Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ลูกกินข้าวแค่คำสองคำแล้วหันไปสนใจอย่างอื่น เป็นหนึ่งในความปวดหัวที่ขึ้นแท่นคลาสสิกสำหรับคุณแม่ทั้งหลาย ลูกไม่กินข้าว 2 ขวบ หรือ 3 ขวบแล้วก็ยังมีพฤติกรรม “คายข้าว” “ไม่ชอบข้าวสวย” หรือ “เบื่อต้องนั่งทานข้าว” สิ่งนี้อาจทำให้ลูกได้รับโภชนาการไม่เพียงพอ และนำไปสู่ความกังวลว่าจะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะสารอาหารจำพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต หรือวิตามินและแร่ธาตุ ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต
การมองหาอาหารเสริมเด็กไม่กินข้าว จึงกลายเป็นอีกทางเลือกสำหรับคุณแม่ที่ต้องการเติมโภชนาการให้ลูกน้อย แต่อาหารเสริมเหล่านี้จำเป็นไหมสำหรับลูกที่กินยาก จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้จริงไหม จะเลือกอย่างไรให้เหมาะกับพฤติกรรมการกินของลูกน้อย เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ
อาหารเสริมเด็กไม่กินข้าว เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์หรือวิตามินที่ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร หรือให้สารอาหารทดแทนบางส่วน เพื่อให้ลูกได้รับโภชนาการเพียงพอในช่วงที่ลูกยังไม่กินข้าวหรือกินได้น้อย วิตามินเสริมให้ลูกกินข้าว เช่น
แต่คุณแม่ก็ต้องไม่ลืมว่า วิตามินเสริม อาจจะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้บ้างระดับนึง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เราอาจจะหวังพึ่งวิตามินอย่างเดียวไม่ได้ ต้องปรับเปลี่ยนที่วิธีการทานอาหารถึงจะสามารถแก้ไขได้จริงค่ะ
อาหารเสริมเพื่อทดแทนมื้อหลักสำหรับเด็กที่กินข้าวยากมาก จะมีลักษณะเป็นเครื่องดื่มหรือผงชงที่รวมสารอาหารสำคัญไว้ เช่น โปรตีน, วิตามิน, แร่ธาตุ ฯลฯ ซึ่งไม่ควรให้เด็กดื่มแทนข้าวทุกมื้อ เพราะเด็กยังต้องฝึกการเคี้ยว รับรสชาติ และฝึกกล้ามเนื้อปาก เพื่อพัฒนาทักษะการกิน
บางผลิตภัณฑ์ออกแบบเป็นลูกอมเจลลี่เคี้ยวได้ ผสมวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด โดยบอกว่า “ช่วยเพิ่มความอยากอาหาร” แต่ก็ควรระวังเรื่องปริมาณน้ำตาล และสารปรุงแต่งรส คุณแม่ควรดูว่ามี อย. รับรองหรือไม่ และปรึกษาแพทย์หากลูกมีโรคประจำตัว
อาหารเสริมเด็กไม่กินข้าว อาจอยู่ในรูปวิตามินเสริม หรือผลิตภัณฑ์เสริมโภชนาการ แต่การเลือกใช้ควรทำด้วยความระมัดระวัง ไม่ใช่ทุกคนจะต้องกิน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อลูกไม่กินข้าว หลายคนอาจกังวลมากๆ จนรีบหาซื้ออาหารเสริมเด็กไม่กินข้าว มาให้ลูกทันที แต่ความจริงแล้ว ความจำเป็นในการใช้อาหารเสริมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยค่ะ ลองมาดูว่าอะไรบ้างที่คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณา
1. ประเมินสาเหตุที่ลูกไม่กินข้าว
2. ระดับความรุนแรง
ถ้าลูกยังมีน้ำหนักเติบโตตามเกณฑ์ มีพลังงานเล่น วิ่ง กระฉับกระเฉง แปลว่าร่างกายอาจได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอระดับหนึ่ง แต่ถ้าลูกน้ำหนักลด ผอมลง เหนื่อยง่าย เบื่ออาหารมาก หรือมีภาวะขาดสารอาหาร คุณหมออาจแนะนำให้ใช้อาหารเสริมหรือวิตามินเฉพาะทาง
3. สำรวจเมนูที่ลูกกินแทนข้าว
หากลูกไม่กินข้าว แต่ยังกินอย่างอื่น เช่น ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ อยู่ในระดับที่เพียงพอ ลูกอาจยังได้รับสารอาหารอื่นครบอยู่ค่ะ แต่ถ้าลูกปฏิเสธอาหารเกือบทุกชนิด และเน้นนมเป็นหลัก อาจเสี่ยงขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ
ลูกไม่กินข้าว อาหารเสริมจำเป็นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการของลูก ถ้าลูกมีภาวะขาดสารอาหาร หรือมีความเสี่ยงตามที่กล่าว อาจต้องพิจารณาอาหารเสริมเพื่อป้องกันผลกระทบระยะยาว
แต่หากลูกยังคงมีพัฒนาการ น้ำหนัก ส่วนสูงในเกณฑ์ปกติ อาจไม่ต้องเร่งใช้อาหารเสริม แนะนำให้ปรับวิธีการกิน ลองทำเมนูที่น่าสนใจให้ครบหลักโภชนาการพื้นฐานก่อน จนลูกค่อยๆ รับประทานข้าวได้มากขึ้น
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเด็กไม่กินข้าว หรืออาหารเสริมให้ลูกกินข้าว ไม่ใช่ยาวิเศษที่ทำให้เด็กอยากข้าวทันทีทันใดค่ะคุณแม่ แต่มักเป็นส่วนผสมของวิตามินและแร่ธาตุที่อาจช่วยปรับสมดุลในร่างกายบางอย่าง รวมถึงเพิ่มสารอาหารที่เด็กอาจขาด เด็กกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากอาหารเสริม เช่น
ส่วนเด็กที่ไม่จำเป็นต้องใช้อาหารเสริม คือ เด็กที่น้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้กินข้าวน้อยแต่ยังได้รับสารอาหารจากอาหารอื่น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก นม ไข่ เพราะเด็กเพียงแค่เบื่อบางเมนู แต่ยังเปิดรับเมนูอื่น ๆ ได้ตามปกติ
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อาจต้องระวัง คือ การให้เด็กกินอาหารเสริมอาจทำให้รู้สึกว่า “ไม่กินข้าวก็ไม่เป็นไร เพราะมีตัวช่วย” ซึ่งอาจทำให้การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุต้องล่าช้า และบางครั้งอาหารเสริมมีน้ำตาลสูง หรือมีสารปรุงแต่งรสและสี ดังนั้น ควรตรวจสอบฉลากก่อนให้ลูกรับประทานก่อนเสมอ
ทั้งนี้ เด็กๆ ควรได้ฝึกกินข้าวและอาหารหลากหลาย เพื่อพัฒนาทักษะการเคี้ยว การกลืน และการยอมรับรสชาติใหม่ เพราะอาหารเสริมเป็นเพียงตัวช่วยชั่วคราว ไม่ควรให้แทนมื้ออาหารหลักในระยะยาวค่ะ หากเด็กๆ กินอาหารหลากหลายในปริมาณที่พอใช้ได้ อาหารเสริมอาจไม่จำเป็นต้องใช้
เมื่อลูกอายุเข้าสู่ 2 ขวบ บางคนยังเบื่อข้าว ไม่ยอมเคี้ยว หรือสนใจเล่นมากกว่ากิน ทำให้คุณแม่หลายคนกังวลว่าโภชนาการลูกจะขาด จึงเริ่มมองหาอาหารเสริมต่างๆ มาช่วยเสริมกันใช่ไหมล่ะคะ
ในวัย 2 ขวบเป็นช่วงที่เด็กสามารถเคี้ยวอาหารได้หลากหลาย หากลูกยังเน้นกินแต่นม หรือติดขนม แสดงว่ายังปรับตัวไม่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรจัดตารางมื้อหลัก 3 มื้อ และมื้อว่าง 1-2 มื้อ ให้เด็กได้ฝึกกินอาหารเป็นกิจจะลักษณะ
ความจำเป็นของอาหารเสริมในวัย 2 ขวบ
ถ้าลูกกินบ้างไม่กินบ้าง แต่ยังมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ กินอาหารเป็นบางช่วง เช่น เช้าไม่กิน เย็นกินได้ หรือกินเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ นมพอประมาณ ก็อาจยังไม่ถึงขั้นต้องพึ่งอาหารเสริม อาจแค่ปรับวิธีการกินก่อน
แต่ถ้าไม่กินข้าวจริงๆ รวมถึงอาหารอื่นๆ ก็ปฏิเสธ น้ำหนักเริ่มตกเกณฑ์ ควรพบกุมารแพทย์ อาจต้องใช้อาหารเสริมมาช่วยเป็นระยะ หรือปรึกษานักโภชนาการเด็กเพื่อปรับเมนู
4 เทคนิคกระตุ้นให้ลูก 2 ขวบกินข้าว แนะนำดังนี้
บางครั้งลูกไม่ชอบเนื้อสัมผัสของข้าวสวย หรือติดรสชาติอื่นมากกว่า แต่คุณแม่สามารถปรับเมนูอื่นๆ ให้ลูกแทนข้าวได้ หรือผสมข้าวกับวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อให้ยังได้รับสารอาหารครบถ้วน โดยมีเทคนิคที่แนะนำ ดังนี้
1. แป้งชนิดอื่นที่ไม่ใช่ข้าว
ก๋วยเตี๋ยว: ใช้เส้นเล็ก เส้นใหญ่ หรือบะหมี่ไข่ พร้อมน้ำซุปผักหรือซุปกระดูกหมู เพิ่มผักและเนื้อสัตว์
ขนมปัง: เลือกขนมปังโฮลวีทหรือผสมธัญพืช เสิร์ฟพร้อมเนยถั่ว (Peanut Butter) หรือไข่คน
มันฝรั่ง: อบหรือบดผสมเนื้อสัตว์และผัก ทำเป็นมันบด มันอบหรือซุปมันฝรั่ง
2. แอบใส่ข้าวลงในเมนูอื่น
โจ๊กหรือข้าวต้ม: ถ้าลูกไม่ชอบข้าวสวย ลองข้าวต้มใส่ผักสับ เนื้อสัตว์หั่นเล็ก ปรุงรสอ่อน ๆ
ข้าวผัด: ผัดกับไข่ หมู ผักสับละเอียด เพื่อเพิ่มรสชาติและผสมผสานวัตถุดิบหลายอย่าง
3. โปรตีนและผักผลไม้
ถ้าลูกไม่กินข้าว แต่ยอมกินโปรตีน เช่น ไก่, ปลา, เต้าหู้, ไข่ ก็ใช้เมนูโปรตีนเป็นหลัก แล้วเสริมผักผลไม้เพื่อให้ได้วิตามิน ถึงเบื่อข้าวไม่เป็นไรค่ะ ขอให้ได้สารอาหารครบหมู่ โดยเฉพาะโปรตีนและผัก/ผลไม้
4. นมหรือโยเกิร์ต
หากลูกปฏิเสธข้าวสวย ก็อาจเสริมด้วยนมเสริมสำหรับเด็ก เพื่อให้ได้รับพลังงานและแร่ธาตุบางส่วน หรือโยเกิร์ตผสมน้ำผึ้งหรือผลไม้ก็เป็นอีกทางเลือก แต่ควรระวังน้ำตาลสูงเกินไปด้วยนะคะ
หลังจากลูกเริ่มหย่านมแม่บางส่วน หรือลดปริมาณนมแม่ลง (ประมาณ 1 ขวบขึ้นไป) คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ยังคงให้ลูกดื่มนมต่อไป ซึ่ง “นมผง” หรือ “นมยูเอชที” สำหรับเด็กเล็ก ซึ่งอาจมีการเสริมสารอาหารหลายชนิด รวมถึง DHA วิตามิน และเกลือแร่ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกได้รับโภชนาการครบถ้วน
ทำไมนมผงหรือสูตรเสริมมีความจำเป็น
เมื่อเด็กโตขึ้น อาจไม่ได้นมแม่เต็มที่เหมือนช่วงแรกเกิด นมผงสูตรต่อเนื่องมีส่วนผสมที่เหมาะสมกับความต้องการสารอาหารในวัยนี้ เนื่องจากช่วยเสริมสารอาหารที่อาจขาด ถ้าลูกกินอาหารไม่หลากหลาย เช่น ขาดธาตุเหล็ก ขาดวิตามินบางชนิด
ทำไมให้เสริมหลังมื้ออาหารหลัก
เพื่อกระตุ้นให้ลูกได้กินอาหารหลักก่อน ถ้าให้ลูกดื่มนมก่อนมื้อข้าว เด็กอาจอิ่มจากนมจนไม่อยากกินข้าว และการดื่มนมผงชงหลังมื้ออาหารหลักช่วยเติมเต็มช่องว่างสารอาหาร และทำให้ลูกอิ่มในระดับที่เหมาะสม
สำหรับเด็กวัย 1-3 ปี โดยทั่วไปอาจแนะนำให้ดื่มนมประมาณ 2-3 แก้ว (400-600 มล.) ต่อวัน ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่กินด้วย ถ้าให้มากเกินไป อาจเสี่ยงให้ลูกอิ่มนมจนไม่กินข้าว หรือได้รับแคลอรีที่เกินความต้องการ
ในช่วง 1,000 วันแรกของลูก เป็นช่วงเวลาสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา โดย 80% ของสมอง จะเติบโตสูงสุดในช่วง 2 ขวบปีแรก และ 90% จะเติบโตสูงสุดในช่วง 5 ปีแรก ด้วยเหตุนี้ โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของลูกน้อย จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกน้อย โดยคุณแม่สามารถเสริมสร้างโภชนาการที่ดีได้ด้วยการให้ลูกน้อยได้รับนมแม่ตั้งแต่ 6 เดือนแรก และให้นมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปี
เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
ตามหลักแล้ว การฝึกลูกกินผักผลไม้นั้น คุณแม่ส่วนใหญ่ควรทำตั้งแต่ลูกอายุครบ 6 เดือน ซึ่งลูกกินอาหาร...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ