ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
หัวนมคนท้อง

หัวนมคนท้องเป็นอย่างไร ระหว่างท้องเปลี่ยนแปลงมากแค่ไหน

Enfa สรุปให้

  • หัวนมคนท้องและเต้านมคนท้องจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ไตรมาสแรก ไปจนถึงไตรมาสสุดท้าย และจะยังเปลี่ยนแปลงต่อไปจนกระทั่งให้นมลูกและหลังให้นมลูกเลยด้วย
  • ในไตรมาสแรกคุณแม่จะรู้สึกได้ว่าหัวนมใหญ่ขึ้น หัวนมตั้งชันมากกว่าปกติ มีความอ่อนไหวมากขึ้น เสียวแปลบ และลานหัวนมก็เริ่มคล้ำขึ้น และเริ่มขยายวงใหญ่มากขึ้น
  • ในไตรมาสที่สองก็จะเริ่มมีน้ำนมเหลือง (Colostrum)ไหลออกมา และจะไหลออกมามากขึ้นในไตรมาสที่สาม ซึ่งน้ำนมเหลืองก็คือน้ำนมในระยะแรกที่เต้านมผลิตเตรียมพร้อมไว้สำหรับหลังคลอด

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • การเปลี่ยนแปลงของหัวนมและเต้านมคนท้อง
     • หัวนมของคนท้องเริ่มเปลี่ยนตอนไหน
     • แม่ท้องดูแลเต้านมอย่างไรดี
     • เทคนิคเลือกเสื้อในสำหรับคนท้อง
     • ไขข้อข้องใจเรื่องหัวนมและลักษณะเต้านมของคุณแม่ตั้งครรภ์กับ Enfa Smart Club

หัวนมคนท้องมีการเปลี่ยนแปลงไหมในช่วงตั้งครรภ์? หากจะพูดถึงความเปลี่ยนแปลงของหัวนม โดยปกติเราจะเห็นภาพชัดเจนในช่วงของการให้นมลูกมากกว่า เพราะหลังจากที่ทารกเริ่มดูดนมแม่ ก็จะเห็นได้ว่าหัวนมและเต้านมของคุณแม่เปลี่ยนไปจริง ๆ เช่น หน้าอกคล้อยมากขึ้น หัวนมใหญ่ขึ้นและคล้ำขึ้น เป็นต้น

ซึ่งแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงของหัวนมนี้ ไม่ได้เพิ่งมาเริ่มเอาตอนที่ให้นมลูก เพราะหัวนมของคุณแม่เริ่มไม่เหมือนเดิมตั้งแต่ที่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้ว แต่...หัวนมคนท้องเปลี่ยนไปอย่างไร และจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างไรบ้าง Enfa จะพาไปหาคำตอบให้หายข้องใจค่ะ

หัวนมคนท้องและเต้านมคนท้อง เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง


เต้านมคนท้องและหัวนมคนท้อง จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ไตรมาสแรก ไปจนถึงไตรมาสสุดท้าย และจะยังเปลี่ยนแปลงต่อไปจนกระทั่งให้นมลูกและหลังให้นมลูกเลยด้วย จนอาจกล่าวได้ว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้ว หัวนมและเต้านมของคุณแม่ก็อาจจะไม่เหมือนเดิม หรือกลับมาเหมือนเดิมได้ยาก

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของหัวนมและเต้านมในแต่ละไตรมาส ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • หัวนมและเต้านมคนท้องขณะตั้งครรภ์ไตรมาสแรก

ในไตรมาสแรกนี้ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะพุ่งสูงขึ้น รวมถึงหลอดเลือดขยายมากขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังเนื้อเยื่อเต้านมมากขึ้น ส่งผลให้คุณแม่รู้สึกถึงอาการคัดตึงเต้านม เจ็บเต้านม เต้านมไวต่อการสัมผัสมากขึ้น และรู้สึกได้ว่าหน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย

ส่วนหัวนมก็จะรู้สึกได้ว่าหัวนมใหญ่ขึ้น หัวนมตั้งชันมากกว่าปกติ มีความอ่อนไหวมากขึ้น เสียวแปลบ และลานหัวนมก็เริ่มคล้ำขึ้น และเริ่มขยายวงใหญ่มากขึ้น

  • หัวนมและเต้านมคนท้องขณะตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2

ในไตรมาสที่สองเต้านมของคุณแม่ยังคงมีอาการคัดตึง ไวต่อการสัมผัส และมีขนาดใหญ่ขึ้น และใหญ่ขึ้นจนขนาดที่หลาย ๆ คนต้องมีการเปลี่ยนไซซ์ของเสื้อชั้นในเลยทีเดียว

ขณะที่ลานหัวนมก็จะเริ่มคล้ำมากขึ้น และขยายวงกว้างมากขึ้น และมีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นที่รอบลานนม

มากไปกว่านั้น คุณแม่บางคนยังสังเกตว่ามีของเหลวไหลออกจากหัวนมด้วย ซึ่งของเหลวที่ว่านั้นก็คือ น้ำนมเหลือง (Colostrum) ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสสาม หรือหลังคลอด แต่ก็มีคุณแม่บางคนที่มีน้ำนมเหลืองไหลออกมาตั้งแต่ช่วงไตรมาสสองด้วยเหมือนกัน

  • หัวนมและเต้านมคนท้องขณะตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย

ในไตรมาสสุดท้ายนี้ อาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของเต้านมที่เริ่มเป็นมาตั้งแต่ไตรมาสแรก ในไตรมาสนี้ก็จะมีอาการที่มากขึ้น เช่น เจ็บเต้านมมากขึ้น เต้านมมีอาการคัดตึงมากขึ้น อ่อนไหวมากขึ้น เต้านมใหญ่ขึ้น

และเพราะขนาดของเต้านมที่ใหญ่ขึ้นด้วยนี่แหละ ที่ทำให้คุณแม่หลาย ๆ คนเริ่มที่จะมีรอยแตกลายที่บริเวณเต้านม

ส่วนหัวนมก็จะมีสีที่คล้ำมากขึ้น และอาจมีน้ำนมเหลืองไหลออกมาจากหัวนมบ่อยขึ้นด้วย

  • หัวนมและเต้านมคุณแม่หลังคลอด

หลังจากคลอดลูกได้ราว ๆ 3 วัน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในร่างกายของคุณแม่จะลดลงอย่างรวดเร็ว  น้ำนมเหลืองจะถูกเจือจางด้วยของเหลวเพิ่มเติมทำให้น้ำนมของแม่มีสีขาวขึ้น  ในช่วงเวลานี้เต้านมของคุณแม่จะเริ่มมีน้ำนมไหลออกมา

มากไปกว่านั้น ไม่ว่าคุณแม่จะให้ลูกกินนมแม่หรือไม่ก็ตาม แต่เต้านมของคุณแม่หลังจากที่คลอดลูกและหลังให้นมลูก เต้านมและหัวนมของคุณแม่ก็จะมองดูแล้วรู้สึกไม่เหมือนเดิม ขนาดเต้านมของคุณแม่หลาย ๆ คนจะไม่กลับมาอยู่ในขนาดเดิมอีก เต้านมอาจจะใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงกว่าตอนก่อนจะตั้งครรภ์

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ พบว่าเป็นเรื่องที่ยากจะทำใจยอมรับได้กับขนาด สี รอยแตกลาย และทรวดทรงที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่คุณแม่ทุกคนที่จะพบกับลักษณะดังกล่าว ยังมีคุณแม่อีกหลายคนที่ขนาด สี และรูปทรงของหน้าอกและเต้านมกลับไปเป็นเหมือนเมื่อก่อนตั้งครรภ์ โดยอาจใช้ระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละคน

ลักษณะหัวนมคนท้อง จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่


จริง ๆ ตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิและฝังตัวในโพรงมดลูกสำเร็จ กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายของคุณแม่ก็เริ่มที่จะทำหน้าที่ต่อการตั้งครรภ์ทันที เช่น ระดับฮอร์โมนในร่างกายเริ่มสูงขึ้น เลือดไหลเวียนมากขึ้น ทำให้เต้านม และหัวนมเองก็เริ่มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก เพื่อเตรียมทุกอย่างให้พร้อมสำหรับการคลอดและการให้นมบุตร

อาการคัดเต้าคนท้อง อีกหนึ่งสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ

อาการคัดเต้านม เจ็บเต้านม อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มอาการกลุ่มแรกที่คุณแม่หลาย ๆ คนรู้สึกได้เมื่อตั้งครรภ์เลยค่ะ เนื่องด้วยระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่พุ่งสูง ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ทำให้เต้านมมีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่เนื้อเยื่อเต้านมมากขึ้น ส่งผลให้หน้าอกบวมขึ้น ใหญ่ขึ้น ทั้งยังมีอาการคัดตึงเต้านม เจ็บเต้านม และเต้านมไวต่อการสัมผัสขึ้นด้วย

ดูแลเต้านมอย่างไรดีในระหว่างตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด


เมื่อเริ่มสัมผัสว่าเต้านมของคุณแม่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องไม่ละเลย และควรหมั่นดูแลเต้านมอย่างดีไปจนกระทั่งหลังคลอด ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

เลือกสวมเสื้อชั้นในที่เหมาะสม ไม่เล็กหรือแน่นจนเกินไป และควรเลือกเสื้อชั้นในที่ทำมาจากผ้าฝ้าย เพราะระบายอากาศได้ดี

  • ล้างทำความสะอาดหัวนมบ่อย ๆ โดยใช้แค่เพียงน้ำสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหมักหมมสิ่งสกปรกที่หัวนม
  • นวมเต้านมและบริเวณวงแหวนหรือฐานหัวนมทุกวัน โดยใช้น้ำมันมะพร้าว ครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ หรือวิตามินดี ป้องกันไม่ให้ผิวบริเวณเต้านมและหัวนมแห้ง
  • สำหรับคุณแม่ที่ใช้แผ่นซับน้ำนม ควรเปลี่ยนแผ่นซับบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการหมักหมมและอับชื้น

คนท้องควรใส่เสื้อในแบบไหน: แชร์เทคนิคการเลือกเสื้อในและชุดชั้นในคนท้อง


การเลือกชุดชั้นในนั้น ควรเลือกที่มีฟังก์ชันการใช้งานเหมาะสำหรับคนท้อง เพื่อเสริมสุขภาพของเต้านม และช่วยให้แม่ตั้งครรภ์สบายตัวมากขึ้น

โดยคุณแม่สามารถเลือกซื้อเสื้อในคนท้องได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • พยายามเลือกเสื้อในที่สามารถถอดออกและสวมใส่ได้ง่าย เสื้อชั้นในโดยทั่วไปมักจะมีการถอดและการใส่หลายขั้นตอน บางครั้งอาจะไม่ตอบโจทย์สำหรับคนท้องเท่าไหร่ ควรเลือกชุดชั้นในที่ถอดง่าย ไม่ต้องเอี้ยวตัวเพื่อถอด และไม่ต้องทุลักทุเลมากเวลาใส่ จะให้ดีควรเป็นเสื้อชั้นในที่สามารถสวมใส่และถอดออกได้ด้วยมือข้างเดียว
  • เลือกเสื้อชั้นในที่ใส่แล้วพอดี ไม่แน่นเกินไป และไม่หลวมจนเกินเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อชั้นในที่แน่นคับมาก ๆ เสี่ยงที่จะทำให้รู้สึกเจ็บเต้านม รวมถึงท่อนมหรือเต้านมอักเสบได้
  • เลือกเสื้อชั้นในที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย เพราะผ้าเหล่านี้สามารถระบายอากาศได้ดีกว่าผ้าใยสังเคราะห์ มากไปกว่านั้น ผ้าธรรมชาติยังดูดซับได้ดีกว่าในกรณีที่เกิดการรั่วซึมของน้ำนม ส่วนเสื้อชั้นในที่ผลิตจากใยสังเคราะห์จะดักจับความชื้นเอาไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • เลือกเสื้อชั้นใที่มีโครงแบบนิ่ม หรือเสื้อชั้นในที่ไม่มีโครง เพื่อลดแรงกดที่เต้านม เนื่องจากแรงกดของโครงลวดอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายเต้านม หรือเสี่ยงที่จะเกิดท่อน้ำนมอักเสบหรืออุดตันได้

หน้าอกคนท้องเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติ

แม้โดยทั่วไปแล้วการเปลี่ยนแปลงของหน้าอกจะเป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญของการตั้งครรภ์ และอาการเจ็บเต้านมก็แทบจะเป็นเรื่องปกติของคนท้อง

แต่...ถ้าหากมีอาการเจ็บเต้านมรุนแรง หรือปวดเต้านมจนไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติได้ พร้อมกับทั้งมีรอยแดง หรือมีอาการของการติดเชื้อ ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเสี่ยงที่จะเป็นเต้านมอักเสบได้

มากไปกว่านั้น หากสัมผัสได้ถึงก้อนเนื้อที่ผิดแปลกไป หรือมีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมและหัวนมผิดปกติ ก็ควรต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจมีแนวโน้มของความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้

ลักษณะเต้านมและหัวนมคนท้องจะกลับมาเป็นเหมือนก่อนตั้งครรภ์หรือไม่

กรณีเช่นนี้พบได้ว่ามีทั้งสองแบบเลยค่ะ ทั้งแบบที่ใช้เวลาไม่นานเต้านมและหัวนมก็ค่อย ๆ กลับมาเป็นเหมือนเดิม ขณะที่บางคนก็พบว่าเต้านมและหัวนมไม่กลับมาเป็นปกติอีกเลย โดยอาจมีหน้าอกใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง หรือมีรอยแตกลายมากกว่าเดิม

ซึ่งก็มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจมีผลต่อการคืนสภาพของเต้านม ไม่ว่าจะเป็น

  • อายุ
  • พันธุกรรม
  • น้ำหนักที่ขึ้นในขณะตั้งครรภ์
  • จำนวนการตั้งครรภ์ในรอบที่ผ่านมา
  • การสูบบุหรี่
  • ขึ้นอยู่กับขนาดหน้าอกเดิมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

ไขข้อข้องใจเรื่องหัวนมและลักษณะเต้านมของคุณแม่ตั้งครรภ์กับ Enfa Smart Club


ทำไมคนท้องหน้าอกใหญ่ขึ้น?

คนท้องหน้าอกใหญ่ขึ้นเพราะร่างกายมีฮอร์โมนสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการสูบฉีดและไหลเวียนของเลือดได้มากขึ้น ทำให้มีเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อเต้านม ส่งผลให้เต้านมมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นได้

หลังคลอดเต้านมจะใหญ่ขึ้นไหม ใหญ่ขึ้นแค่ไหน?

ขนาดเต้านมหลังคลอดจะใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงนั้น เป็นเรื่องที่เกิดจะคาดเดา เพราะผลลัพธ์ในคุณแม่แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ก็อาจจะมีเต้านมที่ใหญ่ขึ้น และในขณะเดียวกันก็ยังมีคุณแม่อีกหลายคนที่มีขนาดหน้าอกเล็กลง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • อายุ
  • พันธุกรรม
  • น้ำหนักที่ขึ้นในขณะตั้งครรภ์
  • จำนวนการตั้งครรภ์ในรอบที่ผ่านมา
  • การสูบบุหรี่
  • ขึ้นอยู่กับขนาดหน้าอกเดิมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

คนท้องหน้าอกขยายตอนกี่เดือน?

ถ้ายึดเอาช่วงเวลาที่สามารถสัมผัสถึงการขยายใหญ่ขึ้นของหน้าอกได้ หน้าอกคนท้องจะเริ่มขยายเมื่อมีอายุครรภ์เข้าช่วงไตรมาสที่ 2

อย่างไรก็ตาม มีคุณแม่หลายคนที่รู้สึกได้ว่าตัวเองมีหน้าอกขยายใหญ่ขึ้นตั้งแต่ในช่วงไตรมาสแรกแล้ว

ลานนมคนท้อง ขยายและสีคล้ำ คลอดแล้วจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ไหม?

ลักษณะเช่นนี้ก็มีอยู่สองกรณีเช่นกันค่ะ คือมีทั้งคุณแม่ที่ลานนมกลับมาเป็นปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ และคุณแม่หลายคนที่ลานนมไม่กลับมาเป็นปกติอีกเลย

คนท้องเจ็บหัวนม ผิดปกติไหม และรับมือยังไงดี?

อาการเจ็บหัวนม เสียวหัวนม เป็นกลุ่มอาการโดยทั่วไปของคนท้อง อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเจ็บรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวันได้ ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป

หัวนมคนเริ่มตั้งครรภ์ มีลักษณะแบบไหน?

หัวนมคนตั้งครรภ์ในระยะแรก ๆ หรือช่วงท้องอ่อน ๆ โดยมากอาจจะยังเห็นไม่ชัดเจนนักในอายุครรภ์เท่านี้ แต่ก็มีผู้หญิงหลายรายที่สามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของหัวนมได้ตั้งแต่เดือนแรก ๆ

โดยหัวนมคนท้องในไตรมาสแรกนั้น คนท้องจะรู้สึกได้ว่าหัวนมเริ่มใหญ่ขึ้น ไวต่อการสัมผัสมากขึ้น เสียวแปลบบ่อย ๆ และลานหัวนมก็เริ่มคล้ำขึ้น และขยายวงใหญ่มากขึ้น

คนท้องไม่ใส่เสื้อในได้ไหม?

ไม่มีกฎตายตัวว่าคนท้องควรใส่หรือไม่ใส่เสื้อชั้นใน คุณแม่อาจจะรู้สึกสบายตัวและสะดวกที่ไม่ต้องใส่เสื้อชั้นในให้รู้สึกอึดอัด

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่จะใส่เสื้อชั้นใน ก็ควรเลือกเสื้อชั้นในที่:

  • พยายามเลือกเสื้อในที่สามารถถอดออกและสวมใส่ได้ง่าย เสื้อชั้นในโดยทั่วไปมักจะมีการถอดและการใส่หลายขั้นตอน บางครั้งอาจะไม่ตอบโจทย์สำหรับคนท้องเท่าไหร่ ควรเลือกชุดชั้นในที่ถอดง่าย ไม่ต้องเอี้ยวตัวเพื่อถอด และไม่ต้องทุลักทุเลมากเวลาใส่ จะให้ดีควรเป็นเสื้อชั้นในที่สามารถสวมใส่และถอดออกได้ด้วยมือข้างเดียว
  • เลือกเสื้อชั้นในที่ใส่แล้วพอดี ไม่แน่นเกินไป และไม่หลวมจนเกินเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อชั้นในที่แน่นคับมาก ๆ เสี่ยงที่จะทำให้รู้สึกเจ็บเต้านม รวมถึงท่อนมหรือเต้านมอักเสบได้
  • เลือกเสื้อชั้นในที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย เพราะผ้าเหล่านี้สามารถระบายอากาศได้ดีกว่าผ้าใยสังเคราะห์ มากไปกว่านั้น ผ้าธรรมชาติยังดูดซับได้ดีกว่าในกรณีที่เกิดการรั่วซึมของน้ำนม ส่วนเสื้อชั้นในที่ผลิตจากใยสังเคราะห์จะดักจับความชื้นเอาไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • เลือกเสื้อชั้นใที่มีโครงแบบนิ่ม หรือเสื้อชั้นในที่ไม่มีโครง เพื่อลดแรงกดที่เต้านม เนื่องจากแรงกดของโครงลวดอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายเต้านม หรือเสี่ยงที่จะเกิดท่อน้ำนมอักเสบหรืออุดตันได้

ควรเริ่มเปลี่ยนเสื้อในตอนท้องกี่เดือน? 

ควรเริ่มเปลี่ยนเมื่อรู้สึกว่าเสื้อชั้นในที่ใส่อยู่มีอาการคับ หรือแน่นเต้านมมากเป็นเศษ โดยมากคุณแม่มักจะเริ่มเปลี่ยนเสื้อชั้นในกันในไตรมาสที่ 2 และ 3 เพราะเต้านมเริ่มขยายใหญ่ขึ้นสุด ๆ ในช่วงนี้ค่ะ

หลังคลอดใส่เสื้อในได้ไหม?

การสวมเสื้อชั้นในนั้นไม่ว่าจะก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด เอาเข้าจริงแล้วถือว่าเป็นเรื่องปัจเจก ใครใคร่สวมก็สวม ใครไม่อยากใส่ก็สามารถทำได้ เรื่องนี้ไม่มีกฎตายตัว และไม่ผิดกฎหมายด้วยค่ะ

แต่ถ้าจะสวมเสื้อชั้นใน ควรสวมเสื้อชั้นในที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เลือกที่ไม่หลวมและไม่แน่นเกินไป โดยเฉพาะเสื้อชั้นในที่แน่นหรือคับเกินไปนั้น ควรหลีกเลี่ยงให้ดี เพราะเสี่ยงที่จะทำให้ท่อน้ำนมอุดตันหรืออักเสบได้


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์             

บทความที่แนะนำ

cervix-dilation
อาการไข่ตก
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner