นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

อาการลูกแพ้อาหารที่แม่กิน แพ้นมแม่เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่

Enfa สรุปให้

  • อาการลูกแพ้อาหารที่แม่กิน เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ หากลูกน้อยได้รับสารก่อภูมิแพ้จากอาหารที่คุณแม่กินเข้าไป โดยอาการที่สังเกตเห็นได้ เช่น ผื่นแพ้นมแม่ตามผิวหนัง ท้องเสีย อุจจาระมีมูกเลือดปน เป็นต้น
  • ทารกแพ้นมแม่ได้ เช่น การแพ้นมวัว ในกรณีที่คุณแม่ให้นมรับประทานนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของนมวัว ลูกน้อยสามารถแพ้นมวัวผ่านนมแม่ได้
  • ลูกแพ้นมแม่ คุณแม่สามารถรับมือได้เบื้องต้น ด้วยการจดบันทึกอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป เพื่อหาสาเหตุของอาการแพ้ หลีกเลี่ยงอาหารที่สามารถกระตุ้นให้ลูกเกิดอาการแพ้ได้ และควรให้นมแม่ต่อไปเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยให้แข็งแรง
  • ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมน้อยหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ* โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (eHP) และโพรไบโอติกส์ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (LGG) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง รวมถึงลดโอกาสในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต (*แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555)

เลือกอ่านตามหัวข้อ

อาการลูกแพ้อาหารที่แม่กินในเด็กเล็กอาจไม่ใช่เรื่องที่คุณแม่คิดว่าเกิดขึ้นได้จากการให้นมแม่ แต่จริงๆ แล้ว ทารกแพ้นมแม่หรือลูกแพ้นมแม่จากอาหารที่แม่กินเข้าไป สามารถเกิดขึ้นได้ โดยลูกน้อยอาจมีอาการแพ้ เช่น มีผื่นขึ้น ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นต้น

แพ้นมแม่ เกิดขึ้นได้จริงหรือ 

แพ้นมแม่ เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเกิดจากการที่ลูกน้อยแพ้อาหารผ่านน้ำนมแม่ จากอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะสารอาหารอย่างนมวัว รวมไปถึงอาหารประเภทอื่น ๆ ซึ่งลูกน้อยอาจมีอาการผื่นแพ้ที่ผิวหนัง ท้องเสียเมื่อได้รับสิ่งสารกระตุ้นภูมิแพ้จากอาหารผ่านทางน้ำนมแม่

อาการลูกแพ้อาหารที่แม่กิน เป็นอย่างไร

อาการลูกแพ้อาหารในเด็กที่เกิดจากอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป โดยแสดงออกผ่านทางน้ำนมแม่ อาจแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ ซึ่งแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน อาจสังเกตเห็นอาการต่างๆ  ได้ เช่น 

1. ร้องงอแงผิดปกติหลังกินนม หงุดหงิดเมื่อถึงเวลาให้นม
2. แหวะนมหรืออาเจียน
3. มีผื่นแดง
4. ถ่ายมีมูกเลือด
5. ผิวแห้งและอาจเป็นขุย
6. คันบริเวณผิวหนัง
7. บวมริมฝีปาก ใบหน้า หรือรอบดวงตา
8. เรอบ่อยกว่าปกติ
9. ท้องเสีย
10. ท้องผูก
11. ปวดท้อง ไม่สบายท้อง
12. คัดจมูก หายใจมีเสียงวี้ด
13. บางรายน้ำหนักตัวไม่ปกติ
14. ความอยากอาหารลดลง

อาการแพ้นมแม่มักเกิดขึ้นภายใน 2-72 ชั่วโมง หลังจากคุณแม่กินอาหารที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ โดยผื่นแพ้มักเป็นอาการแรกที่พบได้เร็วที่สุดค่ะ

ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้อะไรบ้าง

การหาสาเหตุของอาการแพ้ที่เกิดขึ้นในลูกน้อยอาจต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่วิธีสังเกตที่ง่ายที่สุด คือ การจดบันทึกอาหารที่คุณแม่กิน และอาการของลูกในแต่ละวันค่ะ แล้วสังเกตอาการที่เกิดขึ้นหลังจากให้นม

อาหารที่พบว่าเป็นสาเหตุของการแพ้บ่อยที่สุด 8 อันดับ ได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง ปลา อาหารทะเล ถั่วเหลือง และข้าวสาลี คุณแม่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อทานอาหารเหล่านี้นะคะ

อาการลูกแพ้นมแม่รักษาได้ไหม

คุณแม่ไม่ต้องตกใจ หากลูกน้อยมีอาการแพ้นมแม่ อาการเด็กแพ้นมแม่สามารถจัดการได้ โดยมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • หากคุณแม่ให้ลูกกินนมแม่อยู่แล้ว แนะนำให้กินนมแม่ต่อไป
  • คุณแม่ควรงดการกินนมวัวหรืออาหารที่มีสารกระตุ้นอาการแพ้
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการลูกแพ้นมแม่ ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มีอาการแพ้

ลูกแพ้นมแม่ รับมืออย่างไรเพื่อให้นมแม่ให้นานที่สุด

แม้ว่าลูกจะมีอาการแพ้บางอย่างจากอาหารที่แม่กินเข้าไป แต่การให้นมแม่ยังคงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตและสุขภาพของลูกน้อย สำหรับคุณแม่ที่มีเด็กแพ้นมแม่ สามารถรับมือได้ ดังนี้

  • จดบันทึกอาหารและอาการของลูกอย่างละเอียด 
  • ค่อยๆ ทดลองงดอาหารที่สงสัยทีละชนิด
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แม้จะต้องงดอาหารบางชนิด
  • ปรึกษาแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกได้รับประโยชน์จากสารอาหารในนมแม่

สำหรับคุณแม่ที่พบว่าแพ้อาหารชนิดใดแล้วนั้น เมื่องดอาหารที่เป็นสาเหตุ อาการของลูกน้อยจะค่อยๆ ดีขึ้น ซึ่งระยะเวาอาจขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน ความอดทนและการสังเกตอย่างต่อเนื่องจึงเป็นกุญแจสำคัญมากค่ะ

ดูแลลูกแพ้นมแม่อย่างไร

แม้ว่าลูกจะมีอาการแพ้นมแม่ แต่คุณแม่ก็ไม่ควรหยุดให้นมแม่ค่ะ และควรให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากนมแม่ยังมีสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาการที่ดีให้กับลูกน้อย

นอกจากนี้ คุณแม่ยังควรงดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการลูกแพ้อาหารที่แม่กินได้ ไม่ว่าจะเป็นนมวัว อาหารที่ผลิตจากนมวัวหรืออาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อื่นๆ

ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้นั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อย ซึ่งแพทย์มักแนะนำ* โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (eHP) ซึ่งมีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และโพรไบโอติกส์ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส (LGG) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง รวมถึงลดโอกาสในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต

*แนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีนมวัวหรือส่วนประกอบของนมวัวเป็นส่วนผสม เช่น 

  • นมวัว ไขมันจากนมวัว นมข้นจืด และนมข้นหวาน
  • ชีสทุกชนิด
  • อาหารประเภทครีม เช่น วิปครีม (Whipped Cream)
  • เครื่องดื่มผสมนมหรือไอศกรีม เช่น Malted milk
  • เนย ไขมันเนย (Butter fat butter solids) น้ำมันเนย (Ghee)
  • โยเกิร์ต
  • นมที่ผ่านการหมักด้วยเม็ดบัวหิมะ (Ker)
  • คาราเมล
  • พุดดิ้ง
  • คัสตาร์ด หรือสังขยา
  • ช็อคโกแลต
  • ขนมหวานกรอบแข็ง (Nougut)
  • อาหารที่ส่วนประกอบของโปรตีนเวย์ (Whey) หรือเคซีน (Casein) เช่น Calciuam Caseinate,Iron Caseinate,Zinc Caseinate
  • น้ำตาลแล็กโทส และ Lactulose

กลุ่มอาหารที่อาจมีการปนเปื้อนของนมวัวในกระบวนการผลิต เช่น

  • เนื้อวัวและไส้กรอก
  • มาร์การีน (Margarine)
  • ขนมปัง และขนมอบ (พัฟฟ์-พาย)
  • ซุปและผงซุปพร้อมดื่ม
  • ซีเรียลผง
  • ลูกอมหรือขนมเจลลี่ชนิดเคี้ยวหนึบ
  • การแต่งกลิ่นธรรมชาติ และกลิ่นสังเคราะห์ (Natural and articial favorings)
  • ข้าวมันต่างๆ
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนสูง (High protein product)

อาหารที่ทดแทนนม ที่คุณแม่เลือกรับประทานได้

ผลิตภัณฑ์นมมีโปรตีน และแคลเซียมสูง หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยแพ้อาหารที่แม่กิน เช่น 
นมวัว หรืออาหารที่ผลิตจากนมวัว คุณแม่สามารถรับประทานอาหารอื่น เพื่อทดแทนการดื่มนม เพื่อเสริมสร้างโปรตีน และแคลเซียมสูง ได้ ดังนี้

อาหารที่มีโปรตีน เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ เป็นต้น
อาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณสูง เช่น ปลาตัวเล็ก เต้าหู้ก้อน บรอกโคลี ผักกวางตุ้ง เป็นต้น

ไขข้อข้องใจเรื่องอาการลูกแพ้อาหารที่แม่กิน กับ Enfa Smart Club

  ลูกแพ้นมวัวผ่านนมแม่ เกิดขึ้นได้จริงหรือ

เกิดขึ้นได้จริงค่ะ ลูกน้อยสามารถแพ้โปรตีนนมวัวผ่านผ่านน้ำนมแม่ได้ ในกรณีที่ที่คุณแม่กินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว*

*แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555

  ลูกแพ้นมวัว แม่กินนมวัวได้ไหม

ในกรณีที่ลูกแพ้นมวัว คุณแม่อาจจำเป็นต้องงดผลิตภัณฑ์จากนมวัวชั่วคราว และค่อยๆ ทดลองรับประทานใหม่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ในกรณีที่คุณแม่ต้องงดนมวัว ควรเสริมแคลเซียมจากแหล่งอื่น เช่น ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ ผักใบเขียว เต้าหู้ เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอสำหรับการผลิตน้ำนม

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Cart TH Join Enfamama