าเมื่อเทียบกับเด็กบางคนเขาอาจจะอ้วนและตัวโตกว่าลูกเรา แต่เด็กคนนั้นอาจจะมีน้ำหนักมากเกินกว่าเกณฑ์ก็ได้
เช่น การตี ดุว่า บังคับ ใช้อารมณ์กับลูกหรือการตามใจ ต่อรอง หรือให้รางวัลเกินความจำเป็น
ไม่ว่าจะเป็นขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ไอศกรีม ลูกอม ฯลฯ เพราะลูกจะอิ่ม และไม่รู้สึกหิวเมื่อถึงมื้ออาหาร เขาจึงกินอาหารได้น้อย โดยหากจะให้ของกินเล่นเหล่านี้ ควรให้หลังอาหาร
เพราะเมื่อเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ควรกินข้าวเป็นอาหารหลัก วันละ 3 มื้อ ส่วนนมจะเป็นอาหารเสริมเท่านั้น จึงต้องลดปริมาณนมลงเหลือวันละ 2-3 มื้อ และควรให้นมหลังอาหารเท่านั้น
และควรกินพร้อม ๆ กันทั้งครอบครัว เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างบรรยากาศการกินอาหารให้เด็ก
พูดคุยกันเรื่องอาหาร หรือเรื่องเบาๆ ไม่ควรเป็นเวลาที่เคร่งเครียด
โดยค่อย ๆ ลดการให้ความช่วยเหลือลงตามลำดับ เช่น ให้ลูกถือหรือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองบ้าง แม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ต้องยอม เพื่อเป็นการฝึกลูก
แล้วปรุงรสชาติและจัดแต่งหน้าตาให้ถูกปากถูกใจลูก จะช่วยให้เขาเพลิดเพลินกับการกินอาหารได้
โดยกำหนดประมาณมื้อละ 30-45 นาที เมื่อถึงเวลาที่กำหนดให้เก็บจาน แม้ว่าจะยังกินไม่หมดหรือกินได้น้อยก็ตาม โดยไม่ต้องแสดงความวิตกกังวลหรือโกรธ แต่ให้งดของหวาน ขนม หรืออาหารว่างต่างๆ ทั้งหมดก่อนจะถึงมื้อถัดไปเพื่อให้ลูกเกิดความหิว ซึ่งจะกระตุ้นให้เจริญอาหารและรับผิดชอบเรื่องการกินของตนได้ดีขึ้น
ปัญหาลูกไม่กินข้าว ชอบแต่กินขนม รวมทั้งสารพัดของกินเล่น เป็นอีกปัญหาที่พบบ่อยในเด็กวัยเตาะแตะ ถ้าลูกไม่กินข้าว ชอบกินแต่ขนม ลูกจะได้รับสารอาหาร พลังงาน และกากใยไม่เพียงพอ ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ คุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องต่อไปนี้
เด็กที่กินขนม ไอศกรีม ขนมกรุบกรอบ ซึ่งส่วนใหญ่มีรสหวาน หลังกินจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะไปกดศูนย์ควบคุมการหิวในสมอง เป็นเหตุให้เด็กไม่อยากอาหาร ทางที่ดีที่สุดคือ ระหว่างมื้ออาหาร คุณแม่ต้องไม่ให้ลูกกินขนมอีกเลยจนกว่าจะถึงอาหารมื้อใหม่ (อาจทิ้งช่วงได้ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร) ซึ่งต้องใจแข็ง ถ้าเด็กหิวก่อนถึงเวลาของมื้อต่อไปก็อนุญาตให้กินอาหารเดิม คือมื้อที่เด็กปฏิเสธไปโดยอาจนำมาอุ่นให้ แต่ห้ามให้นมหรือขนมแทน ถ้ามื้อนี้กินน้อย มื้อหน้าเด็กจะกินมากขึ้นเอง
คุณแม่ควรจัดเมนูอาหารที่หลากหลายเพื่อดึงดูดใจลูกและให้ลูกได้เลือกอาหารที่เขาชอบ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความชอบหรือไม่ชอบของตัวคุณพ่อคุณแม่ เพราะอาหารที่เราไม่ชอบ เมื่อลูกได้ลอง เขาอาจจะชอบก็ได้ มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าเด็กวัยเตาะแตะมักจะกินอาหารใหม่ๆ ได้ง่าย (หลังจากกินอาหารเดิมๆ มาประมาณ 5-6 ครั้งแล้ว)
คุณแม่อาจจะลองใส่ความคิดสร้างสรรค์หรือจินตนาการลงไปที่จานอาหารของลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกสนใจที่จะกินอาหาร เช่น ทำอาหารเด็ก 1 ขวบ แต่ละมื้อให้มีสีสันสดใส เช่น สีส้มจากแครอท สีเขียวจากตำลึง สีเหลืองจากฟักทอง ฯลฯ ใช้จานใช้ช้อนน่ารักๆ หรือจะแต่งอาหารตามตัวการ์ตูนที่ลูกชอบ หรืออาจตั้งชื่อเมนูอาหารพิเศษสำหรับลูก เช่น ข้าวต้มหมูอู๊ดๆ ข้าวผัดเพิ่มพลังหนูน้อย เป็นต้น
แต่ละมื้อควรตักอาหารให้ลูกไม่มากไปหรือน้อยไป ดูปริมาณให้ลูกอิ่มในหนึ่งมื้อ หากตักมากเกินไป ลูกจะรู้สึกเป็นเรื่องยากหากต้องกินให้หมดอาจจะไม่อยากกิน และควรกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการกินอาหารเป็นมื้อๆ เช่น มื้อละ 30-40 นาที เมื่อหมดเวลาก็เก็บ ไม่กินตลอดทั้งวัน
การให้ลูกกินอาหารพร้อมผู้ใหญ่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากกินอาหารได้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนแปลกใจกับการที่ลูกกินอาหารได้มากขึ้นเวลากินร่วมโต๊ะอาหารกับพ่อแม่
การที่ลูกได้วิ่งเล่นหรือออกกำลังกายจนเหนื่อย จะทำให้ลูกจะรู้สึกหิวและอยากกินข้าวมากขึ้นได้ ที่สำคัญต้องงดขนมและนมก่อนมื้ออาหาร เพราะไม่อย่างนั้นลูกจะอิ่มแล้วก็ไม่ยอมกินข้าวอีก
แม้ลูกกินยาก ไม่ยอมกินข้าว แต่หากคุณแม่ได้พยายามหาทางแก้ไข พร้อมทั้งให้ให้ลูกได้กินอาหารพร้อมคุณพ่อคุณแม่บนโต๊ะอาหาร พร้อมกับตักอาหารกินด้วยตัวเอง ลูกจะรู้สึกมีความสุข ทำเช่นนี้บ่อยๆ ไม่นานลูกก็จะสนุกกับการกินทุกมื้อค่ะะ
หากลูกไม่ยอมกิน และคุณแม่กลัวลูกได้สารอาหารไม่เพียงพอ การเลือกนมสูตร 3 สำหรับเด็กวัย 1 -3 ขวบ ซึ่งคือนมผงครบส่วน ซึ่งมีการเสริมสารอาหารสำคัญต่อสมอง ภูมิคุ้มกัน และพัฒนาการต่างๆ ของเด็กวัยนี้อย่างครบถ้วนอย่าง MFGM, ดีเอชเอ รวมทั้งใยอาหารสุขภาพที่ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายอย่าง FOS ให้ลูกดื่มวันละ 2-3 แก้ว จะช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน
Enfa สรุปให้ เด็ก 2 ขวบ เป็นวัยที่พัฒนาการสมบูรณ์รอบด้าน เด็กวัยนี้จึงพร้อมสำหรับการเรียนรู้สิ่ง...
อ่านต่อEnfa สรุปให้: ทารกเพศชายวัย 1 ขวบ หนักประมาณ 9.6 กิโลกรัม สูงประมาณ 75.7 เซนติเมตร ทารกเพศหญิงวั...
อ่านต่อฉลาดเรียนรู้ เมื่อสนใจสิ่งใดจะมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น รู้จักเสียงต่างๆ เช่น นาฬิกา นกหวี...
อ่านต่อ