คุณแม่คงเคยได้ยินคำว่า ภาวะโลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง แต่อาจยังไม่เข้าใจว่าภาวะนี้หากเกิดขึ้นระหว่างผู้หญิงปกติกับคุณแม่ที่กำลังมีการตั้งครรภ์และเกิดเลือดจางตอนท้องนั้น จะมีความแตกต่างกันอย่างไร ลองมาไขความสงสัยกันดูนะคะ
โลหิตจางเป็นภาวะที่มีฮีโมโกลบินต่ำกว่าค่าปกติของความเข้มข้นของเลือด สำหรับผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ ค่าปกติจะประมาณ 14 กรัม/ดล.เปอร์เซ็นต์ถ้าค่าต่ำกว่า 11 กรัม/ดล.จัดว่าเป็นโรคเลือดจาง ในระหว่างตั้งครรภ์ถ้ามีฮีโมโกลบิลต่ำกว่า 10 กรัม/ดล. ก็ถือว่าคุณแม่กำลังเกิดภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ เพราะช่วงการตั้งครรภ์จะมีน้ำเลือดหรือพลาสม่าเพิ่มขึ้นมากกว่าในภาวะปกติ ทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลงกว่าปกติค่ะ
โรคโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อยในบ้านเราคือ โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และโรคเลือดจางทาลัสซีเมีย การที่จะวินิจฉัยว่าคุณแม่มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์หรือไม่ ทำได้ด้วยการเจาะเลือดจากปลายนิ้วมาใส่หลอดแก้วเล็กๆ แล้วนำไปปั่นในเครื่องตรวจให้เม็ดเลือดแดงตกตะกอนแยกจากน้ำเลือด (พลาสม่า) หลังจากนั้นนำไปหาสัดส่วนของปริมาณเม็ดเลือดแดงกับน้ำเลือดก็จะบอกได้ว่าคุณแม่เลือดจางตอนท้องหรือไม่ส่วน การหาว่าเป็นโลหิตจางชนิดใด ก็ทำได้โดยนำเลือดจากคุณแม่จำนวนเล็กน้อยใส่ลงไปในกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูลักษณะของเม็ดเลือดและฮีโมโกลบินค่ะ
การเกิดภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์นั้น จะส่งผลให้คุณแม่เกิดการอ่อนเพลีย ซีด เหนื่อยง่าย หน้ามืดเป็นลมบ่อย เวียนศีรษะ และเบื่ออาหารอาจจะคลอดก่อนกำหนดได้ ซึ่งหากระยะการคลอดเนิ่นนาน เพราะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี จะทำให้คุณแม่หมดแรงและมีโอกาสติดเชื้ออักเสบได้ง่าย
การที่คุณแม่มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์นั้น เลือดที่ไปเลี้ยงรกจะมีออกซิเจนน้อยกว่าปกติ จึงอาจจะเกิดผลกระทบต่อทารกได้ เช่น ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยผิดปกติ ส่งผลต่อพัฒนาการ ตลอดจนอาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
หากคุณแม่พบว่าตนเองมีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ก็ไม่ต้องกังวลใจ แต่ควรตรวจเช็คสุขภาพอย่างใกล้ชิดตลอดการตั้งครรภ์ ซึ่งนอกจากการเสริมธาตุเหล็กแล้ว การเสริมอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงก็มีความสำคัญค่ะ
Enfa สรุปให้ สมุดฝากครรภ์เป็นสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กที่คุณแม่จะได้รับฟรีเมื่อไปฝากครรภ์ที่สถา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ระยะเอ็มบริโอ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นอีกหลายระยะ ตามช่วงเวลาการตั้งครรภ์ของคุณแม่ ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ยาแก้แพ้ท้อง ที่คนท้องสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย เช่น ไดเมนไฮดริเนท (Dimenhydrinate),...
อ่านต่อ