ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เทคนิคฝึกลูกนอนยาว สิ่งสำคัญที่พ่อแม่มือใหม่ต้องจด!

เทคนิคฝึกลูกนอนยาว สิ่งสำคัญที่พ่อแม่มือใหม่ต้องจด!

 

Enfaสรุปให้

  • การฝึกให้ลูกนอนยาวและนอนหลับด้วยตัวเอง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพื่อการพักผ่อนอย่างเต็มที่และเพียงพอต่อลูก หากลูกนอนหลับอย่างเพียงพอก็จะช่วยให้มีพัฒนาการทางสมอง ส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้และความทรงจำที่ดี พร้อมทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

  • การฝึกให้ลูกน้อยนอนที่ดีที่สุดคือเวลาที่ให้ลูกน้อยเลิกกินในตอนกลางคืนหรือเวลาที่ลูกน้อยกำลังอารมณ์คงที่ซึ่งจะอยู่ในช่วง 4-6 เดือน ในช่วงนี้ลูกน้อยจะจำจดการนอนหลับและการตื่นนอนได้เป็นอย่างดี

  • เด็กแต่ละคนมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรที่จะกดดันหรือบังคับลูกน้อยมากเกินไป ควรปล่อยไปตามธรรมชาติของลูก เพื่อการนอนที่ดีที่สุด


เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ความสำคัญของการฝึกลูกนอนยาว
     • เริ่มฝึกลูกนอนยาวเมื่อไหร่ดี
     • เคล็ดลับฝึกลูกนอนยาว
     • ตารางฝึกลูกให้นอนด้วยตัวเอง
     • ความสำคัญของการนอนและพัฒนาการสมอง
     • ไขข้อข้องใจเรื่องการฝึกลูกให้นอนยาวด้วยตัวเองกับ Enfa Smart Club

ฝึกให้ลูกน้อยนอนยาว สำคัญกับลูกยังไง


การฝึกให้ลูกนอนอย่างยาวนานแบบหลับรวดเดียวแล้วตื่นมาพร้อมคุณพ่อคุณแม่ ในเช้าวันต่อมา ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับคุณพ่อคุณแม่วัยทำงาน เพราะลูกน้อยจะได้ไม่กวนช่วงเวลาพักผ่อนของคุณพ่อคุณแม่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีความเครียดน้อยลง และยังช่วยให้ลูกน้อยได้นอนหลับอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทั้งสมองและอารมณ์ของลูก

ควรฝึกลูกนอนยาวตอนกี่เดือน ถึงจะดี


คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเริ่มฝึกให้ลูกน้อยเริ่มนอนยาวได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 4-6 เดือนขึ้นไป เพราะลูกน้อยจะเริ่มนอนได้ตลอดทั้งคืน โดยที่ไม่จำเป็นต้องดื่มนม และช่วงระยะเวลาที่ควรนอนได้อย่างเหมาะสมคือ 6-8 ชั่วโมงขึ้นไป และคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะฝึกลูกน้อยตั้งแต่ 1 สัปดาห์เป็นต้นไปจึงจะได้ผลที่ดี และส่วนเด็กทารกยังไม่ควรที่จะต้องฝึกให้นอนยาว เนื่องจากในช่วงเวลากลางคืน ทารกยังต้องมีการตื่นขึ้นมาดื่มนมคุณแม่ เพื่อป้องกันน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกินไป

เคล็บลับฝึกให้ลูกน้อยนอนเอง และนอนได้อย่างยาวนาน


สำหรับวิธีการฝึกให้ลูกน้อยได้นอนอย่างยาวนานมากขึ้น ก็ควรจะเป็นเคล็ดลับหรือเทคนิคในการนอนที่คุณพ่อคุณแม่คุ้นเคยและคุ้นชินที่สุด ซึ่งได้แก่

  • Cry it Out (CIO) เป็นเรื่องปกติมากที่เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มพาลูกน้อยเข้านอนแล้วเดินออกจากห้องไป ซึ่งถ้าลูกน้อยเริ่มร้องไห้คุณพ่อคุณแม่ต้องแข็งใจไวค่ะ แล้วก็ปล่อยให้เขาร้องไปเรื่อยๆ เขาจะเริ่มเรียนรู้และคุ้นชินว่าถึงเวลาต้องนอน วิธีนี้อาจจะยากสำหรับคุณแพ่อคุณแม่หน่อยแต่ถือว่าเป็นวิธีที่ได้ผลเร็วที่สุดเลยค่ะ
  • Ferber method หากว่าวิธีแรกอาจจะหักดิบ หรือใจร้ายกับลูกน้อยและคนเป็นพ่อแม่ไปก็ลองวิธีนี้ได้ค่ะ โดยระหว่างที่ลูกน้อยกำลังร้องไห้ขณะเข้านอน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเข้าไปเช็คพฤติกรรมจากตอนแรกที่คอยเข้าไปเช็คทุก 2-3 นาที ก็เปลี่ยนเป็น 5-10 นาที หรือ 15 นาที ค่อยเข้าไปสามารถทำแบบนี้ได้ในหลายๆคืนติดต่อกัน แต่ไม่ควรอุ้ม กอด หรือป้อนนม เพราะลูกอาจจะเรียกร้องความสนใจในตอนดึก
  • The wave เทคนิคนี้จะใช้ได้ดีสำหรับเด็กทารกที่อายุ 9 เดือนขึ้นไป วิธีก็จะคล้ายการคอยเช็คพฤติกรรม โดยเมื่อคุณพ่อคุณแม่พาลูกเข้านอน และลูกน้อยยังร้องไม่หยุดคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะปลอบโยนด้วยคำพูด เช่น แม่อยู่ข้างห้อง ไม่ไปไหน ไม่ต้องกลัว, แม่รักลูกนะ เป็นต้นค่ะ และทุกครั้งที่เข้าไปเช็คก็ควรที่จะพูดคำพูดเหล่านี้ซ้ำๆ เหมือนเป็นการสวดมนต์กล่อมลูก ๆ เลยก็ว่าได้
  • The chair method เมื่อลูกน้อยมีท่าทางที่ง่วงนอนแต่ยังไม่อยากหลับ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะนำลูกน้อยวางลงบนเปลแล้วนั่งอยู่ข้างๆ ค่ะ หากลูกน้อยร้องไห้ขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่ก็แค่ตบหลังเบาๆ และค่อยๆพูดปลอบใจโดยที่ไม่ต้องอุ้มลูกน้อย แล้วค่อยๆ ขยับตัวจะห่างจากเปล ออกมาเรื่อยๆ ทีละนิด คุณพ่อคุณแม่สามารถทำขั้นตอนนี้ได้เรื่อยๆ จนกว่าลูกน้อยจะนอนหลับได้โดยที่ไม่มีคุณพ่อคุณแม่คอยอยู่ด้านข้างค่ะ
  • The fading method คุณพ่อคุณแม่ควรหาช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนอนของลูกน้อย เช่น หากคุณแม่พาเข้านอนตอน 20.00 น. แล้วลูกยังร้องไห้ไม่ยอมนอน ก็อาจจะเลื่อนเวลาป็น 20.30 น. เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสม และไม่ควรให้ลูกน้อยนอนหลับในช่วงเวลากลางวันที่ไม่ได้กำหนดไว้ เพราะจะทำให้ลูกไม่อยากเข้านอนในตอนกลางคืน
  • Gentle sleep training หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใด ที่ไม่สามารถทนฟังเสียงร้องไห้ของลูกขณะพาเข้านอนได้ก็ลองใช้วิธีนี้ค่ะ โดยกล่อมลูกให้นอนหลับและก็ควรให้ความสบายใจทันทีที่ลูกตื่นนอน แต่ควรทำให้ทุกอย่างสั้นและเร็วรวดที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ โดยวางลูกลงบนที่นอนแล้วรีบออกจากห้องทันทีที่ลูกหลับ
     

ตารางฝึกลูกน้อยให้นอนด้วยตัวเอง


ฝึกลูกนอนเองภายใน 7 วัน

วันที่ 1 : เริ่มกิจวัตรประจำวันแบบปกติ

เด็ก ๆ ทารกมักจะไม่สามารถแยกได้ว่าช่วงเวลาไหนคือช่วงกลางวันและช่วงเวลาไหนคือช่วงกลางคืน และจะงีบหลับเป็นเวลานานในตอนบ่าย แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสร้างการเรียนรู้ให้ลูก เช่น พยายามปลุกลูก ๆ ให้ตื่นนอนพร้อมคุณแม่และคุณพ่อในตอนเช้าตรู่, วางเปลใกล้หน้าต่าง เพื่อให้แสงแดดส่องถึงลูกน้อย เพียงเท่านี้ลูกก็จะรับรู้การตื่นนอนเป็นประจำทุกวัน

วันที่ 2 : การฝึกที่สมบูรณ์แบบ

คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มฝึกแบบสม่ำเสมอ ให้ลูกน้อยเริ่มชินกับชีวิตกลางวันและกลางคืน โดยในช่วงกลางคืนขณะที่ลูกดื่มนมคุณพ่อคุณแม่อาจจะสร้างบรรยากาศให้น่านอน ด้วยการลดแสงสว่างลง ทำทุกทางให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเพื่อเพิ่มเสียงกล่อมลูกนอน เมื่อเวลาผ่านไปลูกจะนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

วันที่ 3 : กลั้นน้ำตาให้ได้

สำหรับวันที่สาม คุณแพ่อคุณแม่ต้องยอมปล่อยให้ลูกนอนในเปลขณะที่กำลังตื่นอยู่ ลูกอาจร้องไห้ หรืองอแง คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องฝืนใจไว้ค่ะ เพราะแน่นอนว่าหากทำบ่อยขึ้น ลูกจะชินกับการนอนที่เปลด้วยตัวเองและไม่มีการรบกวนให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มนอนอยู่บ่อย ๆ แต่หากตกดึกลูกยังร้องไห้อยู่ คุณพ่อคุณแม่ก็ลองเข้าไปสังเกตการณ์ลูกน้อยสัก 3 – 5 นาที เปิดไฟไว้ แล้วให้จุกนมหรือขวดนมกับลูกค่ะ ลูกอาจจะร้องไห้ในบางช่วง แต่เดี๋ยวพวกเขาก็จะหลับต่อได้เองค่ะ

วันที่ 4 : อดทนกับความยากลำบาก

ถึงแม้ว่าวันที่สามจะจบลงและหนักพอสมควร มาวันที่สี่ต้องดีขึ้นแน่นอนค่ะ พอเมื่อลูกเริ่มรู้แล้วว่าการร้องไห้ไม่ได้ช่วยอะไร ลูกจะขอต่อรองเวลาเพิ่มเป็น 2 นาที 3 นาที ไปจนถึง 10 ก็มีค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องอย่ายอมแพ้ หนักแน่นเข้าไว้เพื่อให้ลูกรู้จักเรียนรู้ที่จะอดทน

วันที่ 5 : การเข้าถึงพื้นที่ของลูก

เรามากันครึ่งทางแล้วค่ะคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งตารางนี้จะสำเร็จภายใน 3 – 5 วัน ดังนั้นคืนนี้อาจจะเป็นคืนที่โชคดีของคุณพ่อคุณแม่ หากลูก ๆ ยังคงอยู่กับตัวเองในห้อง คุณพ่อคุณแม่อาจจะยืดช่วงเวลาเข้าไปสังเกตการณ์จากทุก ๆ 5 – 10 นาที ก็ยืดออกไปสัก 15 นาทีถึงค่อยเข้าไปสังเกต หรือหากคุณพ่อคุณแม่สามารถทนต่อการอยู่ห่างกันลูกได้ ให้สังเกตผ่านทางช่องประตูแทนค่ะ

วันที่ 6 : ลูกนอนหลับตลอดทั้งคืน

หลายท่านอาจเป็นกังวลกับการที่ลูกนอนหลับแล้วห่างไกลจากตัว มักจะคอยเดินไปส่องดูอยู่เสมอ หากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนเป็นแบบนั้นอยู่ เราอยากให้คุณพ่อคุณแม่ผ่อนคลาย หรือหากเป็นกังวลก็เพียงแค่หาเสื้อผ้าอุ่น ๆ สวมใส่ให้ลูก ทำบรรยากาศให้เงียบสงบเพื่อได้ยินเสียงเมื่อลูกร้องไห้ ปล่อยให้ลูกอยู่กับตัวเอง เมื่อลูกผ่อนคลายแล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องผ่อนคลายตามด้วยค่ะ

วันที่ 7 : คุณพ่อคุณแม่นอนหลับสนิทเช่นกัน

มาถึงวันสุดท้ายแล้วค่ะ หลังจากที่อดทนมาหลายคืน ในคืนสุดท้ายคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องการนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ ไม่เพียงแค่นั้นคุณพ่อคุณแม่ยังมอบของขวัญให้ลูกด้วยการสร้างนิสัยการนอนที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กทารก และในบางครั้งลูกเกิดอาการป่วย หรือนอนในสถานที่ไม่คุ้นเคย คุณพ่อคุณแม่ลองใช้วิธีนี้อีกครั้ง ลูกจะตอบสนองและเรียนรู้อย่างรวดเร็วเนื่องจากเคยถูกฝึกมาแล้วนั่นเองค่ะ

สมัครสมาชิก Enfa Smart Club ฟรี

เข้าใจความสำคัญของการนอน และพัฒนาการสมองของลูกน้อย


เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีหรือไม่นั้น การนอนก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วงเพิ่มสร้างพัฒนาการทั้งสมองและร่างกายค่ะ เพราะระหว่างที่ลูกน้อยกำลังนอนหลับ สมองพร้อมสร้างและเชื่อมต่อเซลล์นับล้านเพื่อพัฒนาการอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีความทรงจำและการเรียนรู้ที่ดีในแต่ละวัน หากว่าลูกน้อยได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ก็จะทำให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างสมวัย

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะที่ดูการนอนหลับพักผ่อนอย่างเหมาะสม เพื่อให้ร่างกายของลูกน้อยพร้อมที่จะกิจทำกิจกรรมใหม่ ๆ นอกจากการนอนหลับที่ดีมีคุณภาพแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ ก็มีส่วนช่วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การสร้างกิจวัตรก่อนนอน อ่านหนังสือเล่านิทาน เพื่อให้ลูกผ่อนคลายลส่งเสริมการเรียนรู้ การสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอน และการได้รับสารอาหารที่ดีมีโภชนาการที่ครบถ้วนด้วยการดื่มนมแม่ ที่มีสารอาหารสำคัฯอย่าง MFGM เพื่อช่วยพัฒนาสมอง อีกทั้งยังช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ

ไขข้อข้องใจเรื่องการฝึกลูกให้นอนยาวด้วยตัวเองกับ Enfa Smart Club


 ฝึกลูกนอนบนที่นอนยังไงดีให้ลูกไม่ร้องไห้

ขณะที่ลูกน้อยกำลังสะลืมสะลือหรือง่วงนอน ก็ควรที่จะค่อยๆ วางเขาลงบนที่นอน คุณพ่อคุณแม่อาจจะค่อยๆ ตบหลังเขาเบาๆ และกล่อมให้นอนหลับไปในที่สุด เพราะการที่ลูกถูกวางลงบนเบาะหรือเปลจะทำให้ลูกทราบว่าถึงเวลาเข้านอนได้แล้ว

 ลูกอายุเท่าไหร่ถึงจะเริ่มนอนเองได้โดยไม่ต้องกล่อม

เมื่อลูกน้อยอายุเริ่ม 4-6 เดือน ก็ควรที่จะเริ่มฝึกลูกนอนได้ด้วยตนเอง เพราะเป็นช่วงที่นาฬิกาชีวิตลูกเริ่มพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งเวลาการตื่นอน การเข้านอน ก็จะเริ่มมีเวลาที่ชัดเจนมากขึ้น

 2 เดือนถือว่าเร็วเกินไปไหม

หากในช่วง 2 เดือนแรก ยังไม่ควรที่จะให้ลูกฝึกนอนด้วยตนเอง เนื่องจากลูกน้อยยังเป็นทารกที่ต้องตื่นมากินนมแม่ทุกๆ 4 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นลูกน้อยจะมีความเสี่ยงการเกิด “ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ” ยิ่งไปกว่านั้น หากพบว่าน้ำตาลต่ำลูกน้อยอาจจะเกิดอาการ “ชักเกร็ง” ได้ค่ะ

 ฝึกลูกนอนยาวตอน 1 ขวบ เร็วหรือช้าเกินไปไหม

การฝึกลูก 1 นั้นนอนเอง ไม่ถือว่าช้าเกินไปค่ะ แม่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะฝึกลูกให้รู้จักเวลาการนอนที่ชัดเจน และช่วงอายุ 1 ขวบ ก็ไม่จำเป็นต้องนอนตอนเช้า แต่ยังคงต้องนอนตอนกลางวันอยู่ค่ะ

 ฝึกลูกนอนโดยไม่ใช้จุกหลอก จะเริ่มยังไงดี

เมื่อเด็กเริ่มหย่านมแม่ คุณแม่ก็ควรที่จะมีระยะห่างในการใช้จุกหลอกกับเด็ก โดยอาจจะเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการวางตุ๊กตา หรือผ้าห่มวางไว้แนบตัวลูก เพราะเป็นการให้ลูกนอนอุ่นใจว่ายังมีสิ่งของอยู่ข้างกาย และนอนหลับต่อได้เอง

 ควรปล่อยให้ลูกเริ่มนอนคนเดียวได้ตอนอายุเท่าไหร่

หากลูกน้อยอายุเริ่มเข้าช่วง 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรปล่อยให้ลูกได้นอนด้วยตัวเอง เพราะลูกจะนอนหลับได้เป็นอย่างดี ครบถ้วน 9 ชั่วโมงติดต่อกันในตอนกลางคืน แต่ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมระหว่างวันของลูกน้อยด้วย

 ลูกตื่นกลางดึกแล้วร้องไห้ ทำยังไงดีให้ลูกหลับต่อได้เอง

คุณพ่อคุณแม่เมื่อพบว่าลูกน้อยตื่นมากลางดึกแล้วร้องไห้ งอแง ก็พยายามกอดและตบหลังหรือก้นเบาๆ เพื่อให้ลูกได้หลับต่อ แต่หากลูกยังไม่หยุดร้องและมีทีท่าดังมากขึ้นกว่าเดิม ก็ให้อุ้มปลอบบ้างบางครั้งและรีบให้กลับไปนอนโดยเร็วค่ะ



บทความแนะนำสำหรับการนอนหลับของลูกน้อย

บทความที่แนะนำ

ลูกนอนหลับยาก ตื่นบ่อย
ลูกหลับดี ยิ่งมี “พัฒนาการสมอง” ต่อเนื่อง
ทำความเข้าใจการนอนของเด็กทารก เพื่อพัฒนาการสมองที่ดี!
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

Leaving page banner