นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดิอนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ​Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ท่านั่ง W Sitting ภัยเงียบตัวร้ายที่ทำลายพัฒนาการของลูก

Enfa สรุปให้

  • ท่านั่ง W หรือ W Sitting หรือที่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะเรียกว่า นั่งท่าเป็ด คือท่านั่งที่ลูกเอาก้นลงกับพื้น แต่งอเข่า และขาข้างซ้ายและข้างขวาแบะออกข้าง ๆ ลักษณะคล้ายกับตัว W

  • เด็กหลายคนชอบนั่งท่า W เพราะเป็นท่านั่งที่มั่นคง นั่งแล้วไม่โอนเอน โคลงเคลง หรือเซ

  • อย่างไรก็ตาม ท่านั่ง W นี้ หากนั่งติดต่อกันนาน ๆ เป็นประจำ ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็กมากกว่าจะเป็นผลดี

เลือกอ่านตามหัวข้อ

พอลูกเริ่มนั่งได้ ทรงตัวได้ ไม่โอนเอน และไม่ล้ม คุณพ่อคุณแม่ต่างก็ดีใจ ในที่สุดลูกก็สามารถจะประคองตัวเองนั่งโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องคอยประคองเพราะกลัวว่าลูกจะเอนจนล้มแล้ว แต่...โปรดดูให้ดีก่อนว่าลูกน้อยกำลังนั่งในท่า W หรือ W Sitting อยู่หรือเปล่า เพราะถ้าหากใช่ Enfa มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับท่านั่ง W Sitting ที่ควรระวังมาฝากค่ะ 

ท่านั่ง W Sitting คืออะไร


ท่านั่ง W หรือ W Sitting หรือที่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะเรียกว่า นั่งท่าเป็ด คือท่านั่งที่ลูกเอาก้นลงกับพื้น แต่งอเข่า และขาข้างซ้ายและข้างขวาแบะออกข้าง ๆ ลักษณะคล้ายกับตัว W 

ท่านั่งนี้พบได้บ่อยในเด็ก ๆ เนื่องจากเวลาที่เด็กนั่งในท่า W เด็กจะสามารถนั่งได้อย่างมั่นคง ไม่โอนเอน โงนเงน จนล้มหรือเซ 

ท่า W Sitting มีปัญหาอย่างไร


แม้ว่าท่า W Sitting จะดูเหมือนว่าช่วยให้ลูกนั่งได้มั่นคงขึ้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องคอยประคองตลอดเวลาเพราะกลัวว่าลูกจะเซและล้ม  

ซึ่งท่า W Sitting นี้ หากลูกนั่งเป็นครั้งคราว นาน ๆ นั่งที หรือนั่งแล้วก็เปลี่ยนท่านั่ง นั่งแล้วก็ลุกออกไปทำอย่างอื่น กรณีเช่นนี้ ถือว่าไม่อันตราย และไม่ส่งผลเสียใด ๆ ค่ะ 

แต่ถ้าเด็กนั่งในท่านี้เป็นเวลานาน ๆ เป็นประจำ โดยไม่ยอมเปลี่ยนไปนั่งในท่าอื่น ๆ บ้างเลย กรณีเช่นนี้ถือว่าค่อนข้างน่าเป็นกังวลค่ะ เพราะทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญต่างก็มองว่า: 

  • ท่านั่ง W Sitting เป็นท่านั่งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางออร์โธปิดิกส์ หรือการผิดรูปของกระดูก ข้อ และเอ็น 

  • เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า (Anterior Cruciate Ligament หรือ ACL) ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นเอ็นหลักบริเวณหัวเข่า ช่วยให้ข้อเข่าสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นคง การนั่งในท่า W นาน ๆ อาจทำให้เอ็นไขว้หน้าเสียหาย บาดเจ็บ หรืออักเสบได้ 

  • หากเด็กนั่งในท่า W ติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้ขาอ่อนแรงได้ เพราะต้องรองรับการทรงตัวโดยไม่ได้มีการเคลื่อนไหวใด ๆ 

  • เสี่ยงที่จะทำให้สะโพกเคลื่อน หรือผิดรูป เนื่องจากเป็นท่านั่งที่ทำให้สะโพกถูกดันออกจากเบ้าสะโพก 

  • เมื่อนั่งในท่า W เป็นเวลานาน ๆ เสี่ยงที่จะทำให้กล้ามเนื้อขาและสะโพกตึงได้ เพราะกล้ามเนื้อไม่เกิดการเคลื่อนไหวตามปกติที่ควรจะเป็น 

  • ท่า W Sitting อาจขัดขวางพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่น การเอื้อม หรือการเคลื่อนไหวไปทางซ้ายและทางขวา เพราะท่านั่งไม่ส่งเสริมให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ 

นั่งท่า W Sitting ส่งผลเสียต่อพัฒนาการเด็กอย่างไรบ้าง


เด็กควรจะต้องเคลื่อนไหวได้อิสระ ได้วิ่ง ได้นั่ง ได้นอน ได้ยืน ได้เล่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการเจริญเติบโตที่สมวัย 

หากเด็กนั่งท่า W Sitting ไปเรื่อย ๆ ท่านั่งนี้จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวที่อิสระลดลง เพราะท่านี้จะไปจำกัดการเคลื่อนไหวไปทางซ้ายขวา เพราะปกติแล้วหากอยู่ในท่านั่งปกติ เช่น ท่าขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ แม้ของจะอยู่ทางซ้าย แต่ลูกก็อาจจะเอื้อมไปหยิบด้วยมือขวาได้  

แต่ท่านั่ง W Sitiing นั้น ทารกไม่สามารถใช้มืออีกข้างเอื้อมหยิบของได้อย่างถนัด ทำให้เด็กเอื้อมมือไปหยิบสิ่งต่าง ๆ ที่ไกลตัวได้ยาก 

ลูกชอบนั่งท่า W Sitting จะปรับพฤติกรรมยังไงดี


หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นแล้วว่า ลูกของเรานั้นชอบนั่งท่า W บ่อย ๆ ควรเร่งปรับพฤติกรรมของลูกทันที โดยสามารถทำได้ ดังนี้ 

  • หากพบว่าลูกกำลังนั่งท่า W ให้บอกหรือเตือนลูกดี ๆ เพื่อเปลี่ยนนั่งท่าใหม่ โดยไม่ดุ หรือขึ้นเสียง แต่พูดโดยไม่ให้เด็กรู้สึกแย่ เช่น ลูกจ๋า ลองนั่งท่านี้ดูไหม บ่อยเข้าเด็กก็จะเริ่มจดจำไปเองว่าควรนั่งในท่าใด 

  • พยายามนั่งเล่นกับลูกบ่อย ๆ แล้วนั่งให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง โดยอาจจะนั่งในท่าที่เหยียดขาไปด้านหน้า นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบ 

  • เข้าไปนั่งเล่นกับลูก พยายามให้ลูกได้มีการเปลี่ยนท่าทาง และเคลื่อนไหว เช่น ให้ลูกเอื้อมหยิบของที่อยู่ไกลตัวบ้าง หรืออยู่สูงบ้าง เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ออกแรงใช้กล้ามเนื้อมากขึ้น 

  • ให้ลูกได้นั่งเก้าอี้ หรือโซฟาของเด็กดูบ้าง เพื่อเปลี่ยนอริยาบถการนั่งใหม่ ๆ ทั้งยังช่วยผ่อนคลายไม่ให้ขารับน้ำหนักจากการนั่งท่าเดิมนาน ๆ  

- WebMD. What to Know About W-Sitting in Children. [Online] Accessed https://www.webmd.com/children/what-to-know-about-w-sitting-in-children. [22 September 2022]
- Healthline. W-Sitting: Is It Really a Problem?. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/baby/w-sitting. [22 September 2022]
- Pathways. What is W-Sitting?. [Online] Accessed https://pathways.org/what-is-w-sitting/. [22 September 2022]
- Amarin Baby&Kids. แก้ไขท่านั่ง W เหตุสร้างปัญหาการเดินของลูกน้อย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.amarinbabyandkids.com/parenting/toddler/toddler-health/sit-…. [22 กันยายน 2022]
- โรงพยาบาลกรุงเทพ. เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด (ACL) รีบรักษาก่อนเข่าเสื่อม. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/content/acl-earley-treatment-before-ost…. [22 กันยายน 2022]


    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    โปรดอ่านข้อมูลเบื้องต้น และคลิก

    “เข้าสู่เว็บไซต์”

    เพื่อดำเนินการต่อ

    Line TH
    Shopee TH Lazada TH Join Enfamama