Enfa สรุปให้

  • เด็กหลายคนอาจเริ่มพูดได้ตั้งแต่อายุ 1.5 ปีขึ้นไป แต่เด็กอีกหลายคนก็มาเริ่มพูดเอาตอนอายุได้ 2-3 ปี แต่ถ้าหากอายุเกิน 3 ปีแล้วยังไม่ยอมพูด ลูกอาจมีความผิดปกติ

  • การหมั่นพูดคุย และการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กตั้งแต่อายุยังน้อย จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการพูดและการสื่อสารของเด็กได้เป็นอย่างดี

  • เด็กที่ไม่ยอมพูด อาจมีสาเหตุมาจากเด็กเป็นออทิสติก หูหนวก มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ความผิดปกติทางด้านร่างกาย ซึ่งควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อหาแนวทางบำบัดและรักษา

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • เมื่อไหร่ที่ลูกน้อยจะเริ่มพูด
     • สังเกตสัญญาณลูกจะพูด
     • เทคนิคและวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด
     • จะรู้ได้อย่างไรถ้าลูกมีความผิดปกติทางการพูด
     • ฝึกลูกให้เป็นเด็กสองภาษา
     • ไขข้อข้องใจเรื่องวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดกับ Enfa Smart Club

อีกหนึ่งปัญหาในเด็กที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจมากเป็นพิเศษคือเมื่อลูกอายุถึงวัยที่ควรจะต้องเริ่มพูด แต่ลูกกลับไม่พูด หรือไม่ยอมพูด ปัญหานี้อาจจะเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กบางคน หรือเป็นภาวะบกพร่องสำหรับเด็กบางคนก็ได้

ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด หรือหมั่นสังเกตสัญญาณความผิดปกติเรื่องการพูดของทารกไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าหากปล่อยไว้และไม่มีการกระตุ้น อาจจะส่งผลเสียต่อการสื่อสารของเด็กได้ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะแก้ไขได้ตั้งแต่ยังเล็กค่ะ

เมื่อไหร่ลูกจะเริ่มพูด? มาทำความรู้จักกับพัฒนาการด้านภาษาของลูกน้อยกัน!


จริง ๆ แล้ว เด็กจะเริ่มมีการพูดหรือสื่อสารตั้งแต่ตอนที่อายุยังไม่ครบปีค่ะ เพียงแต่ในช่วงแรก ๆ นั้นจะยังไม่พูดไม่เป็นภาษา หรือพูดได้เป็นคำ ๆ ที่ฟังไม่ชัดเท่าไหร่นัก แต่จะเริ่มพูดเป็นคำที่ซับซ้อนและประโยคที่ชัดเจนขึ้นเมื่ออายุได้ 2-3 ปีเป็นต้นไปค่ะ โดยพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารของลูกน้อย จะเป็นดังนี้

          • อายุ 1-4 เดือน ทารกทำได้เพียงส่งเสียงอ้อแอ้ไม่เป็นภาษา

          • อายุ 5-6 เดือน ทารกยังทำได้แค่ส่งเสียงอ้อแอ้อยู่ แต่สามารถที่จะตอบสนองต่อเสียงเรียก หรือหันหน้าเมื่อถูกเรียกชื่อ

          • อายุ 9-12 เดือน เด็กวัยนี้เริ่มที่จะพูดออกมาเป็นคำพยางค์เดียวได้

          • อายุ 1-1.5 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มมีการโต้ตอบกับผู้สนทนา เริ่มพูดคำได้หลากหลายและมความหมายได้มากขึ้น

          • อายุ 1.5-2 ปี เด็กวัยนี้สามารถพูดได้ประมาณ 50-80 คำ เริ่มมีการรวมคำเข้าด้วยกัน และสามารถที่จะเข้าใจคำสั่งที่ยากขึ้นได้

          • อายุ 2-3 ปี เด็กวัยนี้สามารถพูดเป็นประโยคได้ สามารถคุยตอบโต้เป็นประโยคได้ และสามารถที่จะพูดคุยและสื่อสารกับผู้อื่นได้มากขึ้น

ชวนสังเกตสัญญาณลูกจะพูด เป็นอย่างไร


คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มสังเกตสัญญาณต่าง ๆ ซึ่งบ่งบอกถึงพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารของลูก ดังนี้

          • อายุ 3-4 เดือน ทารกเริ่มมีการหัวเราะ และส่งเสียงในลักษณะสูงและต่ำได้

          • อายุ 6-9 เดือน ทารกตอบสนองเวลาเรียกชื่อ หรือหันหน้าไปตามเสียงต่าง ๆ

          • อายุ 9-10 เดือน เด็กวัยนี้สามารถพูดคำพยางค์เดียวซ้ำ ๆ ได้ เช่น บ๊าย ๆ หม่ำ ๆ อ้ำ ๆ

          • อายุ 1 ปี เด็กวัยนี้เริ่มพูดคำศัพท์ได้มากขึ้น ปละใช้ภาษากายประกอบ เช่น เริ่มมีการชี้นิ้ว เริ่มทำมือเป็นสัญญาณการขอ

          • อายุ 2 ปี เด็กวัยนี้สามารถพูดคำที่มีพยางค์มากขึ้นได้ เช่น กินข้าว อาบน้ำ ไปไหน

          • อายุ 3 ปี เด็กวัยนี้สามารถพูดเป็นประโยคที่มีประธาน กิริยา กรรม ได้ เช่น หนูกินข้าว

เราเองก็ช่วยฝึกลูกพูดได้! แนะนำเทคนิคและวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด


แม้ว่าเด็กจะเริ่มพูดได้เองตามพัฒนาการโดยธรรมชาติ แต่การกระตุ้นพัฒนาการก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ทารกสามารถพูดได้เร็วขึ้น หรือมีพัฒนาการด้านการพูดที่ตรงตามวัย โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสอนลูกพูด และกระตุ้นให้ลูกพูดได้ ดังนี้

          • ทำความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อที่จะตกลงกันว่าเราจะช่วยกันกระตุ้นให้ลูกพูดนะ เราจะแบ่งหน้าที่กัน แบ่งเวลากัน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจไปในแนวทางอันหนึ่งอันเดียวกัน

          • พยายามพูดกับลูกบ่อย ๆ แม้ว่าลูกจะยังไม่เริ่มพูดก็ตาม พยายามส่งเสียงเรียก พยายามพูดคุยเป็นคำ ๆ โดยใช้คำที่สั้น ๆ 1-2 พยางค์

          • พยายามให้ลูกได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้น ผ่านการเล่นกับคนในครอบครัว กับเด็กในวัยเดียวกัน เพราะการเล่นนี่แหละค่ะที่จะส่งผลต่ออารมณ์ สังคม และการสื่อสารของเด็กได้ดี

          • พยายามให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ ได้กระโดด ได้วิ่งเล่น เป็นการฝึกพัฒนาการด้านร่างกาย ซึ่งการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็มีผลต่อการพูด การสื่อสารได้เช่นกัน

          • ฝึกอ่านนิทาน อ่านหนังสือ หรือร้องเพลงให้เด็กฟังก่อนนอนทุกวัน เพื่อเพิ่มทักษะด้านการปฏิสัมพันธ์กับลูก กระตุ้นการได้ยิน การรับฟัง ตลอดจนทักษะด้านภาษาและการสื่อสารด้วย

          • หลีกเลี่ยงการเลี้ยงลูกด้วยสมาร์ทโฟน หรือทีวีก่อนวัยอันควร เพราะจะทำให้เด็กขาดการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกับผู้อื่น

          • หากครอบครัวมีพี่เลี้ยงในการช่วยเลี้ยงดูลูก อาจจะแนะนำให้พี่เลี้ยงคอยพูดคุยกับลูกเพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านการพูดได้อีกเช่นกัน 

          • พยายามป้อนคำศัพท์ต่าง ๆ ให้กับลูกเสมอและควรจะป้อนคำศัพท์ให้ตรงกับสถานการณ์ด้วย เช่น เวลากินข้าวก็พูดคำว่า หม่ำ ๆ อ้ำ ๆ เวลาอาบน้ำก็อาจจะพูดคำว่า ซู่ซ่า ๆ เวลาเดินก็อาจจะจับมือเด็กแล้วพูดว่า เดิน ๆ หรือวิ่ง ๆ หรือถ้าหากลูกชอบให้อุ้ม ให้ยกตัว ก็สามารถพูดคำว่า บิน ๆ ลอย ๆ ซึ่งเด็กอาจจะเริ่มเลียนแบบเสียง เลียนแบบคำออกมา

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

จะรู้ได้อย่างไร ถ้าหากลูกน้อยมีความผิดปกติทางการพูดและภาษา


หากลูกมีพัฒนาการด้านการพูดที่ไม่เป็นไปตามวัย แต่เริ่มมีสัญญาณความผิดปกติดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยอาจจะมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารที่บกพร่อง

          • อายุ 6-10 เดือน แต่ทารกยังไม่ยอมส่งเสียง และไม่มีการตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน ไม่หันเวลาถูกเรียกชื่อ ไม่มีท่าทีเลียนแบบเสียงหรือท่าทางใด ๆ

          • อายุ 15 เดือน แต่เด็กยังไม่ยอมหันเวลาถูกเรียกชื่อ ไม่เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ ไม่มีการส่งเสียหรือพูดคำแรก รวมถึงไม่แสดงออกทางภาษากายใด ๆ ด้วย

          • อายุ 1-2 ปี แต่ยังไม่เริ่มที่จะแสดงออกถึงการสื่อสาร ไม่ส่งเสียง ไม่พูด ไม่เข้าใจคำถาม ไม่เข้าใจคำสั่ง หรือถ้าหากมีการพูด ก็อาจจะพูดไปเรื่อย พูดไม่หยุด เวลาพูดจะรู้สึกได้ว่ากำลังคุยกันคนละเรื่อง

          • อายุ 3 ปี แต่ยังไม่พูด ไม่ส่งเสียง ไม่เข้าใจคำถาม ไม่เข้าใจคำสั่ง ไม่สามารถบอกได้ว่าต้องการหรือไม่ต้องการอะไร หรือถ้าหากพูดได้ ก็จะพูดออกมาด้วยเนื้อหายาว ๆ แต่ไม่ใช่ภาษาของเด็กในช่วงวัยเดียวกัน

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูพัฒนาการด้านการสื่อสารของลูกอยู่เสมอ และเมื่อเริ่มจับสังเกตได้ว่าลูกน่าจะมีความเสี่ยงที่จะมีพัฒนาการด้านการพูดช้า ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยดูว่า ลูกแค่เริ่มพูดช้า หรือมีความผิดปกติด้านการได้ยิน

ลูกพูดช้าเกิดจากอะไร เป็นเรื่องที่ควรกังวลหรือไม่

ขึ้นอยู่กับว่าสาเหตุที่ลูกพูดช้านั้นเกิดจากอะไรค่ะ เพราะการที่ลูกพูดช้า หรือไม่ยอมพูดเลยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งถ้าหากเป็นเรื่องของพัฒนาการที่ช้า แต่สามารกลับมาพูดได้ตามปกติเมื่อเริ่มโตขึ้น หรือเมื่อได้รับการบำบัด ส่วนนี้ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกังวล เพราะสุดท้ายลูกก็จะกลับมาพูดได้ตามปกติ

แต่ถ้าหากเกิดจากลูกเป็นออทิสติก หูหนวก หรือเกิดจากความผิดปกติทางด้านสมอง ด้านร่างกาย หรือพันธุกรรม กรณีเหล่านี้ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และสมาชิกในครอบครัวจะต้องทำความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันว่าลูกมีความผิดปกติอย่างไร และจากนี้จะต้องดูแลลูกในทิศทางใด เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และไม่แสดงอาการใด ๆ ที่ทำให้เด็กรู้สึกว่ากำลังถูกเลือกปฏิบัติจากคนในครอบครัว

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการพาเด็กไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ หลังจากเริ่มรู้สึกได้ถึงสัญญาณความผิดปกติ เพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยและรับการบำบัดรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งหากไม่ได้มาจากความผิดปกติหรือความบกพร่องที่เกินควบคุม เด็กสามารถที่จะกลับมาพูดเป็นปกติได้

หรือในกรณีที่การผ่าตัดเป็นทางออกที่ดีกว่า เด็กก็มีโอกาสที่จะฟื้นฟูพัฒนาการด้านการพูดและการได้ยินที่ดีขึ้นได้ค่ะ

อยากให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา ควรฝึกลูกพูดอย่างไร


สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะฝึกลูกให้เป็นเด็กสองภาษาตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถฝึกได้ ดังนี้

เลือกภาษาและคนสอน

ควรทำการตกลงกันในครอบครัวก่อนว่าจะลี้ยงลูกสองภาษา แล้วจะสอนลูกโดยใช้ภาษาใดเป็นพื้นฐาน ภาษาที่ 2 ที่จะใช้ คือภาษาอะไร และใครจะเป็นคนพูดภาษาที่ 2 กับลูก

จากนั้นจะต้องมีการแบ่งกันว่าเวลาอยู่กับคนนี้จะต้องพูดแต่ภาษีนี้เท่านั้น เลาอยู่กับคนนี้ให้พูดภาษานี้ตลอดเวลา เพื่อให้ลูกคุ้นชินกับภาษาและสำเนียงมากขึ้น

ใช้ตัวช่วย

สำหรับเด็กเล็กเปิดหนังหรือการ์ตูนให้ลูกฟัง ไม่จำเป็นต้องให้ดู ฟังอย่างเดียวเพื่อให้ได้สำเนียงที่ถูกต้อง หนังสือนิทาน ซีดีเพลง หนัง หรือ โปสเตอร์ภาษา สิ่งเหล่านี้ต่างเป็นตัวช่วยหรือเครื่องมือการสอนที่ล้วนมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ภาษาที่ 2 ของลูก

ฝึกคำศัพท์จากสิ่งรอบตัว

อาจเริ่มต้นจากคำง่ายๆ ใกล้ตัวที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ข้าวของเครื่องใช้ หรือชื่ออาหาร หรือกิจวัตรประจำวันอย่างนั่ง ยืน กิน นอน ไป มา อาบน้ำ แต่งตัว ห้ามแปลเป็นไทยเด็ดขาด สิ่งเหล่านี้เมื่อพูดทุกวัน ลูกจำได้แน่นอน พูดแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มเป็นประโยค เมื่อลูกโตขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการฝึกภาษาทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกไปพร้อมๆ กัน ที่สำคัญคือต้องออกเสียงคำให้ถูกต้อง

ทำให้เป็นเรื่องสนุก

การฝึกลูกเป็นเด็กสองภาษาไม่จำเป็นต้องเคร่งเครียด ทำทุกกิจกรรมให้สนุก กินข้าว เล่านิทาน เล่นเกมก็ฝึกพูดภาษาที่ 2 ได้ หรืออาจจะออกไปเปลี่ยนบรรยากาศข้างนอก เช่น สวนสัตว์ สวนสนุก ก็ชี้บรรยากาศรอบๆ ให้ลูกดูเเล้วพูดเป็นภาษาที่ 2 เป็นต้น

ค่อยเป็นค่อยไป

การสอนภาษาที่ 2 ให้ลูกนั้น คนสอนต้องใช้เวลาและความเข้าใจ เพราะเด็กๆ ทุกคนมีพัฒนาการที่แตกต่าง และมีความสามารถและความถนัดไม่เหมือนกัน ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องใช้ความอดทนรอให้ลูกเรียนรู้ภาษาตามเวลาของเขา คอยพูดคุย สนับสนุน และชมเชย เมื่อเขาสามารถทำอะไรได้สำเร็จ

การจะกระตุ้นให้ลูกมีทักษะด้านภาษาให้ได้ผลมากที่สุด คือการพูดคุย การโต้ตอบต่าง ๆ เพราะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง เด็กจะสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านภาษาได้ไวกว่าการสื่อสารทางเดียวนั่นเอง

ไขข้อข้องใจเรื่องวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดกับ Enfa Smart Club


 ทำยังไงลูกก็ไม่ยอมพูด ควรกังวลหรือไม่?

หากคุณพ่อคุณแม่ได้ลองกระตุ้นพัฒนาการพูดของลูกมาโดยตลอด และลูกอายุเกิน 3 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ยอมพูด ถือว่ามีความเสี่ยงที่เด็กอาจจะมีพัฒนาการด้านการพูดที่ผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าเด็กไม่ยอมพูดเพราะเหตุใด เกิดจากความผิดปกติด้านใด และจะบำบัดหรือรักษาใดด้วยวิธีใดบ้าง

 ลูกพูดช้าสุดกี่ปี?

ช้าสุดที่เด็กจะเริ่มพูดได้ก็คืออายุ 2-3 ปี หากเกินกว่านี้แล้วลูกยังไม่ยอมพูด ควรพาลูกไปพบแพทย์์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าเด็กไม่ยอมพูดเพราะเหตุใด เกิดจากความผิดปกติด้านใด และจะบำบัดหรือรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง

 ลูก 2 ขวบครึ่ง ยังไม่พูด แบบนี้ปกติหรือไม่?

ยังไม่ถือว่าผิดปกติเสียทีเดียวค่ะ โดยเด็กอาจจะพูดตอนอายุครบ 3 ปีก็ได้ แต่ถ้าหากลูกอายุเกิน 3 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ยอมพูด ถือว่ามีความเสี่ยงที่เด็กอาจจะมีพัฒนาการด้านการพูดที่ผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าเด็กไม่ยอมพูดเพราะเหตุใด เกิดจากความผิดปกติด้านใด และจะบำบัดหรือรักษาใดด้วยวิธีใดบ้าง

 แนะนำคลินิกกระตุ้นพัฒนาการ ฝึกพูด

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กังวลว่าลูกมีสัญญาณของการพูดช้า และต้องการที่จะกระตุ้นการพูดของเด็ก สามารถพาลูกไปเข้าคลินิกกระตุ้นการพูดได้ทั้งของภาครัฐและเอกชนที่สนใจ อาทิ

  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ถ.พระราม 4 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-2564434
  • โรงพยาบาลศิริราช, เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทร. 02-4197411
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี, พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร.02-2011448, 02-2011476
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, ถ. ราชวิถี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 02-2461647 ต่อ 93710, 02-2460066 ต่อ 93257
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช, เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10200 โทร. 02-5347273, 02-5347627
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า, บุคคโล ธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทร. 02-475-2555
  • โรงพยาบาลเลิดสิน, บางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02-2350330-5 ต่อ 1265
  • โรงพยาบาลกลาง, เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ 10100 โทร. 02-2216141 ต่อ 211, 2112
  • โรงพยาบาลวชิรพยาบาล, เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02-2430151-79 ต่อ 2173
  • โรงพยาบาลตำรวจ, เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-2528111 ต่อ 4254, 02-2527138
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร.02-2461260-8 ต่อ 2301
  • สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์, ถ.พระราม 6 พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร.02-2457833
  • สถาบันราชานุกูล, กรุงเทพฯ โทร.02-2454601-5 ต่อ 4505
  • โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์, อ.เมือง จ. สมุทรปราการ 10270 โทร. 02-3612727 หรือ 02-3612828
  • โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี, อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทร. 032-327901-8 ต่อ 2112
  • โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง), อ.เมือง จ. นครปฐม 73210 โทร. 034-219835 ต่อ 3405-6
  • ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ, อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทร.02- 5915455 ต่อ 2201
  • โรงพยาบาลสระบุรี, อ.เมือง จ.สระบุรี โทร.036-3165555 ต่อ 3085
  • คลินิกโสตสัมผัสและการพูด ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    จ.เชียงใหม่ 50002 โทร. 053-945562, 053-945565
  • โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์, อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 โทร. 053-711300, 053-711009 ต่อ 260
  • สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์, อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่ 50180 โทร. 053-890238-44 ต่อ 3114
  • โรงพยาบาลชลบุรี, อ.เมือง จ. ชลบุรี 20000 โทร.038-274200-7 ต่อ 317
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์, อ.สัตหีบ จ. ชลบุรี 20180 โทร.038-245735-9 ต่อ 2099
  • โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา, อ.เมือง จ. ฉะเชิงเทรา 24000 โทร.038-814375-8
  • คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทร. 043- 348396
  • โรงพยาบาลศรีนครินทร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทร. 043- 242344 ต่อ 3730
  • โรงพยาบาลสกลนคร, อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร. 042- 711615, 042-730419 ต่อ 2330
  • โรงพยาบาลสงขลานครินทร์, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร.074- 212070 ต่อ 1390
  • โรงพยาบาลหาดใหญ่, อ. หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร. 074- 231031 ต่อ 1835
  • โรงพยาบาลตรัง, อ.เมือง จ.ตรัง 92000 โทร. 075- 218018 ต่อ 4100
  • โรงพยาบาลยะลา, อ.เมือง จ.ยะลา 95000 โทร. 073- 212543, 073-244711-8
  • โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต, อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทร. 076- 217293-8
  • Special Child Center 325 ถ.พัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กทม. 10250 โทร.02-321-9170-1
  • โรงพยาบาลมหาราช, จ. นครราชสีมาโทร. 0-4423-5000
  • โรงพยาบาลหัวหิน, โทร. 032 - 523000 (ต่อ 3108)
  • โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์, ห้องตรวจหู คอ จมูก จ. อุบลราชธานี
    โทร.045-244973 ต่อ 1440
  • โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น, อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทร. 0-4333-6789
  • สถาบันกระตุ้นพัฒนาการ Mental Kids สถาบันเพ(ร)าะฝัน โทร 062-869-8227(สาขาเพชรเกษม81) | โทร 082-694-4562(สาขานนทบุรี) | โทร 088-983-9626 สาขาลำลูกกา (คูคต)
  • Brain Kiddy สอนเสริมพัฒนาการเด็ก เสริมทักษะ เรียนพิเศษ อนุบาล โทร 099 190 5580
  • มีรักคลินิกคลินิก โทร : 02-589-4582
  • ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก Kids Plus โทร 091 110 3545
  • Kidscovery Center คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก โทร 081 616 9156
  • คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก Meaning-Kids สาขาสมุทรปราการ โทร 083-806-1418
  • บ้านอุ่นรัก สาขาสวนสยาม โทร 02-906-3033 , 086-775-9656 สำหรับนอกเวลาทำการ ติดต่อ 086-775-9656
  • บ้านอุ่นรัก สาขาธนบุรี โทร 02-885-8720, 087-502-5261 สำหรับนอกเวลาทำการ ติดต่อ 086-502-5261
  • Baan Khu Phu บ้านครูภู่ - ศูนย์การเรียนรู้และกระตุ้นพัฒนาการ โทร 093-445-9259
  • คลินิกลูกรัก (คลินิกเด็ก/ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก) โทร 095 243 3279
  • ศูนย์พัฒนาการเด็ก คิดดี้-เซนซี่ Kiddi-SenSI Child Developmental Expert (KISE) โทร 089 122 2203
     


บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย