Enfa สรุปให้
ฟันน้ำนมของเด็กจะค่อย ๆ ทยอยขึ้นครบจำนวนทั้ง 20 ซี่ เมื่อเด็กอายุได้ราว ๆ 2 ปีครึ่ง หรือ 3 ปี
และเมื่อเด็กมีอายุได้ราว ๆ 6-7 ปี ฟันน้ำนมก็จะเริ่มหลุด และฟันแท้ก็จะเริ่มขึ้นมาแทนที่
และฟันแท้ก็จะค่อย ๆ ทยอยขึ้นจนครบทั้ง 32 ซี่ ในช่วงอายุ 17-21 ปี บางคนอาจจะมีฟันแท้ครบตั้งแต่อายุ 17 ปี ส่วนบางคนอาจต้องรอจนถึงอายุ 21 ปี ถึงจะมีฟันแท้ครบทุกซี่
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เมื่อฟันน้ำนมของเด็กเริ่มทยอยขึ้นจนครบ ก็จะถึงคราวที่ฟันน้ำนมซี่ใดซี่หนึ่งนั้นจะต้องหลุดออกไป เพื่อให้ฟันซี่ใหม่ ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งฟันที่จะขึ้นมาแทนที่นั้นก็คือฟันแท้ที่พวกเรารู้จักกันดีนี่เอง แต่ฟันแท้ของลูกจะเริ่มขึ้นตอนไหน แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าอันไหนฟันแท้หรือฟันน้ำนม Enfa มีข้อมูลมาบอกค่ะ
ปกติฟันน้ำนมของเด็กนั้นจะขึ้นครบจำนวน 20 ซี่ เมื่อเด็กอายุได้ราว ๆ 2 ปีครึ่ง หรือ 3 ปี แล้วฟันแท้ล่ะ? ฟันแท้จะขึ้นตอนกี่ขวบกันนะ?
ฟันแท้ของเด็กแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันไปค่ะ เด็กบางคนอาจมีฟันแท้เร็วหน่อย เด็กบางคนอาจใช้เวลานานกว่าที่จะมีฟันแท้ขึ้นมา
แต่โดยทั่วไปแล้วฟันแท้ซี่แรกของลูกจะเริ่มขึ้นเมื่อลูกมีอายุได้ราว ๆ 6-7 ปีค่ะ
ฟันกราม คือ ฟันบริเวณซี่ล่างที่อยู่ด้านในติดกระพุ้งแก้ม ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่ผู้ปกครองมักจะสงสัยกันตลอดว่า แล้วแบบนี้ฟันกรามขึ้นกี่ขวบกันล่ะ?
ถ้าจะพูดถึงเฉพาะฟันกรามแท้นั้น ก็จะเริ่มขึ้นซี่แรกในช่วงเดียวกับฟันแท้ในตำแหน่งอื่น ๆ ค่ะ นั่นก็คือช่วงที่เด็กมีอายุได้ราว ๆ 6-7 ปี คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะพบว่าลูกเริ่มมีฟันกรามแท้เกิดขึ้น
โดยจุดสังเกตก็คือลูกอาจจะมีอาการปวดหรือเจ็บในขณะที่เคี้ยวอาหาร หรือรู้สึกรำคาญที่บริเวณเหงือกบ่อย ๆ สัญญาณเช่นนี้อาจเป็นสัญญาณว่าลูกกำลังจะมีฟันกรามแท้ซี่แรก
เรื่องเด่น ๆ ระหว่างฟันแท้กับฟันน้ำนมที่พอจะแยกออกก็คือ
สีของฟันแท้จะมีสีเหลืองกว่าสีของฟันน้ำนม
ฟันน้ำนมจะมีแค่ 20 ซี่ ส่วนฟันแท้จะมีทั้งหมด 32 ซี่
แต่พอถึงเวลาที่อ้าปากขึ้นมาจริง ๆ ก็เป็นเรื่องยากอยู่เหมือนกันค่ะที่จะแยกความแตกต่างเหล่านั้นได้
ดังนั้น หากต้องการเช็กให้ชัวร์จริง ๆ นอกจากจะต้องคอยจดบันทึกว่าฟันซี่ใดหลุด และฟันซี่ใดขึ้นมาใหม่ ก็อาจจะต้องพาลูกไปเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ ก็อาจจะบอกได้แน่นอนกว่าว่าเป็นฟันแท้หรือฟันน้ำนม
หากพบว่าลูกมีปัญหาฟันขึ้นซ้อนกัน หรือมีฟันแท้ซ้อนฟันน้ำนม โดยทั่วไปแล้วไม่ต้องเป็นกังวลค่ะ เพราะฟันน้ำนมนั้นสามารถที่จะหลุดไปเองได้ แม้ว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลาที่นานสักหน่อยก็ตาม
อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีที่เด็กมีฟันขึ้นซ้อนกัน และเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการสบฟัน หรือฟันไม่สบกัน ลักษณะเช่นนี้อาจจะต้องพาลูกไปพบทันตแพทย์ค่ะ
ฟันแท้ซี่แรกเริ่มเมื่อตอนที่เด็กมีอายุราว ๆ 6-7 ปี และฟันแท้จะค่อย ๆ ทยอยขึ้นจนครบทั้ง 32 ซี่ ในช่วงอายุระหว่าง 17-21 ปีค่ะ
ซึ่งบางคนอาจจะมีฟันแท้ครบ 32 ซี่ตั้งแต่ตอนอายุ 17 ปี ขณะที่บางคนอาจต้องใช้เวลานานจนถึงอายุ 21 ปี จึงจะมีฟันแท้ครบทั้ง 32 ซี่
ฟันแท้ของลูกน้อย จะมีลำดับการขึ้นของฟัน ดังนี้
ฟันตัดหน้าซี่กลาง (Central Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 7-8 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (Lateral Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 8-9 ปี
ฟันเขี้ยว (Cuspid) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 11-12 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 (First Bicuspid) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 10-11 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 (Second Bicuspid) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 10-12 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 1 (First Molar) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-7 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 2 (Second Molar) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 12-13 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 3 หรือฟันคุด (Third Molar) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 17-21 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 3 หรือฟันคุด (Third Molar) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 17-21 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 2 (Second Molar) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 11-13 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 1 (First Molar) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-7 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 (Second Bicuspid) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 11-12 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 (First Bicuspid) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 10-12 ปี
ฟันเขี้ยว (Cuspid) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 9-10 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (Lateral Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 7-8 ปี
ฟันตัดหน้าซี่กลาง (Central Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-7 ปี
ฟันแท้ที่หลุดออกไปแล้ว จะไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้อีก ดังนั้น หากฟันแท้หลุดออกมาเมื่อไหร่ จะด้วยอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้รีบไปพบแพทย์พร้อมกับฟันแท้ซี่นั้นในทันที เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการรักษาฟันแท้ซี่นั้นไว้ไม่ให้หลุดไปถาวร
โดยมีข้อควรปฏิบัติกับฟันแท้ที่หลุดออกมา ดังนี้
ห้ามจับโดนรากฟัน ให้จับเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อฟันเท่านั้น
ทำความสะอาดฟันด้วยการเทน้ำสะอาดราดลงไป โดยไม่ต้องทำการขัดถู หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ
นำฟันแท้นั้นใส่ในนมจืด เพราะนมจืดจะช่วยยืดอายุของรากฟันแท้นั้นให้นานขึ้น แต่ถ้าหานมจืดไม่ได้จริง ๆ ก็ให้แช่ฟันแท้นั้นในน้ำเกลือสำหรับล้างแผล หรือแช่ในน้ำสะอาด แล้วนำผ้าก๊อซมาห่อไว้ และอมไว้ในปาก เพื่อป้องกันไม่ให้รากฟันแห้ง
จากนั้นรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อที่แพทย์จะได้เริ่มกระบวนการรักษา เพื่อเชื่อมฟันแท้นั้นให้เข้ากับเหงือกอีกครั้ง จะได้ไม่ต้องใส่ฟันปลอมทดแทน
สาเหตุที่ฟันแท้ของลูกขึ้นช้านั้น มีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติฟันแท้ขึ้นช้า ก็เป็นไปได้ว่าลูกอาจฟันขึ้นแท้ช้าตามไปด้วย
ความผิดปกติของฟัน เช่น ฟันมีพื้นที่น้อยเกินไป ทำให้ฟันซี่ใหม่ไม่สามารถจะเกิดขึ้นมาทดแทนได้
ภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะการขาดวิตามินดี อาจมีส่วนทำให้การเจริญเติบโตของฟันช้ากว่าปกติ
ความผิดปกติทางระบบพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม โรคไคลโดเครเนียลดิสออสโตซิส (Cleidocranial Dysostosis) ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) โรคสังข์ทอง (Ectodermal Dysplasia) เป็นต้น
โดยมากแล้วมักไม่ค่อยมีกรณีที่ฟันแท้หลุดเอง เพราะฟันแท้มีรากฟันที่หนาและแข็งแรง จึงยากที่จะโยกหลุดออกมาเองได้ โดยมากแล้วฟันแท้หลุดมักจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนที่รุนแรง
วิธีทำให้ฟันของลูกขึ้นเร็วนั้น ไม่มีผลการวิจัยและผลการศึกษาที่เพียงพอจะรองรับว่าสามารถทำได้จริง
มากไปกว่านั้น ประเด็นสำคัญที่ควรจะต้องใส่ใจมากกว่าการทำให้ฟันของลูกขึ้นเร็ว ก็คือการทำให้ฟันของลูกสะอาดและแข็งแรงมากกว่านะคะ
ฟันหน้าของลูกนั้น หลัก ๆ แล้วจะจะมีลำดับการขึ้น ดังนี้
ฟันตัดหน้าซี่กลาง (Central Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 7-8 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (Lateral Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 8-9 ปี
ฟันเขี้ยว (Cuspid) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 11-12 ปี
ฟันเขี้ยว (Cuspid) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 9-10 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (Lateral Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 7-8 ปี
ฟันตัดหน้าซี่กลาง (Central Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-7 ปี
ดังนั้น หากพ้น 8-9 ปีไปแล้ว แต่ฟันหน้าของลูกยังไม่ขึ้นเลยสักซี่ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค่ะ
โดยปกติแล้วฟันน้ำนมของลูกจะเริ่มทยอยหลุดเมื่อลูกมีอายุตั้งแต่ 6-7 ปีขึ้นไป
ฟันแท้ซี่แรกจะเริ่มขึ้นเมื่อลูกมีอายุ 6-7 ปี ขึ้นไป แม้ช่วงระยะเวลาอาจจะไม่ได้ 7 ปีเป๊ะ ๆ แต่หลังจากนั้นฟันน้ำนมก็จะค่อย ๆ ทยอยหลุดไปทีละซี่ค่ะ
ฟันหน้ามีอยู่ด้วยกันหลายซี่ แต่ละซี่ก็จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ดังนี้
ฟันตัดหน้าซี่กลาง (Central Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 7-8 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (Lateral Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 8-9 ปี
ฟันเขี้ยว (Cuspid) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 11-12 ปี
ฟันเขี้ยว (Cuspid) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 9-10 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (Lateral Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 7-8 ปี
ฟันตัดหน้าซี่กลาง (Central Incisor) เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-7 ปี
ดังนั้น หากยังไม่พ้นกำหนดดังกล่าวก็ยังถือว่าปกติ แต่ถ้าพ้นกำหนดมาแล้วฟันหน้าของลูกยังไม่มีวี่แววว่าจะขึ้นเลย ก็ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค่ะ
- WebMD. What to Know About Eruption of Child's Permanent Teeth.
[Online] Accessed https://www.webmd.com/children/what-to-know-eruption-childs-permanent-t….
[9 September 2022]
- American Dental Association Reproduction. Eruption
Charts. [Online] Accessed https://www.mouthhealthy.org/en/az-topics/e/eruption-charts.
[9 September 2022]
- American Dental Association Reproduction. Tooth
eruption The permanent teeth. [Online] Accessed https://www.mouthhealthy.org/~/media/ADA/Publications/Files/patient_58….
[9 September 2022]
- Department of Health, State Government of Victoria,
Australia. Teeth development in children. [Online] Accessed https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/teet….
[9 September 2022]
- University of Florida Health. Tooth formation - delayed
or absent. [Online] Accessed https://ufhealth.org/tooth-formation-delayed-or-absent.
[9 September 2022]
- Advanced Children's Dentistry. Delayed Tooth Eruption
in Kids. [Online] Accessed https://advancedchildrensdentistry.com/uncategorized/delayed-tooth-erup….
[9 September 2022]
- ชมรมทันตกรรมสำหรับเด็กแห่งประเทศไทย.
เมื่อฟันแท้เริ่มขึ้น อาจเริ่มสร้างปัญหาคาใจ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.thaidental.or.th/main/download/upload/upload-19507211855319….
[9 กันยายน 2022]
- โรงพยาบาลยันฮี. “ฟันแท้หักหลุด…รักษาได้”. [ออนไลน์]
เข้าถึงได้จาก https://th.yanhee.net/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%….
[9 กันยายน 2022]
Enfa สรุปให้ หลังใบหูลูกมีกลิ่นเหม็น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ลูกน้อยมีขี้หูอุดตันเป็นจำนวนมาก หูข...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เด็กฟันผุ ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อยมากในเด็กเล็ก เนื่องจากเป็นช่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทารกผมร่วง เป็นอาการปกติโดยทั่วไปในช่วง 2-3 เดือนแรก ไม่ใช่สัญญาณอันตรายแต่อย่างใด ...
อ่านต่อ