ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ท้อง 39 สัปดาห์ อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ท้อง 39 สัปดาห์ อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

Enfa สรุปให้

  • อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ ทารกจะมีความยาวประมาณ 20-22 นิ้ว หนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม มีขนาดพอ ๆ กับผลแตงโมขนาดใหญ่
  • อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ กระดูกกะโหลกของลูกพร้อมสำหรับการคลอด และสามารถเลื่อนเข้ามาเกยกันเพื่อให้ศีรษะลอดผ่านช่องเชิงกรานได้
  • อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ สารภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณแม่จะอาจซึมผ่านผนังกั้นรกและเข้าสู่ในกระแสเลือด ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคชั่วคราวให้ลูก และจะหมดไปภายใน 6 เดือนหลังคลอด

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ท้อง 39 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
     • พัฒนาการเด็กในครรภ์สัปดาห์ที่ 39
     • การเปลี่ยนแปลงร่างกายคุณแม่อายุครรภ์ 39 สัปดาห์
     • อาหารคนท้อง 39 สัปดาห์ ควรกินอะไรบ้าง
     • ท้อง 39 สัปดาห์ กับอาการใกล้คลอดที่ควรรู้
     • ท้อง 39 สัปดาห์ ไม่คลอดสักที ปกติไหม
     • ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์
     • ไขข้อข้องใจเมื่อตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club

หากสัปดาห์ที่ผ่านมายังไม่มีการคลอดเกิดขึ้น ท้อง 39 สัปดาห์ คุณแม่อาจจะมีอาการใกล้คลอดเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ ซึ่งคุณแม่ควรจะต้องสังเกตอาการและสัญญาณต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ดี เพราะเจ้าตัวเล็กอาจจะคลอดออกมาเมื่อไหร่ก็ได้

แล้วถ้าจู่ ๆ คุณแม่ท้อง 39 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อยแต่ไม่ปวดท้อง แบบนี้ผิดปกติไหม หรือนี่คือสัญญาณใกล้คลอดหรือเปล่านะ

ท้อง 39 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในสัปดาห์นี้


ในสัปดาห์นี้ คุณแม่อาจจะมีการคลอดเกิดขึ้น หรือไม่มีการคลอดเกิดขึ้นก็ได้ เพราะกำหนดคลอดจะอยู่ระหว่างสัปดาห์ที่ 37-40 สัปดาห์ ซึ่งไม่สามารถรู้ได้ว่าในระยะนี้ ทารกจะคลอดออกมาเมื่อไหร่ค่ะ

ท้อง 39 สัปดาห์ ใกล้คลอดแล้วหรือยัง

โดยทั่วไปแล้ว กำหนดคลอดจะอยู่ที่ระหว่างอายุครรภ์ที่ 37-40 สัปดาห์ค่ะ คุณแม่จึงอาจจะมีการคลอดเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ค่ะ แต่ถ้าหากตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์ ยังไม่คลอด ก็ยังไม่ถือว่าผิดปกติเสียทีเดียวค่ะ เพราะมีทารกหลายคนไม่คลอดตอนอายุครรภ์ 39 สัปดาห์ แต่ไปคลอดเอาตอนอายุครรภ์ 40 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม หากพ้นสัปดาห์ที่ 40 ไปแล้วยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้น จะถือว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนด และแพทย์จำเป็นจะต้องทำการเร่งคลอด หรือวินิจฉัยให้ผ่าคลอด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายทั้งต่อแม่และทารกในครรภ์ค่ะ

พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 39 สัปดาห์ เป็นอย่างไร


พัฒนาการของทารกในระยะนี้จะเริ่มลดลง ไม่รวดเร็วเหมือนในช่วงที่ผ่านมา นั่นเป็นเพราะว่าเมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไป รกจะทำหน้าที่ได้ลดลง ทำให้การเจริญเติบโตของทารกเริ่มคงที่ และไม่ได้มีพัฒนาการที่เพิ่มมากขึ้นเหมือนก่อนหน้านี้ แต่ระบบต่าง ๆ ก็พัฒนาจนเริ่มสมบูรณ์พร้อมที่จะทำงานหลังคลอดแล้ว

ขนาดทารกในครรภ์ 39 สัปดาห์ จะมีขนาดเท่าไหน

ทารกอายุครรภ์ 39 สัปดาห์ จะมีความยาวประมาณ 20-22 นิ้ว มีขนาดพอ ๆ กับผลแตงโมขนาดใหญ่ค่ะ

อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ น้ำหนักทารก มีน้ำหนักเท่าไหร่

อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ น้ำหนักทารกจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 กิโลกรัมค่ะ

อวัยวะและระบบอื่น ๆ

การพัฒนาของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของทารกในช่วงอายุครรภ์ 39 สัปดาห์ มีดังนี้

           • กระดูกกะโหลกของลูกพร้อมสำหรับการคลอด และสามารถเลื่อนเข้ามาเกยกันเพื่อให้ศีรษะลอดผ่านช่องเชิงกรานได้

           • สารภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณแม่จะอาจซึมผ่านผนังกั้นรกและเข้าสู่ในกระแสเลือด ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคชั่วคราวให้ลูก และจะหมดไปภายใน 6 เดือนหลังคลอด ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันของทารกเองเจริญเต็มที่แล้วว

           • สมองของทารกเป็นอวัยวะที่บอบบางและเสียหายได้ง่ายจากการขาดออกซิเจน ดังนั้น ในระหว่างการคลอดแพทย์อาจมีเครื่องตรวจติดตามการเต้นของหัวใจทารกตลอดเวลา ถ้าหากมีภาวะเสี่ยงเช่น หัวใจเต้นช้า สายสะดือพันคอ ก็ควรพิจารณาหาทางคลอดทางอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด การขาดออกซิเจนในระหว่างการคลอด

เข้าใจการเปลี่ยนแปลงร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์


แม่ท้อง 39 สัปดาห์หลายคนอาจต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายหลายอย่างในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

           • อาการเจ็บครรภ์เตือนเกิดขึ้น ความรู้สึกจะใกล้เคียงกับการเจ็บครรภ์คลอดจริง คุณแม่อาจรู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัวเป็นช่วงๆ แล้วก็หายไป หากรู้สึกถึงการหดรัดตัวอย่างต่อเนื่อง เริ่มมีมูกปนเลือดไหลออกมา น้ำคร่ำแตก ปากมดลูกเริ่มขยาย นั่นคือสัญญาณว่าคุณแม่กำลังจะคลอดแล้ว

           • คุณแม่สามารถจับเวลาของการหดรัดตัวของมดลูกตั้งแต่ตอนเริ่ม ควรแจ้งให้คุณหมอทราบหากรู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้น มีการบีบรัดที่แน่นและนานขึ้น

อาหารคนท้อง 39 สัปดาห์ มีอะไรบ้างที่คุณแม่ควรกิน


สำหรับแม่ท้อง 39 สัปดาห์ ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่าง ๆ ด้วย มากไปกว่านั้น ยังจำเป็นจะต้องเน้นกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ได้แก่

          • ดีเอชเอ ช่วยพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ อาหารที่มีดีเอชเอสูง เช่น ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น

          • ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กพบได้มากในอาหารจำพวก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น

          • โฟเลต ช่วยในการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับระบบประสาทของทารกในครรภ์ โฟเลตพบได้มากในอาหารจำพวก ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

          • แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของแม่และทารกให้แข็งแรง แคลเซียมพบได้มากในอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น

          • ไอโอดีน ช่วยให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายปกติ ลดความเสี่ยงของโรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์ ไอโอดีนพบในอาหารทะเลทุกชนิด เกลือไอโอดีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา เป็นต้น

          • โคลีน ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น

          • โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา รวมถึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดด้วย โอเมก้า 3 พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอริ่ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วพีแคน ถั่วเฮเซลนัท เป็นต้น

นอกจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายแล้ว คุณแม่ยังสามารถเสริมสุขภาพด้วยการดื่มนมค่ะ โดยสามารถเลือกนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นจำหรับคนท้อง เช่น มีแคลเซียมสูง อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โฟลิก โคลีน เป็นต้น

ซึ่งการดื่มนมก็จะช่วยให้คุณแม่ยังได้รับสารอาหารจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม แม้ว่าในวันนั้นอาจจะกินอาหารได้น้อยลง

Enfamama TAP No. 1

ท้อง 39 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อยแต่ไม่ปวดท้อง ใกล้คลอดหรือเปล่านะ และอาการใกล้คลอดอื่น ๆ ที่คุณแม่ควรรู้!


หากมีอาการท้องแข็งบ่อย แต่ไม่ได้ปวดท้อง หรืออาจจะปวดท้องแต่ไม่ได้ปวดมาก หรือแค่เพียงรู้สึกไม่สบายท้องเท่านั้น นี่เป็นอาการเจ็บครรภ์หลอกค่ะ ไม่ใช่อาการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด

แต่ถ้าหากมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณใกล้คลอด มีอาการปวดท้องรุนแรง โดยอาจจุปวดท้องทุก ๆ 10-20 นาที แล้วเริ่มปวดถี่ขึ้นเป็นทุก ๆ 5-10 นาที และอาการปวดไม่ทุเลาลงเลย มีแต่ปวดแรงขึ้น ๆ

          • มีของเหลว หรือมูกใส ๆ หรือมูกปนเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด

          • น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน คือมีของเหลวใส ๆ ไหลออกทางช่องคลอดเป็นจำนวนมาก

          • ปากมดลูกเริ่มขยาย โดยอาจจะเปิดกว้างขึ้นชั่วโมงละ 1-2 เซนติเมตร

หากมีอาการดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นสัญญาณใกล้คลอด และอาจจะมีการคลอดเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า

ท้อง 39 สัปดาห์ ไม่คลอดสักที ปกติไหม สรุปว่าถึงเวลาแล้วหรือยัง?


ท้อง 39 สัปดาห์ ปากมดลูกยังไม่เปิด ก็ยังไม่ถือว่าผิดปกติเสียทีเดียวค่ะ ต้องดูก่อนว่าภายในสัปดาห์นี้จะมีการคลอดเกิดขึ้นไหม หรือขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าจะรอจนถึงสัปดาห์ที่ 40 ไหม หรือจะทำการเร่งคลอดในสัปดาห์นี้เลย

เพราะโดยทั่วไปแล้ว กำหนดคลอดจะอยู่ระหว่างสัปดาห์ที่ 37-40 ค่ะ โดยคุณแม่อาจจะมีการคลอดเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ถ้าหากพ้นจากสัปดาห์ที่ 40 ไปแล้วแต่ยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้น จึงจะถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนดค่ะ

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 39 สัปดาห์


คุณแม่อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ ควรใส่ใจดูแลตนเองเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และสารเสพติด

รวมถึงควรเริ่มลดกิจกรรมและการงานต่าง ๆ ที่ต้องออกแรงด้วยค่ะ การก้ม ๆ เงย ๆ บ่อย ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ ทำให้ปวดหลัง หรือปวดเมื่อยมากขึ้น ทั้งยังเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้ม ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อครรภ์และทารกในครรภ์ได้

และคุณแม่ควรจะไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามการตั้งครรภ์ว่าทารกในครรภ์ยังปกติไหม มีพัฒนาการตามวัยหรือเปล่า หรือมีภาวะความเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์หรือไม่

ไปโรงพยาบาลช่วงไหน ต้องรอให้เจ็บท้องนานขนาดไปถึงไปคลอด

จริง ๆ แล้วคุณแม่ไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการเจ็บคลอดแล้วถึงไปโรงพยาบาลก็ได้ค่ะ ถ้าหากถึงกำหนดคลอดแล้ว จะมีอาการใกล้คลอดหรือยังไม่มี คุณแม่ควรไปโรงพยาบาลค่ะ

เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยดูก่อนว่าจะมีการคลอดเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้หรือเปล่า ทารกกลับหัวหรือยัง หรือจำเป็นจะต้องมีการเร่งคลอดไหม เพราะในระหว่างสัปดาห์ที่ 37-40 ทารกอาจจะคลอดมาตอนไหนก็ได้ค่ะ

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณแม่มีอาการใกล้คลอด น้ำเริ่มเดิน มีมูกเลือดไหลออกมา มีอาการปวดท้องรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ต้องคิดอะไรเลยค่ะ รวบรวมสติแล้วตะโกนให้คนใกล้ตัวหรือโทรเรียกเบอร์ฉุกเฉินเพื่อไปพบแพทย์ทันที เพราะกำลังจะมีการคลอดเกิดขึ้นแล้วค่ะ

เตรียมความพร้อมไปคลอดอย่างไร ทั้งคุณแม่คลอดธรรมชาติและผ่าคลอด

การเตรียมพร้อมก่อนคลอด ควรเริ่มทำเมื่อตั้งครรภ์เข้าไตรมาสที่สาม เพื่อให้คุณแม่มีความคุ้นชิน และพร้อมรับมือเมื่อใกล้คลอดเข้ามาเรื่อย ๆ โดยไม่ว่าจะมีการคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดเกิดขึ้น คุณแม่ก็ควรเตรียมตัวเอาไว้ล่วงหน้า ดังนี้

          • ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการคลอด และสามารถฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้นด้วย

          • ฝึกการหายใจ เพราะจะช่วยระงับความเจ็บปวดเมื่อมีอาการเจ็บท้องคลอดเกิดขึ้น

          • เงิน เพราะการคลอดต้องมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกเป็นพรวน ควรสำรองเงินไว้ให้พร้อมสำหรับการคลอด

          • เบอร์ฉุกเฉิน บันทึกลงในโทรศัพท์ หรือจะจดและพกติดตัวไว้ก็ได้ เมื่อมีอาการฉุกเฉิน หรือมีอาการใกล้คลอดเกิดขึ้น ให้รวบรวมสติและติดต่อคนที่จำเป็นต้องทราบเรื่องนี้ทันที อาจจะเป็นสามี คนในครอบครัว หรือติดต่อโรงพยาบาล หรือองค์กรกู้ชีพต่าง ๆ

          • ของเตรียมคลอด เตรียมทั้งของใช้คุณแม่และของใช้เด็กอ่อน ควรเตีรยมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จัดใส่กระเป๋าหรือตะกร้าให้เรียบร้อย เมื่อถึงเวลาคลอดจะได้หยิบไปโรงพยาบาลได้ทันที

          • คาร์ซีทควรจะติดตั้งไว้ตั้งแต่ก่อนถึงกำหนดคลอด เพื่อที่หลังคลอดเสร็จ ทารกจะได้นั่งคาร์ซีทกลับบ้านอย่างปลอดภัย

          • เอกสารต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการเบิกจ่าย เอกสารจำเป็นสำหรับการแจ้งเกิดและย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ควรเตรียมไว้ให้พร้อม เพื่อจะได้หยิบออกมาใช้ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาไปควานหากันให้วุ่นวาย

          • เตรียมสติ เตรียมใจ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่ท้องครั้งแรก และกำลังจะคลอดครั้งแรก เป็นธรรมดาที่จะตื่นตระหนก แต่คุณแม่จำเป็นจะต้องมีสติให้มาก โดยเฉพาะถ้าหากมีอาการเจ็บคลอดนอกบ้าน หรือในสถานการณ์ที่ต้องอยู่คนเดียว จำเป็นจะต้องรวบรวมสติและปฏิบัติตามแพลนที่วางเอาไว้ ต้องติดต่อใคร ของเตรียมคลอดอยู่ตรงไหน เพื่อที่คุณแม่จะได้รับมือกับภาวะฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัยค่ะ

มีอะไรที่คุณแม่และคุณพ่อต้องเตรียมเมื่อลูกน้อยคลอด

คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มเตรียมของใช้หลังคลอดไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือเริ่มเตรียมตั้งแต่อายุครรภ์เข้าไตรมาสสาม หรือตั้งครรภ์ได้ 7-8 เดือน เพื่อจะได้สามารถหยิบติดตัวไปโรงพยาบาลได้ทันทีที่มีการคลอดเกิดขึ้น โดยของเตรียมคลอดสำหรับลูกน้อยและของสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ควรเตรียมไว้ มีดังนี้

ของใช้เตรียมคลอดสำหรับลูกน้อย:

          • คาร์ซีท หรือเบาะนิรภัยสำหรับเด็ก ควรมีติดรถไว้เมื่อใกล้กำหนดคลอด

          • เสื้อผ้าสำหรับเด็กทารก เตรียมเผื่อหรือให้เพียงพอ

          • ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กทารก

          • ผ้าอ้อม ผ้าสะอาดสำหรับการเช็ดทำความสะอาด

          • ของใช้ทำความสะอาดร่างกายสำหรับเด็ก ได้แก่ ยาสระผมสำหรับเด็กแรกเกิด สบู่สำหรับเด็กแรกเกิด

          • สมุดบันทึกพัฒนาการของเด็ก

          • ผ้าห่อตัวเด็ก ควรเลือกเป็นผ้านุ่ม ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวเด็ก

          • ชุดสำหรับใส่กลับบ้าน

ของใช้เตรียมคลอดสำหรับคุณแม่:

          • เอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวผู้ป่วย ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน หรือเอกสารเกี่ยวกับประกันสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับใช้ในการแจ้งเกิด เอกสารหรือสมุดฝากครรภ์ ใบนัดแพทย์ บันทึกการตั้งครรภ์ ใบขับขี่ เอกสารเกี่ยวกับประกันสุขภาพหรือประกันสังคม

          • ชื่อสำหรับการแจ้งเกิดเด็ก

          • เสื้อผ้าตัวหลวม เพื่อให้รู้สึกสบายตัว และไม่รัดและเสียดสีบาดแผลจากการคลอด

          • เสื้อผ้าอย่างน้อยประมาณ 2-3 ชุด หรือเตรียมให้เพียงพอต่อการเปลี่ยน

          • ชุดชั้นในอย่างน้อยประมาณ 2-3 ชุด หรือเตรียมให้เพียงพอต่อการเปลี่ยน

          • บราสำหรับให้นม เพื่อช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้อย่างสะดวกมากขึ้น

          • แผ่นซับน้ำนม เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมส่วนเกินไหลออกมาเปื้อนเสื้อผ้า

          • ผ้าอนามัยหลังคลอด เพื่อซับเปลี่ยนน้ำคาวปลาหลังคลอด

          • ของใช้ทำความสะอาดร่างกาย ได้แก่ ครีมอาบน้ำหรือสบู่ ยาสระผม ครีมนวดผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก

          • ของใช้ส่วนตัว ได้แก่ ครีมทาผิว ครีมทาหน้า โรลออนระงับกลิ่นกาย ลิปบาล์ม เครื่องสำอาง หวีผม ยางรัดผม

          • ของใช้อื่น ๆ ตามแต่ไลฟ์สไตล์ เช่น หูฟัง หนังสือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา ไอแพด โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ กล้อง

          • ขนมหรืออาหารที่สามารถกินได้หลังคลอด และมีประโยชน์ในการสร้างน้ำนม

          • เงินสด หรือบัตรเครดิต

          • ยารักษาโรค หรือยาที่แพทย์แนะนำ

          • รองเท้าแตะสำหรับใส่ในบ้าน

          • ชุดสำหรับใส่กลับบ้าน

          • ขวดสำหรับใส่น้ำดื่ม หรือน้ำดื่ม

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือเอกสารต่าง ๆ ที่จะต้องใช้สำหรับการแจ้งเกิดและการย้ายเข้าทะเบียนบ้านค่ะ จำเป็นจะต้องเตรียมให้พร้อม เพื่อที่ถึงเวลาใช้งานจะได้มีเอกสารพร้อมสำหรับดำเนินการที่อำเภอหรือเขตได้ทันที

เอกสารสำหรับการแจ้งเกิด และย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ได้แก่

          • บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งและของบิดามารดา

          • สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)

          • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ต้องการจะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด

          • หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (ถ้ามี)

โดยการแจ้งเกิด จะต้องทำภายใน 15 วันหลังคลอด หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และจำเป็นจะต้องใช้รูปถ่ายเด็กขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป หรืออาจจะต้องมีพยานการเกิดมายืนยันในการแจ้งเกิดด้วย

ดังนั้น เพื่อลดความวุ่นวายทางเอกสารและขั้นตอนต่าง ๆ ลง ควรเตรียมเอกสารให้พร้อมและจัดการแจ้งเกิดให้เสร็จเรียบร้อยไปเลยจะดีที่สุดค่ะ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด

หากคุณแม่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี มีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ ไม่ได้มีปัญหาสุขภาพ หรือมีปัญหาน้ำนมน้อย คุณแม่ควรจะให้ลูกได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียวติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน และสามารถให้นมแม่ต่อเนื่องได้นานถึง 2 ปี

ทารกช่วง 6 เดือนแรก ไม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารอื่น ๆ รวมถึงน้ำเปล่าก็ยังไม่เหมาะสำหรับทารกแรกเกิดด้วย แค่นมแม่ก็มีทั้งน้ำ สารอาหารและสารภูมิคุ้มกันที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารกแล้วค่ะ จนกระทั่งทารกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป จึงเริ่มให้อาหารตามวัยควบคู่ไปกับการให้นมแม่ หรือนมสูตรสำหรับทารก

มากไปกว่านั้น แนะนำให้คุณแม่ควรเริ่มให้นมลูกทันทีหลังคลอด เพราะเป็นช่วงที่น้ำนมของแม่ยังเป็นน้ำนมเหลืองอยู่ ซึ่งน้ำนมเหลือง หรือ Colostrum เป็นน้ำนมแรกของแม่ที่จะไหลออกมาก่อนน้ำนมส่วนอื่น ๆ

โดยน้ำนมเหลืองนี้จัดว่าเป็นนมแม่ส่วนที่ดีที่สุด ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์หลายร้อยชนิด เช่น MFGM, DHA, แลคโตเฟอร์ริน เป็นต้น โดยสารอาหารในระยะน้ำนมเหลืองนั้น มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการครบรอบด้านทั้งสมอง ภูมิคุ้มกัน และระบบทางเดินอาหารของทารก

มากไปกว่านั้น น้ำนมเหลือง ยังถือได้ว่าว่าเป็นวัคซีนเข็มแรกของลูก เนื่องจากมีสารภูมิคุ้มกันซึ่งจะมีส่วนช่วยป้องกันการติดเชื้อและเสริมภูมิคุ้มกันของทารกให้แข็งแรง

โดยน้ำนมเหลืองจะไหลออกมาแค่เพียง 1-3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญเลยค่ะว่า ทำไมคุณแม่ควรรีบให้นมลูกทันทีหลังคลอด เพราะถ้าหากพ้นไปจาก 1-3 วันหลังคลอดแล้ว ทารกก็จะพลาดโอกาสที่จะได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ดีที่สุดช่วงนี้ไปค่ะ

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แม่ทุกคนที่สามารถให้นมแม่ได้ ถ้าหากคุณแม่มีปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพ การบาดเจ็บ หรือมีผลมาจากความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คุณแม่ไม่ต้องรู้สึกผิดว่าทำไมฉันน้ำนมน้อย ทำไมฉันไม่มีน้ำนม ฉันเป็นแม่ที่ไม่ดี ฉันมันไม่เอาไหน

เพราะนี่คือเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ และมีหนทางแก้ค่ะ หากคุณแม่มีปัญหาน้ำนมไม่ไหล น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ ให้คุณแม่ไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและรับการดูแลรักษาที่เหมาะสมค่ะ

ไขข้อข้องใจเมื่อท้อง 39 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club


ท้อง 39 สัปดาห์ ปากมดลูกยังไม่เปิด ต้องรอนานขนาดไหนกว่าจะคลอดได้?

เรื่องของการคลอดนี้ บางครั้งอาจจะต้องใช้คำว่าสุดแต่บุญและกรรมที่ทำมา เพราะบางคนคลอดง่ายก็ง่ายแสนง่าย ขณะที่บางคนคลอดยากก็ยากแสนยาก

ซึ่งกรณีที่อายุครรภ์ 39 สัปดาห์แล้วปากมดลูกยังไม่เปิด อาจจะต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าควรรอจนถึงสัปดาห์ที่ 40 ไหม หรือจะเริ่มทำการเร่งคลอดเลย ถ้าแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าให้รอไปก่อน คุณแม่ก็ต้องรอค่ะ

แต่ถ้าหากแพทย์วินิจฉัยให้ทำการเร่งคลอด ก็จะใช้เวลาทั้งหมด 4 ชั่วโมงในการประเมินผล โดยใน 2 ชั่วโมงแรก จะดูว่าหลังจากให้ยาเร่งคลอดไปแล้ว ปากมดลูกเปิดกี่เซนติเมตร และอีก 2 ชั่วโมงหลัง ปากมดลูกเปิดเพิ่มหรือไม่ ถ้าหากภายใน 4 ชั่วโมงนี้ ปากมดลูกเปิดเพิ่มเรื่อย ๆ ก็สามารถทำคลอดกันได้เลย

ในกรณีพ้นไป 4 ชั่วโมงแล้วปากมดลูกยังไม่เปิดเพิ่ม ก็ถือว่าการเร่งคลอดไม่สำเร็จค่ะ จำเป็นจะต้องรอไปก่อนจนกระทั่งอายุครรภ์ 40 สัปดาห์ ซึ่งเป็นสัปดาห์สุดท้ายของการคลอด ถ้าหากเกินกว่านี้แล้วยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้น จะถือว่าเป็นการคลอดเกินกำหนด แพทย์อาจจะพิจารณาให้เร่งคลอดอีกครั้ง หรืออาจวินิจฉัยให้ทำการผ่าคลอดค่ะ

ท้อง 39 สัปดาห์ ปวดหน่วง ๆ มาพักใหญ่ หมายความว่าใกล้คลอดหรือเปล่า?

อาการปวดหน่วงมีโอกาสเป็นอาการเจ็บท้องจริงใกล้คลอดได้ค่ะ แต่...ต้องเป็นอาการปวดหน่วงที่มาพร้อมกับอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้นะคะ ถึงจะเป็นสัญญาณใกล้คลอด

          • มีอาการปวดท้องรุนแรง โดยอาจจุปวดท้องทุก ๆ 10-20 นาที แล้วเริ่มปวดถี่ขึ้นเป็นทุก ๆ 5-10 นาที และอาการปวดไม่ทุเลาลงเลย มีแต่ปวดแรงขึ้น ๆ

          • มีของเหลว หรือมูกใส ๆ หรือมูกปนเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด

          • น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน คือมีของเหลวใส ๆ ไหลออกทางช่องคลอดเป็นจำนวนมาก

          • ปากมดลูกเริ่มขยาย โดยอาจจะเปิดกว้างขึ้นชั่วโมงละ 1-2 เซนติเมตร

แต่ถ้าไม่ได้มีอาการใด ๆ ร่วมด้วย ก็อาจเป็นเพียงอาการปวดที่เกิดจากการขยายตัวของมดลูก หรือเกิดจากแรงกดทับที่อุ้งเชิงกรานค่ะ

ท้อง 39 สัปดาห์ มีมูกเลือด อันตรายไหม?

มูกเลือด อาจเป็นสัญญาณอันตรายก็ได้ค่ะ หากแพทย์ตรวจพบว่าเป็นการติดเชื้อในช่องคลอด อย่างไรก็ตาม โดยมากแล้วมูกเลือดที่ไหลออกมาในช่วงนี้ จะเป็นสัญญาณใกล้คลอดค่ะ หากคุณแม่มีมูกเลือดไหลออกทางช่องคลอด ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อดูว่าเป็นสัญญาณใกล้คลอดจริง หรือเกิดจากการติดเชื้อที่ช่องคลอด

ท้อง 39 สัปดาห์ ปวดจิมิ เป็นเรื่องปกติไหม?

ท้อง 39 สัปดาห์ ปวดจิมิมาก หรือเจ็บที่อวัยวะเพศ อาจมีสาเหตุมาจากเอ็นกระดูกเชิงกรานยืดออกเพื่อรองรับน้ำหนักของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้น เมื่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อในช่องคลอดยืดออก

มากไปกว่านั้น ในสัปดาห์นี้ทารกอาจอยู่ในท่ากลับหัวแล้ว ยิ่งทำให้มีแรงกดลงมาที่อุ้งเชิงกรานมากขึ้น และอาการปวดอาจลามจากท้องน้อยมาจนถึงอวัยวะเพศ จึงทำให้รู้สึกเจ็บที่อวัยวะเพศได้

ซึ่งอาการปวดมิจินี้ถือว่าพบได้โดยทั่วไปสำหรับคนท้องไตรมาสสองและไตรมาสสามค่ะ แต่ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นเลย หรือปวดมากขึ้นกว่าเดิม แนะนำให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

ท้อง 39 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อย ใกล้คลอดหรือยัง?

ท้องแข็งไตรมาสสามบ่อย ๆ ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าจะใกล้คลอดค่ะ เพราะอาการท้องแข็งในไตรมาสุดท้ายนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากว่ามีอาการท้องแข็งบ่อย ท้องแข็งหลายครั้งต่อวัน และมีอาการปวดท้องรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ พยายามเปลี่ยนอริยาบถ หรือกินยาบรรเทาอาการปวดก็ไม่ดีขึ้น และปากมดลูกเริ่มเปิด กรณีนี้อาจเป็นสสัญญาณว่าใกล้คลอดค่ะ

ท้อง 39 สัปดาห์ ไม่คลอดสักที ควรทำยังไง?

ขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ค่ะว่าจะพิจารณาให้เร่งคลอดเลย หรือจะให้รอจนสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 40 แล้วถึงจะพิจารณาให้เร่งคลอดหรือผ่าคลอด ซึ่งโดยมากแล้วถ้าหากน้ำหนักตัวทารกยังปกติ ไม่ใหญ่จนเกินไป แพทย์มักจะให้รอจนถึงสัปดาห์ที่ 40 ซึ่งเป็นกำหนดคลอดสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เกินกว่านี้จะถือว่าคลอดเกินกำหนด จำเป็นจะต้องเร่งคลอดหรือมีการผ่าคลอดค่ะ



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

c-section-wound-care
natural-birth
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner