ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก คุณแม่ควรให้นมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน และไม่ควรเปลี่ยนนมให้ลูกกินนมผง ควรให้เด็กกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น แต่หากคุณแม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผง ซึ่งฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะอาจนำมาซึ่งปัญหา โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการขับถ่าย ที่พบมากคือ ปัญหาเปลี่ยนนมแล้วลูกท้องผูก ไม่ถ่ายติดต่อกันหลายๆ วัน สร้างความหนักใจและกังวลใจให้คุณแม่ เกิดคำถาม ดังนี้
หลังการเปลี่ยนนมแต่ละระยะ คุณแม่อาจพบปัญหาลูกท้องผูก ไม่ยอมถ่าย ซึ่งหากไม่ถ่าย 2-3 วันแต่เมื่อถ่ายออกมาแล้วอุจจาระปกติดี ไม่แข็ง คุณแม่สามารถสังเกตอาการลูกต่อไปได้โดยไม่ต้องกังวล แต่หากอุจจาระแข็งด้วย ซึ่งอาจเป็นเพราะระบบย่อยอาหารของลูกกำลังปรับตัวกับสารอาหารต่างๆ ในนมชนิดใหม่ ทำให้ลูกไม่ค่อยถ่ายหรือถ่ายแข็ง เมื่อเปลี่ยนนม คุณแม่จึงควรเปลี่ยนทีละน้อย เพื่อให้เวลาระบบย่อยอาหารของลูกปรับตัว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า หลังเปลี่ยนนมควรให้เวลาร่างกายลูกสัก 2 สัปดาห์ว่าสามารถปรับตัวกับนมใหม่ได้หรือไม่ หากถึงเวลานั้นจึงค่อยพิจารณาทางแก้ไขอื่นๆ ต่อไป
คุณกำลังตัดสินใจว่าจะเลี้ยงลูกอย่างไร? ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและลงทะเบียน Enfa A + Smart Club เพื่อรับเคล็ดลับการเลี้ยงดูและข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติม
นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก คุณแม่ควรให้นมแม่นานที่สุด แต่หากคุณแม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผง โดยทั่วไปสามารถให้นมผงทดแทนโดยชงตามสัดส่วนปกติได้ทันที แต่หากลูกมีอาการถ่ายยากถ่ายลำบากอยู่ก่อน หรือหลังเปลี่ยนนมแล้วมีอาการถ่ายยากถ่ายลำบาก ทารกถ่ายไม่ออก ทํา ไงดี คุณแม่สามารถเปลี่ยนนมตามขั้นตอนเพื่อป้องกันลูกท้องผูก ไม่ถ่ายได้ดังนี้
การเปลี่ยนนมสูตรต่างๆ
โดยปกติหลังอายุ 1 ปี เด็กสามารถเปลี่ยนจากนมแม่หรือนมผง มากินนมวัว หรือ whole milk ได้ แต่หากต้องการให้นมผงต่อไป การเปลี่ยนนมจากนมผงสูตร 1 เป็นสูตร 2 จากสูตร 2 เป็นสูตร 3 สามารถชงนมสูตรใหม่ตามปกติทดแทนได้ทันที แต่หากลูกท้องผูกอยู่ก่อน หรือหลังเปลี่ยนนมแล้วท้องผูก ถ่ายแข็ง คุณแม่สามารถเปลี่ยนสูตรนมตามขั้นตอนเพื่อป้องกันลูกท้องผูกได้ดังนี้
โดยเพิ่มสัดส่วนของนมใหม่ขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ ลดสัดส่วนนมเดิม ดังนี้
การสลับมื้อนมเป็นการให้นมใหม่ทั้งขวดสลับกับการให้นมเดิมทั้งขวดตลอดทั้งวัน และเมื่อลูกได้รับอาหารเสริม มื้อนมจะถูกลดลงเหลือประมาณ 3-4 มื้อต่อวัน โดย...
วิธีสลับมื้อนมหรือเปลี่ยนนมให้ลูกเหมาะกับเด็กโต ซึ่งสามารถรับรสอื่นที่แตกต่างหลากหลายได้ง่ายกว่าเด็กเล็กซึ่งอาจร้องไห้งอแงเมื่อกินนมใหม่ที่มีรสชาติที่เขาไม่คุ้นเคย
ช่วงเปลี่ยนนม ลูกอาจมีอาการถ่ายแข็ง ท้องผูก หรือไม่ถ่ายบ้าง ประมาณ 2 สัปดาห์ ร่างกายลูกจะค่อยๆ ปรับตัวกับการเปลี่ยนนมใหม่ได้ คุณแม่จึงควรให้เวลาร่างกายลูกสักนิดนะคะ แต่ถ้ายังมีปัญหาลูกท้องผูก ไม่ถ่าย หรือปัญหาขับถ่ายอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเลือกนมที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด เช่น นมที่มี MFGM ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่พบในน้ำนมแม่, ดีเอชเอ ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง และใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อย่างเช่น พีดีเอ็กซ์ (PDX) และ กอส (GOS) ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ จะช่วยปรับการทำงานของลำไส้ให้สมดุล อุจจาระเด็กจึงนิ่มลง ขับถ่ายง่าย ช่วยป้องกันอาการเด็กท้องผูก
อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนมีระบบการย่อยอาหารที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะไม่มีปัญหาใดๆ หลังการเปลี่ยนนม บางคนก็มีปัญหาท้องผูก ไม่ถ่าย หรือท้องเสีย ท้องอืด ดังนั้นจึงต้องอาศัยการใส่ใจและสังเกตจากคุณแม่อย่างใกล้ชิดว่า ร่างกายลูกตอบรับการเปลี่ยนนมหรือไม่
ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ การหย่านม คือ การที่คุณแม่เปลี่ยนวิธีการให้นมลูก จากการดูดนมแม่จากเต้า ไปดูดนมแม่หร...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ