นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกหัวโน หัวปูด พ่อจ๋าแม่จ๋าจะรับมือได้อย่างไรบ้าง

Enfa สรุปให้

  • ลูกหกล้ม หัวฟาดพื้น จนหัวปูด หัวโน เป็นอุบัติเหตุที่ยากจะควบคุม และแม้จะดูเหมือนเป็นอุบัติเหตุโดยทั่วไป แต่บางครั้งก็ส่งผลเสียที่รุนแรงได้
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเด็กตกจากที่สูง และหัวฟาดกับพื้นแข็ง ลักษณะเช่นนี้เสี่ยงที่จะเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้
  • หากทารกไม่ได้พลัดตกรุนแรง หลังปฐมพยาบาลแล้ว ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ควรสังเกตอาการให้ดี หากมีอาการผิดปกติให้รีบพาไปพบแพทย์ แต่ถ้าลูกหัวฟาดพื้นอย่างุรนแรง หรือตกจากที่สูง ปฐมพยาบาลเสร็จแล้วให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที

 

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การพลัดตก หกล้ม หัวฟาด จนหัวปูด หัวโนของลูกน้อยนั้น บางครั้งก็เป็นเรื่องที่สุดวิสัยเกินจะควบคุม ยิ่งเด็กในวัยกำลังหัดคลาน เดิน หัดวิ่ง เผลอแป๊บเดียวก็อาจจะได้รอยปูดโปนมาฝาก แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ ตั้งสติให้มั่น แล้วมาสตาร์ทวิธีรับมือดี ๆ เมื่อลูกล้มหัวปูดเป็นมะกรูด มะนาว กับ Enfa กันค่ะ 

ลูกหัวโน ฟกช้ำ คุณพ่อคุณแม่จะปฐมพยาบาลยังไงดี


หากลูกเกิดหกล้ม จนฟกช้ำ หัวโน คุณพ่อคุณแม่สามารถปฐมพยาบาลให้ลูกได้ ดังนี้ 

 

  • ตั้งสติ แม้จะดูไม่เกี่ยวอะไรกันมากนัก แต่ต้องยอมรับว่าถ้าพ่อแม่ควบคุมสติได้ ก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้าได้ดี ไม่ตื่นตกใจจนทำอะไรไม่ถูก ฉะนั้นต้องตั้งสติให้ดี ดูว่าลูกหกล้มแรงแค่ไหน หรือตกมาจากที่สูงมากน้อยแค่ไหนเพื่อประเมินสถานการณ์ 
  • สำรวจลูก ดูว่าลูกได้รับบาดเจ็บตรงไหนบ้าง เลือดออกไหม ฟกช้ำ หรือหัวโนตรงไหนหรือเปล่า 
  • หากมีบาดแผล ให้จัดการทำความสะอาดแผล และทำแผลให้เรียบร้อย 
  • หากไม่มีมีแผล แต่หัวโน ให้ทำความสะอาดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ และทำการประคบเย็นโดยใช้ผ้าสะอาดห่อน้ำแข็ง หรือใช้เจลประคบเย็น 
  • สังเกตอาการ แม้ว่าจะจัดการทำแผล และประคบเย็นเรียบร้อยแล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่ยังจำเป็นจะต้องติดตามอาการของลูกน้อยต่อไปค่ะ ดูว่าในช่วง 24 ชั่วโมงนั้นลูกน้อยมีอาการอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ เช่น อาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาเจียนพุ่ง หมดสติ ง่วงซึมผิดปกติ นอนนานขึ้นกว่าปกติ หรือปลุกยากกว่าปกติ ปวดศีรษะรุนแรง มีอาการชักเกร็ง เลือดไหลไม่หยุด หายใจไม่ออก พูดจาผิดปกติ หากลูกมีอาการดังที่กล่าวควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ 
  • ไปโรงพยาบาลทันที อย่างที่บอกว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องสำรวจดูก่อนว่าลูกตกอย่างไร ตกสูงแค่ไหน ฟาดกับพื้นแข็งหรือไม่ ถ้าตกสูง และกระทบกับพื้นแข็งอย่างรุนแรง หลังจากทำแผลและประคบเย็นเสร็จ ให้พาลูกไปโรงพยาบาลทันทีโดยไม่ต้องรอสังเกตอาการค่ะ 

 

ลูกหัวโน ประคบร้อนหรือเย็น  

หากลูกหกล้มหัวโน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรทำการประคบเย็นค่ะ เพราะการประคบเย็น ช่วยให้เส้นเลือดหดตัวและลดอาการบวมที่บริเวณศีรษะค่ะ หรือควรจะมีเจลเย็นติดบ้านเอาไว้บ้าง เผื่อใช้ในกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน  

ส่วนที่จะถามว่าแล้วถ้าลูกหัวโนประคบเย็นกี่ชม.นั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยประคบเย็นครั้งละ 2-3 นาที แล้วหยุดพัก แล้วประคบต่อ ทำเช่นนี้ต่อไปอย่างน้อย 15 นาที หรือ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง  

โดยในช่วง 24 ชั่วโมงแรกนั้น จะต้องคอยดูว่าหลังประคบเย็นแล้วอาการบวมลดลงบ้างหรือไม่ ถ้าหากลดลงให้ประคบร้อนต่อ บริเวณที่โน 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย แต่ถ้าหากพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้วลูกอาการบวมยังไม่ลดลง หรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ 

 

ลูกหัวโน ควรทายาอะไรเพื่อลดอาการฟกซ้ำ  

คุณพ่อคุณแม่เห็นลูกหัวโน ก็อดที่จะสงสารลูกไม่ได้ อยากจะทายาแก้ปวด แก้บวม แก้ฟกช้ำให้ จึงอาจจะสงสัยกันว่าเวลาที่ลูกหัวโน ใช้อะไรทาถึงจะดี? 

แต่ที่จริงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องทายาอะไรนะคะ ข้อสำคัญคือให้ลูกนอนพักผ่อนเยอะ ๆ และประคบเย็นบ่อย ๆ ก็เพียงพอแล้วค่ะ 

ส่วนยาทาแก้ปวด แก้บวม แก้ฟกช้ำต่าง ๆ อาจจะใช้บาล์มเพื่อลดบวมและฟกช้ำก็ได้ค่ะ หรือคุณพ่อคุณแม่สามารถสอบถามจากแพทย์และเภสัชกรได้โดยตรงว่าควรใช้ยาทาชนิดไหนดีถึงจะเหมาะกับเด็ก 

 

ลูกหัวโน กี่วันจึงจะหายเป็นปกติ 

โดยทั่วไปแล้วอาการบวมจะค่อย ๆ ลดลงภายใน 24 ชั่วโมงค่ะ แต่ถ้าพ้นจากนั้นแล้วอาการบวมยังไม่ลดลงเลย ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ 

 

กรณีที่ลูกหัวโนไม่หาย คุณพ่อคุณแม่ควรทำยังไงดี 

หากพ้นจาก 24 ชั่วโมงแล้ว ลูกยังมีอาการหัวโน ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาโดยตรงจากแพทย์ทันทีค่ะ 

 

ลูกล้มหัวฟาดพื้น อุบัติเหตุที่อาจส่งผลร้ายแรงกว่าที่คิด 

อาการหกล้ม หัวฟาด หัวโน แม้จะดูเป็นอุบัติเหตุโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นได้สำหรับเด็ก แต่บางครั้งการหกล้ม หรือหัวฟาดเพียงครั้งเดียวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางสมองได้ เพราะเป็นการกระทบกระเทือนที่ศีรษะโดยตรง ซึ่งกะโหลกศีรษะของเด็กนั้นยังไม่ได้แข็งแรงเท่ากับผู้ใหญ่ อาการพลัดตก หกล้ม และศีรษะได้รับการกระแทกรุนแรง อาจส่งผลต่อการทำงานของสมอง หรือก่อให้เกิดอาการข้างเคียงเกี่ยวกับสมองได้ค่ะ 

 

ลูกล้มหัวฟาดพื้น สังเกตอาการ อย่างไร? เมื่อไหร่ที่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์


ลูกล้มหัวฟาดพื้น หลังจากปฐมพยาบาลเสร็จแล้ว คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคอยสังเกตอาการใน 24 ชั่วโมงแรกว่ามีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้หรือไม่ 

 

  • ลูกมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง 
  • ลูกมีอาการหมดสติเกิน 5 นาที 
  • ลูกมีอาการง่วงซึมจนผิดปกติ 
  • ลูกมีอาการชัก เกร็ง กระตุก 
  • ลูกอาเจียนบ่อย หรืออาเจียนมากกว่า 5 ครั้งขึ้นไป 
  • ลูกเริ่มพูดจาไม่เป็นภาษา พูดไม่รู้เรื่อง พูดจาสับสน 
  • ลูกมีเลือดไหลไม่หยุด 
  • ศีรษะของลูกยังมีอาการบวมอยู่ และไม่หายโน 

 

หากมีอาการดังที่กล่าวมานี้ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันทีค่ะ 

 

ไขข้อข้องใจเรื่อง ลูกหัวโน ฟกช้ำ ศีรษะกระแทก กับ Enfa Smart Club


 ลูกล้มหงายหลังหัวฟาดพื้น อันตรายไหม? 

ขึ้นอยู่กับว่าพื้นนั้นแข็งมากแค่ไหน ลูกหงายหลังตกจากพื้นที่สูงมากแค่ไหน หากตกจากพื้นเตี้ย ๆ และพื้นไม่แข็ง ก็อาจจะไม่อันตรายมาก ทำการปฐมพยาบาลและสังเกตอาการ 24 ชั่วโมง 

แต่ถ้าลูกตกจากที่สูง และศีรษะฟาดเข้ากับพื้นแข็ง กรณีนี้หลังจากทำความสะอาดแผลและปฐมพยาบาลเสร็จแล้ว ให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันทีโดยไม่ต้องรอดูอาการค่ะ 

 ลูกล้มหัวฟาดพื้นแล้วอ้วก อาเจียน ควรรีบพาไปหาหมอไหม? 

หากภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ลูกล้มหัวฟาดพื้น และลูกมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรืออาเจียนติดต่อกัน 5 ครั้งขึ้นไป ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ 

 ลูกหัวโนไม่ยอมยุบ มีเลือดคั่ง แม่ควรปฐมยาบาลยังไง? 

หากพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้วและลูกยังมีอาการหัวโน หัวปูดบวมอยู่ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ 

 ลูก 10 เดือน ล้มหงายหลังหัวฟาดพื้น ควรรีบพาไปโรงพยาบาลไหม? 

ขึ้นอยู่กับว่าพื้นนั้นแข็งมากแค่ไหน ลูกหงายหลังตกจากพื้นที่สูงมากแค่ไหน หากตกจากพื้นเตี้ย ๆ และพื้นไม่แข็ง ก็อาจจะไม่อันตรายมาก ทำการปฐมพยาบาลและสังเกตอาการ 24 ชั่วโมง 

แต่ถ้าลูกตกจากที่สูง และศีรษะฟาดเข้ากับพื้นแข็ง กรณีนี้หลังจากทำความสะอาดแผลและปฐมพยาบาลเสร็จแล้ว ให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันทีโดยไม่ต้องรอดูอาการค่ะ


 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

โปรดอ่านข้อมูลเบื้องต้น และคลิก

“เข้าสู่เว็บไซต์”

เพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama