ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
แม้จะต้องการให้ลูกกินนมแม่แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้คุณแม่บางคนใช้นมผงเสริมให้ลูก ด้วยการนำนมแม่มาผสมนมผงลงไปในขวดเดียวกัน ซึ่งอาจมีคำถามว่าสามารถทำได้มั้ย คำตอบคือ คุณแม่สามารถทำได้ แต่มีบางเรื่องที่คุณแม่ควรรู้ก่อนจะผสมนมทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะควรทำตามคำแนะนำในการชงนมผง สัดส่วนการผสมนม เพราะหากผสมไม่ถูกต้องอาจส่งผลเสียต่อลูกน้อยได้
เหตุผลที่คุณแม่ต้องใช้วิธีนมแม่ผสมนมผงให้ลูกกิน มีดังนี้
หากคุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ นอกจากการให้ลูกกินแม่ผสมนมผงในขวดเดียว ซึ่งอาจมีข้อต้องระวังดังกล่าวแล้ว คุณแม่ยังสามารถเลือกวิธีให้ลูกกินนมแม่สลับกับการให้นมผงได้ โดยให้สลับกันเป็นมื้อ
หลังจากให้นมแม่มื้อแรก ลูกอาจหิวเร็วเพราะได้กินนมแม่น้อย ลูกอาจร้องหิวเมื่อนอนได้เพียง 2-2.5 ชั่วโมง เมื่อถึงมื้อที่จะต้องให้นมผง ลูกจะดูดนมได้มากและจะนอนนานถึง 3 ชั่วโมง ดังนั้น ระยะห่างระหว่างเวลาให้นมแต่ละมื้อจึงไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป แต่การให้นมลูกด้วยวิธีสลับเช่นนี้ไปเรื่อยๆ นมแม่อาจมีมากขึ้น จนกระทั่งช่วงห่างระหว่างเวลาให้นมแม่นานขึ้นใกล้เคียงกับเวลาให้นมผง ในที่สุดคุณแม่อาจสามารถให้นมแม่ได้เพียงอย่างเดียวก็ได้
ในกรณีที่นมแม่มีน้อยและคุณแม่ต้องไปทำงาน คุณแม่ควรให้นมแม่ตอนกลางคืนและตอนเช้า ส่วนตอนกลางวันก็ให้ลูกกินนมผง เพื่อคุณแม่จะได้มีโอกาสในการใช้เวลาร่วมกันกับลูกและไม่ต้องลุกขึ้นมาชงนมตอนกลางคืนนั่นเอง
ในช่วงให้นมแม่ ลูกน้อยมักจะย่อยนมแม่ได้ดี ไม่ค่อยมีปัญหางอแง ร้องกวน จากอาการท้องอืด แหวะนม นั่นก็เพราะในนมแม่มีโปรตีนขนาดเล็กที่ย่อยง่าย ซึ่งดีกับระบบย่อยอาหารของเด็กเล็ก อีกทั้งนมแม่ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการสมอง
แต่เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัยที่ต้องหย่านมและเริ่มปรับเปลี่ยนไปกินอาหารตามวัยมากขึ้น ก็อาจทำให้ลูกน้อยมีอาการท้องอืด ท้องผูก แหวะนม หรือร้องกวนได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เหมือนกับของผู้ใหญ่ และยังต้องการเวลาปรับตัวให้คุ้นชินกับอาหารชนิดใหม่
เพื่อป้องกันอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงหลังหย่านม คุณแม่ควรมองหา “ทางเลือกในการเปลี่ยนที่ดีที่สุด” คุณแม่อาจมองหาโภชนาการที่ย่อยง่ายทีมี PHP หรือโปรตีนขนาดเล็กที่ย่อยมาแล้วบางส่วน ทำให้ย่อยและดูดซึมง่าย ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ลดอาการไม่สบายท้อง ควบคู่ไปกับสุดยอดสารอาหารสมองอย่าง MFGM ที่พบในนมแม่ ซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันที่จำเป็นกว่า 150 ชนิด ได้แก่ เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด และแกงกลิโอไซด์ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยผ่านช่วงหย่านมได้อย่างราบรื่น สบายท้องและเรียนรู้ไม่สะดุด
ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ การหย่านม คือ การที่คุณแม่เปลี่ยนวิธีการให้นมลูก จากการดูดนมแม่จากเต้า ไปดูดนมแม่หร...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ