นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ทารกน้ำลายเป็นฟอง เรียกว่าอะไร ลูกชอบเล่นน้ำลายแก้ยังไงดี

Enfa สรุปให้

  • ทารกน้ำลายเป็นฟอง เรียกว่า Foaming Saliva หรือ Frothy Saliva เป็นหนึ่งในสัญญาณของพัฒนาการที่สมวัยของลูก แสดงให้เห็นว่าฟันของลูกเริ่มจะขึ้น และลูกใกล้จะถึงช่วงวัยที่จะหัดพูดแล้ว
  • ทารกน้ำลายเป็นฟอง สาเหตุอาจเกิดจากพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็ก แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเกิดจากภูมิแพ้ กรดไหลย้อน ทอนซิลอักเสบ หรือการติดเชื้อต่าง ๆ
  • วิธีแก้อาการน้ำลายเป็นฟอง ควรดูแลให้ลูกดื่มนมอย่างเพียงพอ และอาจใช้ยางกัดหรือจุกหลอก เพื่อช่วยให้อาการคันเหงือกดีขึ้น และป้องกันไม่ให้น้ำลายไหลเยิ้ม 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ทารกน้ำลายเป็นฟอง ถือเป็นอาการทั่วไปที่พบได้ในทารก ซึ่งในหลายกรณีเป็นสัญญาณปกติที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของลูก เช่น การเริ่มขึ้นของฟัน หรือการพัฒนากล้ามเนื้อปากและลิ้นที่เตรียมพร้อมสำหรับการพูด อย่างไรก็ตาม ทารกน้ำลายเป็นฟอง สาเหตุก็อาจจะมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น อาการแพ้ การติดเชื้อ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

ทารกน้ำลายเป็นฟอง เรียกว่า


ทารกน้ำลายเป็นฟอง เรียกว่า Foaming Saliva หรือ Frothy Saliva หรือ Baby Blow Raspberries หรือ Drooling Saliva ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในทารกเลยค่ะ เนื่องจากทารกยังไม่สามารถควบคุมการไหลของน้ำลายได้ ทำให้เวลามีน้ำลายไหลออกมาเยอะ ๆ  ก็จะเกิดเป็นฟองอากาศขึ้นมา หรือบางครั้งลูกก็เล่นเป่าน้ำลายจนกลายเป็นฟองเองด้วย


ทารกน้ำลายเป็นฟอง สาเหตุ


โดยปกติแล้วทารกมักจะมีน้ำลายไหลออกมาเยอะมาก เมื่อผสมกับอากาศก็จะทำให้น้ำลายกลายเป็นฟอง หรือลูกก็อาจจะเล่นน้ำลายจนเกิดเป็นฟองขึ้นมาเองด้วย หรืออาจเป็นช่วงที่ฟันกำลังขึ้น ลูกจะรู้สึกคันเหงือก ทำให้มีน้ำลายไหลออกมามากกว่าปกติและกลายเป็นฟอง กรณีแบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติของทารกค่ะ  

อย่างไรก็ตาม ทารกน้ำลายเป็นฟอง ก็ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ลูกน้อยมีน้ำลายไหลออกมาเยอะจนผิดปกติ ดังนี้

  • โรคโมโนนิวคลีโอซิส
  • ฝีรอบทอนซิลลา
  • โรคคออักเสบจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (Streptococcal Pharyngitis)
  • การติดเชื้อในไซนัส
  • ต่อมทอนซิลอักเสบ
  • กรดไหลย้อน
  • มีอาการแพ้

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าทารกน้ำลายเป็นฟองบ่อยจนผิดปกติ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยสุขภาพว่าลูกกำลังป่วยอยู่หรือไม่ มีอาการแพ้อะไรหรือเปล่า เพื่อจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมค่ะ

วิธีแก้อาการน้ำลายเป็นฟอง


คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีแก้อาการน้ำลายเป็นฟองของลูกน้อยได้ ดังนี้

  • ดูแลให้ลูกกินนมอย่างเพียงพอ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นภายในช่องปาก ลูกจะได้ไม่บ้วนน้ำลายออกมาเพราะรู้สึกปากแห้ง ปากเหนียว
  • อาจทำการนวดเหงือกเบา ๆ เพื่อลดอาการคันเหงือก ระคายเคืองเหงือกของลูกน้อย
  • ใช้ยางกัด หรือจุกหลอก
  • หากลูกถึงวัยกินอาหารตามวัยแล้ว ให้หลีกเลี่ยง งด และระมัดระวังอาหารที่มีน้ำตาลสูง เพราะมีส่วนทำให้น้ำลายไหลมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากทารกน้ำลายเป็นฟองติดต่อกันนานเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของลูกน้อย และรับการดูแลรักษาที่เหมาะสมในกรณีที่ลูกมีอาการผิดปกติและทำให้น้ำลายไหลเยอะผิดปกติ

ทารกเล่นน้ำลาย ส่วนหนึ่งของพัฒนาการลูกน้อย


ทารกนอนพ่นน้ำลาย ลูกเล่นน้ำลายยืด ถือเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของลูกน้อยค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 4-6 เดือนนั้นเป็นช่วงที่ฟันกำลังขึ้น ลูกน้อยจะรู้สึกคันเหงือก ทำให้มีน้ำลายไหลออกมาเยอะ กรณีแบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ และยังเป็นจุดสังเกตของพัฒนาการอีกด้วยว่าตอนนี้ฟันซี่แรกของลูกน้อยใกล้แทงหน่อออกมาให้เห็นกันแล้วนะ

เด็กทารกเล่นน้ำลาย แบบไหนที่ผิดปกติ


เด็กทารกเล่นน้ำลาย กรณีที่เข้าข่ายว่าจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกน้อย มีดังนี้

  • ทารกเล่นน้ำลายติดต่อกันเรื้อรังนานเกิน 3 สัปดาห์
  • ทารกเล่นน้ำลาย มีน้ำลายไหลเยิ้มก่อนอายุ 4 เดือน
  • ทารกเล่นน้ำลาย และมีอาการฝ้าขาวในปาก
  • ทารกเล่นน้ำลาย มีน้ำลายไหลเยิ้ม เพราะใช้จุกหลอกติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ทารกเล่นน้ำลาย มีน้ำลายไหลเยอะเนื่องจากอาการภูมิแพ้
  • ทารกเล่นน้ำลาย น้ำลายไหล และมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่สะดวก

หากลูกน้อยมีอาการน้ำลายไหล และเล่นน้ำลายเยิ้มมากผิดปกติ และไม่หายสักที พร้อมกับมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรหาเวลาพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติในทารกค่ะ

ทารกน้ำลายเป็นฟองเหนียว ร่วมกับอาการต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณอาการภูมิแพ้เด็ก


ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าทารกน้ำลายเป็นฟองเหนียว ร่วมกับอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณของอาการภูมิแพ้ในเด็กได้ค่ะ

  • ทารกน้ำลายเป็นฟองเหนียวมากผิดปกติและปริมาณน้ำลายไม่ลดน้อยลงเลย
  • ทารกน้ำลายเป็นฟองเหนียว และมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่สะดวก
  • ทารกน้ำลายเป็นฟองเหนียว และมีผื่นขึ้นรอยปาก หรือมีผื่นลุกลามขึ้นตามใบหน้าและร่างกาย
  • ทารกน้ำลายเป็นฟองเหนียว และมีอาการงอแง ร้องไห้ไม่หยุด
  • ทารกน้ำลายเป็นฟองเหนียว และมีอาการท้องอืด ท้องเสีย ถ่ายเหลวร่วมด้วย
  • ทารกน้ำลายเป็นฟองเหนียว และมีอาการริมฝีปากบวม

หากทารกน้ำลายเป็นฟองเหนียวพร้อมกับอาการต่าง ๆ ที่กล่าวไปข้างต้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลูกน้อย และรับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการแพ้ต่อไปค่ะ

ภูมิแพ้ป้องกันได้ เริ่มต้นวันนี้ เพื่ออนาคตที่ไม่แพ้


อาการทารกน้ำลายเป็นฟอง ทารกน้ำลายไหลเยิ้มจนเป็นฟองเหนียว นอกจากจะเป็นอาการปกติโดยทั่วไปแล้ว หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ และเป็นเรื้อรัง ก็อาจเป็นสัญญาณของภูมิแพ้ในเด็กได้

คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสังเกตดูอาการผิดปกติของลูกอยู่เสมอ เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ละเลย ปล่อยให้ลูกเป็นภูมิแพ้ต่อไปเรื่อย ๆ เด็กมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภูมิแพ้ลูกโซ่ ซึ่งภูมิแพ้ลูกโซ่ก็คือเมื่อลูกเป็นภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็เสี่ยงที่จะเกิดภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ ตามมาได้เมื่ออายุมากขึ้น

หรือถ้าหากมีเวลาว่าง ๆ ควรพาลูกไปตรวจสารก่อภูมิแพ้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ เพื่อจะได้ป้องกันและทำการรักษาได้ทันท่วงที เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง เอาชนะได้ทุกอุปสรรค ไม่สะดุดทุกอาการแพ้

นอกจากนี้ ยังสามารถป้องกันภูมิแพ้ในเด็กได้ด้วยวิธีเหล่านี้

  • ให้ลูกได้กินนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้
  • หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ในกรณีที่คุณแม่น้ำนมไม่เพียงพอหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ* โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (eHP) ซึ่งมีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และโพรไบโอติกส์ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (LGG) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง รวมถึงลดโอกาสในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต

*แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555

ไขข้อข้องใจเรื่องทารกน้ำลายเป็นฟอง กับ Enfa Smart Club


  ทารก 1 เดือน เล่นน้ำลาย ปกติไหม?

การไหลเยิ้มของน้ำลายในเด็กทารกนั้นเป็นเรื่องปกติค่ะ เนื่องจากยังไม่สามารถควบคุมการไหลของน้ำลายได้ เมื่อมีน้ำลายไหลออกมาเยอะ ๆ ทารกก็มักจะชอบเล่น ชอบเป่าน้ำลายตามธรรมชาติของทารกค่ะ

อย่างไรก็ตาม หากทารก 1 เดือน เล่นน้ำลายบ่อยเกินไป และมีน้ำลายไหลเยิ้มผิดปกติ หรือนานเกิน 3 สัปดาห์ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ

  ทารก 2 เดือน เล่นน้ำลาย ปกติไหม?

เด็ก 2 เดือนก็ยังควบคุมการกลืนและการไหลของน้ำลายได้ไม่ดีค่ะ หากจะมีน้ำลายไหลเยิ้มออกมาก็ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใด

แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่พบว่า ทารก 2 เดือน เล่นน้ำลายบ่อยเกินไป และมีน้ำลายไหลเยิ้มผิดปกติ หรือนานเกิน 3 สัปดาห์ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ

  ทารกน้ำลายฟูมปาก อันตรายไหม?

ทารกน้ำลายฟูมปากบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดการสำลักได้ มากไปกว่านั้น ในน้ำลายของลูกมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการกัดเซาะการย่อย เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือเป็นผื่นแพ้น้ำลายได้ค่ะ

หากลูกน้ำลายไหล ควรรีบเช็ดล้างทำความสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระคายเคืองหรือการอักเสบจากคราบน้ำลายหมักหมม

  ทำไมลูก 7 เดือนชอบพ่นน้ำลาย?

เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ฟันของลูกจะค่อย ๆ ทยอยขึ้น ทำให้ลูกมีอาการคันเหงือก และมีน้ำลายไหลออกมามากขึ้น ทำให้ลูกเล่นเป่าน้ำลายและพ่นน้ำลาย  

มากไปกว่านั้น เด็ก 7 เดือนจะเริ่มมีการพูดอ้อแอ้ เริ่มพยายามทำเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน เวลาพูดจึงมีน้ำลายพ่นออกมาด้วย กรณีแบนี้ถือเป็นสัญญาณของพัฒนาการที่สมวัยค่ะ

  ลูก 3 ขวบ ชอบเล่นน้ำลาย สอนยังไงดี?

หากลูก 3 ขวบชอบเล่นน้ำลาย คุณพ่อคุณแม่ควรเร่งแก้พฤติกรรมทันที หากปล่อยไว้ลูกอาจจะติดเล่นน้ำลายเป็นนิสัยได้

โดยคุณพ่อคุณแม่ควรค่อย ๆ บอกและสอนอย่างใจเย็นว่าการเล่นน้ำลายไม่ดีอย่างไร มันสกปรกนะ เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคด้วยนะ เพื่อให้ลูกเข้าใจเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา

สอนให้ลูกล้างมือให้สะอาด และทำความสะอาดในจุดที่ลูกเล่นน้ำลายหกไว้ หรือถ่มน้ำลายทิ้งไว้ เป็นการปลูกฝังเรื่องความสะอาด และช่วยให้เด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะไม่เล่นน้ำลาย เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาทำความสะอาด

ให้รางวัลในวันที่ลูกไม่เล่นน้ำลาย ไม่ถ่มน้ำลายเล่น เพื่อสร้างแรงจูงใจที่ดีต่อการเลิกเล่นน้ำลาย

อย่างไรก็ตาม หากพยายามปรับพฤติกรรมของลูกแล้ว แต่ลูกก็ยังชอบเล่นน้ำลายเหมือนเดิม ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับคำแนะนำในการดูแลและบำบัดพฤติกรรมของลูกอย่างเหมาะสมต่อไป

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ดูแลลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Cart TH Join Enfamama