ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
medicine-for-diarrhea-for-baby

ยาแก้ท้องเสียเด็ก เลือกแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับลูก

Enfa สรุปให้

  • หากเด็กมีอาการท้องเสีย ควรให้เด็กได้พักผ่อนให้มาก ๆ ดื่มเกลือแร่สำหรับอาการท้องเสียบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • อาการท้องเสียในเด็ก ไม่จำเป็นต้องกินยาแก้ท้องเสียเด็ก เพราะร่างกายจะขับเชื้อไวรัสผ่านการขับถ่ายตามธรรมชาติ และอาการจะค่อย ๆ ทุเลาตามลำดับ
  • ไม่ควรซื้อยาแก้ท้องเสียเด็กมาใช้งานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้อาการท้องเสียแย่กว่าเดิม

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ยาแก้ท้องเสียเด็ก คืออะไร
     • ลูกท้องเสีย กินยาอะไรดี
     • ข้อควรรู้เมื่อต้องใช้ยาแก้ท้องเสียเด็กเล็ก
     • ดูแลอย่างไรเมื่อลูกมีอาการท้องเสีย

เมื่อลูกมีอาากรท้องเสีย หนึ่งในวิธีรับมือแรก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่อาจตัดสินใจเลือกใช้ก็คือ การให้ลูกกินยาแก้ท้องเสีย แต่โอ๊ะ โอ จริง ๆ แล้วเด็กกินยาแก้ท้องเสียได้ไหม แล้วยาแก้ท้องเสียเด็กควรเลือกยังไงถึงจะดี Enfa ชวนคุณพ่อคุณแม่มาอ่านบทความนี้ให้จบก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าควรจะให้ยาแก้ท้องเสียแบบไหนกับลูกถึงจะปลอดภัยมากที่สุดนะคะ 

ยาแก้ท้องเสียเด็ก คืออะไร


ยาแก้ท้องเสียสำหรับเด็ก คือ ยาสำหรับใช้บรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง ที่เกิดขึ้นในเด็ก ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งยาแบบน้ำเชื่อม หรือยาแบบเม็ด

โดยยาแก้ท้องเสียเด็กนี้ ควรจะต้องเลือกที่มีฉลากยาระบุไว้อย่างชัดเจนว่าต้องกินในปริมาณเท่าไหร่ ขนาดยาแค่ไหนถึงจะเหมาะสมกับอายุและน้ำหนักตัวของเด็ก เพื่อให้เด็กได้กินยาอย่างถูกต้อง และตัวยามีประสิทธิภาพในการรักษาอาการท้องเสียอย่างสูงสุด 

ยาแก้ท้องเสียในเด็ก ต่างกับยาแก้ท้องเสียสำหรับผู้ใหญ่หรือไม่  

ยาแก้ท้องเสียของเด็ก กับยาแก้ท้องเสียของผู้ใหญ่ จะมีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องของการใช้งานค่ะ 

ยาสำหรับผู้ใหญ่ ไม่ควรที่จะนำมาแบ่งครึ่ง หรือนำมาป้อนให้เด็กกิน เนื่องจากเป็นการใช้ยาไม่ถูกต้องกับบุคคล สภาพร่างกายของผู้ใหญ่กับเด็กนั้นแตกต่างกันมาก

ความสามารถในการดูดซึมยาก็ต่างกัน การเผาผลาญและการขับถ่ายยาก็ไม่เหมือนกัน ขนาดยาก็จำเป็นจะต้องแบ่งใช้ตามอายุ ส่วนสูง และน้ำหนักตัว 

ดังนั้น การนำยาของผู้ใหญ่มาให้เด็กกิน จำเป็นจะต้องดูข้อบ่งชี้การใช้ยาด้วยว่า ยานี้ใช้สำหรับเด็กได้ไหม มีข้อมูลขนาดการใช้ยาสำหรับเด็กและผู้ใหญ่หรือไม่ 

ยาบางชนิดสามารถใช้ร่วมกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ในขนาดยาที่แตกต่างกัน แต่ยาบางชนิดอาจไม่สามารถใช้ร่วมกันได้

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนจะนำยามาให้ลูกกินนะคะ  

เมื่อไหร่ที่ลูกควรกินยาแก้ท้องเสีย 

สำหรับเด็กนั้น หากหลีกเลี่ยงการใช้ยาได้ ก็ควรจะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะกับอาการท้องเสียที่สามารถดูแลและบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา ดื่มแค่เกลือแร่สำหรับอาการท้องเสียก็เพียงพอแล้วค่ะ 

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ท้องเสียรุนแรง และมีอาการไข้สูง ปวดท้องอย่างรุนแรง ขับถ่ายออกมาเป็นมูกเลือด กรณีเช่นนี้ แพทย์อาจจะวินิจฉัยให้ต้องกินยาฆ่าเชื้อ รวมถึงอาจต้องใช้ยารักษาอาการข้างเคียงอื่น ๆ ร่วมด้วยค่ะ 

ลูกท้องเสีย กินยาอะไรดี


หากเป็นไปได้ ไม่ควรให้ลูกกินยาอะไรทั้งสิ้นในขณะที่ท้องเสีย เพราะการขับถ่ายก็ถือว่าเป็นการกำจัดเอาเชื้อโรคออกจากร่างกายตามธรรมชาติอยู่แล้ว

คอยดูแลให้ลูกได้กินอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่าย และดื่มเกลือแร่สม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เท่านี้ก็สามารถช่วยให้อาการทุเลาลงได้แล้วค่ะ 

  • ลูก 1 ขวบท้องเสีย กินยาอะไรดี  

สำหรับเด็ก 1 ขวบที่มีอาการท้องเสีย ยาแก้ท้องเสียเด็ก 1 ขวบนั้นไม่ควรซื้อมาให้ลูกกินเองโดยที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากแพทย์หรือเภสัชกรนะคะ

เพราะอาจมีตัวยาที่เป็นอันตรายต่อเด็ก หรือหากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้ค่ะ 

หากแพทย์ไม่ได้แนะนำหรือสั่งจ่ายยาแก้ท้องเสียมาให้ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องให้เด็กกินยาแก้ท้องเสีย ดูแลให้ลูกพักผ่อน ดื่มเกลือแร่สำหรับอาการท้องเสียก็เพียงพอแล้วค่ะ 

  • ยาแก้ท้องเสียเด็ก 2 ขวบ 

เช่นเดียวกันสำหรับเด็ก 2 ขวบที่มีอาการท้องเสีย ยาแก้ท้องเสียเด็ก 2 ขวบนั้นไม่ควรซื้อมาให้ลูกกินเองโดยไม่จำเป็น หากแพทย์ไม่ได้สั่งจ่ายยาหรือแนะนำว่าต้องใช้

เพราะอาจมีตัวยาที่เป็นอันตรายต่อเด็ก หรือหากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้ค่ะ แค่ดูแลให้ลูกพักผ่อน ดื่มเกลือแร่สำหรับอาการท้องเสียก็เพียงพอแล้วค่ะ 

  • ยาแก้ท้องเสียเด็ก 3 ขวบ 

แน่นอนว่าสำหรับเด็ก 3 ขวบที่มีอาการท้องเสีย ยาแก้ท้องเสียเด็ก 3 ขวบนั้น หากเลี่ยงได้ หรือแพทย์ไม่ได้แนะนำให้ใช้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้ลูกกินยาแก้ท้องเสียค่ะ เพียงดูแลให้ลูกพักผ่อน ดื่มเกลือแร่สำหรับอาการท้องเสียก็เพียงพอแล้วค่ะ 

ข้อควรรู้เมื่อต้องใช้ยาแก้ท้องเสียเด็กเล็ก


หากลูกมีอาการท้องเสียรุนแรงและแพทย์สั่งจ่ายยาแก้ท้องเสียเด็กมาด้วย คุณพ่อคุณแม่จะต้องใช้ยาอย่างเคร่งครัดตามที่แพทย์แนะนำ ให้ลูกกินยาในขนาดยาที่เหมาะสมกับอายุ น้ำหนัก และส่วนสูง ให้ยาตามเวลา  

ไม่ควรให้ยาลูกแบบกะปริมาณเอาเอง ฉลากยาแนะนำไว้อย่างไร ปฏิบัติตามเช่นนั้น ไม่ให้ยาลูกเกินขนาด ไม่ต้องคิดเองว่าปริมาณนี้จะน้อยไปหรือมากไป ควรให้ยาตามที่ฉลากยาและแพทย์แนะนำไว้ดีที่สุดค่ะ 

สิ่งสำคัญไปกว่านั้นก็คือ ต้องย้ำกันอีกครั้งว่าหากลูกไม่ได้มีอาการท้องเสียขั้นรุนแรงจนต้องกินยา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยาแก้ท้องเสียให้ลูกกินเองโดยที่แพทย์ไม่ได้แนะนำให้ใช้ เพราะอาการท้องเสียสามารถดูแลและบรรเทาอาการให้ทุเลาได้โดยไม่จำเป็นต้องให้ยาค่ะ 

ยาฆ่าเชื้อแก้ท้องเสียเด็ก ควรใช้เมื่อไหร่ 

เพื่อความปลอดภัยต่อเด็กมากที่สุด ยาแก้ท้องเสียเด็ก ควรใช้เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าลูกมีอาการท้องเสียรุนแรง และมีอาการติดเชื้อร่วมด้วย จึงสามารถใช้ยาฆ่าเชื้อแก้ท้องเสียได้ตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรซื้อยาใด ๆ มาให้ลูกกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์นะคะ เพราะการใช้ยาผิดประเภท และผิดขนาดยากับตัวบุคคล อาจส่งผลเสียรุนแรงได้ค่ะ 

ดูแลอย่างไรเมื่อลูกมีอาการท้องเสีย


หากลูกมีอาการท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้ง่าย ๆ ดังนี้ 

  • ดูแลให้ลูกพักผ่อนอย่างเต็มที่ 
  • ให้ลูกจิบเกลือแร่บรรเทาอาการท้องเสียบ่อย ๆ ป้องกันภาวะขาดน้ำ 
  • กินอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก  
  • งดอาหารรสเผ็ดจัด เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองภายในระบบย่อยอาหารได้ 
  • งดอาหารรสหวานจัด เนื่องจากสารให้ความหวานบางชนิด อาจมีฤทธิ์เป็นยาระบาย เสี่ยงทำให้อาการแย่ลง 
  • ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ท้องเสีย หรือยาหยุดถ่าย ยาใด ๆ ก็ตามที่แพทย์ไม่ได้เป็นผู้แนะนำ ไม่ควรให้ลูกกินเด็ดขาด 

เมื่อมีอาการต่อไปนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปโรงพยาบาล 

หากลูกมีอาการดังต่อไปนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที 

  • มีอาการอาเจียนมาก 
  • มีไข้สูง 
  • มีอาการชัก ช็อกหมดสติ 
  • ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นมูกเลือด 
  • ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ถ่ายมากกว่า 5-10 ครั้ง 
  • มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ตาโหล ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม  

รู้หรือไม่? ลูกท้องเสียหลังกินนม อาจเป็นสัญญาณของอาการแพ้นมวัว 

บางครั้งการที่เด็กท้องเสีย อาจเป็นสัญญาณของอาการแพ้นมวัวได้เหมือนกันค่ะ ซึ่งอาการแพ้นมวัวนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดจากลูกกินนมวัวแล้วมีอาการแพ้อย่างเดียวนะคะ แต่อาจมาจากคุณแม่กินนมวัว หรืออาหารที่มีส่วนผสมของนมวัวอยู่ด้วย และโปรตีนนมวัวนั้นก็สามารถจะส่งผ่านไปยังน้ำนมได้ เมื่อลูกกินนมแม่ ก็จะได้รับโปรตีนนมวัวเข้าไปด้วย ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง และเซลล์ภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นให้ไวต่อปฏิกิริยาการแพ้ต่อโปรตีนที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ จึงทำให้เกิดอาการแพ้นมวัวได้ค่ะ 

ดังนั้น หลังจากให้นมลูก ไม่ว่าจะนมผง หรือนมแม่ ควรสังเกตอาการของลูกให้ดีว่ามีอาการแพ้ หรือมีอาการท้องเสียเกิดขึ้นหรือเปล่า เพื่อป้องกันอาการแพ้นมวัวในเด็กได้ทันท่วงที 

และหากลูกมีอาการแพ้นมวัวจริง คุณแม่จำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัวทุกชนิดในระหว่างให้นมบุตร ส่วนเด็กที่เริ่มกินนมผงแล้ว ก็จะต้องเปลี่ยนเป็นนมสูตรสำหรับเด็กแพ้นมวัว ส่วนเด็กที่เริ่มกินอาหารตามวัย หรือโตจนดื่มนมอื่น ๆ ได้แล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีนมวัวเป็นส่วนผสมเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอาการแพ้รุนแรงค่ะ 



บทความแนะนำเรื่องการขับถ่ายของลูกน้อย

บทความที่แนะนำ

จะทำอย่างไรดี เมื่อทารกอุจจาระเป็นเม็ด!
child-allowance-tax-deduction
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner