ในปัจจุบันการผ่าคลอดได้เข้ามาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคุณแม่ โดยปกติแล้ว แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ซึ่งดีต่อสุขภาพของคุณแม่ และลูกน้อยในระยะยาว แต่เมื่อคุณแม่ได้รับการประเมิน หรือเลือกที่จะผ่าคลอด ก็ควรพิจารณาถึงข้อดี และข้อเสียของการผ่าคลอด รวมทั้งศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการเริ่มต้นที่ดีตั้งแต่แรก
รู้จักการผ่าคลอด ข้อดี ข้อเสีย และความเสี่ยง
การคลอดธรรมชาติ และผ่าคลอด ต่างกันอย่างไร
การคลอดธรรมชาติ คือ การคลอดทารกผ่านทางช่องคลอด โดยไม่ใช้วิธีผ่าตัด ซึ่งอาจจะมีการใช้ยาช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด หรือการใช้เครื่องมือแพทย์ในการช่วยเหลือคุณแม่ระหว่างการคลอดร่วมด้วย
การผ่าคลอด คือ กระบวนการคลอดทารก ด้วยการเปิดหน้าท้อง และมดลูก เพื่อนำเอาทารกออกมา มีการเย็บปิดแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง รวมทั้งการทำความสะอาด และซ่อมแซมมดลูก
โดยปกติแล้ว แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้คุณแม่คลอดแบบธรรมชาติ เพราะส่งผลดีต่อสุขภาพคุณแม่ และลูกน้อยในระยะยาว ไม่มีความเสี่ยง หรือภาวะแทรกซ้อนสูง แต่ก็มีกรณีที่แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอด เช่น
• แม่หมดสติขณะคลอด
• เกิดอุบัติเหตุรุนแรง
• มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
• ทารกไม่กลับหัว
• ทารกขาดออกซิเจน
• มีภาวะรกเกาะต่ำ
• ตั้งครรภ์แฝด
• ภาวะแทรกซ้อนต่อการตั้งครรภ์อื่น ๆ
การผ่าคลอดมีกี่แบบ
การผ่าคลอด สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การผ่าคลอดตามกำหนด: เพราะการผ่าคลอด สามารถที่จะกำหนดวันและเวลาที่จะทำการผ่าคลอดได้เลย โดยไม่ต้องรอให้แม่มีอาการเจ็บครรภ์ใกล้คลอดแต่อย่างใด
2. การผ่าคลอดฉุกเฉิน: การผ่าคลอดฉุกเฉิน จะถูกวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว และต้องลงมือทันทีเพื่อรักษาชีวิตของแม่และเด็ก โดยการผ่าคลอดฉุกเฉินมักทำในกรณีที่แม่ประสบอุบัติเหตุรุนแรงและกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เกิดขึ้นและเร่งให้มีการคลอดก่อนกำหนด
การผ่าคลอดมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
การผ่าคลอดมีขั้นตอนตามกระบวนการ โดยสามารถแบ่งขั้นตอนได้ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ก่อนผ่าคลอด
• แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะก่อนทำการผ่าคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
• ทำความสะอาดภายในของช่องคลอด
• ใส่สายสวนคาไว้ในกระเพาะปัสสาวะ
• ให้ออกซิเจน ซึ่งจะมีการให้ออกซิเจนตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังผ่าคลอด
• ทำการบล็อกหลังเมื่อใกล้ถึงเวลาคลอด
การผ่าคลอด
• แพทย์จะเริ่มลงมีดผ่าตัดบริเวณผิวหนัง โดยจะมีการลงมีดอยู่ 2 แนว คือ แนวตั้ง และแนวขวาง
• ตัดเปิดผนังหน้าท้องทีละชั้น จนถึงมดลูก
• ลงมีดเพื่อขยายแผลที่ผนังมดลูก
• เมื่อเปิดมดลูกได้ขนาดที่พอเหมาะแล้ว แพทย์จะทำการนำทารกออกมา
• เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ก็จะทำการตัดสายสะดือ ทำคลอดรก และทำความสะอาดมดลูก
• หลังทำความสะอาดมดลูกแล้วก็จะเย็บซ่อมแซมมดลูก
• เสร็จจากมดลูก ก็จะล้างทำความสะอาดช่องท้อง และเย็บปิดแผลที่ช่องท้อง
ข้อดี - ข้อเสียของการผ่าคลอด
ข้อดีของการผ่าคลอด
• สามารถทำการผ่าคลอดได้เลยโดยไม่ต้องรอให้มีอาการเจ็บครรภ์คลอด
• สามารถกำหนดวันและเวลาที่จะทำการผ่าคลอดได้เลย
• ไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของสายสะดือถูกกดทับขณะทำคลอด
ข้อเสียของการผ่าคลอด
• แผลผ่าคลอดอาจเกิดการติดเชื้อ
• มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด และการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
• การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ
• มดลูกเสี่ยงต่อการฉีกขาด
• เด็กที่เกิดจากการผ่าคลอด จะได้รับจุลินทรีย์ธรรมชาติที่อยู่บริเวณช่องคลอดของแม่น้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ
• ทารกเสี่ยงที่จะมีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจเร็วผิดปกติ
ใกล้ถึงวันผ่าคลอดแล้ว คุณแม่จะเตรียมพร้อมอย่างไรดี
ผ่าคลอดเจ็บไหม?
การผ่าคลอดส่วนมากมักจะมีทางเลือกอยู่ 2 ทางคือ ดมยาสลบเพื่อผ่าคลอด หรือทำการบล็อกหลังตอนผ่าคลอด แม้จะมีวิธีการที่ต่างกัน แต่ก็มีเป้าหมายในการระงับความเจ็บปวดขณะคลอดเหมือนกัน
โดยแม่ที่ดมยาสลบ จะไม่รู้สึกเจ็บ และไม่รู้สึกตัว ในระหว่างที่มีการทำคลอด ส่วนแม่ที่ทำการบล็อกหลังก็จะไม่รู้สึกเจ็บเช่นกัน แต่ยังรู้สึกตัว สามารถรับรู้และมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวได้
แต่หลังจากหมดฤทธิ์ยาสลบและยาชา คุณแม่ก็จะเริ่มมีอาการปวดที่แผลผ่าตัดตามปกติ แต่จะปวดมากปวดน้อยก็แล้วแต่บุคคล




ผ่าคลอด สามารถผ่าได้กี่ครั้ง?
การผ่าคลอดสามารถทำการผ่าได้หลายครั้ง แต่ยิ่งมีการผ่าคลอดหลายครั้งเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงในการผ่าตัดครั้งต่อไปมากขึ้น เพราะอาจเกิดพังผืดจากการผ่าคลอดครั้งก่อน โดยพังผืดอาจจะไปรั้งเอาอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้บริเวณมดลูก ซึ่งสร้างความเสี่ยงในการผ่าตัดมากขึ้น ที่จะไปโดนอวัยวะเหล่านั้น
อย่างไรก็ตาม การคลอดครั้งต่อไป จะอยู่ในการประเมิน และวินิจฉัยของแพทย์ว่า ควรจะคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของแม่และเด็กเป็นสำคัญ
ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที?
เนื่องจากการผ่าคลอดไม่จำเป็นต้องรอให้มีกระบวนการเจ็บครรภ์คลอด ไม่ต้องรอปากมดลูกเปิด กระบวนการผ่าคลอดจึงสามารถทำได้เลยโดยใช้เวลาไม่นาน โดยปกติแล้วการผ่าคลอดจะใช้เวลาตั้งแต่ 40 นาที ไปจนถึง 1 ชั่วโมง
คุณแม่จะจัดการกับความกังวลอย่างไรดี?
เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะมีความกังวลก่อนเข้ารับการผ่าคลอด คุณแม่สามารถจัดการกับความกังวลที่เกิดขึ้นได้หลายวิธี เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ ทำสมาธิ ฟังเพลง ผ่อนคลายร่างกาย เป็นต้น หรือสามารถพูดคุยกับคนรอบข้าง เพื่อน ญาติ คนในครอบครัว และยังสามารถพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ อย่างแพทย์ที่ฝากครรภ์ หรือนักจิตวิทยา เพื่อจัดการ หรือคลายความกังวลที่เกิดขึ้นก่อนการผ่าคลอดได้เช่นกัน
เตรียมตัวผ่าคลอดยังไงให้มั่นใจ ไร้กังวล
สำหรับการผ่าคลอดแล้ว การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ที่คุณแม่ฝากครรภ์ไว้ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด นอกจากนี้ การเลือกโภชนาการที่ดี การจัดการเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ และการเตรียมตัวพักฟื้นหลังการผ่าคลอด ก็ช่วยให้คุณแม่มีความพร้อม และความมั่นใจกับการผ่าคลอดได้อีกด้วย
หลังผ่าคลอด คุณแม่ควรดูแลร่างกายอย่างไรให้ฟื้นฟูเร็ว และแผลหายไว
นอกจากการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าคลอดจะเป็นสิ่งที่ดีกับคุณแม่แล้ว การดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เรามีเคล็ดลับดี ๆ สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดในการดูแลตัวเองช่วงพักฟื้น ให้ร่างกายแข็งแรง และแผลหายเร็ว ดังนี้




• พักผ่อนให้เพียงพอ: ไม่ว่าจะก่อนการผ่าคลอด หรือหลังการผ่าคลอดก็ตาม การนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับร่างกายของคุณแม่อย่างมาก
• หลีกเลี่ยงการยกของหนัก: ในช่วงแรกหลังการผ่าคลอด คุณแม่ไม่ควรยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวลูกน้อย เพื่อป้องกันแผลผ่าคลอดฉีกขาด รวมไปถึงอาการปวดหลังการหลังผ่าคลอดอีกด้วย
• เคลื่อนไหวร่างกาย: ถึงแม้ว่าคุณแม่จะยังไม่สามารถออกกำลังกายหลังผ่าคลอดได้ จนกว่าแผลผ่าจะหาย หรือแพทย์อนุญาตเห็นควรแล้ว การเดินในระยะใกล้ ๆ เคลื่อนไหวร่างกายง่าย ๆ ก็มีส่วนช่วยในการฟื้นตัวร่างกาย
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ จะช่วยให้ร่างกายได้รับการซ่อมแซม และฟื้นฟูร่างกายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ สารอาหารต่าง ๆ ยังมีส่วนช่วยในการผลิตน้ำนมให้กับคุณแม่อีกด้วย
• สังเกตอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์: หมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ในแต่ละวันหลังการผ่าคลอด ไม่ว่าจะเป็น อาการปวด ไข้ รวมไปถึงอาการอื่น ๆ ว่าผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
อ่านต่อในบทความเรื่อง "ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ให้แผลหายไว ร่างกายฟื้นฟูเร็ว"
แผลผ่าคลอด ดูแลอย่างไรให้เนียนสวย ไม่ทิ้งรอย
แผลผ่าคลอดกี่วันหาย?
หลังจากการผ่าคลอด แผลผ่าคลอดจะค่อย ๆ สมานตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ ส่วนระยะเวลาที่แผลจะหายเจ็บนั้น คงไม่สามารถบอกเป็นจำนวนวันที่ชัดเจนได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง และการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังคลอดของแต่ละบุคคลด้วย รวมถึงการปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ การทำความสะอาดแผลอย่างถูกต้อง การหลีกเลี่ยงแรงกระทบกระเทือน ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยให้แผลสมานตัวได้ดีขึ้น และมีโอกาสหายเร็วขึ้น
แต่โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะปิดแผลกันน้ำไว้ และควรหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำประมาณ 1 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ก่อนจะนัดเข้ามาตัดไหมที่เย็บแผลไว้ออก และใช้เวลาประมาณ 1 – 2 เดือน ในการรอให้แผลผ่าคลอดสมานตัว และหายดี เหลือไว้เพียงรอยแผลเป็น
วิธีทำความสะอาดแผลผ่าคลอด
ในช่วงหลังผ่าคลอด 7 วันแรก ไม่ควรให้แผลโดนน้ำ หลังจากนั้นสามารถทำความสะอาดได้ด้วยการล้างน้ำ และสบู่อ่อน ๆ บริเวณแผลเบา ๆ ในระหว่างอาบน้ำทุกวัน ซับให้แห้ง หากคุณแม่ต้องการทาผลิตภัณฑ์จำพวกลดรอยแผลเป็น หรือเพื่อปลอบประโลมผิวบริเวณแผลผ่าคลอด ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับคำแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้
เจ็บแผลผ่าคลอด อาการแบบนี้ผิดปกติไหม?
การเจ็บแผลผ่าคลอดเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ แต่หากพบว่าอาการเจ็บแผลมีอาการที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ มีน้ำ หรือเลือดออกจากแผลผ่าตัด ปวดแผลมากขึ้นกว่าปกติ แผลบวมแดง มีหนอง มีน้ำคาวปลาออกมาปริมาณมากขึ้นกว่าปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
คันแผลผ่าคลอดคุณแม่จะรับมืออย่างไรดี?
แม้อาการคันแผลผ่าคลอดจะน่ารำคาญใจจนเกินจะทนไหว แต่จงจำเอาไว้ว่า ควรหลีกเลี่ยงการเกาแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อและการอักเสบของแผล อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการคันแผลได้
• ใช้ครีมยาประเภททาที่มีสรรพคุณช่วยป้องกันการติดเชื้อ
• ใช้ครีมยาที่มีสรรพคุณป้องกันอาการคัน
• ประคบเย็นโดยนำผ้าขนหนูหรือผ้าสะอาดมาห่อน้ำแข็ง แล้วประคบที่บริเวณแผลประมาณ 5-10 นาที
อย่างไรก็ตาม หากอาการคันไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงเลยแม้แต่น้อย ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป
อ่านต่อในบทความเรื่อง "แผลผ่าคลอด ดูแลอย่างไร ให้หายเร็ว และลดรอย"
พัฒนาการเด็กผ่าคลอด “เริ่มต้นดี ต้องมีดีครบ 3”
ไขข้อข้องใจ ความแตกต่างของการคลอดธรรมชาติกับการผ่าคลอด
การคลอดธรรมชาติ คือ การที่คุณแม่เบ่งคลอดธรรมชาติเมื่อถึงกำหนดคลอด โดยทารกจะเตรียมพร้อมอยู่ในท่ากลับศีรษะแล้วค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมายังอุ้งเชิงกราน เมื่อมดลูกเปิดกว้าง ทารกจะเคลื่อนตัวเพื่อคลอดผ่านทางช่องคลอดซึ่งเป็นบริเวณที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ
การผ่าคลอด เป็นวิธีการคลอด โดยการผ่าตัดนำทารกออกมาผ่านทางหน้าท้อง ส่งผลให้เด็กผ่าคลอดจะไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ หรือ Gut Microbiome บริเวณช่องคลอดแม่ ทำให้เด็กผ่าคลอดอาจจะมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ รวมทั้งมีโอกาสเจ็บป่วยได้บ่อยขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ของวิธีการคลอดกับการพัฒนาสมองของทารก ที่ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่า เด็กผ่าคลอดอาจจะมีการพัฒนาสมองที่แตกต่างจากเด็กคลอดแบบธรรมชาติอีกด้วย
ดังนั้นคุณแม่สามารถเตรียมความพร้อมให้ลูกผ่าคลอด เพื่อการเริ่มต้นที่ดีได้ครบทุกด้าน
1. เตรียมพร้อม “สมองดี” ช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ของลูกน้อยให้ก้าวล้ำยิ่งขึ้น
2. เสริมสร้าง “ภูมิคุ้มกันดี” ให้ลูกแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย
3. “สุขภาพลำไส้ดี” ลูกน้อยมีสุขภาพลำไส้ที่แข็งแรง จะช่วยสร้างสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ ลดปัญหาอาการไม่สบายท้อง ขับถ่ายเป็นปกติ
เมื่อลูกน้อยดีครบ 3 สมองดี ภูมิคุ้มกันดี และสุขภาพลำไส้ดี ก็จะช่วยให้ลูกพัฒนาการที่สมบูรณ์ สุขภาพแข็งแรง และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
1,000 วันแรกสำคัญกับลูกน้อยอย่างไร?
ทำไม 1,000 วันแรกจึงมีความสำคัญกับลูกน้อย นั่นก็เพราะว่า ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่สมองมีพัฒนาการสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมอง การเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมอง ซึ่งก่อให้เกิดโครงข่ายเส้นใยประสาทนับล้าน ที่ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ และจดจำ
“1,000 วันแรก เป็นช่วงเวลาทองของลูกน้อย เพราะเป็นช่วงเวลาที่สมองเติบโตสูงถึง 75% - 80% อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน และเสริมสุขภาพลำไส้ที่ดีแก่ลูก”
แล้วจะทำอย่างไรให้ 1,000 วันแรกที่สำคัญนี้ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นั่นคือการดูแล และใส่ใจสุขภาพ และโภชนาการตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ จนไปถึงเมื่อลูกน้อยอายุ 2 ขวบ นอกจากนี้ ยังควรดูแลสุขภาพจิต อารมณ์ การให้ความรัก และความอบอุ่นกับลูกน้อย รวมทั้งการเสริมสร้างพัฒนาการด้วยการเล่น หรือการพูดคุย ควบคู่กันไปในช่วงเวลา 1,000 วันแรก




MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ เป็นสารอาหารสำคัญที่พบในได้ในนมแม่ อุดมไปด้วยไขมัน และโปรตีนชีวภาพกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด และนิวคลีโอไทด์ มีงานวิจัยรองรับว่า ช่วยส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน ไม่ว่าจะพัฒนาการสมอง เสริมภูมิคุ้มกัน และทำให้ระบบทางเดินอาหารมีสุขภาพที่ดี
DHA กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสมอง
2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ หรือใยอาหารธรรมชาติชนิดที่พบมากในนมแม่ (HMO - Human Milk Oligosaccharide) เป็นอาหารของจุลินทรีย์ในลำไส้ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีอย่าง บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ลดการติดเชื้อในลำไส้ ปรับสมดุลในลำไส้ ทำให้อุจจาระนุ่ม การขับถ่ายของลูกเป็นปกติ ลดโอกาสการเกิดท้องเสีย
สารอาหารเพื่อลูกดีครบ 3
หนึ่งเดียวที่มี MFGM พร้อม 2’-FL และใยอาหารธรรมชาติ มีงานวิจัยรองรับว่าช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกที่สำคัญทั้ง 3 ด้าน คือ พัฒนาการสมอง เสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน และสุขภาพลำไส้ที่ดีให้กับลูกน้อย
• สมองดี: MFGM มีส่วนช่วยในการสร้างปลอกหุ้มเส้นใยประสาทไมอีลิน (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณประสาท และการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ให้ลูกน้อยก้าวล้ำทั้งความคิดสติปัญญา (IQ) และอารมณ์ (EQ) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จดจำ คิดวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว
• ภูมิคุ้มกันดี: ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ลดการเจ็บป่วยในเด็ก และการเกิดภูมิแพ้ภูมิแพ้ รวมไปถึงลดโอกาสในการติดเชื้อในหูชั้นกลาง ทางเดินหายใจ และลำไส้
• สุขภาพลำไส้ดี: ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดดีอย่างบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้เกิดสมดุลในลำไส้ ลดโอกาสท้องเสีย การถ่ายเป็นมูกเลือด ช่วยให้ลูกน้อยมีระบบขับถ่ายปกติ
เมื่อลูกมีพัฒนาการดีครบ 3 ทั้งด้านสมอง ภูมิคุ้มกัน และสุขภาพลำไส้ดี บวกกับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมจากครอบครัว ก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญช่วยให้ลูกน้อยสามารถเติบโตอย่างแข็งแรง พร้อมก้าวสู่โลกอนาคต
เลี้ยงเด็กผ่าคลอดอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้
เข้าใจความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้: เด็กผ่าคลอด VS ความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้
โดยทั่วไป เด็กทุกคนมีโอกาสเสี่ยงเป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กมีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้สูงขึ้นได้คือ “พันธุกรรม” โดยความเสี่ยงที่เกืดขึ้น มีความแตกต่างดังนี้
• หากพ่อ หรือแม่ มีภาวะภูมิแพ้ ลูกน้อยจะมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ได้ถึง 20 – 40%
• หากทั้งพ่อ และแม่เป็นภูมิแพ้ ลูกน้อยจะมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้สูงถึง 50 – 80%
• ในกรณีที่พ่อ หรือแม่ ไม่ได้เป็นภูมิแพ้ ลูกน้อยก็ยังมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ 5 – 15%
และหากเด็กคลอดด้วยวิธีผ่าคลอดก็อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้สูงขึ้นไปอีก
ดังนั้น การป้องกันภูมิแพ้ให้กับเด็กผ่าคลอดที่มีความเสี่ยงภูมิแพ้สูง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่และคุณพ่อไม่ควรมองข้าม เพื่อลดโอกาสการเป็นภูมิแพ้ของลูกน้อยในอนาคต
โดยสามารถประเมินความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ของลูกน้อย ได้ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ช่วงตั้งครรภ์ ด้วยการซักประวัติครอบครัว หรือทำแบบทดสอบประเมินความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้ในเด็กได้ที่นี่
ป้องกันเด็กผ่าคลอดจากภูมิแพ้ได้อย่างไร
คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นป้องกันภูมิแพ้ลูกได้ด้วย 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1. ให้ลูกทานนมแม่อย่างน้อย 4 – 6 เดือนและหลีกเลี่ยงการให้ทานนมวัว
2. การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ได้ ไม่ว่าจะเป็นสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่น สารเคมี ละอองเกสร รวมทั้งสารก่อภูมิแพ้ในอาหารอย่าง นมวัว ถั่ว ไข่ อาหารทะเล เป็นต้น คอยสังเกตอาการแพ้ เพราะเด็กแต่ละคนอาจจะมีรูปแบบและความรุนแรงของภูมิแพ้ที่แตกต่างกันไป อาการที่คุณแม่ควรสังเกต เช่น
• อาการทางระบบทางเดินหายใจ: มีน้ำมูก คันในคอ หรือจมูก หายใจติดขัด หอบหืด
• อาการทางระบบทางเดินอาหาร: ร้องไห้โยเย แหวะนม อาเจียน ไม่สบายท้อง ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นเลือด
• อาการทางผิวหนัง: ผื่นแดง ผื่นผิวหนังอักเสบ คันตามใบหน้าและดวงตา ปากบวม
หากพบว่าลูกน้อยมีอาการแพ้ใด ๆ ไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือมาก หรือมีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ (อันเนื่องจากกรรมพันธุ์) ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาและป้องกันอย่างเหมาะสม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาการภูมิแพ้จะพัฒนาจากรูปแบบหนึ่งๆไปเป็นภูมิแพ้รูปแบบอื่นๆได้อีกเมื่อลูกโตขึ้น หรือที่เรียกว่า “ลูกโซ่ภูมิแพ้” (Allergic March) ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อสุขภาพ และพัฒนาการในการเจริญเติบโตของลูกน้อย
3. กรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาการใช้ “โปรตีนที่ผ่านการย่อยแบบละเอียด” มีคุณสมบัติเป็น Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG” ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้หรือแพ้นมวัว” และป้องกันและรักษาอาการภูมิแพ้ในอนาคต
รู้จัก “โปรตียนย่อยอย่างละเอียด” เสริมด้วยเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ที่ช่วยรักษาและป้องกันอาการภูมิแพ้ในเด็ก
หากลูกน้อยมีอาการภูมิแพ้หรือแพ้โปรตีนนมวัว และคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาการใช้ “โปรตีนผ่านการย่อยอย่างละเอียด” (Extensively Hydrolyzed Protein) เสริมด้วยโพรไบโอติก จุลินทรีย์สุขภาพอย่าง LGG (แลคโตบาซิลัส รามโนซัส จีจี : Lactobacillus rhamnosus GG)” มีคุณสมบัติเป็น HYPOALLERGENIC ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
ซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีและปรับสมดุลในลำไส้ จากผลการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ช่วยให้หายจากอาการแพ้โปรตีนนมวัว ลดอาการร้องงอแงภายใน 48 ชั่วโมง ลดผื่นผิวหนังภายใน 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีผลช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน ลูกน้อยสามารถกลับมาทานนมวัวได้หลังการใช้ 1 ปี ลดการเกิดภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต
ไขข้อข้องใจเรื่องการผ่าคลอดกับ Enfa Smart Club
แพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่นอนพักที่โรงพยาบาลประมาณ 4 -7 วัน ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่เป็นสำคัญว่ามีความเสี่ยงใด ๆ หลังคลอดที่คุณหมอจำเป็นจะต้องติดตามอาการใกล้ชิดหรือไม่
หลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาไหลออกมาเรื่อย ๆ และจะค่อย ๆ หยุดไหลไปเองหลังคลอดไปแล้วประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ แต่แม่ที่ผ่าคลอด น้ำคาวปลามีแนวโน้มที่จะหยุดไหลเร็วกว่า โดยอาจจะหยุดไหลตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 หรือสัปดาห์ที่ 3 หลังคลอด
เนื่องจากก่อนจะมีการเย็บปิดมดลูก แพทย์ได้มีการล้างทำความสะอาดเอาเลือด เนื้อเยื่อ และเศษชิ้นเนื้อต่าง ๆ ออกไปบ้างแล้ว ทำให้น้ำคาวปลาในแม่ที่ผ่าคลอดมักจะหยุดไหลเร็วกว่าแม่ที่คลอดธรรมชาติ
เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ควรงดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 6 สัปดาห์หลังคลอด หรือจนกว่าแผลผ่าคลอดจะแนบติดกันสนิท
หลังคลอด แม่สามารถออกกำลังกายเบา ๆ อย่างเช่น การเดิน ได้ เพื่อช่วยให้ร่างกายได้มีการขยับเขยื้อน ทำให้ฟื้นตัวเร็ว และป้องกันอาการท้องอืด ท้องผูก แต่กิจกรรมการออกกำลังกายที่ต้องออกแรงมาก ควรรอให้แผลผ่าคลอดสมานกันสนิทเสียก่อน ซึ่งอาจจะต้องรอประมาณ 6 - 8 สัปดาห์หลังคลอด
แพทย์อาจแนะนำให้รอไปก่อนประมาณ 6 เดือน แล้วจึงสามารถวางแผนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปได้ แต่สำหรับแม่ที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แพทย์อาจแนะนำให้รอประมาณ 12 - 15 เดือน แล้วจึงเริ่มวางแผนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนที่จะวางแผนการตั้งครรภ์ เพื่อประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
โดยปกติแล้วการบล็อกหลังจะทำในกรณีที่มีการผ่าคลอดมากกว่าคลอดธรรมชาติ
- Martínez M, Mougan I. Jhem. 1998;71(6):2528-33.
- Deoni, SC et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019; 40(1): 169-177.
- Kristensen, K et al. J Allergy Clin Immunol. 2016; 137(2): 587-90.
- Kim, G et al. Front. Microbiol. 2020; 11:2099.
- Deoni et al. Neuroimage. 2018; 178: 649-659.
- Child CE et al. Nutrients. 2019;16;11(8):1933.
- Calder PC et al. Br J Nutr. 2006;96(4):774-90.
- Al-Khafaji A. et al. J. Funct. Foods. 2020;74:104176.
- Timby N et al. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2015;60:384-9.
- Li F et al. J Pediatr 2019;215:24-31.e8.
- Dewettinck K et al. International Dairy Journal 2008;18:436-57.
- Kosmerl E et al. MDPI. 2021;9:341.
- Palmano K et al. Nutrients 2015;7:3891-913.
- McJarrow P et al. Nutr Rev 2009;67:451-63.
- Lonnerdal B. Am J Clin Nutr 2014;99:712s-7s.
- Lee H et al. Front Pediatr. 2018;6:313.
- Vance JE et al. Biochim Biophys Acta 2000;1486:84-96.
- Hirabayashi Y et al. Prog Lipid Res 2008;47:188-203.
- Zhao 2021 et al. Eur J Nutr. 2021:61: 277–288.
- Chichlowski M et al. Curr Dev Nutr. 2021;5:nzab027.
- Data on file. NeuroProof report training. MJN.
- Xia Y et al. Asia Pac. J. Clin. Nutrition. 2021;Sep;30(3):401-414.
- Zavaleta N et al. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2011;53:561-8.
- Birch EE et al. J Pediatr 2010;156:902-6.e1.
- Lapillonne A et al. BMC Pediatr 2014;14:168.
- Ranucci G. et al. Nutrients. 2018;1:10(3):286.
- Sheng YH et al. Mucosal Immunol 2013;6:557-68.
- He X. et al. Sci Rep. 2019;9(1):11589.
- Motouri M, et al. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2003;36:241-247.
- Scalabrin DM et al. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2012;54:343-52.
- Salminen S. et al. J Pediatr Gastroenterol Nutr. 2016;62: 80-86.
- Exl BM, Fritsché R. Nutrition 2001;17:642–51.
- Bergmann RL, et al. Environ Toxicol Pharmacol 1997;4:79–83.
- Tariq SM, et al. J Allergy Clin Immunol 1998;101:587–93.
- Alm B, et al. Pediatr Allergy Immunol 2014;25:468–72.
- Aitoro R, et al. Nutrients 2017;9:672.
- Baïz N, et al. Allergy Asthma Clin Immunol 2019;15:40.
- Chad Z. Paediatr Child Health 2001;6:555–66.
- Spergel JM, et al. J Allergy Clin Immunol 2003;112(Suppl 6):S118–27.
- Von Berg A, et al. Allergy. 2016;71: 210–219.
- Vanderhoof JA. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2008;47(2):38-40.
- Dronkers TMG, et al. Heliyon. 2020;6(7):e04467.
- Majamaa H, et al. J Allergy Clin Immunol. 1997;99:179-185.
- Nova E, et al. Br J Nutr. 2007;98(1):90-95.
- Isolauri E, et al. Gastroenterology. 1993;105:1643-1650.
- Isolauri E, et al. J Clin Gastroenterol. 2008;42(2):91-96.
- Canani RB, et al. ISME J. 2016;10:742-750.
- Kalliomaki M, et al. Lancet 2001;357:1076–9.
- Kalliomaki M, et al. J Allergy Clin Immunol 2007;119;1019–21.
- GINI year 15: von Berg A, et al. Allergy 2016;71:210–9.
- Gao J, et al. Front Microbiol 2019;10:477.
- Donato KA, et al. Microbiology 2010;156:3288–97.
- Timby N et al. Am J Clin Nutr. 2014;99:860-8.
- Drover JR et al. Child Development 2009;80:1376-84.
- Colombo J et al. Pediatr Res 2011;70:406-10.
- Morale SE et al. Early Human Development 2005;81:197-203.
- Birch EE et al. Dev Med Child Neurol 2000;42:174-81.
- Birch EE, et al. Early Human Development. 2007;83:279-84.
- Colombo J. et al. Am J Clin Nutr. 2013;98:403-12.
- Veereman-Wauters G et al. Nutrition 2012;28:749-52.
- Reverri EJ. et al. Nutrients. 2018;10:1346.
- Gappa M, et al. 2021.
- Baldassarre ME, et al. J Pediatr 2010;156:397–401.
- Nermes M, et al. 2011.
- Chua MC et al.2017.
- Chouraqui JP, et al 2004.
- Taipale T, et al. 2011.
- Sandall J, et al. 2018. Short-term and long-term effects of caesarean section on the health of women and children
- ข้อมูลแนวทางปฏิบัติการป้องกันโรคภูมิแพ้ของประเทศไทย พ.ศ.2563 จากสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาลัยภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย